ดอกกรรณิการ์ - ดอกกรรณิการ์ นิยาย ดอกกรรณิการ์ : Dek-D.com - Writer

    ดอกกรรณิการ์

    tonkaowkp

    ผู้เข้าชมรวม

    920

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    3

    ผู้เข้าชมรวม


    920

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  14 ก.พ. 61 / 16:02 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น

    ดอกกรรณิการ์

         กรรณิการ์เป็นไม้ที่มีกลิ่นหอมแรง โดยจะบานตอนกลางคืน ออกดอกตลอดปี นอกจากจะเป็นไม้ที่หอมแล้ว กรรณิการ์ยังเป็นสมุนไพรอีกด้วย และฐานรองดอกก็สามารถนำมาทำสีย้อมผ้าและสีทำขนมได้ด้วย


    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nyctanthes Arbortristis Linn.

    วงศ์ : OLEACEAE

    ชื่อสามัญ : Night Blooming Jasmine (มะลิบานราตรี), Night Flower Jasmine, Coral Jasmine

    ชื่ออื่นๆ : กณิการ์, กรณิการ์

    ถิ่นกำเนิด : อินเดีย ลังกา พม่า ไทย

    ประเภท : ไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง เมื่อโตเต็มที่มีความสูงประมาณ 3-4 เมตร แต่ถ้าปล่อยให้สูงไปเรื่อยๆ โดยไม่ตัดกิ่งออกบ้าง ตันไม้จะขึ้นโอนเอนไปมาไม่เป็นระเบียบ แถมจะเก็บดอกไม่ถึง อยู่สูงเกินไป

     

     ลักษณะทั่วไป

              ต้น : สูงประมาณ 2 - 4 เมตร ตามลำต้นจะมีรอยเป็นเส้นคาดรอยต้นเป็นช่วงๆ ไปตามข้อต้น เปลือกของลำต้นนั้นมีสีขาว ลักษณะของลำต้นและกิ่งก้านโดยเฉพาะส่วนที่เป็นแขนงและกิ่งอ่อนจะเป็นสี่เหลี่ยม บริเวณแนวสันเหลี่ยมของกิ่งหรือลำต้นมีตุ่มเล็กๆ ประเป็นแนวอยู่ด้วย

              ใบ : เป็นไม้ใบเดี่ยวแต่ออกเป็นคู่ๆ สลับกันไปตามข้อของต้น มีรูปมนรี ปลายใบแหลม สีเขียวและมีขนอ่อนเป็นละอองปกคลุมอยู่ทั่วใบ ลักษณะสากคายมือ

              ดอก : ดอกสีขาว ออกเป็นช่อดอกเล็กๆ กระจายที่ปลายกิ่ง ประมาณช่อละ 5 - 8 ดอก ดอกมี 6 กลีบ กลีบดอกจะบิดเวียนไปทางขวาคล้ายกังหัน วงในดอกเป็นสีแสด หลอดดอกเป็นสีแสด เกสรเป็นเส้นเล็กละเอียดซ้อนอยู่ในหลอดดอก ขนาดของดอกบานเต็มที่ประมาณ 1.50 - 2 ซ.ม. หลอดดอกยาว 1.50 ซ.ม. ปลายแยกเป็น 5 - 8 แฉก ก้านช่อดอกมีใบประดับเล็กๆ 1 คู่ ดอกของกรรณิการ์มีกลิ่นหอมแรง บานกลางคืน พอรุ่งเช้าก็โรยราร่วงหล่นหมด และก็ตูมขึ้นมาใหม่อีกจนกว่าดอกจะหมดในทุกๆ กรวย ออกดอกตลอดปี และจะออกมากในช่วงย่างเข้าหน้าหนาว ประมาณเดือนพฤศจิกายน-ต้นมกราคม

                ผล : เป็นแผ่นแบนๆ ภายในมีเมล็ด 2 เมล็ด

                การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่งหรือปักชำกิ่ง

                -การปลูกกรรณิการ์ ควรปลูกกลางแจ้ง (ใบจะเล็ก ใบจะสีเขียวอมเหลือง) หรือแดดครึ่งวันเช้าก็ได้ (ใบจะใหญ่ ใบจะสีเขียวเข้ม) แตกกิ่งก้านมากมายไม่เป็นระเบียบ จนดูเหมือนปะการัง จนมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “Coral Jasmine”

                 - หากต้องการให้กรรณิการ์ออกดอกดกๆ จึงควรหมั่นตัดแต่งกิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่เกะกะทิ้งไป และตัดแต่งกิ่งให้เป็นทรงพุ่มสวยงามอยู่เสมอ จะทำให้แตกยอดใหม่ได้มากขึ้น นั่นหมายถึงจะมีช่อดอกได้มากขึ้น (เพราะดอกกรรณิการ์จะออกดอกที่ปลายยอด) และออกดอกได้รอบทรงพุ่ม ดูสวยงามยิ่งขึ้นนั่นเอง

    การดูแลรักษา : ขึ้นได้ในดินทั่วไป แต่ต้องการความชุ่มชื้น และปลูกที่กลางแจ้ง

              - ต้นกรรณิการ์เป็นไม้ชอบแดด ออกดอกไม่หวาดไม่ไหว ดอกร่วงเร็วมาก แต่ถ้าอยากจะเก็บดอกให้ทัน ให้เก็บในตอนกลางคืน หรือก่อนเวลา 6 โมงเช้า

