วิเคราะห์การอยู่ร่วมกันของ สหราชอาณาจักร โดยConflict Theory ด้วยแนวคิดสำนักMarxi
ผู้เข้าชมรวม
438
ผู้เข้าชมเดือนนี้
2
ผู้เข้าชมรวม
ทฤษฎีConflict theory ของสำนักแนวคิด มาร์กซิสม์
เป็นเรื่องธรรมดาอยู่แล้วที่สังคมนั้น คือการร่วมกันของหมู่คนอยู่บนพื้นฐานของความแตกต่างไม่ว่าจะเป็น ชาติ พันธ์ ศาสนา และอื่นๆ เป็นต้น และก็เป็นเรื่องธรรมดาที่จะเกิดความขัดแย้ง เพียงแต่ว่าจะเป็นความขัดแย้งในลักษณะใดนั้นเอง
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
วิเคราะห์ด้วย ทฤษฎีConflict theory ของสำนักแนวคิด มาร์กซิสม์
1. Opposition of social classes over distribution of property and power ตามแนวคิดของมาร์กซิสม์ ที่ว่า หากการที่ชนชั้นกรรมมาชีพถูกกดขี่จากชนชั้นนายทุนจนเกินไปนั้น เกิดความขัดแย้งในผลประโยชน์หรือการกระจายทรัพยากรก็จะนำไปสู่ความขัดแย้งในที่สุด เปรียบเทียบให้เห็นภาพโดย การที่สาธารณรัฐไวมาร์ นั้นถูกกดขี่จากกลุ่มประเทศสัมพันธมิตรในหลังสงครามโลกครั้งที่1จนมากเกินไป ทำให้เกิดความขัดแย้ง และเกิดสงครามโลกครั้งที่2ในที่สุด หากมองกลับมาที่สหราชอาณาจักรแล้วจะเห็นว่า อังกฤษเองก็มิได้กดขี่ข่มเหงอีก3รัฐ แต่กลับมีการแบ่งผลประโยชน์ให้เสียอีก
2. Politicization of subjugated class and polarization of Society into two classหากมีผู้นำในการรุกฮือของกลุ่มนายทุนและกรรมาชีพนั้น การเกิดความขัดแย้งก็จะเกิดขึ้น เปรียบเทียบให้เห็นภาพ ในสงครามโลกครั้งที่2นั้น เริ่มต้นโดยประเทศเยอรมันนั้นได้ถูกกดขี่จากกลุ่มประเทศสัมพันธมิตรอย่างที่ได้กล่าวไว้แล้ว จนเกิดความตระหนึกถึงการโดนกดขี่ เกิดกระแสชาตินิยม และมีผู้นำทางการเมืองสูงสุดอย่าง ฮิตเลอร์ขึ้นมา เกิดความขัดแย้งบานปลาย กลับมามองในสหราชอาณาจักรนั้น จะเห็นได้ว่า อังกฤษได้ให้อิสรภาพที่ไม่มากจนเกินไป และยังการดูแลกำกับควบคุมในอีก3รัฐ ผ่านคณะรัฐมนตรีการต่างประเทศเวลส์ ไอร์แลนด์เหนือ และสกอตแลนด์ ที่มาจากการแต่งตั้งของรัฐบาลในการไปดูแลกำกับ3รัฐนั้นในลักษณะการแบ่งอำนาจ(ร่วมศูนย์อำนาจ เข้าสู่ศูนย์กลาง) เพราะฉะนั้นการที่มีการดูแลติดต่อประสานงานและการไม่กดขี่จนเกินไปของอังกฤษที่มีต่ออีก3รัฐนั้น จึงยังทำให้ไม่เกิดความขัดแย้งหรือความต้องการเป็นอิสระของอีก3รัฐ
แม้ในอนาคตข้างหน้าเองปี2014 สกอตแลนด์เองได้มีความต้องการแยกตัวเป็นอิสระโดยการทำประชามติก็ตาม ซึ่งผลของประชามติก็ยังเป็นที่ไม่แน่นอน เพราะกลุ่มคนที่คิดว่าจะได้รับผลประโยชน์หรือเสียผลประโยชน์จากการเข้าร่วมเป็นสหราชอาณาจักรในระยะเวลาอีกสองปี ก็ยังเป็นที่ไม่แน่นอน กล่าวคือ บรรทัดฐานของสังคมในสกอตแลนด์เองก็ยังเป็นที่ไม่แน่นอน
แต่อย่างไรก็ตามหากจะกล่าวเลยว่า การที่ภาพของขัดแย้งนั้นยังไม่เกิดขึ้นในลักษณะที่เป็นวงกว้างนั้น ก็ไม่ใช่เป็นสิ่งที่หมายความว่า ความขัดแย้ง การกดขี่ หรือการใช้อำนาจ Forceต่ออีกชนชั้นหนึ่งนั้นเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย เพียงแต่ว่าในสังคมปัจจุบันที่มีลักษณะเป็นเสรีทุนนิยม เมื่อมองลึกลงไปแล้ว การแบ่งชนชั้นไม่ได้เป็นแค่1และ2 แบบในภาพของมาร์ค ที่เป็นนายทุน และกรรมมาชีพ
แต่ในสังคมปัจจุบันมีการแบ่งมากกว่าหนึ่งและสอง เป็นสี่ถึงห้าหรืออาจมากกว่า ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็นไปในลักษณะของ ระบบศักดินา เพราะฉะนั้นการกดขี่ ใช้อำนาจทางสถานภาพและบทบาทในปัจจุบันนั้น มันไม่ได้เป็นเพียงจากกลุ่มสองกลุ่มแบบในอดีตที่ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะตระหนึกได้โดยง่ายถึงการกดขี่สูญเสียผลประโยชน์ และรุกขึ้นต่อต้าน ซึ่งในปัจจุบันมันถูกแบ่งออกเป็นหลายส่วนหลายชนชั้นมาก ในแต่ละชนชั้นนั้นถูกกดขี่เอาเปรียบจากชนชั้นที่สูงกว่าอยู่เสมอเป็นลำดับขั้น กล่าวคือ ชนชั้นล่างสุดถูกเอาเปรียบจากชนชั้นที่สูงกว่า ซึ่งชนชั้นที่สูงกว่านั้เองก็ถูกชนชั้นที่สูงกว่ากดขี่ไปอีก แต่ในเมื่อแต่ละชนชั้นเองก็รู้สึกถึงความที่ตนมีอำนาจเหนืออีกฝ่าย ความรู้สึกที่ลึกๆตนก็ถูกกดขี่จึงไม่ปรากฏเป็นแน่ชัดหรืออีกนัยยะหนึงการถูกกดขี่เองก็ถูกมองเป็นเรื่องธรรมดาในสังคมไปด้วยเช่นกัน การรวมพลังของกลุ่มที่ถูกกดขี่จึงเป็นเรื่องยากที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากการรู้ตระหนักจากการถูกกดขี่เองนั้น แทบจะไม่ได้เกิดขึ้นในปัจจุบัน
ผลงานอื่นๆ ของ Fr@nGk0 ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ Fr@nGk0
ความคิดเห็น