ทีนอส (รีไรต์ 2016)
เมื่อคนขับแท็กซี่ธรรมดากับผู้โดยสารฮิปฮอปหลุดเข้าไปในอีกมิติหนึ่ง ที่เต็มไปด้วยอันตรายและเรื่องราวมหัศจรรย์ ทีนอสคืออะไร? พวกเขาจะหาทางกลับบ้านได้หรือไม่? มาร่วมลุ้นและเอาใจช่วยพวกเขากัน
ผู้เข้าชมรวม
22,413
ผู้เข้าชมเดือนนี้
155
ผู้เข้าชมรวม
ข้อมูลเบื้องต้น
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
เราปิดรอเขาเปิด
อดทนเถิดอย่าแรมรอน
จดจำย้ำยามนอน
บุรุษจรคือกุญแจ
อำนาจจากสิ่งที่เรียกว่าทีนอสแผ่กลืนกินทุกสิ่ง
มันชักนำเหล่าอสุรกายจากโลกมืด
อีกทั้งยังครอบงำดวงจิตของผู้ที่กระหายใคร่รู้ให้กลายร่างเป็นอมนุษย์
เหลือเพียงอาคิเดน
นครศักดิ์สิทธิ์เป็นฐานที่มั่นสุดท้าย
ชาวเมืองเพียงหยิบมือต่อสู้กับกองทัพปีศาจเป็นเวลากว่าห้าร้อยปี
อดทนรอคอย
‘ชายในคำพยากรณ์’ มาช่วยปลดเปลื้องพวกเขาจากอำนาจมืด
ทว่า
เมื่อประตูมิติเปิดออก ผู้ที่ก้าวผ่านออกมากลับเป็นเพียงคนขับแท็กซี่ตกอับ
กับผู้โดยสารฮิปฮอปสุดกวน
ไม่ต้องพูดถึงว่าทั้งสองต้องสังหารปีศาจ
หาทางกลับบ้าน หรือรักษาชีวิตให้รอด
แค่คุยกันดีๆ ก็ยากแล้ว
----------------------------------------------------------------------------------------
ประกาศ
นิยายแฟนตาซีเรื่องแรกของ ชัยยา
รีไรต์ 2016
มีขายในรูปแบบ E-book ที่นี่ ครับ
หรือถ้าใครอยากสั่งซื้อเป็นเล่ม ก็เชิญที่ สนพ. Paperfarm ได้เลย
ขอบคุณมากครับ
ผลงานอื่นๆ ของ ชัยยา ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ ชัยยา
"ข้อสังเกตจากการอ่านวรรณกรรมออนไลน์ที่ได้รับการตีพิมพ์ “ทีนอส”"
(แจ้งลบ)ข้อสังเกตจากการอ่านวรรณกรรมออนไลน์ที่ได้รับการตีพิมพ์ “ทีนอส” เรื่องย่อ ชัย คนขับแท็กซี่ รับผู้โดยสารวัยรุ่นที่เป็นเด็กฮิพฮ็อพที่สี่แยกแห่งหนึ่งเพื่อจะพาไปส่งที่ รัชดาซอยสี่ แต่เมื่อรถของทั้งคู่ผ่านสี่แยกกลับทะลุมิติมาปรากฏที่โลกในจินตนาการที่ อยู่ในสภาพย่ำแย่เพราะปิศาจยึดครองจนเกือบหมด ทั้งสองได้พบรถยนต์อีกคันที่มา ... อ่านเพิ่มเติม
ข้อสังเกตจากการอ่านวรรณกรรมออนไลน์ที่ได้รับการตีพิมพ์ “ทีนอส” เรื่องย่อ ชัย คนขับแท็กซี่ รับผู้โดยสารวัยรุ่นที่เป็นเด็กฮิพฮ็อพที่สี่แยกแห่งหนึ่งเพื่อจะพาไปส่งที่ รัชดาซอยสี่ แต่เมื่อรถของทั้งคู่ผ่านสี่แยกกลับทะลุมิติมาปรากฏที่โลกในจินตนาการที่ อยู่ในสภาพย่ำแย่เพราะปิศาจยึดครองจนเกือบหมด ทั้งสองได้พบรถยนต์อีกคันที่มาถึงแล้วก่อนหน้าที่มีเด็กนักเรียน ม. ต้นคนหนึ่งนั่งอยู่กับแม่ แม่เสียชีวิตทันที จากนั้นเมื่อได้พบผู้นำทาง ทั้งสามคนที่เหลือจึงต้องกู้โลกตามคำพยากรณ์ที่มีมานานแสนนานจนผู้คนในโลก แห่งนั้นเกือบหมดศรัทธา ข้อสังเกต เนื้อเรื่องเป็นแนว “แฟนตาซีทะลุมิติ” ซึ่งเปิดโอกาสให้ตัวละครในยุคปัจจุบันเข้าสู่โลกในจินตนาการได้ แต่เมื่ออ่านไปแล้วกลับพบกับความแตกต่างจากเรื่องในแนวนี้ที่ส่วนมากจะเป็น พระเอกขี่ม้าขาวมากอบกู้โลก และเรื่องจบลงอย่างเป็นสุข กล่าวคือถึงแม้ว่าตัวละครเอกจะต้องเป็นผู้กู้โลกเช่นกัน แต่ในขณะที่อ่านไม่รู้สึกว่ามีความหวังว่าเขาทั้งสามจะกอบกู้โลกได้ เพราะฝ่ายที่อยู่ในโลกแฟนตาซีอยู่แล้วมีความสามารถเหนือกว่าผู้กอบกู้มากมาย นัก อีกทั้งเรื่องยังจบอย่างไม่มีความสุข อาจกล่าวได้ว่าเนื้อเรื่องเกือบทั้งหมดของ “ทีนอส” เต็มไปด้วยความหม่นหมอง สิ้นหวังและหดหู่ ตัวละครเอกทั้งสามต่างมีอดีตที่เศร้าหมอง อาตี๋หรืออีกชื่อหนึ่งคือ “ทีเค” เด็กหนุ่มฮิพฮ็อพฐานะดีแต่ไร้การเหลียวแลจากนักธุรกิจใหญ่ผู้เป็นพ่อ ส้มโอ เด็กสาว ม. ต้น ที่ถูกพ่อเลี้ยงใช้กำลังข่มขู่รังแกทั้งตัวเอง แม่ และน้องชายวัยแบเบาะอยู่เป็นประจำ และ “ชัย” ที่อดีตเคยเป็นมือปืนจากความแค้นที่โสเภณีผู้เป็นแม่ถูกสังหารจากลูกค้าไม่ ทราบชื่อที่ชัยเห็นเพียงรอยสักและหัวเข็มขัดรูปกะโหลก เขาเคยถูกบังคับให้ฆ่าเด็กขายพวงมาลัยที่ถือตุ๊กตาเก่าคร่ำคร่าที่ชื่อ “บัตเตอร์คัพ” ตัวละครเอกในการ์ตูนเรื่อง “พาวเวอร์พัพเกิร์ล” ที่ฉายทางการ์ตูนเน็ตเวิร์ก อันเป็นปมที่ทำให้เขารู้สึกผิดตลอดมาที่ต้องฆ่าผู้บริสุทธิ์ ซึ่งมีการกล่าวถึงหลายครั้งในเรื่อง อีกทั้งตัวตุ๊กตาเองก็สร้างรอยประทับที่ลึกซึ้งในจิตใจของชัยด้วย เป็น ธรรมดาของนิยายแนวนี้ที่จะต้องมีสัตว์ประหลาด ปิศาจหรือการใช้เวทมนตร์ เวทมนตร์ที่ปรากฏในเรื่องส่วนหนึ่งมาจากผู้เฒ่าผู้รักษาคำพยากรณ์ของ บรรพบุรุษ เป็นเวทมนตร์แบบ “เสกเป่า” เช่น เสกขนม้าเป็นหอก หรือเสกหญ้าเป็นนกอินทรีย์ ซึ่งทำให้อ่านแล้วนึกถึงขุนแผนตอนเสกใบมะขามเป็นอย่างยิ่ง ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สร้างความสนุกสนานและความแตกต่างจากนิยายแนวแฟนตาซี ทั่วไปได้ดี อีกทั้งปิศาจในเรื่องก็ไม่ได้นำมาจากเทพนิยายทั่วไป หากแต่แบ่งได้เป็นสามพวกคือ “ซากศพเดินได้” อันเป็นอดีตมนุษย์ที่ถูกทีนอสครอบงำทั้งเด็กและผู้ใหญ่ “สัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติมาก” เช่นหมาป่าและนกอินทรีย์ขนาดยักษ์ และ “ไดโนเสาร์”หาก แต่ฉากการใช้เวทมนตร์หรืออะไรที่หรูหราดูยิ่งใหญ่ไม่ได้เป็นสิ่งที่ใช้ใน นิยายเรื่องนี้มากนัก