เรียน "ธรณีวิทยา" อย่างคนมีกึ๋น - เรียน "ธรณีวิทยา" อย่างคนมีกึ๋น นิยาย เรียน "ธรณีวิทยา" อย่างคนมีกึ๋น : Dek-D.com - Writer

    เรียน "ธรณีวิทยา" อย่างคนมีกึ๋น

    การเรียนการสอนในภาควิชาธรณีวิทยา มีวิชาบังคับที่เรียกกันติดปากว่า " ออก field " หรือแปลเป็นทางการว่าการออกภาคสนาม หมายถึงการเรียนนอกสถานที่ โดยการออกไปดูตัวอย่างจริงในสถานที่ต่างๆ

    ผู้เข้าชมรวม

    4,648

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    2

    ผู้เข้าชมรวม


    4.64K

    ความคิดเห็น


    24

    คนติดตาม


    2
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  15 ม.ค. 52 / 23:01 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

       น้องๆ หนูๆ ที่เรียนมัธยมกันในตอนนี้ก็คงจะรู้จักธรณีวิทยากันมากพอสมควร เพราะมีอยู่ในหลักสูตรวิทยาศาสตร์กันแล้ว แต่สมัยเราเรียนเนี่ยะยังไม่มีหรอกไอ้วิชาเนี๊ยะ

      rock outcrop

      ว่าแต่ ทำไมต้องเรียนกันด้วยล่ะเนี่ยะ ธรณีวิทยา เนี่ยะ? แล้วเค้าเรียนกันยังไงกันนะ

      ก่อนอื่นต้องอธิบายเกี่ยวกับธรณีวิทยาก่อน ว่ามันเป็นการศึกษาเกี่ยวกับหินเป็นหลัก
      แล้วทำไมต้องเป็นหินล่ะ? มีพี่คนนึงที่เรียนธรณีวิทยา(พี่กรึ๊บ Chevron)เค้าเคยถามพวกเราเอาไว้ตอนเราไปฝึกงาน

      และคำตอบที่พี่เค้าบอกก็คือ ...
      "เพราะว่าทรัพยากรที่เราใช้กันอยู่น่ะมันอยู่ใต้ดิน แล้วก็ส่วนมากอยู่ในหินซะด้วยสิ"
      อืม... เป็นแค่คำตอบง่ายๆ ที่หลายๆ คนนึกไม่ถึงนะ ไม่ว่าจะเป็นแร่ ถ่านหิน น้ำมัน แก๊สธรรมชาติ ดินที่ใช้ทำเครื่องเรือนเซรามิกส์ หรือว่าจะเป็นทรัพยากรน้ำ ก็อยู่ใต้ดินทั้งนั้น (ดินเองก็เป็นส่วนหนึ่งของการผุพังของหินเช่นกัน แต่ถ้าจะศึกษาเกี่ยวกับเรื่องดินจริงๆ จะต้องอยู่สาขาปฐพีวิทยา ไม่ใช่ธรณีวิทยาค่ะ)

      rig

       

      นอกจากนี้ ธรณีวิทยายังเกี่ยวข้องกับการกำเนิดโลก จักรวาล และการศึกษาเกี่ยวกับประวัติของโลกในอดีต...
      เพื่ออะไรกันอีกล่ะ? ทำไมเราต้องรู้เรื่องเกี่ยวกับเรื่องนี้?

