ผลกระทบของFTAต่อธุรกิจระหว่างประเทศ
ผลกระทบของFTAต่อธุรกิจระหว่างประเทศ อธิบายโดยโมเดลแรงกดดัน 5 ประการจากการแข่งขันในอุตสาหกรรม (Five forces model of industry competition) ซึ่งพัฒนาโดย Michael E. Porter โดยอธิบายถึงสภาพแวดล้อมในการแข่งขันในรูปของแรงกดดันพื้นฐานทางการแข่งขัน 5 ประการ
ผู้เข้าชมรวม
3,685
ผู้เข้าชมเดือนนี้
6
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ผลกระทบของข้อตกลงเขตการค้าเสรีที่มีผลต่อธุรกิจระหว่างประเทศ
เขตการค้าเสรี (Free Trade Area: FTA) คือ การทำความตกลงที่จะลดภาษี และลดมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างกัน อาจจะเป็น สินค้าอุตสาหกรรม สินค้าเกษตร รวมไปถึง ในเรื่องการค้าภาคบริการด้วย การค้าเสรีทวิภาคี (Bilateral Free Trade Agreements: FTAs) เป็นกระแสที่ประเทศต่างๆ กำลังให้ความสนใจ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเจรจาการค้าระดับพหุภาคี (Multilateral Trade Negotiations: MTN) ภายใต้กรอบกฎกติกาองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เกิดภาวะชะงักงันเพราะประเทศภาคีมีหลายฝักหลายฝ่าย ไม่สามารถเจรจาตกลงกันได้แบบฉันทามติ จึงเกิดความล่าช้าและไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นผลให้หลายประเทศหันมาให้ความสนใจในการเจรจาการเปิดการค้าเสรีในระดับทวิภาคีมากขึ้น
จากวัตถุประสงค์ของการตกลงการเจรจาเขตการค้าเสรี (FTA) พบว่ามีผลกระทบต่อการดำเนินงานของธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business) ในหลายๆด้าน เช่น การวางแผนกลยุทธ์ การควบคุมการปฏิบัติการ และการทำการตลาด เป็นต้น นอกจากนี้แล้วผลกระทบที่เกิดกับแต่ละปัจจัยก็ยังสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งด้านที่เป็นประโยชน์ (ด้านบวก) และด้านที่เป็นอุปสรรค์ (ด้านลบ) ในการวิเคราะห์ถึงผลกระทบขององค์การการค้าโลกที่มีต่อการดำเนินงานของธุรกิจระหว่างประเทศในครั้งนี้ จะพิจารณาเพียงปัจจัยทางด้านการวางแผนกลยุทธ์ และวิเคราะห์ในมุมมองของผู้ประกอบการไทยเป็นหลัก โดยในการวิเคราะห์นี้จะเน้นที่การวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดกับสภาพแวดล้อมทางการแข่งขัน (The competitive environment) เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (การกำหนดโอกาสและอุปสรรค) ซึ่งประกอบด้วย คู่แข่ง ลูกค้า และผู้ขายปัจจัยการผลิต
เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ โมเดลแรงกดดัน 5 ประการจากการแข่งขันในอุตสาหกรรม (Five forces model of industry competition) ซึ่งพัฒนาโดย Michael E. Porter โดยอธิบายถึงสภาพแวดล้อมในการแข่งขันในรูปของแรงกดดันพื้นฐานทางการแข่งขัน 5 ประการ คือ
1. อุปสรรคจากคู่แข่งขันที่เข้ามาใหม่ในตลาด (The threat of new entrants to the market)
การตกลงการเจรจาเขตการค้าเสรี (FTA) จะทำให้เกิดการลดภาษี และลดมาตรการ
