ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ข้อมูล(ไม่)ทั่วไปในนิทานพื้นบ้าน-วรรณคดี

    ลำดับตอนที่ #21 : ลักษณะของ กุมภัณฑ์(Kumbhanda)

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 147
      0
      29 ก.ย. 63

    จาก ลักษณะของ กุมภัณฑ์(Kumbhanda)



     

    ข้อมูลที่มีอยู่ตามนิทานพื้นบ้านและวรรณคดีมีการเหมารวมเรียกกุมภัณฑ์และยักษ์ปะปนจนทำให้คนในชั้นหลัง มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนคิดว่ากุมภัณฑ์และยักษ์นั้นคือพวกเดียวกัน เช่นเดียวกับกรณีที่มีความเข้าใจมักง่ายสับสนเลอะเทอะว่า ยักษ์ก็คืออสูร(ซึ่งความจริงจากบันทึกทางพระพุทธศาสนานั้น ยักษ์กับอสูร ไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลยแม้แต่น้อย) ซึ่งหากให้ท้าวความถึงความสับสนเรื่องกุมภัณฑ์และยักษ์ในนิทานพื้นบ้านและวรรณคดีนี้ คงต้องย้อนกลับไปถึงมหากาพย์วรรณคดีต้นตำรับของนิทานพื้นบ้านและวรรณคดีในยุคต่อๆมา คือ รามเกียรติ์

    ในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์นี้ มีการนำคำว่า กุมภัณฑ์ และ ยักษ์ มาใช้เป็นสรรพนามเรียกชาวลงและพันธมิตร(รวมถึงคำว่า รากษส และ มาร ด้วย) ซึ่งการที่รามเกียรติ์ระบุให้ใช้คำสรรพนามที่หลากหลายเรียกแทนตัวชาวลงกาและพันธมิตรนี้ เป็นเพราะว่า แท้จริงนั้น สงครามระหว่างพระรามกับชาวลงกาและพันธมิตรนี้ หาใช่สงครามระหว่างมนุษย์กับอมนุษย์เขี้ยวโง้งแต่อย่างใด แต่เป็นสงครามอารยธรรมระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ด้วยกัน โดยมีการแย่งชิงพระแม่องค์ธรรม(นางสีดา)เพื่อนำไปพัฒนาอารยธรรมในสังคมของพวกตนเป็นเป้าหมายสูงสุดต่างหาก ในเรื่องของนางสีดาในฐานะของ”พระแม่องค์ธรรม”นี้ มีรายละเอียดวิเคราะห์ขยายความรวมไว้แล้วในบทความ ชื่อ

    วิเคราะห์ต้นกำเนิดองค์ความรู้ต่างๆในรามเกียรติ์(เกียรติแห่งราม)

    ดังนั้น การใช้คำว่า กุมภัณฑ์ ยักษ์ รากษส มาร เป็นคำสรรพนามเรียกรวมชาวลงกาและพันธมิตรในรามเกียรติ์นี้ จึงต้องขอยกไว้ในฐานที่เข้าใจตามข้อมูลข้างต้นนี้แต่โดยดี ซึ่งหลังจาก วรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ได้เป็นที่แพร่หลายในยุคสมัยนั้นแล้ว นิทานพื้นบ้านและวรรณคดีในยุคต่อๆมาจึงนิยมใช้คำว่า กุมภัณฑ์ ยักษ์ รากษส มาร เรียกผสมปะปนกันตามมาด้วย จึงนับเป็นหลักฐานยืนยันได้อีกเรื่องหนึ่งว่า นิทานพื้นบ้านและวรรณคดีทั้งหลาย“เกิดขึ้นหลังรามเกียรติ์ ต้นรัตนโกสินทร์ทั้งหมด”ด้วยเช่นกัน

    เมื่อได้ปรับความเข้าใจพื้นฐานกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตอนนี้ ขอวกกลับเข้าเรื่องของ กุมภัณฑ์ กันต่อ

    ตามข้อมูลในบันทึกทางพระพุทธศาสนา กุมภัณฑ์ คือ เทวดากลุ่มหนึ่งของสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา อาศัยอยู่ทางทิศใต้ของเขาพระสุเมรุ ลักษณะทางกายภาพภายนอกโดยทั่วไปของกุมภัณฑ์นั้นมีลักษณะคล้ายกับยักษ์ซึ่งเป็นชาวจาตุมหาราชิกาที่อาศัยอยู่ทางทิศเหนือของเขาพระสุเมรุ แต่จะมีข้อแตกต่างกันอยู่ในบางประการ ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากความหมายของชื่อกุมภัณฑ์นี้เอง

