มาเข้าใจกันเถอะ มาเข้าใจนักข่าวกันเถอะ
แรงกดดันบริสุทธิ
·ต้องเสนอด้วยความเป็นกลาง ·ต้องเสนอด้วยความถูกต้อง
·ต้องโดดเด่นกว่าคู่แข่ง ·ต้องมีมุมมองใหม่ๆมาเสนอ
·ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติ
แรงกดดันไม่บริสุทธิ
·ต้องเสนอข่าวเชิงต่อต้าน ·ต้องเสนอข่าวโดยไม่ทราบข้อมูละครบถ้วน รอบด้าน
·ต้องเสนอข่าวบนพื้นฐานที่ว่าทุกการกระทำ ต้องดีต้องถูก100%
·ต้องเสนอข่าวเพื่อให้เป็นที่พูดคุย และติดตามหนังสือพิมพไปนานๆ ·ต้องมีสีสันเติมแต่ง
ทำตัวเป็นศาล-จากแรงกดดันทั้งสองอย่าง นักข่าวจำเป็นที่จะเอาตัวเองเป็นที่ตั้ง
·อะไรกลาง นักข่าวตัดสินใจ ·อะไรถูกผิด นักข่าวตัดสินใจ
·อะไรดีต่อชาติ นักข่าวตัดสินใจ ·เมื่อไหร่ข้อมูลพอ นักข่าวตัดสินใจ
·อะไรคือ 100% นักข่าวตัดสินใจ ·สีสันติดตามพอควร นักข่าวตัดสินใจ
ความจริงคือ นักข่าวไม่มีหน้าที่ตัดสินใจอะไร มากมายแบบนั้น
สิ่งที่นักข่าวทำอยู่คือ
·เอางานของคอลลั่มนิสและการรายงานข่าว ปนกัน ·อารมณ์ความรู้สึกของนักข่าว ปนเปื้อนอยู่ในข่าว
·ไม่มีการเคารพมติของปชช หรือโพลต่างๆ ·รายงานบนพื้นฐานของข้อมูลผิด หรือ/และ ไม่ครอบครุมทุกด้าน
·ตั้งตัวเองว่าอยู่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือ/และ ยึดการต่อต้านตลอดเวลา
·จับแพะชนแกะ ขยายจุดอ่อนต่างๆ ·สร้างกระแสต่างๆนาๆ
·หาฐานเสียงสนับสนุนหนังสือพิมพ์และตัวเอง ·รู้สึกเด่นและมีค่าเวลากระทบอะไรมากๆ
ที่สุดแล้ว หน้าที่หลักของนักข่าวคือ รายงานสิ่งที่เกิดขึ้นในวันวันหนึ่ง
โดย
·ต้องเข้าใจว่านักข่าวที่เป็นอยู่ในขณะนี้ มีส่วนในการสร้างข่าวและกระแส
·ต้องเข้าใจว่าข่าวสามารถสร้างผลร้ายผลดี ต่อคนที่มีผลประโยชน์กันทุกคน
·ต้องเข้าใจว่าข้อมูลเหตุผลตัวเอง มีขีดจำกัด·ต้องเข้าใจว่าโพล เป็นเสียงของปชช ที่ต้องเคารพและรับฟังและศึกษา
·ต้องระวังการทำตัวเป็นฮีโร่และระวังการชี้นำ และการเข้าไปกระทบ ต่อสิ่งที่กระทบแล้วสร้างความเสียหาย มากกว่าสร้างผลดี
·ต้องระวังว่าความหวังดีของตัวเอง จะบั่นทอนความหวังดีของคนอื่นไหม
สุดท้ายแล้ว นักข่าวแบ่งได้เป็นสองอย่าง
·สร้างสรรค์ ·ทำลายล้าง
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเลือก ว่าจะสร้างสรรค์ค์หรือทำลายล้าง
· ในทุกระบบ มีลมของ การทำลายล้าง ที่เป็นบ่อเกิดของการสร้างสรรค์ นี่เป็นทฤษฎีของนักคิดตะวันตก ชื่อชุมปีเตอร์ มีคนติดตามความคิดของเขามากมาย รวมทั้งนักข่าวทั่วโลกส่วนมาก ที่ทำให้กลายเป็น activist ไปในตว
·ทั่วโลกมีหนังสือพิมพ์ที่เป็น activist และที่เป็น conservative แต่มีน้อยมากที่เป็น creative
·ในเมืองไทยไม่มีหนังสือพิมพ์ที่เป็น conservative หรือ neo-conservative หรือ creative
·ศาสนาพุทธ มองว่าการทำลายล้างผิด และมองว่าการพัฒนาสู่สิ่งที่ดีขึ้นและเลวลง เป็นวัฎจักร ไม่ได้มาจากการทำลายล้างอย่างไม่สิ้นสุด
·ฉบับประชาชน การศึกษาที่สูงขึ้น การเติบโตของคนระดับกลางและบน ความแข็งแกร่งของระบบบริหารบ้านเมือง การมองเห็นข้อผิดพลาดในอดีต การแข่งขันของสื่อ ความเปลี่ยนแปลงของสังคมและธุรกิจไทย ทุกอย่าง ทำให้คนเรียกร้องมากขึ้นจากสื่อ
·สื่อบางสื่อมีจุดยืนอย่างชัดเจนว่าต่อต้านอะไร และ กลายเป็นศูนย์รวมของคนที่ต่อต้านสิ่งนั้น
·ไมามีสื่อที่ยืนอยู่กับการสนับสนุนสิ่งใด
จะเห็นได้ว่า สื่อจะเริ่มมีปัญหามาก ถ้า (คำจำกัดความของปัญหาคือ คิดเห็นต่างไปจากปชช แทนที่จะสะท้อนเสียงประชาชน)
·สังคมต้องการคำตอบและคำถาม ไม่ใชแค่การทำลายล้าง
·ระบบอะไรสักอย่างเช่นพรรคการเมือง มี dynamicism creativity multi-pole multi-philosophy mixed-thinking แบบพรรคทรท
·สังคมเศรษฐกิจการเมือง เริ่มมีความลึกและเข้มข้นมากขึ้น
·การเปลี่ยนแปลงต่างๆมาอย่างรวดเร็ว
สิ่งที่เห็นจากสื่อเป็นตัวอย่าง คือ
·ไม่สนใจโพล เช่น ด่าจนเขาต้องทำโพลกัน พอออกมาว่าเปล่าเลยคนเขาไม่ได้มองแบบสื่อ ก็เพิกเฉยและด่าต่อไป
·คาดเดาสลับไปมาระหว่าเศรษฐกิจ ฟื้น ไม่ฟื้น ฟองสบู่ มั่นคงไป
·เรียกร้องให้ตำรวจทำตามกฎหมาย เลิกเอาส่วย แต่ไม่เคยพูดเรื่องซ่องที่ผิดกฎหมาย
·ลงภาพคนฆ่ากันทุกวันแต่รับไม่ได้ที่รัฐจะทำให้ปืนหมดและลดลงไปในสังคม
·เอนจีโอ นักวิชาการ ใครก็ได้ที่เป็นใครในสังคม และชูวิตด่าใคร ลงหมด แต่พอคนถูกด่าปกป้องตัวเอง ไม่ใส่ใจแถมสื่อด่ากลับอีก ถามหาความเหมาะสมทันที
ความคิดเห็น