กีดกันทางการค้าระหว่างกัน ดังนั้นจึงถือเป็นแรงจูงใจในการเข้ามาทำการตลาดของผู้ประกอบการรายใหม่ ซึ่งจะเป็นอุปสรรคของผู้ประกอบการรายเดิม ซึ่งจะทำให้เกิดรายจ่ายเพิ่มมากขึ้นเพื่อที่จะรักษาส่วนแบ่งด้านการตลาด (market share) ไว้ ส่วนหลักๆ ที่จะต้องลงทุนเพิ่ม ได้แก่
- ทรัพยากรหรือวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้า
- งบประมาณด้านการโฆษณาและส่งเสริมการขาย
- การวิจัยและพัฒนาสินค้า เพื่อเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน
ผู้ประกอบการที่ไม่สามารถปรับตัวได้ ก็จะทำให้สูญเสียส่วนแบ่งการตลาด กำไร
ลดลง จนกระทั่งอาจถึงขั้นที่จะต้องเลิกกิจการไปเลยก็ได้ ตัวอย่างเช่น ความเสียปรียบของฟาร์มโคนมของไทย ที่มีความชำนาญในการผลิตน้อยกว่าฟาร์มโคนมของประเทศออสเตรีย ส่งผลให้คุณภาพของสินค้ายังต่ำกว่า ขณะที่ต้นทุนในการผลิตสูงกว่า อีกทั้งงบประมาณในการโฆษณาก็มีจำนวนจำกัด ในขณะเดียวกันโรงงานผลิตรองเท้าในประเทศออสเตรียก็เสียเปรียบให้กับรองเท้าที่ผลิตจากประเทศไทย เป็นต้น
2. อำนาจการต่อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิต (The bargaining power of the firm’s
suppliers)
การตกลงการเจรจาเขตการค้าเสรี (FTA) จะทำให้เกิดการลดภาษี และลดมาตรการ
กีดกันทางการค้าระหว่างกัน ดังนั้นจึงถือเป็นแรงจูงใจในการเข้ามาทำการตลาดของผู้ประกอบการรายใหม่ การเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่ จะทำให้การต้องการวัตุดิบเพิ่มสูงขึ้น ถ้ามีผู้ขายปัจจัยการผลิตเท่าเดิม ตามหลักของอุปสงค์และอุปทาน เหตุการณ์นี้จะทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้น อาจจะเกิดแค่เหตุการณ์เดียวหรือหลายๆ เหตุการณ์พร้อมกันก็ได้ เช่น ราคาของวัตถุดิบขยับตัวสูงขึ้น คุณภาพของวัตถุดิบลดลง การบริการลดลง เป็นต้น ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนการผลิตที่อาจจะต้องสูงขึ้นกว่าเดิม ถ้าขาดการจัดการและกลยุทธ์ที่เหมาะสม
3. อำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ/ลูกค้า (The bargaining power of buyers)
การตกลงการเจรจาเขตการค้าเสรี (FTA) จะทำให้เกิดการลดภาษี และลดมาตรการ
กีดกันทางการค้าระหว่างกัน ดังนั้นจึงถือเป็นแรงจูงใจในการเข้ามาทำการตลาดของผู้ประกอบการรายใหม่ การเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่จะทำให้สินค้าในตลาดมีเพิ่มมากขึ้น ถ้าความต้องการซื้อมีปริมาณเท่าเดิม ตามหลักของอุปสงค์และอุปทาน เหตุการณ์นี้จะทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้น อาจจะเกิดแค่เหตุการณ์เดียวหรือหลายๆ เหตุการณ์พร้อมกันก็ได้ เช่น การสร้างอำนาจต่อรองด้านราคา (สินค้าราคาถูกกว่าจะได้รับการพิจารณาก่อน) ลูกค้ายอมซื้อในราคาเท่าเดิมแต่คุณภาพสินค้าจะต้องดีขึ้นกว่าเดิม หรือ ราคาและคุณภาพเท่าเดิมแต่การบริการจะต้องดีกว่าเดิม เป็นต้น ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนการผลิต ต้นทุนการบริหาร และยอดขายสินค้าที่อาจจะลดลง