    คำว่า กุมภัณฑ์ มาจากพื้นฐานคำศัพท์ของคำว่า กุมภ(หม้อ) + อัณฑะ(ไข่) หมายถึง ผู้มีอัณฑะ(ไข่)ขนาดเท่าหม้อ ในด้านการออกแบบ งานจิตรกรรมของสยามได้ออกแบบให้กุมภัณฑ์กับยักษ์มีท่ายืนที่แตกต่างกัน คือ

    ยักษ์ จะยืนในลักษณะปกติ คือท่ายืนตรง หรืออาจแยกขาออกเล็กน้อยในลักษณะของการย่อตัวโก่งขา

    กุมภัณฑ์ จะยืนในลักษณะถ่างขาออกมากว่าปกติ รึก็คือการยืนแบบท่าฝึกถีบเหลี่ยมซึ่งเป็นท่ายืนของตัวยักษ์และลิงในการแสดงโขนนั่นเอง

    เรื่องบุพกรรมที่ทำให้มากำเนิดเป็นกุมภัณฑ์นั้น เมื่อลองเทียบเคียงกับ เปรตกุมภัณฑ์(อัณฑเภรีเปรต) ซึ่งระบุว่าเมื่อครั้งเป็นมนุษย์เปรตนี้เคยดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาตุลาการที่โกงกินจนเป็นสันดาน และด้วยเหตุเกิดเพราะทรัพย์นี้เอง จึงทำให้กลายเป็นเปรตที่มีวิบากกรรมอัณฑะใหญ่โตมากจนต้องเดินลากเดินแบก

    ดังนั้นในกรณีของกุมภัณฑ์จริงๆที่ไม่ใช่เปรต ก็น่าจะอนุมานได้ว่ามีวิบากกรรมคล้ายคลึงกัน แต่ครั้งเป็นมนุษย์น่าจะเป็นพวกขาวัดสายบุญที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบพอตัว แต่ดันมีนิสัยหวง"ภัณฑะ"ต่างๆภายในวัดวาอาราม(ศาสนสถานต่างๆ)และน่าจะมีอารมณ์ร้ายด้วยเวลาที่มีใครๆไปแตะต้องภัณฑะต่างๆที่ตัวเองหวงเอาไว้ ผลบุญกับเศษกรรมเลยส่งมาคู่กันจนทำให้เกิดเป็นกุมภัณฑ์ ยักษ์ขี้หงุดหงิดที่มีอัณฑะโตเท่าหม้อ ทิพยกายอารมณ์ร้ายแห่งจตุมหาราชิกาทิศใต้ ส่วนกุมภัณฑ์ฝ่ายหญิงก็อนุมานได้ว่าน่าจะประมาณนางยักษ์นมยานใหญ่โตจนผิดธรรมชาติ พวกนี้เลยต้องยืนขาโก่งๆถ่างๆเหมือนถีบเหลี่ยมเพราะมันหนักจนยืนตรงๆไม่ได้

    แต่เนื่องจากลักษณะของกุมภัณฑ์นั้นค่อนข้างติดเรต ในงานจิตรกรรมโบราณของสยามจึงไม่ได้ระบุจุดเด่นของกุมภัณฑ์ในข้อนี้ลงไปด้วย คงเหลือไว้แต่ลักษณะท่ายืนที่ต้องย่อตัวถ่างขาออกจนเกือบจะตั้งฉาก(เพราะมันหนัก) แต่ขณะเดียวกันในประเทศญี่ปุ่นซึ่งศาสนาพุทธได้เข้าไปวางรากฐานให้สังคมทุกระดับชั้นไว้แล้วนั้น เราสามารถพบจุดเด่นของกุมภัณฑ์ถูกถ่ายทอดออกมาได้อย่างลงตัว สนุกสนาน ไม่เขอะเขินอุจาดตา ในรูปของตัว“ทานูกิ(Tanuki)” ในงานศิลป์ของญี่ปุ่นเราจะพบว่า ตัวทานูกินอกจากสามารถแปลงกายได้แล้ว(ว่ากันว่าทานูกิถนัดแปลงกายเป็นวัตถุมากกว่าสิ่งมีชีวิต)ยังสามารถใช้อัณฑะของตนแผลงฤทธิ์แสดงอภินิหารและใช้ประโยชน์ได้อีกด้วย เนื่องจากจุดเด่นของทานูกิ คือ มีอัณฑะขนาดใหญ่เช่นเดียวกับกุมภัณฑ์(เผลอๆจะใหญ่กว่าด้วย) และทานูกิมีความสามารถในการยืดขยายย่อส่วนและแปลงสภาพหนังอัณฑะของตนเป็นสิ่งต่างๆได้(แม้ว่าจะมีอยู่หลายภาพที่อุตส่าห์ปลอมอย่างดีแต่ก็ไม่เนียนก็ตาม)

    ภาพจาก http://www.inarivzw.be/culture/monster-week-tanuki-%E7%8B%B8/

    (รูปบน)พี่แกใช้งานซะคุ้มเลย

     

    ภาพจาก http://tanukimistress.tumblr.com/

    (รูปบน)...

