อะไรคือ O-NET, A-NET - อะไรคือ O-NET, A-NET นิยาย อะไรคือ O-NET, A-NET : Dek-D.com - Writer

    อะไรคือ O-NET, A-NET

    โดย ~ UBYI ~

    มารู้จักหลายละเอียดพื้นฐาน ของการสอบแอดมิชชั่นระบบใหม่กันดีกว่า

    ผู้เข้าชมรวม

    91,684

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    40

    ผู้เข้าชมรวม


    91.68K

    ความคิดเห็น


    197

    คนติดตาม


    30
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  15 พ.ย. 49 / 15:31 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ


                หลายๆ คนสงสัยกันเข้ามามากเลย กับการสอบเพื่อคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาปีการศึกษา ๒๕๔๙ หรือที่พวกเราพอจะได้ยินผ่านหูกันมาบ้างว่า"การสอบ Admission" แต่หลายคนยังไม่เข้าใจว่าแอดมิชชั่นคืออะไร อีกทั้งยังมีส่วนในของ GPAX, GPA, O-NET และA-NETอีก (อะไรก็ไม่รู้ทั้งมากมาย และวุ่นวาย) เอาเป็นว่าเรามาทำความรู้จักกันในแต่ละส่วนเลยดีกว่าครับ

      -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

                ADMISSION หรือที่ภาษาไทยเรียกกันว่าแอดมิชชั่น(จะบอกทำไมเนี่ย) คือระบบการคัดเลือกบุคคลที่อยากจะเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งถูกนำมาใช้จริงครั้งแรกในปี ๒๕๔๘ (โชคดีของเด็กรุ่นนี้นะเนี่ย ได้ลองของใหม่) แทนการสอบเอนทรานซ์ในระบบเดิม ซึ่งในระบบใหม่นี้คะแนนของผู้ที่(อยาก)จะถูกคัดเลือกเข้าสู่สถาบันอุดมศึกษาจะไม่ได้มาจากการสอบเพียงอย่างเดียวทั้งหมดเท่านั้น แต่ยังมีคะแนนบางส่วนจากเกรดเฉลี่ยของที่โรงเรียนมาเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาเข้าศึกษาต่อด้วย

                GPAX หรือถ้าจะเรียกให้เข้าใจง่ายๆก็คือเกรดเฉเลี่ยสะสมของน้องๆนั่นแหละ ซึ่งไม่ว่าน้องจะเข้าคณะไหนก็ตาม GPAX จะมีผลต่อคะแนนรวมของน้องถึง 10% เพราะฉะนั้นก็ตั้งใจเรียนในห้องเรียนให้มากๆ(ในทุกวิชา)ด้วยหล่ะ เพราะถ้าไม่ตั้งใจเรียนในห้อง  นอกจากจะเกรดตกแล้ว  คะแนน GPAX  10% ก็จะลดลงไปด้วยเน้อ

                GPA หรือคะแนนสะสมรายวิชา มันก็คล้ายเจ้า GPAX นั่นแหละ แต่แค่วุ่นวายกว่าหน่อย เพราะ GPA เนี่ยนะแต่ละคณะเขาจะกำหนดเองเลยว่าจะเอาวิชาอะไร กี่% แต่ละคณะจะต้องเอาคะแนน GPA ของน้องๆอย่างน้อย 3 วิชา แต่ไม่เกิน 5 วิชา และคะแนน GPA ของน้องจะมีผลต่อคะแนนรวมถึง 20%  เพราะฉะนั้นน้องๆควรจะรู้ตัวเองได้แล้วในชั้น ม.4 ว่าอยากเข้าคณะอะไร แล้วก็ไปดูตารางองค์ประกอบและค่าร้อยละของกลุ่มสาขาวิชาว่าคณะที่น้องๆอยากเข้า ว่าคณะที่น้องๆอยากเข้าเขาจะถ่วงน้ำหนักให้วิชาใดเป็นพิเศษ จะได้ตั้งใจและเตรียมตัวแต่เนิ่นๆได้ถูกนะครับ

                O-NET มาถึงสิ่งที่แปลกใหม่สำหรับการแอดมิชชั่นครั้งนี้บ้าง นั่นก็คือโอเด็ต ไม่ใช่!!!! O-NET ต่างหาก (เล่นเอง แก้เอง แป๊กเอง) O-NET มันย่อมาจาก Ordinary National Educational Test (ไม่ต้องท่องนะ มันไม่ออกข้อสอบหรอก) หรือภาษาไทยเรียกว่าการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน จัดสอบกันทั้งหมด 5 วิชา คือ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งใครก็ตามที่จะสอบแอดมิชชั่นจะต้อง O-NET ด้วย โดยในตัวข้อสอบก็จะเป็นเนื้อหาของความรู้พื้นฐานทั่วไปที่น้องๆ เรียนกัน  รับรองว่าไม่ยากหรอก  การสอบ O-NET จะมีผลต่อคะแนนแอดมิชชั่นรวมของน้องๆถึง 35-70% (ขึ้นอยู่การกำหนดของแต่ละคณะ)

                A-NET อีกหนึ่งสิ่งใหม่ของการสอบแอดมิชชั่นก็คือ A-NET ซึ่งย่อมาจาก Advanced National Educational Test หรือก็คือการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง ชื่อก็บอกแล้วว่าการสอบขั้นสูงเพราะฉะนั้นไม่ต้องห่วงเรื่องความยากเลย ถ้าเทียบกันแล้ว โอเนทจะแค่ขำๆ แต่เอเนทอาจจะทำให้ขำไม่ออกเลยล่ะ (ขู่เฉยๆน่าอย่าพึ่งกลัวเลย) สำหรับ A-NET และพวกวิชาเฉพาะกับความถนัดเฉพาะทางจะคิดเป็น 0-35% ของคะแนนรวมทั้งหมด ซึ่งคะแนนจะยืดหยุ่น(แปรผันผกผัน)กับคะแนน O-NET ซึ่งบางคณะก็จะไม่ใช้คะแนน A-NET ในการสอบคัดเลือกเข้าเลยก็ได้ แต่คณะก็ใช้มากถึง 35% คณะไหนใช้เท่าไรก็ต้องไปตรวจสอบกันนะขอรับ

      -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

               เอาหล่ะตอนนี้น้องๆก็ได้รู้จักการแอดมิชชั่นระบบใหม่มาพอสมควรแหละ อีกทั้งยังอีกทั้งยังรู้จักกับ GPAX, GPA, O-NET และA-NET คร่าวๆกันอีก เอาเป็นว่าเดี๋ยวเราจะมาติดตามเรื่องราวของแอดมิชชั่นในตอนต่อๆไปกัน ใครมีปัญหาเรื่องแอดมิชชั่นหรือคำถามก็อีเมลล์มาถามได้ที่ ubyi@dek-d.com นะครับ

      ตารางองค์ประกอบและค่าร้อยละของกลุ่มสาขาวิชา http://www.dek-d.com/content/view.php?id=211

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×