ถ้าขาดการจัดการและกลยุทธ์ที่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น การเข้ามาตีตลาดของเครื่องใช้ไฟฟ้าราคาถูกจากประเทศจีน เนื่องจากไม่สามารถแข่งขันด้านราคาได้ ทำให้ผู้ประกอบการรายเดิมที่มีอยู่ในประเทศไทยต้องปรับกลยุทธ์ในการทำการตลาดใหม่ หันไปเน้นการแข่งขันด้านคุณภาพและบริการแทน เช่น การรับเปลี่ยนสินค้าที่บกพร่องจากการผลิต การเพิ่มระยะเวลาในการรับประกันสินค้า บริการซ่อมฟรีตลอดอายุการใช้งานของสินค้า เป็นต้น
4. อุปสรรคจากผลิตภัณฑ์ที่ทดแทนกันได้ (The threat of substitute products)
การตกลงการเจรจาเขตการค้าเสรี (FTA) จะทำให้เกิดการลดภาษี และลดมาตรการ
กีดกันทางการค้าระหว่างกัน ดังนั้นจึงถือเป็นแรงจูงใจในการเข้ามาทำการตลาดของผู้ประกอบการรายใหม่ สินค้านำเข้าที่เคยมีราคาแพงเมื่อไม่มีกำแพงภาษีก็จะทำให้ราคาถูกลง หรือสินค้าที่เคยเป็นสินค้าต้องห้ามเมื่อมีการยกเว้นให้แก่กันก็จะทำให้มีสินค้าใหม่ๆ เข้าสู่ตลาดได้เช่นกัน ซึ่งสินค้าบางประเภทที่นำเข้ามีความสามารถในการทดแทนสินค้าที่มีอยู่แล้วในตลาดภายในประเทศ จะทำให้เกิดข้อจำกัดด้านราคาของสินค้าในตลาด สินค้าที่มีราคาสูงกว่าสินค้าที่ทดแทนกันได้ ลูกค้าจะเปลี่ยนใจไปใช้สินค้าทดแทนกันได้นั้นๆ เช่น ตลาดแอปเปิ้ลในประเทศไทย ช่วงแรกมีราคาแพง ลูกละประมาณ 25 บาท เนื่องจากเป็นสินค้านำเข้าจากสหรัฐอเมริกา แต่เมื่อมีการลดกำแพงภาษีทำให้แอปเปิ้ลราคาถูกจากจีน ลูกละประมาณ 5 บาทเข้ามาสู่ตลาด ทำลูกค้าหันมารับประทานแอปเปิ้ลจากจีนแทน กรณีที่ผลิตภัณฑ์นมราคาถูกจากออสเตรียเข้ามาตีตลาดนมในประเทศไทย หรือกรณีที่รองเท้าราคาถูกจากประทศไทยเข้าไปตีตลาดรองเท้าในออสเตรีย เป็นต้น
5. การเพิ่มขึ้นของการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น (The intensity of rivalry among competitors)
การลดภาษีและลดมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างกันในระบบเศรษฐกิจเสรีนิยม
จะเป็นสาเหตุให้เกิดการแข่งขันในตลาดมีระดับที่รุนแรงมากขึ้น ผู้ประกอบการแต่ละรายจะต้องพัฒนาขีดความสามารถของตัวเองเพื่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งในด้านการจัดการสามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วนหลัก ได้แก่ การได้เปรียบด้านต้นทุน (cost leader) การสร้างความแตกต่าง (differentiate) และการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า (responsibility) ตัวอย่างเช่น การที่ไอศรีมวอลมอร์ มีฐานการผลิตในประเทศจีนและส่งขายทั่วภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าการตั้งโรงงานผลิตขายในแต่ละประเทศ หรือมาตรการการนำเข้ารถประหยัดพลังงานจากจีน (eco-car) นอกจากจะมีราคาถูกแล้ว ยังสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในยุคที่น้ำมันมีราคาแพงได้ เป็นต้น
****************************
ผลงานอื่นๆ ของ Tomz ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ Tomz
ความคิดเห็น