     

    ภาพจาก https://hyakumonogatari.com/category/tanuki-stories/

    (รูปบน)จะว่าใช้งานได้เข้าท่ามั้ย มันก็...

     

    ภาพจาก http://www.printsofjapan.com/Toyokuni_III_Takao_diptych.htm

    (รูปบน)ไม่เนียนนะ แต่มองผ่านๆก็โอเค

     

    รูปจาก https://mrpsmythopedia.wikispaces.com/Tanuki?responseToken=0a96ac620fe2d0207f044f5c28ee8c9ed

    (รูปบน)จัดชุดใหญ่

     

    ภาพจาก https://scentbase.com/desc.php?id=201204042212238078

    (รูปบน)สนุกสนานกันน่าดู

     

    ภาพจาก http://imgur.com/gallery/jhoGE

    (รูปบน)...

     

    เมื่อผนวกข้อมูลของกุมภัณฑ์กับทานูกิเข้าด้วยกันแล้ว จึงพออนุมานได้ว่า กุมภัณฑ์นั้นสามารถใช้ฤทธิ์ของตนผ่านทางอัณฑะได้เช่นเดียวกับพวกทานูกินั่นเอง

    (รูปบน) กุมภัณฑนิรมิตาปูชา(วาดเล่นๆ)


    อนึ่ง เมื่อพิจารณาจากลักษณะของชื่อและกายภาพของกุมภัณฑ์แล้ว กุมภัณฑ์ที่ทำงานรับใช้ท้าวเวสสุวัณ ที่เรียกว่า รากษส น่าจะนิยมอยู่ในแผนกขนน้ำมากที่สุด(รากษส ประเภท ผีเสื้อน้ำ) เพราะเมื่ออยู่ในน้ำแล้วมันจะบังตัวท่อนล่างได้มิดชิดสุดๆ ไม่มีใครเห็นแน่นอน(ถ้าไม่ขึ้นจากน้ำมาซะเอง)

    ข้อมูลเกี่ยวกับรากษส

    ข้อมูลเรื่องสิทธิ์ ฤทธิ์ อำนาจ ของยักษ์(รวมถึงอมุษย์มีเขี้ยวสากลอื่นๆทั้งเอเชียและยุโรป)และอมนุษย์ชาวจาตุมหาราชิกาทั่วไป

    เนื่องจากลักษณะท่ายืนแบบถ่างขาของกุมภัณฑ์ในงานจิตรกรรมสยามโบราณ เป็นเพียงจุดสังเกตเดียวที่ทำให้กุมภัณฑ์ดูแตกต่างกับยักษ์ ทำให้ผู้ที่ไม่ทราบความแตกต่างในยุคหลังต่อๆมาเข้าใจคลาดเคลื่อนนำกุมภัณฑ์ไปจำสับสนปนกับยักษ์ไปเสีย

    อนึ่ง เนื่องจากมีบางชนชาติออกแบบรูปลักษณ์ของกุมภัณฑ์ให้มีศีรษะเป็นม้า จึงวิเคราะห์ได้ว่า พวกกุมภัณฑ์น่าจะมีมีรูปหน้าเรียวยาวคล้ายกับม้า รึที่ตามพระไตรปิฎกเรียกยักษ์กลุ่มหนึ่งว่า อัสสมุข และพวกนี้จะมีมนตร์ที่ทำให้พวกตนสามารถวิ่งได้เร็วอย่างลม ซึ่งดูเข้ากันดีกับพวกกุมภัณฑ์ที่ที่น่าจะเคลื่อนที่ได้ค่อนข้างช้าตามลักษณะทางกายภาพ มนตร์ที่ว่าจึงสามารถชดเชยข้อด้อยนี้ได้ และพวกนี้ยังรู้มนตร์วิเศษชื่อ จินดามณี ด้วยอานุภาพของมนตร์นี้จะทำให้สามารถติดตามรอยเท้าของผู้ที่หายไปแล้วได้ หากผู้นั้นหายตัวไปไม่เกิน ๑๒ ปีวิชานี้ย่อมช่วยหาตัวจนพบเจอ

    ดังนั้นจึงพอจะสรุปแบบองค์รวมอย่างคร่าวๆว่า กุมภัณฑ์ คือ ยักษ์ที่มีรูปหน้าเรียวยาวคล้ายกับม้า(อัสสมุข) ฝ่ายชายจะมีอัณฑะใหญ่ยานเหมือนหม้อ ส่วนฝ่ายหญิงจะมีเต้าใหญ่ยานเหมือนหม้อ นั่นเอง

    กุมภัณฑ์(Kumbhanda/ญี่ปุ่นเรียกว่า Kuhanda)

    กุมภัณฑ์ชาย(๑)

     

    กุมภัณฑ์ชาย(๒)

     

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×