|
|
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช |
|
|
|
|
พระนามเดิม |
พระองค์ดำ |
พระบรมชนกนาถ |
พระมหาธรรมราชา |
สถานที่พระราชสมภพ |
เมืองพิษณุโลก |
วันพระราชสมภพ |
พ.ศ. ๒๐๙๘ |
วีรกรรมสำคัญ |
ช่วยให้ประเทศไทยพ้นจากการปกครองของข้าศึกกอบกู้เอกราชของชาติไทยคืนมาได้เป็นผลสำเร็จ | |
"สมเด็จพระนเรศวรมหาราช" ทรงเป็นพระโอรสใน "สมเด็จพระมหาธรรมราชา" (สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์) กับ "พระวิสุทธิกษัตริย์"พระราชบิดาสืบเชื้อสายราชสกุลมาจากราชวงศ์"พระร่วง"แห่งกรุงสุโขทัยส่วนพระราชมารดาเป็นพระธิดา ใน"สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ"กับ "สมเด็จพระศรีสุริโยทัย" (วีรกษัตริย์ที่สิ้นประชนม์บนคอช้าง เมื่อ พ.ศ. ๒๐๙๑ ) ราชวงศ์ "สุพรรณภูมิ"ทรงพระราชสมภพเมื่อปีเถะพ.ศ. ๒๐๙๘ ณ พระราชวังสนามจันทร์เมืองพิษณุโลก ขณะทรงพระเยาว์ มีพระนามสามัญว่า "พระองค์ดำ" ทรงมีพระพี่นาง ๑ องค์พระนามว่า "พระสุพรรณเทวี" (สุวรรณกัลยานี) และพระอนุชา ๑ องค์ พระนามว่า "พระเอกาทศรถ" (พระองค์ขาว) เมื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. ๒๑๑๑ พระราชโอรส ก็เสด็จขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า "พระมหินทราธิราช" บ้านเมืองในราชการนี้เกิดศึกสงครามมากมาย เพราะพระเจ้าหงสาวดี (บุเรงนอง) ต้องการยึดกรุงศรีอยุธยาเป็นประเทศราชของพม่าให้ได้และประสบผลสำเร็จ เมื่อพระมหาธรรมราชาพระราชบุตรเขยซึ่งครองหัวเมือฝ่ายเหนือ คือ เมืองพิษณุโลกเอาใจออกห่างไปฝักใฝ่กับพม่า พระเจ้าหงสาวดี จึงถือโอกาสยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา และให้พระยาจักรี (เชลยศึก)แสร้งทำอุบายหนีจากพม่ามาลอบเปิดประตูเมืองรับกองทัพพม่าเข้าเมือง กรุงศรีอยุธยาถูกโจมตีทุกด้านจนต้องเสียเอกราชให้แก่พม่าเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๙ แรม ๑๑ ปีมะเส็ง พ.ศ.๒๑
|
พระราชประวัติโดยย่อ
"สมเด็จพระนเรศวร" ทรงเจริญพระชันษาในพม่าตั้งแต่พระชนมายุได้ ๙ พรรษาเนื่องจาก พระเจ้าบุเรงนอง ต้องการนำเอาพระองค์เป็นตัวประกัน มิให้พระมหาธรรมราชาคิดกระด้างกระเดื่องจนพระชนมายุได้ ๑๕ พรรษา ก็ได้กลับมาเป็นพระมหาอุปราชปกครองเมืองพิษณุโลก "สมเด็จพระนเรศวร"ทรงมีพระทัยกล้าหาญเด็ดเดี่ยว และเฉลียวฉลาดตั้งแต่ทรงพระเยาว์ดังได้แสดงให้ปรากฏในการตีหัวเมืองพม่าที่แข็งเมืองต่อหงสาวดี ต่อมาได้ทรงรวบรวมคนไทยที่มีความสามารถและมีฝีมือมาฝึก จนมีความเชี่ยวชาญทางยุทธวิธีการรบทั้งแบบไทยและแบบพม่าพระองค์ได้ทรงเหนื่อยยากตรากตรำพระวรกาย เพื่อกอบกู้เอกราชที่เราต้องเสียให้แก่พม่ากลับคืนมา ทรงพระวิริยะอุตสาหะในการสร้างความมั่นคงให้แก่ชาติบ้านเมืองในปี พ.ศ. ๒๑๒๗ "สมเด็จพระนเรศวร" ทรงทำพิธีหลั่งน้ำทักษิโณทกประกาศอิสรภาพของกรุงศรีอยุธยา นับเป็นการกอบกู้เอกราชของไทยจากพม่า หลังจากนั้นได้ทรงทำสงครามป้องกันประเทศจากการรุกรานของพม่าหลายครั้งจนพม่าเกิดความขยาดไม่กล้ารุกรานไทยอีก นอกจากนี้ ยังได้ทรงยกทัพไปตีเมืองประเทศราชของพม่าถึง ๕ ครั้ง ทำให้อาณาเขตของไทยแผ่ขยายออกไปมากกว่าครั้งใด ๆ นับตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
"สมเด็จพระนเรศวร"ทรงเป็นนักรบกล้าและทรงเป็นผู้นำที่เข้มแข็งปลุกปลอบขวัญและผนึกกำลังสามัคคีคนไทยทั้งชาติเข้าด้วยกันขับไล่ศัตรูให้พ้นไปจากผืนแผ่นดินไทย พระองค์ทรงออกรบนำหน้าทัพทุกครั้ง โดยไม่พรั่นพรึงต่อศาสตราวุธของฝ่ายตรงข้าม วีรกรรมที่ตำบลบางประหันและการทำยุทธหัตถีที่ตำบลหนองสาหร่าย เป็นเครื่องยืนยันถึงความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวของพระองค์ พระบรมเดชานุภาพเป็นที่เลื่องลือเกรงขามทุกทิศานุทิศ แม้ในวาระสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพในปี พ.ศ. ๒๑๔๘ ก็กำลังเสด็จไปในงานพระราชสงครามเพื่อความเป็นไทอันไพบูลย์ของพระสกนิกรในพระองค์ แม้ว่าจะเสด็จสวรรคตแล้วก็ตาม แผ่นดินไทยก็ยังว่างเว้นศึกสงครามอีกเป็นเวลานาน ด้วยวีรกรรมของพระองค์ทำให้คนไทยได้มีองค์พระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งที่ทรงเป็น "มหาราช" พระองค์แรกในสมัยกรุงศรีอยุธยาทรงพระนามว่า "สมเด็จพระนเรศวรมหาราช"
| |
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ความคิดเห็น