fo\\\ดนตรี - fo\\\ดนตรี นิยาย fo\\\ดนตรี : Dek-D.com - Writer

    fo\\\ดนตรี

    ตรีๆๆๆ

    ผู้เข้าชมรวม

    1,042

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    7

    ผู้เข้าชมรวม


    1.04K

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  10 ต.ค. 50 / 18:47 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น

    แคน

     

     

     

    แคน เป็นเครื่องดนตรีที่รู้จักมากที่สุด ชาวภาคอีสานเหนือ และอีสานกลางไม่รวมอีสานใต้ที่ได้รับอิทธิพลเขมร ได้แก่ "แคน" แคนเป็นเครื่องดนตรีที่สมบูรณ์ที่สุด ที่มีความเป็นย้อนหลังไปหลายพันปี แคนที่ด้วย ไม้ซาง ทีลิ่นโลหะ เช่นดีบุก เงิน หรือทองแดงบางๆไว้ประกอบไว้ในส่วนที่ประกอบอยู่ที่เต้าแคน แคนมีหลายขนาด เช่น แคน 7 แคน 9 ข้างๆเต้าแคน ด้านบนมีรูปิดเปิดบังคับเสียง เวลาเป่า เป่า ่ที่เต้าแคนด้านหน้า ใช้มือที่สองประกบจับเต้าแคนในลักษณะเฉียงเล็กน้อย แคนเป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงได้ทั้งทำนองเพลงประสานเสียง และให้จังหวะในตัวเอง จึงมีลีลาการบรรเลง ที่วิจิตรพิศดารมาก ระบบเสียงของแคน เป็นระบบ ไดอะโทนิค และเพนตะโทนิค มีขั้นคู่เสียงที่เล่นได้ทั้งตะวันออกและแบบไทยรวมทั้งคู้เสียงระดับเดียวกันอีกด้วย

     

     

     

     

     

     

     

    โหวด

     

     

     

    โหวต เป็นเครื่องเป่าชนิดหนึ่งที่ไม่มีลิ้น เกิดจากกรัแสลมที่เป่าผ่านไม้รวก หรือไม้เฮี๊ย (ไม้คู่แคน) หรือไม่ไผ่ด้านรู เปิดของโหวตทำด้วยไม้รวกขนาดเล็ก สั้น ยาว (เรียงตามความสูงต่ำของเสียง) ติดอยู่รอบกระบอกไม้ไผ่ที่ใช้เป็นแกนกลาง ติดไว้ด้วยขี่สูด มีจำนวน 6 - 9 เลา ความยาวประมาณ 25 เซนติเมตรเวลาเป่าจะหมุนไปรอบๆตามเสียงที่ต้องการ

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    พิณ

     

     

     

     

     

    พิณเป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงด้วยการดีด มี 2 - 3 สาย แต่ขึ้นเป็น 2 คู่ โดยขึ้นคู่ 5 ดีด เป็นทำนองตัวพิณและคันทวนนิยมเกาะด้วยไม้ชิ้นเดียวกัน มีนมสำหรับตั้งเสียง สายพิณนิยมทำด้วยโลหะ โดยเฉพาะสายลวดเบรคจักรยาน ที่ดีดนิยม ทำด้วยขาสัตว์แบนๆ เหลาให่บางพอที่จะดีด สะบัดได้

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    โปงลาง

     

     

     

     

    โปงลางเป็นเครื่องดนตรีประเภทบรรเลง ทำนองการตีเพียงชนิดเดียว ของภาคอีสาน โดยบรรเลงร่วมกันกับแคน พิรและเครื่องประกอบจังหวะ หรือยบรรเลงเดี่ยว ตัวโปงลางทำด้วยท่อนไม้แข็งชนิดต่างๆกันเรียงตามลำดับเสียงร้อยด้วยเชือกเป็นลูกระนาด ปลายข้างเสียงสูงผูกแขวนไว้กับกิ่งไม้ และข้างเสียงต่ำปล่อยทอดเยื้องลงมาคลองไว้กับหัวแม่เท้าของผู้บรรเลง หรือคล้องกับวัสดุปกติ ผู้เล่นโปงลางหนึ่งมี 2 คน คือ คนบรรเลงทำนองเพลงกับคนบรรเลงเสียงกระทบแบบคู่ประสาน ไม้ที่ตีโปงลางทำด้วยไม้เนื้อแข็งเป็นรูปคล้ายค้อนตีด้วยมี 2 ข้าง ข้างละอัน ขานาดของโปงลางไม่มีมาตราฐานที่แน่นอน

     

     

     

     

     

     

     

     

    กระจับปี่

     

     

     

     

    กระจับปี่เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด โดยที่ใช้กระที่ทำด้วยเขาสัตว์ กล่องเสียงทำด้วยไม้ขนุนหรือไม้สัก ส่วนปลายสุดมีรู 2 รู ใช่ใส่ลูกบอดและร้อยสาย เมื่อบรรเลง จะตั้งขนานกับลำตัว มือขวาจะจับกระสำหรับดีดมือซ้ายกดที่สายเพื่อเปลี่ยนระดับเสียง

