ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วิทยาศาสตร์น่ารู้ (รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม)

    ลำดับตอนที่ #33 : ขมิ้นกับปูน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 1.48K
      0
      28 ธ.ค. 51

    น้องๆ คงจะได้ยินสุภาษิตที่ว่า ขมิ้นกับปูน กันใช่ไหมครับ มันก็มีความหมายว่าคนไม่ถูกกันมาอยู่ใกล้กันแล้วจะต้องมีเรื่องทะเลาะกันอยู่เสมอๆ ที่จริงแล้วมันมีที่มาของสุภาษิตนี้ นั้นก็คือ การทำปูนแดงกินกับหมากที่ใช้การทำปฏิกิริยาระหว่างขมิ้นกับปูนขาวแล้วได้ปูนแดงที่กินกับหมาก นั่นเอง

    ถ้าพูดถึงเรื่องกินหมากแล้วน้องๆ บางคนอาจจะเคยเห็น ย่า ยาย หรือคนแก่ บางคนปากแดงตลอดเวลา และต้องบ้วนน้ำหมากสีแดงทิ้งเป็นระยะๆ นั่นก็คือท่านกินหมาก  เวลากันหมาก จะต้องนำปูนสีแดงมาป้ายกับใบพลูกินกับหมากแล้วเคี้ยว ซึ่งในอดีตคนแถบเอเชียตะวันออกนิยมกินหมากกันมาช้านาน ตั้งแต่ชาวบ้าน ไปจนถึงเจ้านายและชนชั้นสูงในสังคม จนมาถึงสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามได้ประกาศให้เลิกกินหมากกันการกินหมากก็เลยลดน้อยลงแต่ก็ยังมีกินกันอยู่บ้างจนมาถึงทุกวันนี้ ซึ่งมีอยู่น้อยมากส่วนใหญ่จะมีอยู่บ้างในชนบท
     ถ้าพูดถึงปูนแดงแล้วนอกจากจะใช้กินกับหมากแล้วยังมีประโยชน์อีกหลายอย่าง เช่น ใช้ป้ายที่แผลของต้นไม้กันเชื้อรา , ผสมเป็นตัวยารักษาโรค หรือผสมชันสำหรับยาเรือหรืออุดรอยรั่วต่างๆ  มีประโยชน์หลายอย่าง
     สำหรับขั้นตอนการทำปูนแดงให้มีคุณภาพนั้นต้องผ่านกรรมวิธีหลายอย่าง ขั้นตอนแรกต้องนำหินปูน(แคลเซียมคาร์บอเนต) มาเผาถึง 7 วัน จนกว่าหินจะสุก แล้วรอให้เย็นตัวจึงนำออกจากเตา  ฉีดน้ำให้ทั่วเพื่อให้ปูนแตกออกเป็นก้อนเล็กๆ ง่ายต่อการบด เมื่อบดเป็นผงแล้วจึงกรองด้วยผ้าขาวบางเพื่อให้ได้ปูนขาวเนื้อเนียนละเอียด แล้วจึงนำไปผสมขมิ้นผง เกลือและน้ำ กวนให้เข้ากัน ปูนขาวจะทำปฏิกิริยากับขมิ้นจนกลายเป็นสีแดง เรียกว่า ปูนแดง  ก็ที่กินกับหมากนะแหละ
     ทีนี้น้องๆ คงเข้าใจที่มาของสุภาษิตที่ว่าขมิ้นกับปูนแล้วใช่ไหมครับ ซึ่งก็มาจากการทำปูนแดง ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของไทยที่ถ่ายทอดกันมาแต่โบราณนั่นเอง 
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×