คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #34 : ตะบันไฟ
การจุดไฟในสมัยก่อนมีหลายวิธีการ นับตั้งแต่การใช้ ?ไม้สีไฟ? คือการเอาไม้แห้ง 2 แท่ง มาเสียดสีกันจนทำให้เกิดไฟ ซึ่งต้องใช้เวลานาน ต่อมาได้พบว่าเมื่อเอาหินที่เรียนกว่า หินเหล็กไฟกับเหล็กมาตีเฉียดๆ กัน ก็จะเกิดประกายไฟขึ้น จากนั้นก็นำปุยนุ่นหรือปุยสำลีมารองรับประกายไฟ จนเกิดไฟลุก
การใช้ตะบันไฟก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งคนในสมัยก่อนค้นคิดขึ้น โดยใช้หลักการเสียดสีอย่างแรงและรวดเร็ว ทำให้เกิดไฟลุกในที่สุด
ตะบันไฟมีส่วนประกอบอยู่ 3 ส่วนคือ กระบอกตะบัน ลูกตะบัน และปุย
กระบอกตะบัน ทำมาจากเขาควายหรือเขาวัว ตัดเขายาวประมาณ 15 เซนติเมตร เลือกในส่วนปลายเขามีรูตันหรือรูเล็กๆ ฝนหรือเหลาตกแต่งให้กลมมีรูปร่างสวยงามเจาะแต่งรูให้กลมเกลี้ยง ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร
ลูกตะบัน บางทีเรียกว่าไม้กระทุ้ง ทำด้วยเขาควายเขาวัว หรือไม้เนื้อแข็งก็ได้ ขนาดของลูกตะบันต้องเหลาให้พอดีกับรูกระบอก ปลายลูกตะบันตะบันเจาะรูเขาหรือไม้ให้เว้าลึกไปเล็กน้อยเพื่อใช้บรรจุปุย หากลูกตะบันหลวมไม่พอดีก็จะใช้ใยไหมหรือด้ายดิบพันปลายลูกตะบันแล้วทาขี้ผึ้งให้ลื่น เมื่อลูกตะบันคับกับรูกระบอกตะบันจะทำให้เกิดการเสียดสีมากยิ่งขึ้น
ปุย หรือเชื้อเพลิงทำให้ติดไฟ สมัยก่อนใช้ปุยลูกเต่ารั้ง ซึ่งมีลักษณะแห้งติดไฟง่าย ใส่ไว้ในรูปลายลูกตะบัน ต่อมาขุยเต่ารั้งหายาก จึงใช้ปุยสำลีหรือปุยนุ่นโดยจะผสมกับตะกั่วแดง ทำให้ติดไฟง่ายขึ้น
วิธีใช้ตะบันไฟ จะใช้ลุกตะบันใส่ปุยสำลีไว้ที่รู กระทุ้งเข้าไปในรูกระบอกตะบันด้วยแรงกระแทกอย่างเร็วแล้วรีบกระชากออกแรงอัดทำให้เกิดความร้อนลุกเป็นไฟขึ้นที่ขุยปลายลูกตะบัน จากนั้นก็ทำเป็นเชื้อไฟเพื่อไปจุดเตาไฟ หรือวัสดุที่ต้องการ
เป็นอย่างไรบ้างครับน้องๆ วิธีการจุดไฟแบบภูมิปัญญาไทย ง่ายไหมครับ ไม่ต้องใช้เชื้อเพลิง สารเคมีหรือกลไกลที่ซับซ้อนเลยก็สามารถจุดไฟติดขึ้นมาได้เหมือนกัน ซึ่งปัจจุบันจะหาดูตะบันไฟได้อยากแล้ว ต้องหาดูตามพิพิธภัณฑ์จึงจะได้เห็น
ความคิดเห็น