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    ซอกันตรึม

     

     

     

                                                              

     

     

     

     

     

    ซอกันตรึมเป็นเครื่องสายใช้สี ทำด้วยไม้กล่องเสียงหุ้มด้วยหนังงู มีช่องเสียง อยู่ตรงข้ามหน้าซอ ใช้สายลวดมี 2 สาย คันชักอยู่ระหว่างสาย คันซอยาวประมาณ 60 เซนติเมตรมีลูกบิดอยู่ตอนนอกซอใช้รัดด้วยเชือก ขนาดของซอแตกต่างกันไปตามความประสงค็ของผู้สร้าง โดยทั้วไปมี 3 ขนาด คือ ขนาดเล็ก เรียกว่า "ตรัวจี่" ขนาดกลางเรียกว่า "ตรัวเอก" ขนาดใหญเรียกว่า "ตรัวธม"

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     


    สะล้อ

    ส่วนประกอบของสะล้อ
    1.กล่องเสียง (กะโหล้ง)
    2.หน้าซอ หรือ ตาดสะล้อ
    3.คันสะล้อ
    4.ลูกบิดสายหุ้ม (หลักสายยาน)
    5.ลูกบิดสายเอก (หลักสายเคร่ง)
    6.รัดอก (สายรัด)
    7.สายเอก และ สายหุ้ม (สายเคร่ง สายยาน)
    8.หย่อง (ก๊อป)
    9.คันชัก (กง หรือ ก๋ง)

    สะล้อ    เป็นคำเดียวกันกับคำว่า ทรอ (ซอ) ซึ่งเอกสารโบราณบ้างฉบับเขียนว่า ตะล้อ , ธลอ เป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านล้านนา ใช่เล่นกับซึง หรือบรรเลงเดี่ยวก็ได้สะล้อมีกล่องเสียงทำด้วยกะลามะพร้าว (กะโหล้งบ่าพร้าว)และคันสะล้อใช้ไม้เนื้อแข็ง สะล้อมีรูปทรงคล้ายซออู้ซึ่งเป็นเครื่องสายของดนตรีไทย ในส่วนของรายละเอียดอาจแตกต่างกัน เป็นต้นว่า กล่องเสียงหรือกะลามะพร้าวของสะล้อด้านหน้าปิดด้วยแผ่นไม้บาง ๆ ส่วนซออู้นั้นด้านหน้าปิดด้วยหนัง และสายสะล้อใช้สายลวดหรือสายกีตาร์ ส่วนซออู้เป็นเอ็นหรือสายไหม สะล้อเป็นเครื่องสายดนตรีพื้นบ้านล้านนาใช้วิธีการเล่นโดยการสี โดยมีคันชักที่ใช้หางม้า แต่ปัจจุบันหางม้าหายากจึงใช้สายเอ็นเส้นเล็ก ๆ แทนเอาหางม้าหรือสายเอ็นหลาย ๆ เส้นมาขึงแล้วดึงเข้ากับไม้คันชักจนได้ความดึงจากนั้นก็ใช้ยางสนหรือใช้ขี้ขะย้า(ขี้ขะย้ามีสองชนิดคือขี้ขะย้ามูลของสัตว์ประเภทผึ้งชนิดหนึ่งและขี้ขะย้าจากยางไม้ประเภทยาง ซึ่งได้แก่ ยางนา, ยางป่า ฯลฯ)ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนยางสนนำมาถูไปมาที่หางม้าหรือสายเอ็นเพื่อให้เกิดความฝืดในการเสียดสีระหว่างหางม้ากับสายสะล้อการเสียดสีก็ทำให้เกิดเสียงข้นมา

    ขนาดของสะล้อ



    สะล้อใหญ่ มีขนาดความยาวของคันสะล้อ วัดจากขอบด้านบนกะลามะพร้าวถึงลูกบิดสายเอกประมาณ ๑๖นิ้ว
    สะล้อใหญ่เวลาสี เสียงที่ออกมา ทุ้มใหญ่ มักตั้งเสียงเป็นแบบสะล้อลูกสาม (สายทุ้งเสียง โด - สายเอกเสียง ซอล)

    สะล้อกลาง มีขนาดความยาวของคันสะล้อ วัดจากจุดเดียวกันกับสะล้อใหญ่ ได้ประมาณ ๑๔ นิ้ว ส่วนกะลา
    ก็มีขนาดลดลงมา เสียงที่ได้เป็นเสียงทุ้มปลานกลาง มักใช้สีควบคุมทำนองหลัก นิยมตั้งเเบบสะล้อลูกสี่
    ( สายหุ้มเสียง ซอล - สายเอกเสียงโด )

    นิยายแฟร์ 2024
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×