เพราะดูเหมือนผู้เขียนจะเล่นกับเรื่องจิตใจของตัวละครมากกว่า นอก จากนี้ความแตกต่างจากนิยายแนวเดียวกันเรื่องอื่นๆ ยังอยู่ที่ความสามารถของตัวละคร โดยทั่วไปตัวละครเอก (โดยเฉพาะถ้ามีการระบุถึงในคำพยากรณ์) จะต้องมีความสามารถสูงในด้านใดด้านหนึ่ง เช่นการใช้ดาบ เวทมนตร์ ลางสังหรณ์ หรือแม้แต่การวางแผน ตลอดจนมีอาวุธร้ายแรงตามแต่ผู้เขียนจะสร้างสรรค์ขึ้น หากแต่ตัวละครเอกในเรื่องนี้ไม่เป็นเช่นนั้น อาวุธที่ทรงพลังที่สุดเป็นเพียงปืนพกที่มีกระสุนอยู่ไม่กี่ลูก นอกจากนั้นก็เป็นสิ่งต่างๆ ตามที่จะหาได้ เช่นกระเป๋าถือของผู้หญิง หรือไม้ไผ่ที่นำมาเหลาเป็นหอก แม้แต่ตัวละครในโลกแฟนตาซีเองอย่างผู้นำทางก็มีอาวุธเป็นคันศรกับมีดสั้น ธรรมดาเท่านั้น เมื่อพวกเขาต้องเผชิญหน้ากับศัตรูที่ร้ายกาจอย่างไดโนเสาร์ยักษ์หรือพ่อมดก็ นับว่าตัวละครในเรื่องนี้ต้องเผชิญกับความยากลำบากอย่างแท้จริง และความเป็นตัวเอกก็ไม่ได้ปกป้องพวกเขาจากความตายหรือการบาดเจ็บแต่อย่างใด แต่ก็นับว่ามีเหตุผลเมื่อในคำพยากรณ์ระบุให้พวกเขาเป็นผู้เรียกผู้พิทักษ์ มาปกป้องดินแดนแห่งนี้เท่านั้น เมื่อ “ทีนอส” มีพลังที่จะดึงเอาด้านมืดในจิตใจของตัวละครออกมาครอบงำพวกเขา ทำให้ทุกคนในเรื่องต่างพากัน “ปิดกั้นจิตใจ” กล่าวคือนึกถึงแต่เรื่องดีๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง แต่ถ้ามองจากมุมมองของผู้อ่านแล้วจะเห็นได้ว่ายากที่จะทำได้เพราะทุกคนต่าง มีด้านมืดของจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นเหล่าทหารใน “กองทัพขาว” กองทัพเพียงหนึ่งเดียวในเรื่องที่ทุกคนต้องผูกผ้าขาวไว้ ณ ที่ใดที่หนึ่งตามร่างกาย เราได้รู้จักทหารกองทัพนี้เพียงไม่กี่คนเพราะส่วนใหญ่จะตายหมด พวกเขามีอดีตที่เลวร้ายจากการสู้รบ อีกทั้งต้องกระทำในสิ่งที่ขัดแย้งกับธรรมชาติของความเป็นทหาร กล่าวคือไม่สามารถนึกถึงการฆ่าฟันมากจนเกินไปเพราะจะทำให้จิตใจด้านมืดเข้า ครอบงำตนเอง ด้วยสองสาเหตุนี้จึงทำให้พวกเขาถูกทีนอสเข้าครอบงำได้อย่างง่ายดาย เมื่อเป็นเช่นนี้จึงยากที่จะมีชีวิตรอดได้เมื่อมีศัตรูในรูปแบบนี้ ส่วนผู้นำกองทัพพร้อมทหารเอกนั้นไม่มีการบอกในเรื่องว่าเขามีเครื่องยึด เหนี่ยวจิตใจอย่างไรจึงอยู่รอดมาได้ ด้านมืดของตัวละครเอกทั้งสามถูกเล่าถึงอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นของทีเค เด็กหนุ่มฮิพฮ็อพ ด้านมืดของเขาคือชายชราสองคนในชุดขาวและดำ “ความดีความชั่ว” ดังที่ได้เห็นจากตัวร้ายของการ์ตูนประเภท “ลูนี่ย์ตูน” เช่นทอมกับเจอร์รี่ หรือโรดรันเนอร์ ที่มักจะมีฉากปิศาจชุดดำที่เป็นตัวแทนของความชั่วมาบอกให้ทำชั่ว ในขณะที่เทวดาชุดขาวตัวแทนของความดีมาบอกให้ทำความดี ส่วนมากความดีมักจะพ่ายแพ้เช่นเดียวกับกรณีของทีเคที่ถูกฝ่ายมืดชักจูงให้ ข่มขืนส้มโอเด็กสาวที่เขาแอบรัก ในกรณีของชัยกลับเป็นเสียงที่บอกเขาให้กลับไปเป็นมือปืน การนึกถึงภาพแม่ที่ถูกฆ่าและการฆ่าเด็กขายพวงมาลัยในอดีต ส่วนส้มโอนั้นเป็นตัวแทนของความดีในเรื่องจึงไม่ค่อยมีการกล่าวถึงด้านมืด ของจิตใจมากนัก ใน ส่วนของการเล่าเรื่อง นับว่าผู้เขียนสามารถเล่าเรื่องได้อย่างเห็นภาพ มีการบรรยายที่ดี เขียนได้อย่างน่าติดตาม มีส่วนที่ทำให้ผู้อ่านเชื่อได้ว่าเรื่องนี้อาจเกิดขึ้นจริง เช่นการอ้างอิงถึงสถานที่หรือเว็บไซต์ที่มีอยู่จริง เช่นซอยสี่หรือเว็บเด็กดี กราฟิตี้ในห้องน้ำ หรือแม้แต่การใช้โปรแกรม MSN Messenger หรือ ความต้องการของส้มโอที่จะเป็นนักเขียนนิยายในเว็บเด็กดี จนสุดท้ายผู้เขียนพยายามทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่าทีเคต้องนำเอาความต้องการนั้น มาสานต่อให้เป็นจริงด้วยการโพสต์เรื่องราวจากโลกทีนอสเป็นนิยายในเว็บนี้ (ทีเค ตัวละครในเรื่อง = ผู้เขียน) นอกจากนี้ผู้เขียนยังได้นำตนเองเข้าไปปรากฏอยู่ในเนื้อเรื่องด้วยพร้อมทั้งแฝงความคิดเห็นเกี่ยวกับนิยายออนไลน์ ในหน้าที่ 140 ดังนี้ ความเห็นที่ 12,535 อ่าน แล้วครับ ก็อ่านได้เรื่อยๆ นะ โดยรวมก็ดีแล้วล่ะ เพียงแต่ค่อนข้างสับสนนิดหน่อยกับพล็อตเรื่องที่โดดไปมา ยังไงล่ะ ก็แบบว่าไม่ต่อเนื่องเท่าไร ภาษาก็โอเคครับ แต่โดยส่วนตัวนะผมไม่ค่อยชอบเสียงเอฟเฟ็คสักเท่าไร มันดูเหมือนจะซ้ำซ้อนกับส่วนที่มีบรรยายไว้อยู่แล้ว ส่วนเรื่องตัวอีโมชั่นไม่ขอออกความเห็นดีกว่า อันนี้เป็นลีลาของแต่ละคน และดูเหมือนคนส่วนใหญ่จะชอบเสียด้วยสิ อืม... มีการนำเสนอสมมติฐานอยู่เนืองๆ ว่า ผู้ที่อยู่ในโลกจินตนาการแห่งนั้นส่วนหนึ่งอาจเป็นคนไทย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ภาษาพูดและเขียนเป็นภาษาไทย โดยป้ายชื่อต่างๆ และคำพยากรณ์เป็นภาษาไทย และการเรียกชื่อชนเผ่าของตนว่า “เทยา” ยิ่งทำให้เรื่องนี้ดูสมจริงมากขึ้น ผู้ เขียนเล่าเรื่องได้อย่างที่อ่านแล้วรู้สึกเหมือนกำลังชมภาพยนตร์ ไม่ว่าจะเป็นการตัดสลับภาพในเวลาเดียวกันระหว่างโลกในจินตนาการกับโลกแห่ง ความเป็นจริง หรือการเล่าถึงเหตุการณ์เดียวกันในมุมมองของตัวละครแต่ละตัว ซึ่งสร้างความสนุกสนานได้อย่างดีเยี่ยม นอกจากนี้ผู้เขียนยังสามารถสร้างความผูกพันระหว่างผู้อ่านกับเนื้อเรื่อง