ประวัติความเป็นมาของวันแม่ - ประวัติความเป็นมาของวันแม่ นิยาย ประวัติความเป็นมาของวันแม่ : Dek-D.com - Writer

    ประวัติความเป็นมาของวันแม่

    เป็นบทความเกื่นวกับประวัติของวันแม่

    ผู้เข้าชมรวม

    2,268

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    2

    ผู้เข้าชมรวม


    2.26K

    ความคิดเห็น


    8

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  9 ส.ค. 48 / 09:35 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบามราชินีนาถ และวันแม่แห่งชาติ ตรงกับ วันที่ 12 สิงหาคม

              พระราชประวัติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

      สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีพระนามเดิมว่า หม่อมราชวงค์หญิงสิริกิติ์กิติยากร ทรงเป็นพระธิดาในพระวรวงค์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ ( หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร) และ หม่อมหลวงบัว กิติยากร

      สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระราชสมภพ ณ วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ที่บ้านพักของ ท่านเจ้าพระยา วงศานุประพันธ์ ถนนพระราม 4 กรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานนามว่า หม่อมราชวงค์หญิงสิริกิติ์

      ในปีที่พระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระราชสมภพ นั้นเอง พระบิดา ได้ทรงลาออกจากนายทหารประจำการ และได้ย้ายไปรับราชการ ในกระทรวงต่างประเทศ ในตำแหน่งเลขานุการเอก ประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ในกรุงวอชิงตัน ส่วนสมเด็จพระนางเจ้าฯ ยังคงอยู่กับญาติผู้ใหญ่ ในกรุงเทพฯ และต่อมาได้ทรงศึกษาในชั้นอนุบาลที่โรงเรียนราชินีล่าง ปากคลองตลาด เมื่อเจริญวัยได้ย้ายไปศึกษา ณ โรงเรียน เซนต์ฟรังซิลซาเวียร์คอนแวนต์ ที่สามเสน

      ในปี พ.ศ. 2489 พระบิดาได้ย้ายไปรับตำแหน่ง เป็นเอกอัครราชทูต ประจำราชสำนักเซนต์เจมส์ ประเทศอังกฤษ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ติดตามเสด็จพระบิดาไปศึกษาวิชาเพิ่มเติม และเมื่อมีพระชนมายุ 16 พรรษา ได้ตามเสด็จ พระราชบิดา ซึ่งไปดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีส และโคเปนเฮเกน เดนมาร์ก สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ ทรงศึกษาด้านภาษา จนสามารถรับสั่งภาษาอังกฤษ และฝรั่งเศสได้เป็นอย่างดี

      สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เข้าเฝ้า รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เป็นครั้งแรก ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2490 ต่อมา เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดลยเดช ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2491 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงมีโอกาสเยี่ยม พระอาการเป็นประจำ จนกระทั่งหายประชวร และตั้งแต่นั้นมา ทั้งสองพระองค์ ก็ทรงมีความสัมพันธ์กันอย่างใก้ลชิด กระทั่งในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงประกอบพระราชพิธีหมั้น กับพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

      ต่อมาภายหลัง ได้จัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสขึ้น ในวังสระปทุม เมื่อวันที่ 28 เมษายน พุทธศักราช 2493 พร้อมทั้ง ได้มีพระบรมราชโองการ ให้สถาปนาหม่อมราชวงค์หญิงสิริกิติ์ เป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ ครั้นถึงวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี และในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง มีพระราชศรัทธาพระราชปสาทะ ในพระพุทธศาสนา และได้ทรงขอบรรพชา ต่อสมเด็จพระสังฆราช เจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงค์

      ในระหว่างระยะเวลาที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกผนวช ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี จึงได้รับการสถาปนา เฉลิมพระเกียรติยศขึ้น เป็นสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ นับเป็นสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถองค์ที่ 2 แห่งพระบรมราชจักรีวงค์ (องค์แรกคือ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 5)

      สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในฐานะพระบรมราชินี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้งสองพระองค์ ทรงอาทรห่วงใยราษฎรเป็นอย่างยิ่ง ทรงมีนํ้าราชหฤทัย ที่เปี่ยมไปด้วยพระเมตตากรุณา เสด็จพระราชดำเนิน เยี่ยมราษฎรเสมอมิได้ขาด แม้จะอยู่ในท้องถิ่นอันทุรกันดาร ทั้งนี้เพื่อทรงทราบทุกข์สุข จากปากคำของราษฎรด้วยพระองค์เสมอมา

