บันทึกทางพระพุทธศาสนา ได้มีการจำแนกสายพันธุ์ของช้างไว้ ๑๐ ชนิด และได้กำหนดพละกำลังของช้างแต่ละสายพันธุ์โดยเทียบกับพละกำลังของชายฉกรรจ์ปกติไว้ เรียกว่า ช้าง ๑๐ ตระกูล ดังนี้
๑๐ กำลังกายของชายฉกรรจ์ปกติ เป็น ๑ กำลังช้างกาฬวก(ช้างสีดำธรรมดา)
๑๐ กำลังช้างกาฬวกหัตถี เป็น ๑ กำลังช้างคังไคย(กังไขยะ-ช้างสีเทาเงาน้ำไหล)
๑๐ กำลังช้างคังไคย เป็น ๑ กำลังช้างปัณฑระ(จันทระ-ช้างสีเหลืองจันทร์)
๑๐ กำลังช้างปัณฑระ เป็น ๑ กำลังช้างตามพระ(ตัมพะ-ช้างสีทองแดง)
๑๐ กำลังช้างตามพระ เป็น ๑ กำลังช้างปิงคละ(ช้างสีน้ำตาลแสด)
๑๐ กำลังช้างปิงคละ เป็น ๑ กำลังช้างคันธะ(ช้างกลิ่นไม้หอม คือ กฤษณา)
๑๐ กำลังช้างคันธะ เป็น ๑ กำลังช้างมังคล(ช้างสีดอกอัญชัน)
ช้างมังคลเป็นตระกูลของช้างนาฬาคิรี[ธนบาล]ด้วย
๑๐ กำลังช้างมังคละ เป็น ๑ กำลังช้างเหมะ(โปจะ-ช้างสีหลืองทอง)
๑๐ กำลังช้างเหมะ เป็น ๑ กำลังช้างอุโปสถะ(ช้างสีนวลจันทร์ขึ้น๑๕ค่ำ)
๑๐ กำลังช้างอุโปสถะ เป็น ๑ กำลังช้างฉัททันต์(ช้างสีเงินยวง มี ๖ งา)
๑๐ กำลังช้างฉัททันต์ เป็น ๑ นารายณพล
นารายณพล คือ กายพลเพื่อกำลังตรัสรู้ของพระบรมโพธิสัตว์
*หมายเหตุ หน่วยวัดแบบกำลังช้างในที่นี้ ให้นึกถึงหน่วยวัดแบบ แรงม้า ดังนั้น ในที่นี้ จึงขอเรียกว่า แรงช้าง
ช้างแต่ละสายพันธุ์(ตระกูล) ยกเว้น ช้างกาฬวก มีถิ่นที่อาศัยอยู่ในแดนหิมพานต์เป็นหลัก ดังนั้น พละกำลังของช้างแต่ละสายพันธุ์จึงเพิ่มขึ้นตามส่วนสูงและขนาดของร่างกาย โดยมีลิมิตสูงสุดอยู่ที่ ช้างสายพันธุ์ ฉัททันต์ ตามข้อมูลว่า
(พญา)ช้างฉัททันต์
ส่วนสูงประมาณ ๔๔เมตร(๘๘ ศอก)
[๑๔๔ฟุต๔นิ้ว โดยประมาณ]
ความยาวจากด้านหน้าถึงด้านหลังประมาณ ๖๐เมตร(๑๒๐ ศอก)
[๑๙ตฟุต๑๐นิ้ว โดยประมาณ]
ส่วนงวงมีสีคล้ายพวงเงินมีความยาวยาวประมาณ ๒๙เมตร(๕๘ ศอก)
[๙๕ฟุต๗นิ้ว โดยประมาณ]
ส่วนงาวัดโดยรอบ(เส้นรอบวง)ประมาณ ๗.๕เมตร(๑๕ ศอก)
[๒๔ฟุต๗นิ้ว โดยประมาณ]
งามีความยาวประมาณ ๑๕เมตร(๓๐ ศอก)
[๔๙ฟุต๒นิ้ว โดยประมาณ]
ช้างฉัททันต์ ๑ ตัว(ใช้สรรพนามตามช้างป่า)มีงาทั้งหมด ๖ ข้าง ซ้าย-ขวา ข้างละ ๓ งา
งาทั้ง๖ ของช้างฉัททันต์ มีรัศมีสีทอง
