จอมใจวรมันต์ - นิยาย จอมใจวรมันต์ : Dek-D.com - Writer
×

    จอมใจวรมันต์

    หัวใจที่ตายแล้วมีเพียงสองสิ่งเท่านั้นที่จะสามารถบรรดาลให้ฟื้นคืนมาได้นั่นคือ "ความรัก" และ "ความแค้น"

    ผู้เข้าชมรวม

    223

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    2

    ผู้เข้าชมรวม


    223

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    2
    หมวด :  แฟนตาซี
    จำนวนตอน :  6 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  31 พ.ค. 62 / 11:39 น.
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

    นิยายเรื่องนี้เป็นนิยายแฟนตาซี เกี่ยวกับความรัก สิ่งลี้ลับ อาถรรพ์ แนวย้อนยุคหรืออิงประวัติศาสตร์บ้างเล็กน้อย ที่สำคัญการเขียนนิยายเรื่องนี้เพื่อแทรกแนวคิด ปรัชญา ของศาสนาต่างๆ และเสนอมุมมองเชิงประวัติศาสตร์ แต่ว่าอาจจะไม่ตรงตามประวัติศาสตร์หรือหลักฐานเชิงประจักษ์ เพราะเราเน้นให้นิยายเรื่องนี้เกิดความเพลิดเพลินสนุกสนาน ตื่นเต้น แบบที่ว่าผู้อ่านมิอาจจะคาดคะเนเดาทางถูก เพื่อเพิ่มอรรถรสให้นิยายเรื่องนี้มีความน่าสนใจมากขึ้น จึงมีเนื้อหาเกี่ยวกับความรัก ซึ่งการคล้ายนิยายรูปแบบนี้เป็นการเขียนรูปแบบนิยายที่ยากกว่าการเขียนนิยายรูปแบบอื่นๆ เพราะอาจถูกนักวิชาการเสนอความเห็นขัดแย้งเกี่ยวกับเรื่องประวัติศาสตร์ ทางผู้เขียนจึงขอย้ำว่านิยายก็คือนิยาย ประวัติศาสตร์ก็คือประวัติศาสตร์ ถ้าจะยึดมั่นในหลักเกณฑ์ใด หรือมุมมองใด อย่างเข้มงวดคงเป็นไปไม่ได้ ขอให้ท่านผู้อ่านคิดเสมอว่านี่คือนิยายเพื่ออรรถรสในเชิงการแต่งวรรณกรรม สไตล์ย้อนยุคแฟนตาซี


     ความรักมักไม่เลือกชนชั้นวรรณะยากดีมีจน ความรักมักเป็นแรงบรรดาลใจทำให้มนุษย์เราสามารถพัฒนาตัวตนให้มีศักยภาพมากขึ้น เพื่อปกป้องคนที่เรารัก มันเป็นสัญชาติญาณของสิ่งมีชีวิต ส่วนสำหรับ  มนุษยชาติ เรานี้จะแสดงออกซึ่งความรักและชัดเจนว่า เผ่าพันธ์สิ่งมีชีวิตใดๆบนโลก ซึ่งก่อเกิดวีรกรรมเกี่ยวกับความรัก ขึ้นบนโลกนี้มากมาย และการสร้างสิ่งที่แสดงออกซึ่งความรักหรือบูชาความรัก ดังนั้นความรักจึงเป็นสิ่งดีงามทำให้โลกเกิดพลวัฒนะขึ้น ความก้าวหน้าจากคนป่ามาเป็นมนุษย์ในอารยะธรรมที่เจริญขึ้นมาจนถึงทุกวันนี้ แม้แต่ชนชาติในแถบสุวรรณภูมิเรานี้ถึงแม้จะมีต้นสายเหล่าก่อ เผ่าพันธ์กันอย่างใกล้ชิด แต่ด้วยความเป็นอยู่ในยุคสมัยเริ่มต้นก่ออารยะธรรมจากถิ่นอื่นจะเข้ามาทำให้เราพัฒนาความเป็นชนชาติได้ เราจะอยู่กันอย่างแล้นแคว้นขาดเทคโนโลยี วิทยาการต่างๆ ทำให้เราไม่มีความเจริญเท่าที่ควร ถึงเจริญก็ยังช้าๆอยู่ถ้าเปรียบเทียบกับอารยะธรรมอื่นบนโลกใบนี้ เช่น อารยะธรรมไอยคุปต์ อารยะธรรมเมโสโปเตเมีย อารยะธรรมจีน อารยะธรรมกรีก หรืออารยะธรรมอินเดียก็ตาม แต่ด้วยอุปนิสัยพื้นฐานของคนสุวรรณภูมิมักเป็นคนสงบหลบภัยสงคราม เร่ร่อนหาที่ใหม่ๆ ที่ปลอดภัยจากชนเผ่าใหญ่ๆคอยรังแกเอาเปรียบบรรพบุรุษของชนชาติแถบสุวรรณภูมิจึงเลือกใช้ดินแดนแถบนี้ เป็นถิ่นที่อยู่อาศัย โดยแบ่งการปกครองออกกเป็น ชนเผ่า เป็นบ้าน เป็นเมือง และก็ยังมีกลุ่มชาติพันธิ์ต่างๆ ได้พยายามเข้ามาอยู่ปะปนกันไปด้วยภัยสงคราม หรือภัยจากโรคร้ายบางที่ก็เห็นว่าดินแดนแถบนี้ เป็นดินแดนอุดมสมบูรณ์ที่สัตว์ป่า แหล่งน้ำ ที่อยู่อาศัย ไม่มากด้วยผู้คน

