ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ข้อมูล(ไม่)ทั่วไปในนิทานพื้นบ้าน-วรรณคดี

    ลำดับตอนที่ #34 : ผีดิบ(Zombie)ในบันทึกทางพระพุทธศาสนา

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 74
      1
      24 พ.ย. 61

    จาก ผีดิบ(Zombie)ในบันทึกทางพระพุทธศาสนา

    Zombie ในความหมายดั้งเดิมซึ่งมีปรากฏไว้ในบันทึกเรื่องเล่าดั้งเดิม คือศพของมนุษย์ที่ขยับเคลื่อนได้เหมือนคนที่ยังมีชีวิต ทว่าไม่มีความสามารถในการรับรู้คิดอ่านใดๆ เป็นเพียงศพเดินได้ที่มีความสามารถในการใช้แรงงานเพียงอย่างเดียว เกิดจากการที่คนเป็นผู้มีวิชาอาคมไสยศาสตร์ใช้วิชาปลุกขึ้นมาเป็นกรรมกรทาสที่ไม่รู้จักเหนื่อยไว้ใช้แรงงานภายในไร่
    มีข้อมูลระบุอีกว่าจุดของ Zombie คือ เกลือ หากได้บริโภคเกลือเข้าไปแม้ในปริมาณเพียงเล็กน้อย Zombie นั้นจะหมดสภาพกลับไปเป็นศพดังเดิมทันทีและและศพนั้นจะไม่สามารถนำมาปลุกขึ้นใหม่ได้อีกเลย(คาดว่า เป็นเพราะเกลือทำปฏิกิริยากับกรดอะมิโนชนิดต่างๆในร่างกายศพ อาจเป็นการลัดวงจรของกระแสไฟฟ้าในร่างกาย จนทำให้ศพนั้นหมดสภาพลงในทันที)
    และเนื่องจากตำนานดั้งเดิม ระบุว่า Zombie คือ ศพที่ยังมีสภาพครบสมบูรณ์ ไม่มีร่องรอยของการบุบสลายหรือบาดแผลใดๆ ไม่มีสภาพพองอืดส่งกลิ่นเหม็นคละคลุ้ง แต่เป็นศพที่เพิ่งตายได้ใหม่ๆ เมื่อมองผ่านๆ Zombie จึงมีสภาพไม่แตกต่างจากคนเป็นมากนัก(นอกจากอาการเหม่อลอยไร้ชีวิตชีวา) ซึ่งแตกต่างจากลักษณะของ Zombie ในภาพยนตร์ยุคปัจจุบันอย่างชัดเจน
    เมื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของซอมบี้กันเสียใหม่ได้แล้ว ต่อไปจะขอยกข้อมูลของผีดิบ(Zombie)นนสมัยพุทธกาลมีอยู่ใน พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ + อรรถกถา ทุติยปาราชิกสิกขาบท ดังนี้
    เรื่องศพที่ยังสด
    ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งไปป่าช้าแล้ว ถือเอาผ้าสาฎก(ผ้าบังสุกุล)ของศพสด และในร่างศพนั้นมีเปรตสิงอยู่เพราะความอยาก(ครอง)ในผ้าสาฎก(คือ พวกเปรตที่สิงหากินอยู่ในป่าช้ามาสิงในศพของคนที่ตาย ไม่ใช่เจ้าของร่างศพนั้นเข้าสิงศพตัวเอง)
    เปรตนั้น ได้กล่าวกะภิกษุนั้นว่า
    ท่านผู้เจริญ ท่านอย่าได้ถือเอาผ้าสากฎของข้าพเจ้าไป
    ภิกษุไม่เชื่อคำของเปรตนั้น ไม่ทำความเอื้อเฟื้อ(ต่อเปรตนั้น) จึงได้ถือเอาไป
    ทันใดนั้น เปรตบังคับให้ศพลุกขึ้นด้วยอานุภาพของตน เดินตามหลังภิกษุนั้นไป
    วิหารของภิกษุมีอยู่ในที่ใกล้ป่าช้านั้นเอง เพราะเหตุนั้น ภิกษุเป็นผู้กลัวอยู่โดยปกติจึงรีบเข้าไปในวิหารนั้นแล้วปิดประตู
    เมื่อภิกษุปิดประตูแล้วเปรตเป็นผู้หมดความอาลัยในผ้าสาฎก จึงละทิ้งศพนั้นไว้แล้วไปตามยถากรรม เพราะเหตุนั้น ร่างศพนั้นก็ล้มลง
    เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันผ้าบังสุกุลที่ศพสดซึ่งยังอุ่นอยู่ ภิกษุทั้งหลายไม่พึงถือเอา เมื่อภิกษุถือเอา อุปัทวะเห็นปานนี้ย่อมมี (ต่อแต่นี้ไป)ภิกษุใดถือเอา ต้องอาบัติทุกกฏ แต่จะถือเอาจากศพที่แตกแล้วนั้น ควรอยู่
    ถามว่า ศพจะจัดว่า แตกแล้ว ด้วยเหตุไร?
    แม้ด้วยเหตุเพียงถูกจะงอยปากหรือเขี้ยวอันสัตว์ทั้งหลายมีกา พังพอน สุนัขและสุนัขจิ้งจอกเป็นต้น กัดแล้วนิดหน่อย
    ส่วนอวัยวะของศพใดที่ล้มลง เพียงผิวหนังถลอกไปด้วยการครูดสี หนังยังไม่ขาดออก