*หมายเหตุตัวโตๆ ตามอรรถกถาชาดกที่แปลไว้ในภาษาไทย ต่างบอกตามๆกันมาว่า ช้างฉัททันต์ มีงา ๑ คู่ ที่เปล่งแสง ๖ รัศมี ซึ่งการแปลว่า มีงา ๑ คู่ ที่เปล่งแสง ๖ รัศมี นั้น เป็นการแปลเองโดยฝ่ายไทยเพียงข้างเดียว ไม่มีการเทียบเคียงกับหลักฐานอื่นใดจากต่างประเทศ ทั้งๆที่ศาสนาพุทธเป็นศาสนาสากล และเคยรุ่งเรืองอยู่ในฝั่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากการค้นคว้าในวงกว้าง ทางเราพบข้อมูลประกอบคำแปลที่แท้จริงของคำว่า ฉัททันต์ คือ ฉ แปลว่า ๖ / ทันต์ แปลว่า ฟัน
ฉะนั้น ช้างฉัททันต์ตามความหมายดั้งเดิมจริง ต้องเป็นช้าง ๖ งา ซึ่งภาษาอังกฤษ เรียกลักษณะช้างฉัททันต์ว่า White Elephant Six Tusks แปลว่า ช้างเผือก ๖ งา อย่างตรงตัว และชื่อนี้เป็นที่ยอมรับกันในสากล จะมีก็แต่ไทยเท่านั้นที่ยังคงยึดว่า ช้างฉัททันต์นั้น มีงา ๑ คู่ ที่เปล่งแสง ๖ รัศมี(หากมีประเทศอื่นอีกต้องขออภัย) ซึ่งหลักฐานเก่าแกชิ้นหนึ่งเป็นภาพหินแกะสลักจากถ้ำหมายเลข ๑๐ ของถ้ำอชันตา(Ajanta)ซึ่งมีอายุราว พุทธศตรรษที่ ๗ ซึ่งมีความเก่าแก่พอที่จะยึดได้ว่า เป็นหลักฐานยืนยันลักษณะของช้างฉัททันต์ที่เก่าแก่และถูกต้องมากที่สุด และยังมีจิตรกรรมฝาผนังที่วิหารHindagalaซึ่งวาดช้างฉัททันต์มี ๖ งา เช่นกัน
ส่วนสูงของพญาช้างฉัททันต์นี้ มีความใก้เคียงกับ Bewilderbeast ซึ่งปรากฏตัวใน อนิเมชั่นเรื่อง How to Train Your Dragon 2
Bewilderbeast มีความสูงประมาณ ๑๖๐ฟุต๕นิ้วครึ่ง หรือก็คือ ๔๘เมตร๙นิ้ว โดยประมาณ
ดังนั้น พญาช้างฉัททันต์ตามบันทึกในชาดก จึงเตี้ยกว่า Bewilderbeast เพียง ๔เมตร เท่านั้น(แต่หากวัดส่วนสูงในเวลาที่ Bewilderbeast ยืน ๔ เท้า พญาช้างฉัททันต์น่าจะสูงกว่าเล็กน้อย)
อนึ่ง งายาว ๓๐ ศอกนั้น เป็นความยาวของงาขณะที่พญาฉัททันต์ยังมีชีวิตในช่วงนั้นตามท้องเรื่องในชาดก ส่วนช้างลูกโขลงตัวอื่นๆอาจมีงาที่ยาวน้อยกว่านี้ก็เป็นได้ และที่สำคัญ พญาฉัททันต์(ตามท้องเรื่อง)ไม่ได้สิ้นตามอายุขัย หมายความว่า หากช้างฉัททันต์อยู่ไปเรื่อยๆจนสิ้นตามอายุขัยจริงแล้ว(ซึ่งยังไม่ทราบว่ากี่ปีแต่ก็น่าจะเป็นร้อยปีขึ้นไป) งาช้างอาจยาวได้มากกว่า ๓๐ ศอกก็เป็นได้ ส่วนความสูงของช้างลูกโขลงตัวอื่นๆอาจน้อยกว่าพญาช้างฉัททันต์
