รัฐศาสตร์ มช. - รัฐศาสตร์ มช. นิยาย รัฐศาสตร์ มช. : Dek-D.com - Writer

    รัฐศาสตร์ มช.

    คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    ผู้เข้าชมรวม

    13,069

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    15

    ผู้เข้าชมรวม


    13.06K

    ความคิดเห็น


    20

    คนติดตาม


    4
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  25 เม.ย. 50 / 03:47 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ


      ปฐมลิขิต : บทความนี้เป็นบทความที่ผู้เยี่ยมชมส่งเข้ามาทาง ubyi@dek-d.com

      เจ้าของบทความ : u491910115@cm.edu

      -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

      "วันนี้ฤกษ์ดีน้องพี่รัฐศาสตร์
      ชุมนุมประกาศสามัคคีเหล่าสิงห์
      เราร่วมแรงใจเทิดในรัฐศาสตร์
      ขอจงองอาจสมชาติของนักปกครอง"

      มาร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับเรา สิงห์ขาว
      ที่ปกครองพัฒนาประเทศชาติบ้านเมือง จนอายุปาเข้าไป 42 ปี แห่งความภูมิใจ
       คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เดิมคือ
      ภาควิชารัฐศาสตร์ สังกัดคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
      ได้เปิดทำการมาแล้วเป็นระยะเวลา 42 ปี โดยเปิดสอนครั้งแรกในเดือนมิถุนายน
      พ.ศ. 2508 ซึ่งเป็นปีที่สองถัดจากการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี พ.ศ.
      2507
      ในสาขาวิชารัฐศาสตร์ซึ่งประกอบด้วยสาขาวิชาการเมืองการปกครองและสาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
      ระดับปริญญาตรี ต่อมาในปี พ.ศ. 2529
      ได้เริ่มเปิดสอนสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ระดับปริญญาตรี
      เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งสาขาวิชา (ในปี พ.ศ. 2535
      ได้เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีสาขานิติศาสตร์เพิ่มขึ้นอีก 1 สาขาวิชา
      และขณะนี้กำลังดำเนินโครงการจัดตั้งเป็นคณะนิติศาสตร์เช่นกัน)
      นับตั้งแต่สาขาวิชารัฐศาสตร์และสาขาวิชารัฐประศาสน-ศาสตร์เริ่มเปิดสอนจนถึงปัจจุบัน
      ได้ผลิตบัณฑิตจำนวนรวมทั้งสิ้นประมาณ 5,000 คน


                ต่อมาสาขาวิชารัฐศาสตร์และสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
      ยังได้เปิดสอนในระดับปริญญาโทอีก 2 หลักสูตร ดังนี้คือ (1) ปีพ.ศ.
      2531 หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง
      (ภาคปกติ) และ ปีพ.ศ. 2533 หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต
      สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง (ภาคพิเศษ) (2) ปี พ.ศ. 2536
      หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (ภาคปกติ) และ ปี พ.ศ. 2542
      หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (ภาคพิเศษ)
      ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มเปิดสอนระดับปริญญาโทจนถึงปัจจุบันสาขาวิชาฯ
      ทั้ง 2 ได้ผลิตมหาบัณฑิตไปแล้วประมาณ 1,000 คน


                บัณฑิตและมหาบัณฑิตของสาขาวิชารัฐศาสตร์และสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
      ซึ่งมีความรู้ ความสามารถ มีทักษะในวิชาชีพ
      กอปรด้วยจิตสำนึกของความรับผิดชอบต่อสังคมได้ออกไปรับใช้สังคมและประเทศชาติอย่างกว้างขวาง
      ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐและเอกชน
      จนทำให้การจัดการบริการการศึกษาของสาขาวิชาฯ
      เป็นที่ยอมรับว่าเป็นแหล่งผลิตบัณฑิตที่เป็นกำลังสำคัญของประเทศ
      ที่มีชื่อเสียงทัดเทียมกับคณะรัฐศาสตร์และคณะรัฐประศาสนศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาระดับประเทศที่จัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาทั้งสองนี้


                สาขาวิชารัฐศาสตร์และสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
      มีนักศึกษาซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีจำนวนทั้งสิ้น 665 คน
      มีนักศึกษาระดับปริญญาโท ทั้งภาคปกติและภาคพิเศษ จำนวนประมาณ 400
      คน และคาดว่าในปีการศึกษา 2550 นี้ จะเปิดสอนระดับปริญญาโท
      หลักสูตร รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารท้องถิ่น)
      ทั้งภาคปกติและภาคพิเศษ ระดับปริญญาเอก
      หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต และหลักสูตรนานาชาติ
      สาขาวิชากิจการสาธารณะระหว่างประเทศ (ภาคปกติ)


                การจัดทำข้อเสนอโครงการจัดตั้งคณะรัฐศาสตร์ได้เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ.
      2537 ซึ่งขณะนั้นอยู่ในช่วงแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
      ระยะที่ 7 (พ.ศ. 2535 - 2539)
      การเตรียมการในขณะนั้นยังคงเป็นคณะในระบบราชการและได้รับการสนับสนุนจากสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
      แต่เนื่องจากในปี พ.ศ. 2540 ประเทศไทยได้ประสบวิกฤติเศรษฐกิจ
      ทำให้รัฐบาลชะลอโครงการจัดตั้งหน่วยงานราชการใหม่ตามมติคณะรัฐมนตรี
      ลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2540
      ซึ่งมีผลให้ต้องชะลอโครงการจัดตั้งคณะไว้ก่อนด้วย