เมื่อเริ่มอ่านเชื่อว่าผู้อ่านแทบทุกคนจะตั้งคำถามว่า “ทีนอสคืออะไร” ซึ่งคำถามนี้ไม่สามารถตั้งได้ในเรื่อง เพราะ “ความใคร่รู้นำมาสู่ความพินาศ” หากแต่ผู้เขียนกลับให้ทางออกที่ขัดแย้งกับประโยคนี้ เพราะท้ายที่สุดเมื่อผู้อ่านได้ทราบว่าทีนอสคืออะไร ตัวละครจึงได้ทำลายสิ่งนั้นลงได้เช่นกัน รวมถึงความเชื่อของผู้เขียนเองที่บอกผ่านความคิดของชัยที่ว่า “มนุษย์เราพัฒนาได้เพราะการตั้งคำถาม สงสัยแล้วจึงคิดค้น” (หน้า 271) ผู้เขียนพยายามทิ้งปริศนาไว้กับสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏในเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นความหมายของชื่อ “ทีเค” คำพูดที่ใช้ในการเปิดประตูเรียกผู้พิทักษ์มีที่มาจากกระดาษโน้ตจดรายการซื้อ ของของแม่ส้มโอ ประกอบกับความหมายของการละเล่นแบบไทยรูปแบบหนึ่ง (มาทำไม มาซื้อดอกไม้ ดอกอะไร) แม้กระทั่งพาวเวอร์พัพเกิร์ล มีบางส่วนที่อาจกล่าวได้ว่าเป็น “สัญลักษณ์” เช่นหัวกะโหลกที่ไม้เท้าของผู้ครอบครองทีนอสและหัวเข็มขัดของผู้สังหารแม่ ของชัย มีความหมายตรงตัวถึงความตายและความชั่วร้าย ผ้าขาวที่กองทัพขาวทุกคนต้องผูกเพื่อยึดเหนี่ยวจิตใจ มีความหมายถึงความดี เป็นต้น มี บางส่วนที่ข้าพเจ้าคิดว่าน่าจะมีการขยายความมากกว่านี้คือส่วนที่เป็นของโลก แห่งความเป็นจริง ถึงแม้ว่าจะไม่เป็นส่วนที่สำคัญของเรื่องมากนักแต่ก็ไม่น่าทิ้งไว้ให้ค้างคา เช่นพฤติกรรมของพ่อของทีเค ที่เริ่มแสดงออกถึงความรักลูกด้วยการออกตามหาตามที่ต่างๆ (เขาได้พบกับคนจากทีนอสด้วยในรูปของขอทาน แต่ชายผู้นั้นก็หายไปจากเรื่องอย่างไร้ร่องรอย) แต่พอถึงช่วงหลังของเรื่องผู้เขียนได้บรรยายแต่ในส่วนของโลกแฟนตาซีทำให้บท ของตัวละครนี้ขาดหายไปโดยสิ้นเชิง ภรรยาสาวที่ท้องแก่ของชัยที่ดูประดุจจะมีหน้าที่ให้ความสว่างในชีวิตกับเขา และมีหน้าที่คลอดบุตรเท่านั้น และพ่อเลี้ยงของส้มโอที่แทบจะไม่มีบทบาทอะไรนอกจากจะแสดงความฉุนเฉียวและตาย ในตอนจบ บางครั้งรู้สึกว่าตัวละครเหล่านี้น่าจะมีบทบาทที่มากขึ้นสักเล็กน้อย หรือบางคนก็ไม่น่าจะมีบทมาตั้งแต่แรก เมื่อ เขียนมาถึงบรรทัดนี้ข้าพเจ้านึกขึ้นได้ว่าควรจะสรุป ก็ขอสรุปอย่างซื่อๆ ว่าข้าพเจ้าชอบนิยายเรื่องนี้พอสมควร ด้วยเหตุผลต่างๆ นานาที่ได้กล่าวมา แต่ข้าพเจ้าคงจะชอบนิยายเรื่องนี้มากกว่านี้มาก หากตอนจบจะไม่หักมุมแบบที่เป็นอยู่ (ขอไม่พูดถึงเนื่องจากจะทำลายอรรถรสของเรื่อง) แม้จะเป็นการเชื่อมโยงจากสิ่งที่เคยพูดถึงมาตลอด แต่การทำเช่นนี้ทำให้ความสมจริงที่มีมาตลอดทั้งเรื่องต้องมลายหายไปอย่างไม่ น่าจะเป็น อ่านน้อยลง
bluewhale | 17 มี.ค. 52
22
1
".ทีนอส : ฟ้าผ่ากลางคืนหนาว แฟนตาซีที่ก้าวไกลพอ"
(แจ้งลบ)ซื้อ นิยายเรื่องนี้มาก็ค้างไว้ได้หลายเดือนตั้งแต่งานหนังสือเมื่อตุลาที่แล้ว ไม่ได้ลงมืออ่ารนเสียทีด้วยเหตุผลกลใดมิทราบได้ นึกครึ้มอกครึ้มใจมาอ่านรวดเดียวจบก็ได้เวลาทำตามสัญญาที่ว่าจะเขียนวิจารณ์ กึ่งรีวิวผลงานชิ้นแรกของคุณแจกันสีฟ้า(หรือชัยยา)เสียที ก่อนที่จะถูกว่าที่”ท่าน” ฟ้องเอาด้วยข้อหาผิดสัญญาต่างตอบแทนไปก่อน “ทีนอส” ... อ่านเพิ่มเติม
ซื้อ นิยายเรื่องนี้มาก็ค้างไว้ได้หลายเดือนตั้งแต่งานหนังสือเมื่อตุลาที่แล้ว ไม่ได้ลงมืออ่ารนเสียทีด้วยเหตุผลกลใดมิทราบได้ นึกครึ้มอกครึ้มใจมาอ่านรวดเดียวจบก็ได้เวลาทำตามสัญญาที่ว่าจะเขียนวิจารณ์ กึ่งรีวิวผลงานชิ้นแรกของคุณแจกันสีฟ้า(หรือชัยยา)เสียที ก่อนที่จะถูกว่าที่”ท่าน” ฟ้องเอาด้วยข้อหาผิดสัญญาต่างตอบแทนไปก่อน “ทีนอส” ชื่อเรื่องที่พาดหัวปกอาจทำให้คุณนึกถึงนิยายแฟนตาซีมาตรฐานตามสูตรที่จั่ว หัวเรื่องด้วยชื่อดินแดนหรือตำนานอะไร แต่ภาพปกสีน้ำเงินหม่นอมดำกับร่างจิ๋วที่ดูยังไงก็เป็นตัวร้ายแน่ๆอาจจะขู่ คนที่คิดจะซื้อให้ถอยห่างไปคิดก่อนสักสิบห้านาที ใช่ครับ นิยายเรื่องนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นนิยายแฟนตาซีมาตรฐานตามสูตรสำเร็จที่อ่าน จับจุดบางจุดก็รู้ตอนจบได้ แต่องค์ประกอบปลีกย่อยที่ก้าวออกมาพ้นขอบเขตของวรรณกรรมแฟนตาซีทั่วไปนั้น เป็นที่น่ายกย่องไม่น้อยเลย เปิดประตู : ความหดหู่ของตัวละครสไตล์สตีเฟน คิง คุณแจกันสีฟ้าเปิดเผยตัวเองอย่างเต็มที่ว่าเป็นสาวกของสตีเฟน คิง และนั่นก็เป็นเหตุผลที่ลักษณะการบรรยายชอง “ทีนอส” มาในแนวของสตีเฟน คิงแบบพากย์ไทยโดยสุวิทย์ ขาวปลอดเต็มที่ ทั้งการดำเนินเรื่องที่ฉับไวตัดต่อไปมาพร้อมจะทำเป็นภาพยนตร์ การบรรยายซากศพและความสยดสยองสุดฝีมือปลายปากกา ชนิดที่ว่าหากแปลเป็นภาษาอังกฤษได้คงไม่หนีจากถ้อยคำของคิงเองเสียเท่าไร ดังจะยกตัวอย่างเช่น “หนังศีรษะฉีกออกเป็นแผ่นพร้อมปอยผมชุ่มเลือด ไขสมองที่เคยอัดเป็นก้อนไหลเละออกมากองปนกับเศษเนื้อข้างนอก” (ทีนอส 27 : 21-22) ข้อดีของวิธีการนี้คือ “ทีนอส” สามารถ อ่านได้ไหลลื่นตลอดไม่สะดุดติดขัดส่วนใดนัก ทั้งยังดึงดูดและตรึงความคิดผู้อ่านที่นิยมชมชอบรูปแบบการเขียนนี้ได้อย่าง ยิ่งยวด แต่ข้อเสียที่เป็นเหมือนคมด้านที่สองของดาบคือเป็นการผลักไสผู้อ่านที่ไม่ ถูกจริตส่วนนี้ไปสุดขั้วอีกข้างเช่นเดียวกันกับงานของคิง ตัว ละครที่โผล่พรวดเข้าสู่เนื้อเรื่องทันที่แบบไม่มีปี่มีขลุ่ย แล้วค่อยตัดฉากจากเหตุการณ์ในโลกแฟนตาซีกลับสู่โลกที่ตัวละครจากมา ฉายภาพผู้อยู่รอบข้างและผลกระทบอันเกิดจากการหายตัวไปของตัวละครเอกทั้งสาม นับว่าเป็นวิธีการที่ชาญฉลาด เพราะไม่ต้องใช้บทสนทนาที่ยืดยาวเยิ่นเย้อยัดใส่ปากตัวละครให้เล่าออกมาจนคน อ่านเบื่อฟัง แต่จุดอ่อนของ “ทีนอส” เมื่อใช้วิธีนี้คือการทิ้งปมไว้ให้คนอ่านสงสัยโดยไม่ยอมไขออกในตอนจบ เช่น สิ่งที่เกิดขึ้นกับพ่อของตี๋ หรือช่วงเวลาที่ควรแสดงขับเน้นความเป็นไปของฟากโลกแห่งความเป็นจริงอย่างตอน ที่ภรรยาของชัยคลอดลูกที่น่าจะเอามาบรรยายเพื่อบีบคั้นหัวใจของผู้อ่านได้ ตามสไตล์คิงกลับหายไป อย่าง ไรก็ตาม ตัวละครแต่ละตัวที่ข้ามไปสู่อาคิเดนจากโลกแห่งความเป็นจริงนั้นก็มีรากฐาน และที่มาสมจริงสมจังเสียจนทำให้ตัวละครที่ควรจะเด่นในโลกแฟนตาซีกลับไม่เด่น เท่าที่ควรเสียเลย ป่าอาถรรพ์ : ความน่ากลัวที่แตกต่างและโดดเด่น โลก แฟนตาซีที่มืดหม่นแบบดาร์คแฟนตาซีคือจุดเด่นที่แตกต่างไปจากนิยายแฟนตาซี เรื่องอื่นในท้องตลาด สำหรับคนที่หวังว่าจะมีเศวตนครหรือมหาอาณาจักรอันรุ่งเรืองและงดงามรอคอย หลังจากฝ่าฟันออกจากป่าอาถรรพ์และทะเลทรายสูบเลือด “ทีนอส” ไม่ มีให้ท่าน แม้ว่าหลายๆฉากของการผจญภัยจะชวนให้ประหวัดนึกถึงป่าโลกล้านปีและกองหินทะเล ทรายกับกระบองเพชรพิษก่อนจะขึ้นขุนเขาพระศิวะจากเพชรพระอุมา(ซึ่งก็เอามาจาก สมบัติพระศุลีอีกที)บ้าง แต่ก็ไม่เป็นจุดด้อยเพราะผู้เขียนสามารถสร้างความแตกต่างผ่านการใช้ภาษาที่ มีลักษณะเฉพาะได้ น่าเสียดายอยู่หน่อยหนึ่งที่ความ น่ากลัวและการบีบคั้นทางจิตใจจากมหันตภัยในป่าและทะเลทรายนั้นสั้นกว่าที่ คาดไว้ หากเหยาะเพิ่มมนตร์ดำจากตัวร้ายอีกนิด สัตว์ประหลาดอีกหน่อย หรือแม้แต่ขยายความเรื่องต้นไม้มีชีวิตและมีจิตมุ่งร้ายเข้าไปอีกสักหนึ่ง หน้า ความสยองขวัญที่จะเกาะกุมจิตใจของผู้อ่านคงจะทำให้หลายๆคนสะพรึงจนเก็บเอาไป ฝันให้สะดุ้งตื่นด้วยความตกใจไปอีกหลายคืน อาคิเดน : นครสีขาวในอาภรณ์หม่นเศร้าสีเทาตุ่น แดนศักดิ์สิทธิ์อาคิเดนและการรบกับกองกำลังผีดิบของ “ทีนอส” ดูจืดจางลงเมื่อสารพัดเรื่องราวภายในใจของตัวละครรุมเร้าจากทุกทาง ผู้เขียนเล่าเรื่องราวของตัวละครแต่ละตัวให้รายละเอียดและมีปมเตรียมจะขยาย ได้ชนิดว่าถ้าจะเขียนเป็นเรื่องยาวยี่สิบสี่เล่มจบสองภาคก็น่าจะทำได้ แต่ความเป็นแฟนตาซีกับเรื่องราวพื้นหลังที่ปูให้อาคิเดนดูไม่แน่นหนักและ สร้างอารมณ์ร่วมได้มากพอ อาจเป็นเพราะการเรียงลำดับเนื้อความแต่ละบท เช่นการยกทัพไปสกัดปีศาจในบทต้นๆทำให้ภารกิจที่ดูหนักหนาไม่เด่น ส่วนบทที่สิบสี่ทั้งบทที่อุทิศให้ภาพอดีตก่อนการล่มสลายของโลกอันรุ่งเรือง ดูอยู่ผิดที่ผิดทางประหลาดๆ หากจะสลับเอาการท้ารบหน้าประตูสลับกับบทย้อนอดีตน่าจะทำให้เรื่องลื่นไหลและ สร้างอารมณ์ร่วมได้ดีขึ้น เมื่อรวมกับปรัชญาที่คล้ายกับว่าผู้เขียนต้องการจะถ่ายทอดบางอย่างแต่ขยัก ไว้ไม่ตกผลึกถึงที่สุดแล้ว เงาของโลกแฟนตาซีใน “ทีนอส” จึงเลือนรางกลายเป็นภาพลวงตาบนผืนทะเลทรายที่ชัดเจนเป็นช่วงๆและเมื่อจะจับ คว้าก็สลายเป็นไอแดด อย่างไรก็ดีการคลี่คลายเนื้อเรื่องช่วงหลังเป็นไปอย่างราบรื่นและสมเหตุสมผล การเปิดเผยคำทำนายและเนื้อเรื่องหลังจากนั้นกระชับฉับไวทันใจไม่เสียเวลา พรรณนาอะไรให้ยืดยาดและสรุปผ่านมุมมองของตัวละครแต่ละคนได้ดีเยี่ยม สงคราม ณ หอบังคับการบิน : เมื่อหวังสูง พยายามสูง ผลลัพธ์ย่อมสูงส่ง การ ต่อสู้ครั้งสุดท้ายระหว่างชาวอาคิเดนกับทีนอสเป็นจุดที่ควรยกย่องอย่างยิ่ง ผู้อ่านจะไม่พลาดจุดเล็กน้อยในความสัมพันธ์ระหว่างแต่ละฝ่าย ผู้เขียนสามารถเกลี่ยบทตัวละครแต่ละตัวได้เท่าเทียมโดยไม่เสียอรรถรสของฉาก ต่อสู้เลย ฉากดรามาของพ่อลูกและสหายร่วมรบนอกกำแพงนคร ตัดสลับกับเหตุการณ์แก้ปริศนาและการต่อสู้กับทีนอสบนหอบังคับการบินปิดฉากลง อย่างงดงามชนิดหักมุมเหนือความคาดหมายของผู้อ่านทั่วไปได้ ความสมจริงอื่นๆที่ปูพื้นมาตั้งแต่เริ่มเรื่องส่งผลให้บทบาทตัวละครหลังจาก นั้นเป็นไปตามแนวทางของนิยายแฟนตาซีชั้นดีจนหาข้อตำหนิได้ยาก ฟ้าผ่า คืนหนาว กลับบ้าน : บทสรุปที่เป็นเหมือนฟ้าผ่ากลางวันแสกๆ (ไม่ควรอ่านหากท่านต้องการความตื่นเต้นในตอนจบ) บทจบของทีนอสอาจเข้าตำรา “ลางเนื้อชอบลางยา” ใครที่ชอบนิยายหักมุมตามสไตล์ของคิงอาจจะโปรดปรานแนวทางนำเสนอแบบนี้ ซึ่งความจริงแล้วก็ไม่น่าจะเหนือความคาดหมายเท่าใด แต่การแต่งเติมอะไรหลายๆอย่างเพื่อบีบคั้นจิตใจตัวเอกในตอนจบแบบ The Mist อาจทำให้หลายคนหงุดหงิดและพาลไม่ชอบนิยายทั้งเรื่องได้เลย ทีนอส : แฟนตาซีไทยเริ่มก้าวไกล แร่เหล็กน้ำพี้ที่รอการตีเป็นศาสตรา แม้ว่า “ทีนอส” อาจจะมีส่วนขาดตกบกพร่องไปบ้างในเชิงโครงสร้าง คือวางปมใหญ่และตัวละครตัวกลมไว้มากเกินกว่าจะไขปริศนาได้หมด แต่ด้านภาษานั้นแทบเรียกได้ว่าไม่มีที่ติ การพิสูจน์อักษรผิดซ้ำที่เดิมหลายครั้งเช่น “มโหราฬ” “พิศดาร” ไม่ได้เป็นอุปสรรคแก่การอ่านมากมายจนต้องตำหนิ การเรียงประโยคเข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน พรรณนาโวหารละเอียดชัดเจนสรรคำได้เหมาะสม ปริศนาไม่ยาก ไม่ง่าย ชวนให้คิดตามและคาดคะเนเนื้อเรื่องไปด้วยได้ ทำให้อ่านรวดเดียวจนจบได้โดยไม่เบื่อปิดเล่มหนังสือลงไปเสียก่อน นับได้ว่า “ทีนอส” เป็นนิยายแฟนตาซีชั้นดีอีกเรื่องหนึ่งที่แม้ว่าจะไม่ถึงกับพลิกวงการ แต่ก็ควรค่าแก่การนำมาอ่าน หากผู้เขียนเติมความลึกลงอีกชั้น เลือกประเด็นจะนำเสนอแนวคิดให้ชัดเจนและตัดทิ้งส่วนที่เกินความจำเป็นออกไป ได้เหมือนดั่งการหลอมแร่เหล็กให้ขึ้นรูปแล้ว ผลงานเรื่องต่อไปของ “ชัยยา” ย่อมควรค่าแก่การรอคอยยิ่งกว่าเดิม อ่านน้อยลง
