คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #28 : ศีลของอมนุษย์(อวรุทธกยักษ์)
จาก ศีลของอมนุษย์
เนื่องจากมีข้อถกเถียงกันมาเนิ่นนานว่า ชาวพุทธสามารถทำความเารพกราบไหว้บูชาเทพยดาทั้งหลายรวมไปถึงอมนุษย์ต่างๆที่มีอยู่ในความเชื่อของแต่ละท้องถิ่นซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งสักการะในศาสนาพุทธได้รึไม่ จนก่อเกิดความสับสบสนแบ่งฝักฝ่ายโจมตีกันเองไม่รู้จบ
จากเรื่องราวที่เกิดขึ้นดังกล่าวนี้ แสดงให้เห็นถึงสภาพการณ์ในสังคมที่ผู้คนพากันแย่งชิงใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในเรื่องเหล่านั้น ไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจใดๆเลยในเรื่องที่พวกตนแย่งกันออกมาแสดงความคิดเห็นนั้น การปล่อยปละให้มีการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นโดยปราศจากความรู้ความเข้าใจใดๆในเรื่องที่ได้แสดงความเห็นจึงเป็นเพียงการก่อมลพิษทางปัญญาที่รังแต่จะก่อให้เกิดสับสนและแตกแยกในสังคมไม่รู้จบ
เมื่อพอจารณาจากหลักการปกครองข้อที่ ๖ อันมีใน
อปริหานิยธรรม ๗ ของกษัตริย์วัชชี
ซึ่งได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า
๖. เคารพสักการะบูชาเจดีย์ (ปูชนียสถานและปูชนียวัตถุ ตลอดถึงอนุสาวรีย์ต่างๆ) ของวัชชี (ประจำชาติ) ทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ไม่ปล่อยให้ธรรมิกพลีที่เคยให้เคยทำแก่เจดีย์เหล่านั้นเสื่อมทรามไป (to honor and worship the Vajjian shrines, monuments and objects of worship, both central and provincial, and do not neglect those righteous ceremonies held before for them)
: คือ ความเชื่อดั้งเดิมใดๆที่มีมาก่อนศาสนาพุทธนั้นหากไม่เป็นความเชื่อที่ขัดต่อหลักคำสอนในศาสนาพุทธและไม่ก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคม ก็ให้ทำการสักการะต่อไปตามปกติ ห้ามละทิ้งความเชื่อเหล่านั้นเด็ดขาด
เมื่อพิจารณาจากบัญญัติข้อนี้ ก็จะทราบได้ว่า ศาสนาพุทธไม่เคยห้ามการทำการสักการะสิ่งเคารพนอกศาสนาพุทธแต่อย่างใด หากสิ่งนั้นเป็นประโยชน์ก็ให้ทำการสักการะต่อไปอย่าให้ขาด
ส่วนในเรื่องการกราบไหว้แสดงความเคารพต่อเทพยดาและอมนุษย์ทั้งหลาย สามารถกระทำได้โดยมีหลักการพิจารณาความเหมาะสม คือ ความประพฤติ เช่น
และผลลัพธ์จากการระงับความโกรธของอมนุษย์ทั้งหลาย มีอานุภาพใหญ่พอควรซึ่งมีบันทึกอยู่ใน
สาวัตถีนิทาน ฯ
โดยสรุปความดังนี้
ยักษ์ตนหนึ่งมีผิวพรรณทราม ต่ำเตี้ย พุงพลุ้ย นั่งอยู่บนแท่นปัณฑุกัมพลศิลาอาสนะแห่งท้าวสักกะจอมเทพในเทวสภาชื่อ สุธัมมา(สุธัมมาเทวสภา) พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์พากันยกโทษตำหนิติเตียนว่า
ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย น่าอัศจรรย์หนอ ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ไม่เคยมีมาแล้วหนอ ยักษ์นี้มีผิวพรรณทราม ต่ำเตี้ย พุงพลุ้ย นั่งอยู่บนอาสนะแห่งท้าวสักกะจอมเทพ
พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์จึงพากันยกเอาโทษขึ้นตำหนิติเตียนยักษ์นั้นด้วยประการ ทว่ายิ่งตำหนิติเตียนยักษ์นั้นด้วยประการใดๆก็ตาม ยักษ์นั้นกลับยิ่งเป็นผู้มีรูปงามทั้งน่าดูน่าชมและน่าเลื่อมใสยิ่งขึ้นกว่าเดิมด้วยประการนั้นๆ
พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์พากันเข้าไปเฝ้าท้าวสักกะจอมเทพถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอประทานโอกาสต่อพระองค์ ยักษ์ตนหนึ่งมีผิวพรรณทราม ต่ำเตี้ย พุงพลุ้ย นั่งอยู่บนอาสนะของพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้ทราบว่า ณ ที่นั้น พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์พากันยกโทษตำหนิติเตียนว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย น่าอัศจรรย์หนอ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ(อาวุโส)ทั้งหลาย ไม่เคยมีมาหนอ ยักษ์นี้มีผิวพรรณทราม ต่ำเตี้ย พุงพลุ้ย นั่งอยู่บนอาสนะของท้าวสักกะจอมเทพ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ยกโทษตำหนิติเตียนด้วยประการใดๆ ยักษ์นั้นยิ่งเป็นผู้มีรูปงามทั้งน่าดูน่าชมและน่าเลื่อมใสยิ่งกว่าเดิม ด้วยประการนั้นๆ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ยักษ์นั้นจักเป็นผู้มีความโกรธเป็นอาหารเป็นแน่เทียว ขอเดชะ
ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพเสด็จเข้าไปหายักษ์ผู้มีความโกรธเป็นอาหารนั้นจนถึงที่อยู่ ครั้นแล้วทรงห่มผ้าเฉวียงพระอังสาข้างหนึ่ง ทรงคุกพระชานุมณฑลเบื้องขวา(เข่าด้านขวา)ลง ณ พื้นดิน ทรงประนมอัญชลีไปทางที่ยักษ์ตนนั้นอยู่ แล้วประกาศพระนาม ๓ ครั้งว่า
ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ เราคือท้าวสักกะจอมเทพ
ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ เราคือท้าวสักกะจอมเทพ
ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ เราคือท้าวสักกะจอมเทพ
ท้าวสักกะจอมเทพทรงประกาศพระนามด้วยประการใดๆ ยักษ์ตนนั้นยิ่งมีผิวพรรณทรามและต่ำเตี้ยพุงพลุ้ยยิ่งกว่าเดิม ยักษ์นั้นเป็นผู้มีผิวพรรณทรามและต่ำเตี้ยพุงพลุ้ยยิ่งกว่าเดิมแล้ว ได้(หนี)หายไป ณ ที่นั้นนั่นเอง
ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพประทับนั่งบนอาสนะของพระองค์แล้ว เมื่อจะทรงยังพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ให้ยินดี จึงได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ไว้ในเวลานั้นว่า
เราเป็นผู้มีจิตอันโทสะไม่กระทบกระทั่ง เป็นผู้อันความหมุน(มาร)นำไปไม่ได้ง่าย เราไม่โกรธมานานแล ความโกรธย่อมไม่ตั้งอยู่ในเรา ถึงเราโกรธก็ไม่กล่าวคำหยาบ และไม่กล่าวคำไม่ชอบธรรม เราเห็นประโยชน์ของตนจึงข่มตนไว้
จาก สาวัตถีนิทาน แสดงถึงอานุภาพแห่งการไม่โกรธตอบของยักษ์ตนหนึ่งซึ่งถูกเหล่าเทวดาทั้งหลายในสภานั้นตำหนิด้วยประการต่างๆนาๆแต่ก็หาได้สะทกสะท้านต่อคำตำหนิทั้งหลายไม่ ยิ่งยักษ์นั้นอดทนต่อคำตำหนิได้มากเท่าไหร่ร่างกายของตนก็ยิ่งเจริญงามขึ้นเรื่อยๆตามความอดกลั้นของตนเอง(คือ มีความโกรธเป็นอาหาร ยิ่งกิน[รับ]ความโกรธได้จึงยิ่งงามขึ้นเรื่อยๆ)
ทว่า ปัญหาจริงๆเริ่มต้นจาการที่ยักษ์ตนนี้ทำนิสัยกักขฬะหยาบคายขึ้นนั่งบนอาสะแห่งท้าวสักกะก่อน แม้ยักษ์ตนนั้นจะมีความโกรธเป็นอาหาร แต่ก็ไม่อาจต้านทานอำนาจของความอ่อนน้อม ความจริง(สัจจะ) และความชอบธรรม ที่ประกาศโดยท้าวสักกะซึ่งเป็นผู้ประหารความโกรธได้ หากแม้โกรธก็ไม่กล่าวคำหยาบและคำอันไม่ชอบธรรมเป็นการตอบโต้
เมื่อท้าวสักกะประกาศนามของตน ซึ่งเป็นเจ้าของโดยชอบธรรมของแท่นปัณฑุกัมพลศิลาอาสนะถึง ๓ ครั้ง ยักษ์ซึ่งครอบครองแท่นปัณฑุกัมพลศิลาอาสนะโดยไม่ชอบธรรมจึงมีวรรณะทรามลงยิ่งกว่าเก่าด้วยผลจากความไม่จริงของตนจนไม่อาจทนอยู่ได้ต้องหายไปในที่สุด
สรุปความได้ว่า อมนุษย์ทั้งหลาย เมื่อสามารถระงับความโรธของตนได้แล้ว ย่อมเป็นผู้มีรูปงามทั้งน่าดูน่าชมและน่าเลื่อมใสยิ่งขึ้นกว่าเดิม(หากไม่พลาดท่าเสียทีรึทำตัวกักขฬะหยาบคายเยี่ยงยักษ์ตนนี้ เป็นต้น)
อนึ่ง ยังมีข้อมูลจากพระไตรปิฎกที่ระบุอีกว่า
ครุฑสรรเสริญผู้ที่รู้จักประมาณตนอดทนต่อความหิวบริโภคน้ำและอาหารแต่พอประมาณ ไม่ทำความชั่วเพราะเหตุแห่งอาหาร เนื่องจากเป็นสิ่งที่พวกตนทำได้ยาก หากอยากเป็นที่เคารพของเหล่าครุฑ ต้องรู้จักประมาณตนอดทนต่อความหิวของตนอย่างเคร่งครัดอยู่เสมอ
นาคสรรเสริญผู้ที่รู้จักขันติ ไม่พึงโกรธผู้ที่สมควรถูกโกรธ ไม่พึงแสดงความโกรธแม้ในกาลไหนๆ ถึงโกรธแล้วก็หาทำความโกรธให้ปรากฏไม่ เนื่องจากเป็นสิ่งที่พวกตนทำได้ยาก หากอยากเป็นที่เคารพของเหล่านาค ต้องรู้จักอดทนระงับความโกรธของตนอย่างเคร่งครัดอยู่เสมอ
ความคิดเห็น