      ทั้งสองพระองค์ทรงคิดแสวงหาวิธีการ และแนวทางต่างๆ ที่จะทำให้ราษฎร มีชีวิตที่เป็นอยู่ดีขึ้น ทรงให้คำแนะนำราษฎร ด้วยพระองค์เอง เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ พลานามัย การรักษาสุขภาพ ทรงสนใจในด้านการศึกษา งานอาชีพ ตลอดจนสภาพแวดล้อม ความเป็นอยู่

      สำหรับ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถนั้น นอกจากจะตามเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อถวายการช่วยเหลือ และเป็นกำลังใจอย่างใกล้ชิดแล้ว ยังได้มีพระราชดำริ ให้จัดสร้างโครงการต่างๆ เพื่ออาณาประชาราษฎร์ จะได้อยู่ดีมีสุข เช่น โครงการป่ารักนํ้า โครงการศูนย์พัฒนา และส่งเสริมอาชีพ เช่น ให้มีการจัดตั้งศูนย์ศิลปาชีพพิเศษบางไทร อยุธยา และโครงการอื่นๆอีกมากมาย ฯลฯ

      ด้วยพระราชกรณียกิจ อันเปี่ยมไปด้วยพระเมตตา ต่ออาณาประชาราษฎร์ และพระราชกรณียกิจต่างๆ ที่ทรงปฏิบัติต่อเนื่องกันมา ทรงมีพระราชวิริยะอุตสาหะอันแรงกล้า ที่จะทำให้ราษฎรของพระองค์ ได้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อันเป็นพระเมตตาบารมีอันหาที่สุดมิได้ ประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า จึงรู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และเมื่อถึงวันเฉลิมพระชนมพรรษา ของทั้งสองพระองค์ จึงได้จัดให้มีการเฉลิมฉลอง และถวายพระพรชัย เพื่อให้ทรงอยู่ เป็นร่มฉัตร อันนำพาความร่มเย็น มาสู่ปวงประชนชาวไทย ไปตราบนานเท่านาน

      นอกจากจะถือเอาวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระบรมราชินีนาถแล้ว ยังถือเป็นวันแม่แห่งชาติอีกด้วย

      12 สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ
      เราถือเอาวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เป็นวันแม่แห่งชาติอีกวันหนึ่งด้วย ทั้งนี้เพราะนอกจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จะทรงประกอบพระราชกรณียกิจ ในตำแหน่งพระบรมราชินี ได้อย่างไม่บกพร่องแล้ว เมื่อมีเวลาว่างจากพระราชกรณียกิจ พระองค์ ทรงดูแล อบรมพระโอรส และพระธิดาด้วยพระองค์เอง ตามแบบไทย นอกจากนี้ ยังทรงรักและห่วงใยราษฎรของพระองค์ จนได้รับขนานพระนามว่า \" สมเด็จแม่ ของปวงชนชาวไทย \"

        ประวัติความเป็นมาของวันแม่

      ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2493 คณะรัฐมนตรี ได้มีมติประกาศรับรอง ให้วันที่ 15 เมษายน ของทุกปี เป็นวันแม่แห่งชาติ ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่า การจัดงานวันแม่ ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งเป็นผู้รับมอบหมาย ให้จัดงานวันแม่ ตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2493 ซึ่งมีการจัดงานเป็นครั้งแรก และได้รับความสำเร็จด้วยดี เนื่องจากประชาชนให้การสนับสนุน มีการจัดพิธีกรรม ทางพระพุทธศาสนา การประกวดคำขวัญวันแม่ การประกวดแม่แห่งชาติ เพื่อให้เกียรติ และตระหนักในความสำคัญของแม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของงานวันแม่ให้ยิ่งๆขึ้นไป ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติ ตามประกาศของรัฐบาล ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่โดยทั่วไปเรียกกันว่า วันแม่แห่งชาติ

      ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ทางราชการได้เปลี่ยน ให้ถือเอา วันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คือวันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

      เมื่อคราวที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนสหรัฐ และยุโรป ได้มีหนังสือพิมพ์ขอพระราชทานสัมภาษณ์ เป็นใจความว่า สมเด็จฯทรงโปรดอะไรมากที่สุด พระองค์พระราชดำรัสตอบทันทีว่า \"ฉันรักการเป็นแม่มากที่สุด\"


      พระราชโอรส และพระราชธิดา ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

      สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชโอรส และพระราชธิดารวม 4 พระองค์คือ
      1. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติที่เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2494
      2. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ บรมจักรยาดิศร สันตติวงศเทเวศรธำรงสุบริบาล อภิคุณูประการ มหิตลาดุลยเดช ภูมิพลนเรศวรากูร กิตติสิริสมบูรณสว่างวัฒน์บรมขัตติยราชกุมาร ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต เมื่อวันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495
      3. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนา ดุลโสภาคย์ ประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498
      4. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต


      ไปชมวันสำคัญทุกเดือนตลอดปี

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×