    ศพทั้ง ๒ เหล่านั้นนับว่ายังสดทีเดียว
    แต่เมื่อ(ศพใด)หนังขาดออกแล้วจัดว่าแตกแล้ว
    แม้ศพใดในเวลายังมีชีวิตนั่นเอง มีฝีโรคเรื้อนและต่อม หรือแผลแตกพรุนทั่วไป ศพ(แบบนี้)นี้ชื่อว่าแตกแล้ว
    ตั้งแต่วันที่ ๓ ไป แม้สรีระใดที่ถึงความเป็นซากศพ โดยเป็นศพที่ขึ้นพองเป็นต้น จัดว่าเป็นศพที่แตกแล้วโดยแท้
    อนึ่ง แม้ในศพที่ยังไม่แตกโดยประการทั้งปวง แต่คนผู้ดูแลป่าช้า หรือมนุษย์เหล่าอื่นให้ถือเอา(ผ้าบังสกุล)ควรอยู่ ถ้าไม่ได้มนุษย์อื่น(ถือเอาให้)ควรจะเอาศัสตราหรือวัตถุอะไรทำให้เป็นแผล(ก่อน) แล้วจึงถือเอา
    แต่ในศพเพศตรงกันข้าม ภิกษุควรตั้งสติไว้ ประคองสมณสัญญาให้เกิดขึ้น ทำให้เป็นแผลที่ศีรษะ หรือที่หลังมือและหลังเท้า(ก่อน) แล้วถือเอาสมควรอยู่
    จากบันทึกข้อมูล ประมวลความได้ว่า ศพที่เปรตสามารถสิงและบังคับให้ขยับได้นั้น ต้องเป็นศพที่ยังสด อาจมีร่องรอยบาดแผลเล็กน้อยแต่ก็ยังนับว่าเป็นศพสดอยู่ ในเชิงวิชาไสยศาสตร์เองก็มีการกล่าวถึงการบังคับปลุกศพให้ลุกขึ้นเพื่อใช้ประกอบในพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งในกรณีของ Zombie คือการปลุกศพขึ้นมาใช้ประโยชน์ในแรงงาน ซึ่งสิ่งที่ทำให้ศพเหล่านั้นขยับได้ อาจไม่ใช่เจ้าของร่างศพนั้นด้วยซ้ำ เป็นได้ว่า ไสยศาสตร์ว่าด้วยการบังคับควบคุมศพให้ลุกขึ้นทำภารกิจตามประสงค์นี้ จะเป็นการใช้วิชาอาคมในการเรียกเปรตที่มีฤทธิ์ซึ่งอาศัยตามป่าช้าให้เข้ามาควบคุมศพก็เป็นได้ โดยแลกกับบรรดาเครื่องพลี(เครื่องสังเวย)ทั้งหลายที่เหล่าหมอผีจัดไว้บูชาตามความเหมาะสม
    ส่วนในกรณีที่ศพซึ่งถูกเปรตเข้าสิงสามารถขยับเขยื่อนร่างกายให้เคลื่อนไหวได้อย่างอิสระอย่างในปรากฏการณ์สมัยพุทธกาลตามหัวเรื่องนี้ มีความเป็นไปได้ว่า จะเป็นกรณีใกล้เคียงกับที่ปัจจุบันเรียกว่า “โดนปอบสิง” ซึ่งมีรูปแบบคร่าวๆว่าเป็นการเข้าสิงร่างของคนที่ป่วยหนักรึคนชราที่มีอาการร่อแร่ มักเกิดหลังพาไปรักษานอกสถานที่แล้วพากลับมาบ้านหลังจากที่จู่ๆอาการก็ดีขึ้นผิดหูผิดตา(ซึ่งคาดว่าตามจริงคงตายตั้งแต่พาไปรักษานอกสถานที่แล้ว) แต่พอกลับมาบ้านกลับไม่ยอมพูดจาได้แต่นอนนิ่ง บริโภคอาหารคราวละมากๆเกินปริมาณของคนทั่วไปทั้งที่ร่างกายผอมแห้งซูบซีบเหลือแต่หนังหุ้มกระดูกและนัยน์ตาลึกโบ๋ ทว่าครั้นตกกลางคืนเมื่อลับคนก็จะลุกขึ้นเดินเองได้และเที่ยวค้นหาอาหารที่เก็บไว้ไม่ก็ออกไปจับสัตว์เล็กสัตว์น้อยนอกบ้านกิน พออิ่มก็กลับมานอนไร้เรี่ยวแรงเหมือนเดิม เหตุการณ์จะวนเวียนไปเช่นนี้อยู่หลายเดือนกระทั่งถูกจับได้ และหลังจากทำการขับไล่ปอบที่สิงร่างนั้นออกไปก็จะปรากฏว่า ร่างนั้นจะส่งกลิ่นเหม็นเน่า อวัยวะภายในคล้ายละลายเหลวแหลก และมีสภาพเหมือนตายมาได้หลายเดือนแล้ว
    ดังนั้นกรณีเปรตสิงศพสดที่เกิดในสมัยพุทธกาล น่าจะจำลองช่วงเวลาเกิดเหตุได้ว่า ภิกษุผู้เข้าไปถือเอาผ้าสาฎก(ผ้าบังสุกุล)ของศพสดซึ่งร่างยังอุ่นอยู่(เพิ่งตายใหม่ๆ)ในป่าช้าในช่วงก่อนพระอาทิตย์ขึ้นเปรตจึงบังคับร่างศพให้ลุกขึ้นเดินตามทวงผืนผ้าคืน ภิกษุนั้นจึงหลบเข้าไปในวิหารใกล้ป่าช้าแล้วปิดประตูเสีย ซึ่งตอนนั้นพระอาทิตย์คงกำลังขึ้นพอดี เปรตเห็นดังนั้นจึงหมดความอาลัยในผ้าสาฎกและทิ้งศพที่สิงไว้แล้วจากไป
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×