          จวบการนานมา เหล่าชนชาติในสุวรรณภูมิก็มีความเจริญรุ่งเรืองเติบโตขึ้น พัฒนาอารยะธรรมเป็นของตนเอง มีลัทธิบูชาผี บูชาพญานาค บูชาเทวดา ป่าไม้ฯ เมื่อมีการขยายเผ่าพันธ์มากขึ้น ที่อยู่แบบพอเพียงก็ไม่พอที่จะอยู่กันต่อไปต้องออกมาขยายดินแดน เพื่อให้พแเพียงสำหรับประชาชนของตน โดยมีหัวหน้าของชุมชนการเมืองแบบเครือญาติมีการแบ่งแยกชนชั้นและหน้าที่กันอย่างเด่นชัด และมีความสัมพันธ์กันระหว่างเมืองหรือเครือญาติด้วยการแต่งงาน ในอดีตดินแดนสุวรรณภูมินี้มิใช่มีแค่มนุษยชาติอาศัยอยู่เพียงลำพัง แต่ยังมีสิ่งมีชีวิตที่ทรงภูมิและมีวัฒนธรรม อารยะธรรมของตนเองเช่นกัน อาทิเช่น กลุ่มนาค กลุ่มข่า กลุ่มยักษ์ กลุ่มคนทัณฑ์ ฯ เผ่าพันธ์เหล่านี้ต่างหยิ่งในศักดิ์ศรีของเผ่าพันธ์จะไม่ยุ่งเกี่ยวกัน  ดังนั้นหากมีการแต่งงานข้ามเ้ผ่าพันธ์จะเป็นที่รังเกียจมากของเผ่าพันธ์ตนเอง แต่ตำนานต่างๆ ของมหาบุรุษหรือคนเก่งๆของประวัติศาสตร์ ก็มักจะมีประวัติการเกิดที่ผิดเภทแตกต่างจากคนอื่น

           นวนิยายเรื่องนี้ จึงเขียนขึ้นเพื่อความสนุกความเพลิดเพลินให็เห็นถึงวิถีชีวิตตามจินตนาการได้ และการค้นคว้าทางประวัติศาสตร์นำมาประกอบการเขียนเชิงแฟนตาซี ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านมีความสนุกสนานเพลิดเพลิน เราจะไม่อ้างอิงถึงชาติพันธ์ใดๆ แบบตรงๆ แต่อาจจะเขียนถึงเผ่าพันธ์ในอดีต บางเนื้อหาอาจจะแปลกประหลาดจากความเป็นจริง หรืออาจจินตนาการไปบ้างก็เพื่อความสนุกของท่านผู้อ่าน



    นิยายเรื่องนี้เป็นผลงานการเขียนของ พระอาจารย์ มหา ดร.พรชัย วิชโย เจ้าอาวาสวัดพระธาตุโป่งดินสอ
    มอบลิขสิทธิ์ในนิยายเรื่องนี้ให้ข้าพเจ้าในการเผยแพร่นวนิยายเรื่องนี้

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น