เทราสเฟียร์ เอล เซราฟีเตอร์ | 20 มี.ค. 52
10
1
ดูทั้งหมด
".ทีนอส : ฟ้าผ่ากลางคืนหนาว แฟนตาซีที่ก้าวไกลพอ"
(แจ้งลบ)ซื้อ นิยายเรื่องนี้มาก็ค้างไว้ได้หลายเดือนตั้งแต่งานหนังสือเมื่อตุลาที่แล้ว ไม่ได้ลงมืออ่ารนเสียทีด้วยเหตุผลกลใดมิทราบได้ นึกครึ้มอกครึ้มใจมาอ่านรวดเดียวจบก็ได้เวลาทำตามสัญญาที่ว่าจะเขียนวิจารณ์ กึ่งรีวิวผลงานชิ้นแรกของคุณแจกันสีฟ้า(หรือชัยยา)เสียที ก่อนที่จะถูกว่าที่”ท่าน” ฟ้องเอาด้วยข้อหาผิดสัญญาต่างตอบแทนไปก่อน “ทีนอส” ... อ่านเพิ่มเติม
ซื้อ นิยายเรื่องนี้มาก็ค้างไว้ได้หลายเดือนตั้งแต่งานหนังสือเมื่อตุลาที่แล้ว ไม่ได้ลงมืออ่ารนเสียทีด้วยเหตุผลกลใดมิทราบได้ นึกครึ้มอกครึ้มใจมาอ่านรวดเดียวจบก็ได้เวลาทำตามสัญญาที่ว่าจะเขียนวิจารณ์ กึ่งรีวิวผลงานชิ้นแรกของคุณแจกันสีฟ้า(หรือชัยยา)เสียที ก่อนที่จะถูกว่าที่”ท่าน” ฟ้องเอาด้วยข้อหาผิดสัญญาต่างตอบแทนไปก่อน “ทีนอส” ชื่อเรื่องที่พาดหัวปกอาจทำให้คุณนึกถึงนิยายแฟนตาซีมาตรฐานตามสูตรที่จั่ว หัวเรื่องด้วยชื่อดินแดนหรือตำนานอะไร แต่ภาพปกสีน้ำเงินหม่นอมดำกับร่างจิ๋วที่ดูยังไงก็เป็นตัวร้ายแน่ๆอาจจะขู่ คนที่คิดจะซื้อให้ถอยห่างไปคิดก่อนสักสิบห้านาที ใช่ครับ นิยายเรื่องนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นนิยายแฟนตาซีมาตรฐานตามสูตรสำเร็จที่อ่าน จับจุดบางจุดก็รู้ตอนจบได้ แต่องค์ประกอบปลีกย่อยที่ก้าวออกมาพ้นขอบเขตของวรรณกรรมแฟนตาซีทั่วไปนั้น เป็นที่น่ายกย่องไม่น้อยเลย เปิดประตู : ความหดหู่ของตัวละครสไตล์สตีเฟน คิง คุณแจกันสีฟ้าเปิดเผยตัวเองอย่างเต็มที่ว่าเป็นสาวกของสตีเฟน คิง และนั่นก็เป็นเหตุผลที่ลักษณะการบรรยายชอง “ทีนอส” มาในแนวของสตีเฟน คิงแบบพากย์ไทยโดยสุวิทย์ ขาวปลอดเต็มที่ ทั้งการดำเนินเรื่องที่ฉับไวตัดต่อไปมาพร้อมจะทำเป็นภาพยนตร์ การบรรยายซากศพและความสยดสยองสุดฝีมือปลายปากกา ชนิดที่ว่าหากแปลเป็นภาษาอังกฤษได้คงไม่หนีจากถ้อยคำของคิงเองเสียเท่าไร ดังจะยกตัวอย่างเช่น “หนังศีรษะฉีกออกเป็นแผ่นพร้อมปอยผมชุ่มเลือด ไขสมองที่เคยอัดเป็นก้อนไหลเละออกมากองปนกับเศษเนื้อข้างนอก” (ทีนอส 27 : 21-22) ข้อดีของวิธีการนี้คือ “ทีนอส” สามารถ อ่านได้ไหลลื่นตลอดไม่สะดุดติดขัดส่วนใดนัก ทั้งยังดึงดูดและตรึงความคิดผู้อ่านที่นิยมชมชอบรูปแบบการเขียนนี้ได้อย่าง ยิ่งยวด แต่ข้อเสียที่เป็นเหมือนคมด้านที่สองของดาบคือเป็นการผลักไสผู้อ่านที่ไม่ ถูกจริตส่วนนี้ไปสุดขั้วอีกข้างเช่นเดียวกันกับงานของคิง ตัว ละครที่โผล่พรวดเข้าสู่เนื้อเรื่องทันที่แบบไม่มีปี่มีขลุ่ย แล้วค่อยตัดฉากจากเหตุการณ์ในโลกแฟนตาซีกลับสู่โลกที่ตัวละครจากมา ฉายภาพผู้อยู่รอบข้างและผลกระทบอันเกิดจากการหายตัวไปของตัวละครเอกทั้งสาม นับว่าเป็นวิธีการที่ชาญฉลาด เพราะไม่ต้องใช้บทสนทนาที่ยืดยาวเยิ่นเย้อยัดใส่ปากตัวละครให้เล่าออกมาจนคน อ่านเบื่อฟัง แต่จุดอ่อนของ “ทีนอส” เมื่อใช้วิธีนี้คือการทิ้งปมไว้ให้คนอ่านสงสัยโดยไม่ยอมไขออกในตอนจบ เช่น สิ่งที่เกิดขึ้นกับพ่อของตี๋ หรือช่วงเวลาที่ควรแสดงขับเน้นความเป็นไปของฟากโลกแห่งความเป็นจริงอย่างตอน ที่ภรรยาของชัยคลอดลูกที่น่าจะเอามาบรรยายเพื่อบีบคั้นหัวใจของผู้อ่านได้ ตามสไตล์คิงกลับหายไป อย่าง ไรก็ตาม ตัวละครแต่ละตัวที่ข้ามไปสู่อาคิเดนจากโลกแห่งความเป็นจริงนั้นก็มีรากฐาน และที่มาสมจริงสมจังเสียจนทำให้ตัวละครที่ควรจะเด่นในโลกแฟนตาซีกลับไม่เด่น เท่าที่ควรเสียเลย ป่าอาถรรพ์ : ความน่ากลัวที่แตกต่างและโดดเด่น โลก แฟนตาซีที่มืดหม่นแบบดาร์คแฟนตาซีคือจุดเด่นที่แตกต่างไปจากนิยายแฟนตาซี เรื่องอื่นในท้องตลาด สำหรับคนที่หวังว่าจะมีเศวตนครหรือมหาอาณาจักรอันรุ่งเรืองและงดงามรอคอย หลังจากฝ่าฟันออกจากป่าอาถรรพ์และทะเลทรายสูบเลือด “ทีนอส” ไม่ มีให้ท่าน แม้ว่าหลายๆฉากของการผจญภัยจะชวนให้ประหวัดนึกถึงป่าโลกล้านปีและกองหินทะเล ทรายกับกระบองเพชรพิษก่อนจะขึ้นขุนเขาพระศิวะจากเพชรพระอุมา(ซึ่งก็เอามาจาก สมบัติพระศุลีอีกที)บ้าง แต่ก็ไม่เป็นจุดด้อยเพราะผู้เขียนสามารถสร้างความแตกต่างผ่านการใช้ภาษาที่ มีลักษณะเฉพาะได้ น่าเสียดายอยู่หน่อยหนึ่งที่ความ น่ากลัวและการบีบคั้นทางจิตใจจากมหันตภัยในป่าและทะเลทรายนั้นสั้นกว่าที่ คาดไว้ หากเหยาะเพิ่มมนตร์ดำจากตัวร้ายอีกนิด สัตว์ประหลาดอีกหน่อย หรือแม้แต่ขยายความเรื่องต้นไม้มีชีวิตและมีจิตมุ่งร้ายเข้าไปอีกสักหนึ่ง