พิณนำเต้า
ผู้เข้าชมรวม
3,500
ผู้เข้าชมเดือนนี้
3
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
พิณน้ำเต้า
เป็นเครื่องดนตรีโบราณ มีสายเดียว ชาวอินเดียนำมาเล่นแพร่หลายในแหลมอินโดจีนก่อน ต่อมาขอมโบราณ หรือมอญ เขมร
รับช่วงต่อเอาไว้ ก่อนที่ชาวไทยจะอพยพลงมาจากตอนใตัของประเทศจีน
ที่เรียกว่าพิณน้ำเต้า ก็เพราะ เอาเปลือกผลน้ำเต้ามาตัดครึ่งลูกเอาทางจุกหรือทางขั้วไว้ เจาะตรึงติดกับไม้คันพิณ ที่เรียกว่า
“ทวน” เพื่ออุ้มเสียงให้เกิดกังวาน ทวนใช้ไม้เหลาให้ปลายข้างหนึ่ง เรียวงอน โค้งขึ้นสำหรับผูกสาย ยาวประมาณ 78 ซม.
ทางโคนของทวนอีกข้างหนึ่งเจาะรู แล้วเอาไม้อีกอันหนึ่งมาเหลาทำลูกบิดยาวประมาณ 25 ซม. สอดเข้าไปในรูให้ปลายโผล่ขึ้นไป
ผูกสายอีกข้างหนึ่งสำหรับบิดสายให้ตึงหรือหย่อน เพื่อให้เสียงสูงต่ำ กระโหลกน้ำเต้านั้นตรึงติดเข้ากับคันทวนค่อนไปทางโคน
ส่วนสายในปัจจุบันใช้ลวดทองเหลือง โดยไปผูกกับรัดอกตรงใกล้กับที่ติดจุกน้ำเต้า
วิธีเล่นพิณน้ำเต้า ผู้เล่นจะต้องถอดเสื้อ ใช้มือซ้ายจับทวน แล้วเอากระโหลกพิณประกบติดตรงอกซ้าย ใช้มือขวาดีดสาย
ผู้เล่นที่ชำนาญจะขยับกระโหลกน้ำเต้า เปิดปิดตรงหน้าอกเพื่อให้เกิดเสียงก้องกังวาน แล้วใช้มือซ้ายช่วยกดหรือเผยอ เพื่อให้สายตึง
หรือหย่อน
พิณเพี้ยะ
เป็นเครื่องดนตรีโบราณ บางทีเรียกเปี้ยะ มีประวัติกล่าวถึงในพงศาวดารลานช้าง ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ของชนชาติไทย
ตั้งอณาจักรไทยอยู่ ในประเทศจีน ตอนใต้
ลักษณะของพิณเพี้ยะ คล้ายกับพิณน้ำเต้า แต่พิณเพี้ยะทำเพิ่มเป็น 2 สายบ้าง และ 4 สายบ้าง คันทวนยาวประมาณ
1 เมตรเศษ ลูกบิดยาวประมาณ 18 ซม. ใช้เชือกคล้องสายผูกโยกไว้กับทวน สำหรับเร่งเสียงเหมือนกับพิณน้ำเต้า มีกล่าวถึงใน
กาพย์ขับไม้ เรื่อง พระรถเสน เรียกว่า “พิณเพลีย” และกล่าวคล้ายกับว่า เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ร่วมบรรเลงในงานพระราชพิธี
มงคลสมโภชด้วยดังนี้
“ครั้งใด้ฤกษ์ดี จึงเบิกบายศรี สมโภชภูบาลแตรสังข์เสียงใน พาทย์ฆ้องศรไชย มีทั้งฉิ่งเพลงชาญปี่ขลุ่ยเสียงหวาน
จะเข้พิณเพลียการ ศัพท์คือเพลงสวรรค์”
ผลงานอื่นๆ ของ ฮาทาเคะเมงูเระ ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ ฮาทาเคะเมงูเระ
ความคิดเห็น