เรื่องเล่ารวมตำนาน: เอลฟ์ - เรื่องเล่ารวมตำนาน: เอลฟ์ นิยาย เรื่องเล่ารวมตำนาน: เอลฟ์ : Dek-D.com - Writer

    เรื่องเล่ารวมตำนาน: เอลฟ์

    ข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับเอลฟ์

    ผู้เข้าชมรวม

    1,242

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    70

    ผู้เข้าชมรวม


    1.24K

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    3
    หมวด :  นิยายวาย
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  12 เม.ย. 55 / 18:11 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
     
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
       เอลฟ์ (อังกฤษelf) คือสิ่งมีชีวิตอมนุษย์ในตำนานนอร์สและตำนานปรัมปราในกลุ่มประเทศเจอร์เมนิก (สแกนดิเนเวียและเยอรมัน) เมื่อแรกเริ่ม แนวคิดเกี่ยวกับพวกเอลฟ์คือ ชนเผ่าที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและเทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ ภาพวาดของชนเหล่านี้มักเป็นมนุษย์ทั้งชายและหญิงที่แลดูอ่อนเยาว์และงดงาม อาศัยอยู่ในป่า ในถ้ำ ใต้พื้นดิน หรือตามบ่อน้ำและตาน้ำพุ มักเชื่อกันว่าพวกเขามีชีวิตยืนยาวมากหรืออาจเป็นอมตะ รวมทั้งมีพลังเวทมนตร์วิเศษ แต่หลังจาก ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ผลงานอันโด่งดังของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏออกมา ภาพของเอลฟ์ก็กลายเป็นผองชนผู้เป็นอมตะและเฉลียวฉลาด ทั้งที่คำว่า เอลฟ์ ในวรรณกรรมของโทลคีนมีความหมายแตกต่างไปคนละทางกับตำนานโบราณโดยสิ้นเชิง นอกจากนี้ เอลฟ์ยังมีบทบาทสำคัญอยู่ในวรรณกรรมแฟนตาซีชื่อดังสมัยใหม่อย่าง แฮร์รี่ พอตเตอร์ด้วย ซึ่งเอลฟ์ในเรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์จะแตกต่างออกไปจากเอลฟ์ในลอร์ดออฟเดอะริงส์ และเป็นตัวละครพื้นฐานในเกมแฟนตาซียุคใหม่ด้วย

      ใน ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ฉบับแปลภาษาไทย ใช้คำว่า "พราย" สำหรับความหมายของ เอลฟ์ ซึ่งทำให้เกิดนิยามใหม่สำหรับความหมายของ "พราย" นอกเหนือจากความหมายแต่เดิมที่หมายถึง ผีจำพวกหนึ่ง


      ที่มาของชื่อ

      คำว่า "เอลฟ์" ในภาษาอังกฤษ มาจากภาษาอังกฤษโบราณว่า ælf (บ้างเรียกว่า ylf) ซึ่งมาจากคำในตระกูลโปรโต-เยอรมันว่า *albo-z, *albi-z ภาษานอร์สโบราณว่า álfr เยอรมันยุคกลางชั้นสูงว่า elbe ในตำนานอังกฤษยุคกลางนับถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถือว่า เอลฟ์ (elf) เป็นเพศชาย ส่วนเพศหญิงจะเรียกว่า elven (ภาษาอังกฤษโบราณว่า ælfen ซึ่งมาจาก *albinnja)

      แต่รากคำดั้งเดิมยิ่งกว่านั้นน่าจะมาจากคำในภาษาตระกูล โปรโต-อินโด-ยูโรเปียน คือ *albh- ซึ่งมีความหมายว่า "ขาว" อันเป็นรากเดียวกันกับคำในภาษาละติน albus ที่แปลว่า "ขาว"[1] อย่างไรก็ดีมีอีกทฤษฎีหนึ่งเสนอว่า คำนี้น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับ Rbhus นายช่างนักพยากรณ์ในตำนานเก่าแก่ของอินเดีย (ดู พจนานุกรมของอ๊อกซฟอร์ด) แนวคิดนี้ดูหนักแน่นกว่ารากคำในภาษาละตินมาก



      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×