หน้า ความสยองขวัญที่จะเกาะกุมจิตใจของผู้อ่านคงจะทำให้หลายๆคนสะพรึงจนเก็บเอาไป ฝันให้สะดุ้งตื่นด้วยความตกใจไปอีกหลายคืน อาคิเดน : นครสีขาวในอาภรณ์หม่นเศร้าสีเทาตุ่น แดนศักดิ์สิทธิ์อาคิเดนและการรบกับกองกำลังผีดิบของ “ทีนอส” ดูจืดจางลงเมื่อสารพัดเรื่องราวภายในใจของตัวละครรุมเร้าจากทุกทาง ผู้เขียนเล่าเรื่องราวของตัวละครแต่ละตัวให้รายละเอียดและมีปมเตรียมจะขยาย ได้ชนิดว่าถ้าจะเขียนเป็นเรื่องยาวยี่สิบสี่เล่มจบสองภาคก็น่าจะทำได้ แต่ความเป็นแฟนตาซีกับเรื่องราวพื้นหลังที่ปูให้อาคิเดนดูไม่แน่นหนักและ สร้างอารมณ์ร่วมได้มากพอ อาจเป็นเพราะการเรียงลำดับเนื้อความแต่ละบท เช่นการยกทัพไปสกัดปีศาจในบทต้นๆทำให้ภารกิจที่ดูหนักหนาไม่เด่น ส่วนบทที่สิบสี่ทั้งบทที่อุทิศให้ภาพอดีตก่อนการล่มสลายของโลกอันรุ่งเรือง ดูอยู่ผิดที่ผิดทางประหลาดๆ หากจะสลับเอาการท้ารบหน้าประตูสลับกับบทย้อนอดีตน่าจะทำให้เรื่องลื่นไหลและ สร้างอารมณ์ร่วมได้ดีขึ้น เมื่อรวมกับปรัชญาที่คล้ายกับว่าผู้เขียนต้องการจะถ่ายทอดบางอย่างแต่ขยัก ไว้ไม่ตกผลึกถึงที่สุดแล้ว เงาของโลกแฟนตาซีใน “ทีนอส” จึงเลือนรางกลายเป็นภาพลวงตาบนผืนทะเลทรายที่ชัดเจนเป็นช่วงๆและเมื่อจะจับ คว้าก็สลายเป็นไอแดด อย่างไรก็ดีการคลี่คลายเนื้อเรื่องช่วงหลังเป็นไปอย่างราบรื่นและสมเหตุสมผล การเปิดเผยคำทำนายและเนื้อเรื่องหลังจากนั้นกระชับฉับไวทันใจไม่เสียเวลา พรรณนาอะไรให้ยืดยาดและสรุปผ่านมุมมองของตัวละครแต่ละคนได้ดีเยี่ยม สงคราม ณ หอบังคับการบิน : เมื่อหวังสูง พยายามสูง ผลลัพธ์ย่อมสูงส่ง การ ต่อสู้ครั้งสุดท้ายระหว่างชาวอาคิเดนกับทีนอสเป็นจุดที่ควรยกย่องอย่างยิ่ง ผู้อ่านจะไม่พลาดจุดเล็กน้อยในความสัมพันธ์ระหว่างแต่ละฝ่าย ผู้เขียนสามารถเกลี่ยบทตัวละครแต่ละตัวได้เท่าเทียมโดยไม่เสียอรรถรสของฉาก ต่อสู้เลย ฉากดรามาของพ่อลูกและสหายร่วมรบนอกกำแพงนคร ตัดสลับกับเหตุการณ์แก้ปริศนาและการต่อสู้กับทีนอสบนหอบังคับการบินปิดฉากลง อย่างงดงามชนิดหักมุมเหนือความคาดหมายของผู้อ่านทั่วไปได้ ความสมจริงอื่นๆที่ปูพื้นมาตั้งแต่เริ่มเรื่องส่งผลให้บทบาทตัวละครหลังจาก นั้นเป็นไปตามแนวทางของนิยายแฟนตาซีชั้นดีจนหาข้อตำหนิได้ยาก ฟ้าผ่า คืนหนาว กลับบ้าน : บทสรุปที่เป็นเหมือนฟ้าผ่ากลางวันแสกๆ (ไม่ควรอ่านหากท่านต้องการความตื่นเต้นในตอนจบ) บทจบของทีนอสอาจเข้าตำรา “ลางเนื้อชอบลางยา” ใครที่ชอบนิยายหักมุมตามสไตล์ของคิงอาจจะโปรดปรานแนวทางนำเสนอแบบนี้ ซึ่งความจริงแล้วก็ไม่น่าจะเหนือความคาดหมายเท่าใด แต่การแต่งเติมอะไรหลายๆอย่างเพื่อบีบคั้นจิตใจตัวเอกในตอนจบแบบ The Mist อาจทำให้หลายคนหงุดหงิดและพาลไม่ชอบนิยายทั้งเรื่องได้เลย ทีนอส : แฟนตาซีไทยเริ่มก้าวไกล แร่เหล็กน้ำพี้ที่รอการตีเป็นศาสตรา แม้ว่า “ทีนอส” อาจจะมีส่วนขาดตกบกพร่องไปบ้างในเชิงโครงสร้าง คือวางปมใหญ่และตัวละครตัวกลมไว้มากเกินกว่าจะไขปริศนาได้หมด แต่ด้านภาษานั้นแทบเรียกได้ว่าไม่มีที่ติ การพิสูจน์อักษรผิดซ้ำที่เดิมหลายครั้งเช่น “มโหราฬ” “พิศดาร” ไม่ได้เป็นอุปสรรคแก่การอ่านมากมายจนต้องตำหนิ การเรียงประโยคเข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน พรรณนาโวหารละเอียดชัดเจนสรรคำได้เหมาะสม ปริศนาไม่ยาก ไม่ง่าย ชวนให้คิดตามและคาดคะเนเนื้อเรื่องไปด้วยได้ ทำให้อ่านรวดเดียวจนจบได้โดยไม่เบื่อปิดเล่มหนังสือลงไปเสียก่อน นับได้ว่า “ทีนอส” เป็นนิยายแฟนตาซีชั้นดีอีกเรื่องหนึ่งที่แม้ว่าจะไม่ถึงกับพลิกวงการ แต่ก็ควรค่าแก่การนำมาอ่าน หากผู้เขียนเติมความลึกลงอีกชั้น เลือกประเด็นจะนำเสนอแนวคิดให้ชัดเจนและตัดทิ้งส่วนที่เกินความจำเป็นออกไป ได้เหมือนดั่งการหลอมแร่เหล็กให้ขึ้นรูปแล้ว ผลงานเรื่องต่อไปของ “ชัยยา” ย่อมควรค่าแก่การรอคอยยิ่งกว่าเดิม อ่านน้อยลง
เทราสเฟียร์ เอล เซราฟีเตอร์ | 20 มี.ค. 52
10
1
"ข้อสังเกตจากการอ่านวรรณกรรมออนไลน์ที่ได้รับการตีพิมพ์ “ทีนอส”"
(แจ้งลบ)ข้อสังเกตจากการอ่านวรรณกรรมออนไลน์ที่ได้รับการตีพิมพ์ “ทีนอส” เรื่องย่อ ชัย คนขับแท็กซี่ รับผู้โดยสารวัยรุ่นที่เป็นเด็กฮิพฮ็อพที่สี่แยกแห่งหนึ่งเพื่อจะพาไปส่งที่ รัชดาซอยสี่ แต่เมื่อรถของทั้งคู่ผ่านสี่แยกกลับทะลุมิติมาปรากฏที่โลกในจินตนาการที่ อยู่ในสภาพย่ำแย่เพราะปิศาจยึดครองจนเกือบหมด ทั้งสองได้พบรถยนต์อีกคันที่มา ... อ่านเพิ่มเติม