              - กรณีต้องการดอกที่ไม่ช้ำ เวลาเก็บต้องใช้ปลายนิ้วค่อยๆ จับตรงก้านสีส้มแล้วค่อยๆ ดึงออกมา อย่าถูกกลีบใบ เพราะกลีบใบอ่อนนุ่มมากแถมช้ำเร็ว ถ้าเก็บหลังเวลา 6 โมงเช้า ดอกเริ่มร่วงแล้ว แต่ถ้าต้องการเก็บดอกแบบเร็ว ไม่สนใจความช้ำ เพราะอาจจะต้องการใช้แต่ก้านเพียงอย่างเดียว ให้ใช้มือเขย่าที่กิ่ง ดอกจะร่วงหล่นลงมา ถ้าปลูกที่แสงแดดรำไร จะไม่ออกดอกและไม่ค่อยโต ไม่เหมาะปลูกในกระถางเพราะเป็นไม้ต้นขนาดกลาง อย่าปลูกตรงบริเวณสนามหญ้า เพราะเวลาดอกร่วงหล่นลงพื้นสนามหญ้า ดอกเหี่ยวเฉาเร็ว จะเก็บดอกที่ร่วงออกจากสนามหญ้าลำบากมาก

              - เวลารดน้ำให้รดที่โคนต้นก็เพียงพอแล้ว ถ้ารดทั้งต้น ดอกกรรณิการ์จะช้ำและร่วง เน่าเร็วกว่าเดิมอีก นอกเหนือจากการรดน้ำธรรมดา ยังมีวิตามินสำหรับต้นกรรณิการ์ ขอแนะนำสูตรประหยัดไม่เปลืองน้ำ โดยใช้น้ำที่ล้างกระป๋องนมข้นหรือน้ำล้างกล่องนมสดแท้ 100% หรือน้ำชาที่เหลือใช้ในประจำวันผสมน้ำ รดตรงโคนต้นแล้วแต่สะดวก เป็นวิตามินที่มีประโยชน์ได้อย่างดี

    ข้อดีของพันธุ์ไม้ : 1.ออกดอกให้ชมได้บ่อย

    2.ดอกใน 1 ช่อจะทยอยบาน จึงทำให้ได้ชมดอกหลายวัน

                3.ไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน

    สรรพคุณ :

    -เปลือก เปลือกชั้นในมีสารฝาดสมาน นำไปต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้วิงเวียนศีรษะ

               -ใบ นำใบสด 1 กำมือไปตำ ใส่น้ำ 1 แก้ว แล้วคั้นเอาแต่น้ำหรือผสมกับน้ำตาลมาดื่ม ใช้เป็นยาเจริญอาหาร แก้ไข้ บำรุงน้ำดี ถ้าดื่มมากจะเป็นยาระบาย โรคปวดตามข้อ

               -ดอก นำมาใช้แก้ไข้ แก้ลมวิงเวียน บำรุงหัวใจ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยการกลั่นด้วยไอน้ำไปใช้ทำน้ำหอม

                -ก้านดอก เมื่อคั้นเอาน้ำกรองแล้วจะได้สารสีเหลืองชื่อ Nyctanthin ใช้เป็นสีทำขนมและสีย้อมผ้าได้ดี

                -ราก ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง แก้ผมหงอก บำรุงผิวหนังให้สดชื่น



    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      • ฟอนต์ THSarabunNew
      • ฟอนต์ Sarabun
      • ฟอนต์ Mali
      • ฟอนต์ Trirong
      • ฟอนต์ Maitree
      • ฟอนต์ Taviraj
      • ฟอนต์ Kodchasan
      • ฟอนต์ ChakraPetch
    ๬ั๸ทำ​​โ๸ย น.ส.๥ัน๹์ธร ​เพ็๮ร​แ๥้ว ๮ั้นม.5/3 ​เล๦ที่27 ​โร๫​เรียนสุรศั๥๸ิ์มน๹รี

    รีวิวจากนักอ่าน

    Empty Review

    นิยายเรื่องนี้ยังไม่มีรีวิว

    มาเป็นคนแรกที่เขียนรีวิวนิยายให้กับนิยายเรื่องนี้กัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    กำลังโหลด...
    ×
    แทรกรูปจากแกลเลอรี่ - Dek-D.com
    L o a d i n g . . .
    x
    เรียงตาม:
    ใหม่ล่าสุด
    ใหม่ล่าสุด
    เก่าที่สุด
    ที่กำหนดไว้
    *การลบรูปจาก Gallery จะส่งผลให้ภาพที่เคยถูกนำไปใช้ถูกลบไปด้วย

    < Back
    แทรกรูปโดย URL
    กรุณาใส่ URL ที่ขึ้นต้นด้วย
    http:// หรือ https://
    กำลังโหลด...
    ไม่สามารถโหลดรูปภาพนี้ได้
    *เมื่อแทรกรูปเป็นการยืนยันว่ารูปที่ใช้เป็นของตัวเอง หรือได้รับอนุญาตจากเจ้าของ และลงเครดิตเจ้าของรูปแล้วเท่านั้น
    < Back
    สร้างโฟลเดอร์ใหม่
    < Back
    ครอปรูปภาพ
    Picture
    px
    px
    ครอปรูปภาพ
    Picture