นอกจากนี้ ช้างฉัททันต์ยังเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็วว่องไว ด้วยสามารถเดินหนในอากาศได้ ซึ่งนับว่า เป็นสายพันธุ์ช้างซึ่งเคลื่อนที่รวดเร็วที่สุดในบรรดาช้างทุกสายพันธุ์(ช้างหิมพานต์สามารถเดินหนได้ทุกสายพันธุ์ แต่ต่างกันที่ระยะทางที่เดินทางได้ใน๑วัน[พลังกายต่างกัน])
ภาพวาดจำลองพญาฉัททันต์[Chaddanta king]
จากการค้นหาเพิ่มเติมในมิลินทปัญหา พบว่า ตามชาดกนั้น พระโพธิสัตว์เคยเสวยชาติเป็น พญาช้างฉัททันต์ถึง ๓ ครั้ง ดังปารกฏข้อมูลโดยย่อ ดังนี้
ชาติหนึ่งเล่า พระบรมโพธิสัตว์เจ้าเป็นพระยาช้างฉัททันต์ พระเทวทัตนั้นเป็นพรานตามฆ่าเอางา
ชาติหนึ่งเล่า พระโพธิสัตว์เจ้าเป็นพระยาช้าง พระเทวทัตเป็นพรานชื่อว่าสุสามะตามไปเลื่อยงาถึง ๓ ครั้ง(ตามตำราเดิมว่า ๗ ครั้ง แต่พิจารณาแล้ว ควรเป็น ๓ ครั้งมากกว่า คาดว่าเกิดความคลาดเคลื่อนในการคัดลอกตำรา)
เมื่อพระตถาคตเสวยพระชาติเป็นพระยาคชสารชื่อว่าฉัททันต์นั้น ยังมีพรานคนหนึ่งเห็นพระยาฉัททันต์นั้นกับบริวารนมัสการพระสมณะนุ่งห่มกาสาวพัสตร์โดยเคารพนับถือยิ่งนักหนา พรานป่านั้นจึงเอาผ้ากาสาวพัสตร์ย้อมฝาดนุ่งห่มเข้าแล้วก็ปลอมเป็นสมณะนั่งอยู่ที่ร่มไม้ ส่วนว่าหมู่ช้างบริวารกับพระยาฉัททันต์ก็อภิวันท์ไหว้พรานนั้นด้วยสำคัญว่าเป็นสมณะ ยกงวงจบแล้วพากันไป พรานนั้นจึงยิงช้างตัวหลังที่ล้าๆ อยู่นั้นคราวละตัวๆ จนบริวารพระยาฉัททันต์น้อยไป พระยาฉัททันต์ประกอบด้วยปัญญาจึงคิดคุมบริวารตามมาต่อภายหลัง ก็เห็นนายพรานกระทำดังนั้น พระยาฉัททันต์จึงเอางวงฉวยจับพรานนั้นได้ คิดว่าจะฆ่าพรานนั้นให้ตายแต่ได้เห็นกาสาวพัสตร์พันกายพรายอยู่ ก็มิได้ฆ่าพรานนั้นด้วยจิตสำคัญว่าผ้ากาสาวพัสตร์
เป็นธงชัยพระอรหันต์อันเลิศ
กล่าวโดยสรุป จากมิลินทปัญหา จึงสรุปความได้ว่า พระโพธิสัตว์ได้เสวยชาติเป็นพญาช้างฉัททันต์ ๓ ชาติ และถูกตัดงาถึง ๒ ชาติด้วยกัน
ชาติหนึ่งโดนตัดงาแล้วเสียชีวิต คือเหตุการณ์ใน ฉัททันตชาดก
ชาติหนึ่งโดนตัดงาแล้วไม่เสียชีวิต คือเหตุการณ์ใน สีลวนาคชาดก
ชาติหนึ่งไม่ถูกตัดงาไป คือเหตุการณ์ใน กาสาวชาดก
และจากข้อมูลเท่าที่รวบรวมได้ ทางเราจึงได้ชำระบางส่วนของชาดกทั้ง ๓ เรื่องโดยอิงตามรูปประโยคเดิมจากอรรถกถาเป็นหลัก ดังนี้
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ความคิดเห็น