ข้อสังเกตจากการอ่านวรรณกรรมออนไลน์ที่ได้รับการตีพิมพ์ “ทีนอส” เรื่องย่อ ชัย คนขับแท็กซี่ รับผู้โดยสารวัยรุ่นที่เป็นเด็กฮิพฮ็อพที่สี่แยกแห่งหนึ่งเพื่อจะพาไปส่งที่ รัชดาซอยสี่ แต่เมื่อรถของทั้งคู่ผ่านสี่แยกกลับทะลุมิติมาปรากฏที่โลกในจินตนาการที่ อยู่ในสภาพย่ำแย่เพราะปิศาจยึดครองจนเกือบหมด ทั้งสองได้พบรถยนต์อีกคันที่มาถึงแล้วก่อนหน้าที่มีเด็กนักเรียน ม. ต้นคนหนึ่งนั่งอยู่กับแม่ แม่เสียชีวิตทันที จากนั้นเมื่อได้พบผู้นำทาง ทั้งสามคนที่เหลือจึงต้องกู้โลกตามคำพยากรณ์ที่มีมานานแสนนานจนผู้คนในโลก แห่งนั้นเกือบหมดศรัทธา ข้อสังเกต เนื้อเรื่องเป็นแนว “แฟนตาซีทะลุมิติ” ซึ่งเปิดโอกาสให้ตัวละครในยุคปัจจุบันเข้าสู่โลกในจินตนาการได้ แต่เมื่ออ่านไปแล้วกลับพบกับความแตกต่างจากเรื่องในแนวนี้ที่ส่วนมากจะเป็น พระเอกขี่ม้าขาวมากอบกู้โลก และเรื่องจบลงอย่างเป็นสุข กล่าวคือถึงแม้ว่าตัวละครเอกจะต้องเป็นผู้กู้โลกเช่นกัน แต่ในขณะที่อ่านไม่รู้สึกว่ามีความหวังว่าเขาทั้งสามจะกอบกู้โลกได้ เพราะฝ่ายที่อยู่ในโลกแฟนตาซีอยู่แล้วมีความสามารถเหนือกว่าผู้กอบกู้มากมาย นัก อีกทั้งเรื่องยังจบอย่างไม่มีความสุข อาจกล่าวได้ว่าเนื้อเรื่องเกือบทั้งหมดของ “ทีนอส” เต็มไปด้วยความหม่นหมอง สิ้นหวังและหดหู่ ตัวละครเอกทั้งสามต่างมีอดีตที่เศร้าหมอง อาตี๋หรืออีกชื่อหนึ่งคือ “ทีเค” เด็กหนุ่มฮิพฮ็อพฐานะดีแต่ไร้การเหลียวแลจากนักธุรกิจใหญ่ผู้เป็นพ่อ ส้มโอ เด็กสาว ม. ต้น ที่ถูกพ่อเลี้ยงใช้กำลังข่มขู่รังแกทั้งตัวเอง แม่ และน้องชายวัยแบเบาะอยู่เป็นประจำ และ “ชัย” ที่อดีตเคยเป็นมือปืนจากความแค้นที่โสเภณีผู้เป็นแม่ถูกสังหารจากลูกค้าไม่ ทราบชื่อที่ชัยเห็นเพียงรอยสักและหัวเข็มขัดรูปกะโหลก เขาเคยถูกบังคับให้ฆ่าเด็กขายพวงมาลัยที่ถือตุ๊กตาเก่าคร่ำคร่าที่ชื่อ “บัตเตอร์คัพ” ตัวละครเอกในการ์ตูนเรื่อง “พาวเวอร์พัพเกิร์ล” ที่ฉายทางการ์ตูนเน็ตเวิร์ก อันเป็นปมที่ทำให้เขารู้สึกผิดตลอดมาที่ต้องฆ่าผู้บริสุทธิ์ ซึ่งมีการกล่าวถึงหลายครั้งในเรื่อง อีกทั้งตัวตุ๊กตาเองก็สร้างรอยประทับที่ลึกซึ้งในจิตใจของชัยด้วย เป็น ธรรมดาของนิยายแนวนี้ที่จะต้องมีสัตว์ประหลาด ปิศาจหรือการใช้เวทมนตร์ เวทมนตร์ที่ปรากฏในเรื่องส่วนหนึ่งมาจากผู้เฒ่าผู้รักษาคำพยากรณ์ของ บรรพบุรุษ เป็นเวทมนตร์แบบ “เสกเป่า” เช่น เสกขนม้าเป็นหอก หรือเสกหญ้าเป็นนกอินทรีย์ ซึ่งทำให้อ่านแล้วนึกถึงขุนแผนตอนเสกใบมะขามเป็นอย่างยิ่ง ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สร้างความสนุกสนานและความแตกต่างจากนิยายแนวแฟนตาซี ทั่วไปได้ดี อีกทั้งปิศาจในเรื่องก็ไม่ได้นำมาจากเทพนิยายทั่วไป หากแต่แบ่งได้เป็นสามพวกคือ “ซากศพเดินได้” อันเป็นอดีตมนุษย์ที่ถูกทีนอสครอบงำทั้งเด็กและผู้ใหญ่ “สัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติมาก” เช่นหมาป่าและนกอินทรีย์ขนาดยักษ์ และ “ไดโนเสาร์”หาก แต่ฉากการใช้เวทมนตร์หรืออะไรที่หรูหราดูยิ่งใหญ่ไม่ได้เป็นสิ่งที่ใช้ใน นิยายเรื่องนี้มากนัก เพราะดูเหมือนผู้เขียนจะเล่นกับเรื่องจิตใจของตัวละครมากกว่า นอก จากนี้ความแตกต่างจากนิยายแนวเดียวกันเรื่องอื่นๆ ยังอยู่ที่ความสามารถของตัวละคร โดยทั่วไปตัวละครเอก (โดยเฉพาะถ้ามีการระบุถึงในคำพยากรณ์) จะต้องมีความสามารถสูงในด้านใดด้านหนึ่ง เช่นการใช้ดาบ เวทมนตร์ ลางสังหรณ์ หรือแม้แต่การวางแผน ตลอดจนมีอาวุธร้ายแรงตามแต่ผู้เขียนจะสร้างสรรค์ขึ้น หากแต่ตัวละครเอกในเรื่องนี้ไม่เป็นเช่นนั้น อาวุธที่ทรงพลังที่สุดเป็นเพียงปืนพกที่มีกระสุนอยู่ไม่กี่ลูก นอกจากนั้นก็เป็นสิ่งต่างๆ ตามที่จะหาได้ เช่นกระเป๋าถือของผู้หญิง หรือไม้ไผ่ที่นำมาเหลาเป็นหอก แม้แต่ตัวละครในโลกแฟนตาซีเองอย่างผู้นำทางก็มีอาวุธเป็นคันศรกับมีดสั้น ธรรมดาเท่านั้น เมื่อพวกเขาต้องเผชิญหน้ากับศัตรูที่ร้ายกาจอย่างไดโนเสาร์ยักษ์หรือพ่อมดก็ นับว่าตัวละครในเรื่องนี้ต้องเผชิญกับความยากลำบากอย่างแท้จริง และความเป็นตัวเอกก็ไม่ได้ปกป้องพวกเขาจากความตายหรือการบาดเจ็บแต่อย่างใด แต่ก็นับว่ามีเหตุผลเมื่อในคำพยากรณ์ระบุให้พวกเขาเป็นผู้เรียกผู้พิทักษ์ มาปกป้องดินแดนแห่งนี้เท่านั้น เมื่อ “ทีนอส” มีพลังที่จะดึงเอาด้านมืดในจิตใจของตัวละครออกมาครอบงำพวกเขา ทำให้ทุกคนในเรื่องต่างพากัน “ปิดกั้นจิตใจ” กล่าวคือนึกถึงแต่เรื่องดีๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง แต่ถ้ามองจากมุมมองของผู้อ่านแล้วจะเห็นได้ว่ายากที่จะทำได้เพราะทุกคนต่าง มีด้านมืดของจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นเหล่าทหารใน “กองทัพขาว” กองทัพเพียงหนึ่งเดียวในเรื่องที่ทุกคนต้องผูกผ้าขาวไว้ ณ ที่ใดที่หนึ่งตามร่างกาย เราได้รู้จักทหารกองทัพนี้เพียงไม่กี่คนเพราะส่วนใหญ่จะตายหมด พวกเขามีอดีตที่เลวร้ายจากการสู้รบ อีกทั้งต้องกระทำในสิ่งที่ขัดแย้งกับธรรมชาติของความเป็นทหาร กล่าวคือไม่สามารถนึกถึงการฆ่าฟันมากจนเกินไปเพราะจะทำให้จิตใจด้านมืดเข้า ครอบงำตนเอง ด้วยสองสาเหตุนี้จึงทำให้พวกเขาถูกทีนอสเข้าครอบงำได้อย่างง่ายดาย เมื่อเป็นเช่นนี้จึงยากที่จะมีชีวิตรอดได้เมื่อมีศัตรูในรูปแบบนี้ ส่วนผู้นำกองทัพพร้อมทหารเอกนั้นไม่มีการบอกในเรื่องว่าเขามีเครื่องยึด เหนี่ยวจิตใจอย่างไรจึงอยู่รอดมาได้ ด้านมืดของตัวละครเอกทั้งสามถูกเล่าถึงอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นของทีเค เด็กหนุ่มฮิพฮ็อพ ด้านมืดของเขาคือชายชราสองคนในชุดขาวและดำ “ความดีความชั่ว” ดังที่ได้เห็นจากตัวร้ายของการ์ตูนประเภท “ลูนี่ย์ตูน” เช่นทอมกับเจอร์รี่ หรือโรดรันเนอร์ ที่มักจะมีฉากปิศาจชุดดำที่เป็นตัวแทนของความชั่วมาบอกให้ทำชั่ว ในขณะที่เทวดาชุดขาวตัวแทนของความดีมาบอกให้ทำความดี