                จากแนวคิดในการผลักดันให้หน่วยงานในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีความคล่องตัว
      และมีอิสระในการบริหารจัดการ
      ส่งผลให้มีการนำข้อเสนอโครงการจัดตั้งคณะรัฐศาสตร์ซึ่งได้จัดทำไว้ในปี
      พ.ศ.2537 กลับมาพิจารณาและปรับปรุงโครงการใหม่ในชื่อว่า
      "โครงการจัดตั้งคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์"
      คณะใหม่นี้จะประกอบด้วย 2 สาขาวิชา ได้แก่
      สาขาวิชาการเมืองการปกครองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
      และสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ชื่อคณะดังกล่าวนี้สื่อความหมายว่า
      องค์กรมีภารกิจหลักก็คือ
      ผลิตบัณฑิตด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ไปรับใช้สังคม
      สาขาวิชารัฐศาสตร์ได้เปิดสอนมาก่อนเป็นเวลา 42 ปี
      และปัจจุบันยังเป็นสาขาวิชาที่จัดการเรียนการสอนอยู่
      โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยส่งเสริมรากฐานการเมืองการปกครองประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
      และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบสมานฉันท์
      ขณะที่สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์เปิดสอนมาเป็นเวลา 19 ปี
      มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเสริมสร้างการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีได้
      และปัจจุบันเป็นสาขาวิชาที่มีความนิยมอยู่ในระดับสูง
      แนวโน้มนี้จะยังคงเป็นอยู่ในอนาคต
      โดยเฉพาะหลักสูตรระดับปริญญาโทสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ภาคพิเศษ
      มีจำนวนผู้สมัครเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในปี พ.ศ. 2542
      ซึ่งเปิดสอนเป็นปีแรก มีผู้สมัคร 77 คน ปี พ.ศ. 2547 และ 2548
      มีผู้สมัคร 262 และ 344 คน ตามลำดับ คณะที่จัดการเรียนการสอนใน 2
      สาขาวิชานี้ที่ก่อตั้งในระยะแรก ๆ ในประเทศไทยล้วนกำหนดชื่อคณะว่า
      คณะรัฐศาสตร์ และไม่มีการปรับเปลี่ยนชื่อในเวลาต่อมา
      แต่คณะที่มีการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์เพียงสาขาเดียว
      ล้วนกำหนดชื่อคณะว่า คณะรัฐประศาสนศาสตร์
      ด้วยเหตุนี้จึงมีความเหมาะสม
      ในอันที่จะกำหนดชื่อคณะใหม่เพื่อแสดงถึงภารกิจด้านการเรียนการสอนทางรัฐศาสตร์และ
      รัฐประศาสนศาสตร์นี้ว่า คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ (Faculty
      of Political Science and Public Administration)
      โดยเฉพาะชื่อคณะนี้สอดรับกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
      หรือกลุ่มเป้าหมายที่ใช้บริการด้านการศึกษาและการบริการวิชาการของ
      2 สาขาวิชา


                 การเป็นคณะในกำกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
      ทำให้คณะเป็นหน่วยงานที่มีฐานะทัดเทียมกับสาขาวิชาอื่นในสายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ที่จัดการเรียนการสอน
      ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาทิเช่น เศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ
      และการสื่อสารมวลชนลัยเชียา
      โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นหน่วยงานที่มีความคล่องตัวในลักษณะคณะในกำกับ
      ซึ่งมีภารกิจที่มุ่งเน้นด้านการวิจัย ความเป็นเลิศทางวิชาการ
      และการพึ่งพาตนเองได้ นอกจากจะสอดรับกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ
      และวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
      และนโยบายการเป็นมหาวิทยาลัย/คณะในกำกับของรัฐบาลแล้ว
      ยังจะเอื้ออำนวยต่อการบรรลุสัมฤทธิผลในการดำเนินงานในที่สุด


      ครับจากประวัติคณะอันยาวนานสร้างเกียรติภูมิไว้มากมาย
      สิงห์ขาวเราผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ รุ่นพี่ของเรามีทั้งผู้ว่า นายอำเภอ
      ผู้บริหารระดับสูง ตำรวจ ทหาร รัฐมนตรี มากมาย นอกจากนี้เรายังคือ1 ใน 5
      สิงห์ที่ได้รับการยอมรับว่ามีคุณภาพและความสามารถเป็นที่ยอมรับของวงการราชการและเอกชนในปัจจุบันอันได้แก่
      สิงห์ขาว (รัฐศาสตร์ม.ช.) สิงห์ดำ(รัฐศาสตร์จุฬา) สิงห์แดง(ธรรมศาสตร์)
      สิงห์เขียว(ม.เกษตร) และสิงห์เงิน( รัฐศาสตร์มศว)
      เชิญน้องๆเข้ามาร่วมพิสูจน์ตนเองกันนะครับ เกิดเป็นสิงห์ หยิ่งในศักดิ์
      รักในเกียรติ  รัฐศาสตร์ประชาชนรอเราอยู่ครับ

      จาก สิงห์ขาว

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×