ส่วนมากความดีมักจะพ่ายแพ้เช่นเดียวกับกรณีของทีเคที่ถูกฝ่ายมืดชักจูงให้ ข่มขืนส้มโอเด็กสาวที่เขาแอบรัก ในกรณีของชัยกลับเป็นเสียงที่บอกเขาให้กลับไปเป็นมือปืน การนึกถึงภาพแม่ที่ถูกฆ่าและการฆ่าเด็กขายพวงมาลัยในอดีต ส่วนส้มโอนั้นเป็นตัวแทนของความดีในเรื่องจึงไม่ค่อยมีการกล่าวถึงด้านมืด ของจิตใจมากนัก ใน ส่วนของการเล่าเรื่อง นับว่าผู้เขียนสามารถเล่าเรื่องได้อย่างเห็นภาพ มีการบรรยายที่ดี เขียนได้อย่างน่าติดตาม มีส่วนที่ทำให้ผู้อ่านเชื่อได้ว่าเรื่องนี้อาจเกิดขึ้นจริง เช่นการอ้างอิงถึงสถานที่หรือเว็บไซต์ที่มีอยู่จริง เช่นซอยสี่หรือเว็บเด็กดี กราฟิตี้ในห้องน้ำ หรือแม้แต่การใช้โปรแกรม MSN Messenger หรือ ความต้องการของส้มโอที่จะเป็นนักเขียนนิยายในเว็บเด็กดี จนสุดท้ายผู้เขียนพยายามทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่าทีเคต้องนำเอาความต้องการนั้น มาสานต่อให้เป็นจริงด้วยการโพสต์เรื่องราวจากโลกทีนอสเป็นนิยายในเว็บนี้ (ทีเค ตัวละครในเรื่อง = ผู้เขียน) นอกจากนี้ผู้เขียนยังได้นำตนเองเข้าไปปรากฏอยู่ในเนื้อเรื่องด้วยพร้อมทั้งแฝงความคิดเห็นเกี่ยวกับนิยายออนไลน์ ในหน้าที่ 140 ดังนี้ ความเห็นที่ 12,535 อ่าน แล้วครับ ก็อ่านได้เรื่อยๆ นะ โดยรวมก็ดีแล้วล่ะ เพียงแต่ค่อนข้างสับสนนิดหน่อยกับพล็อตเรื่องที่โดดไปมา ยังไงล่ะ ก็แบบว่าไม่ต่อเนื่องเท่าไร ภาษาก็โอเคครับ แต่โดยส่วนตัวนะผมไม่ค่อยชอบเสียงเอฟเฟ็คสักเท่าไร มันดูเหมือนจะซ้ำซ้อนกับส่วนที่มีบรรยายไว้อยู่แล้ว ส่วนเรื่องตัวอีโมชั่นไม่ขอออกความเห็นดีกว่า อันนี้เป็นลีลาของแต่ละคน และดูเหมือนคนส่วนใหญ่จะชอบเสียด้วยสิ อืม... มีการนำเสนอสมมติฐานอยู่เนืองๆ ว่า ผู้ที่อยู่ในโลกจินตนาการแห่งนั้นส่วนหนึ่งอาจเป็นคนไทย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ภาษาพูดและเขียนเป็นภาษาไทย โดยป้ายชื่อต่างๆ และคำพยากรณ์เป็นภาษาไทย และการเรียกชื่อชนเผ่าของตนว่า “เทยา” ยิ่งทำให้เรื่องนี้ดูสมจริงมากขึ้น ผู้ เขียนเล่าเรื่องได้อย่างที่อ่านแล้วรู้สึกเหมือนกำลังชมภาพยนตร์ ไม่ว่าจะเป็นการตัดสลับภาพในเวลาเดียวกันระหว่างโลกในจินตนาการกับโลกแห่ง ความเป็นจริง หรือการเล่าถึงเหตุการณ์เดียวกันในมุมมองของตัวละครแต่ละตัว ซึ่งสร้างความสนุกสนานได้อย่างดีเยี่ยม นอกจากนี้ผู้เขียนยังสามารถสร้างความผูกพันระหว่างผู้อ่านกับเนื้อเรื่อง เมื่อเริ่มอ่านเชื่อว่าผู้อ่านแทบทุกคนจะตั้งคำถามว่า “ทีนอสคืออะไร” ซึ่งคำถามนี้ไม่สามารถตั้งได้ในเรื่อง เพราะ “ความใคร่รู้นำมาสู่ความพินาศ” หากแต่ผู้เขียนกลับให้ทางออกที่ขัดแย้งกับประโยคนี้ เพราะท้ายที่สุดเมื่อผู้อ่านได้ทราบว่าทีนอสคืออะไร ตัวละครจึงได้ทำลายสิ่งนั้นลงได้เช่นกัน รวมถึงความเชื่อของผู้เขียนเองที่บอกผ่านความคิดของชัยที่ว่า “มนุษย์เราพัฒนาได้เพราะการตั้งคำถาม สงสัยแล้วจึงคิดค้น” (หน้า 271) ผู้เขียนพยายามทิ้งปริศนาไว้กับสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏในเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นความหมายของชื่อ “ทีเค” คำพูดที่ใช้ในการเปิดประตูเรียกผู้พิทักษ์มีที่มาจากกระดาษโน้ตจดรายการซื้อ ของของแม่ส้มโอ ประกอบกับความหมายของการละเล่นแบบไทยรูปแบบหนึ่ง (มาทำไม มาซื้อดอกไม้ ดอกอะไร) แม้กระทั่งพาวเวอร์พัพเกิร์ล มีบางส่วนที่อาจกล่าวได้ว่าเป็น “สัญลักษณ์” เช่นหัวกะโหลกที่ไม้เท้าของผู้ครอบครองทีนอสและหัวเข็มขัดของผู้สังหารแม่ ของชัย มีความหมายตรงตัวถึงความตายและความชั่วร้าย ผ้าขาวที่กองทัพขาวทุกคนต้องผูกเพื่อยึดเหนี่ยวจิตใจ มีความหมายถึงความดี เป็นต้น มี บางส่วนที่ข้าพเจ้าคิดว่าน่าจะมีการขยายความมากกว่านี้คือส่วนที่เป็นของโลก แห่งความเป็นจริง ถึงแม้ว่าจะไม่เป็นส่วนที่สำคัญของเรื่องมากนักแต่ก็ไม่น่าทิ้งไว้ให้ค้างคา เช่นพฤติกรรมของพ่อของทีเค ที่เริ่มแสดงออกถึงความรักลูกด้วยการออกตามหาตามที่ต่างๆ (เขาได้พบกับคนจากทีนอสด้วยในรูปของขอทาน แต่ชายผู้นั้นก็หายไปจากเรื่องอย่างไร้ร่องรอย) แต่พอถึงช่วงหลังของเรื่องผู้เขียนได้บรรยายแต่ในส่วนของโลกแฟนตาซีทำให้บท ของตัวละครนี้ขาดหายไปโดยสิ้นเชิง ภรรยาสาวที่ท้องแก่ของชัยที่ดูประดุจจะมีหน้าที่ให้ความสว่างในชีวิตกับเขา และมีหน้าที่คลอดบุตรเท่านั้น และพ่อเลี้ยงของส้มโอที่แทบจะไม่มีบทบาทอะไรนอกจากจะแสดงความฉุนเฉียวและตาย ในตอนจบ บางครั้งรู้สึกว่าตัวละครเหล่านี้น่าจะมีบทบาทที่มากขึ้นสักเล็กน้อย หรือบางคนก็ไม่น่าจะมีบทมาตั้งแต่แรก เมื่อ เขียนมาถึงบรรทัดนี้ข้าพเจ้านึกขึ้นได้ว่าควรจะสรุป ก็ขอสรุปอย่างซื่อๆ ว่าข้าพเจ้าชอบนิยายเรื่องนี้พอสมควร ด้วยเหตุผลต่างๆ นานาที่ได้กล่าวมา แต่ข้าพเจ้าคงจะชอบนิยายเรื่องนี้มากกว่านี้มาก หากตอนจบจะไม่หักมุมแบบที่เป็นอยู่ (ขอไม่พูดถึงเนื่องจากจะทำลายอรรถรสของเรื่อง) แม้จะเป็นการเชื่อมโยงจากสิ่งที่เคยพูดถึงมาตลอด แต่การทำเช่นนี้ทำให้ความสมจริงที่มีมาตลอดทั้งเรื่องต้องมลายหายไปอย่างไม่ น่าจะเป็น อ่านน้อยลง
bluewhale | 17 มี.ค. 52
22
1
ดูทั้งหมด
ความคิดเห็น