      ก็เพราะว่าเหตุการณ์ที่เคยเกิดในอดีต มันอาจเกิดขึ้นในอนาคตได้เช่นกัน

      เช่นใครจะรู้บ้างว่าสึนามิ ที่เคยเกิดในปี 2004 ในประเทศไทยนั้น มีหลักฐานทางธรณีวิทยาว่าเคยเกิดมาก่อนแล้วเมื่อประมาณ 600 ปีที่แล้ว (จากงานวิจัยของ Jankeaw et.al. อาจารย์ที่ปรึกษาเราเอง) และน่าจะเกิดขึ้นหลาย ครั้งแล้วด้วย

       

      tsunami

       

      นอกจากนี้เรื่องที่น้องๆ หลายคนสนใจอยู่ก็คงเป็นเรื่อง Fossils หรือซากบรรพชีวิน อันนี้เราก็มีให้เรียนถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในยุคต่างๆ ของโลกเหมือนกัน แต่จะเน้นในช่วงอายุที่แก่มากๆ นะ ไม่งั้นก็จะเป็นการเรียนของ โบราณคดี กันไป

       การ เรียนที่ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์เนี่ยะ ถึงแม้ว่าเนื้อหาวิชาส่วนใหญ่จะไม่ต้องท่องจำมาก แล้วก็อาศัยความเข้าใจเป็นหลักก็ตาม ... แต่ก็ยังมีเรื่องที่คนที่อยากจะมาเรียนบางคนอาจจะเปลี่ยนใจก็ได้นะ ก็คือทุกๆ ปิดเทอม(ช่วงตุลา และ มีนาคม) จะต้องมีการออกภาคสนาม (Field work หรือ Field trip) เพื่อไปดูลักษณะทางธรณีวิทยาจริงๆ โดยที่ช่วงปิดเทอมใหญ่นี่จะไปต่างจังหวัดกันเป็นเดือนเลยนะ และนี่คือรูปส่วนหนึ่งของเราเอง ที่ไปออกภาคสนาม ตากแดดมาร่วมเดือนกะbuddy ที่เรียนด้วยกัน อยู่กลางป่ากลางเขากันจริงๆ

       

      ส่วนเรื่องงานก็มีให้เลือกทำหลายทาง ทั้งสายราชการ และสายเอกชน
      ไม่ว่าจะเป็นบริษัทน้ำมัน อาจารย์ กรมทรัพยากรธรณี กรมน้ำบาดาล กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ บริษัทที่ปรึกษาเกี่ยวกับวิศวกรรมต่างๆ ปูนซีเมนต์ เหมืองแร่ต่างๆ ฯลฯ ค่ะ


       - ตอนนี้กำลังเรียนคณะอะไร สาขาอะไรอยู่?
      คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ก็ยังมีที่เชียงใหม่ ขอนแก่น สุรนารี มหิดล อีกนะ ที่สุรนารีนี่เป็นวิศวธรณี ไม่ใช่วิทยาศาสตร์

      - สาขาที่เรียน เรียนยังไง เรียนอะไรบ้าง?
      เป็นศาสตร์หนึ่งที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์กายภาพอีกแขนงนึงที่ยังไม่ค่อย มีคนรู้จัก โดยเรียนเกี่ยวกับหินเป็นหลัก เพราะว่าหินเป็นทีที่มีแหล่งแร่ต่างๆ อยู่ข้างในตัวมัน ไม่ว่าจะเป็น ทอง น้ำมัน หรือว่าน้ำใต้ดิน ฯลฯ นอกจากจะเรียนในห้องเรียนแล้ว ยังต้องไปออกภาคสนามทุกๆ ปิดเทอม โดยเฉพาะที่จุฬาฯ ไม่ค่อยมีวันหยุด มีทั้งออกภาคสนามแบบสั้นๆ และยาวๆ ( 5วัน ถึง 1 เดือน) ใครที่คิดจะเรียนอย่างสบายๆ อาจจะต้องคิดหน่อย แต่ถ้าชอบภจญภัย ปีนเขาล่ะก็ แนะนำให้เรียนเลยทีเดียว เพราะจะได้ใกล้ชิดธรรมชาติจนเบื่อ

      - สาขาที่เรียนเอาไปใช้ทำอะไรได้บ้าง?
      ทำได้หลายอย่างมาก ที่กำลังฮิตๆ กันตอนนี้ก็เป็นบริษัทน้ำมัน ที่ใหญ่ๆ ก็ปตท.สผ.  กับ Chevronหรือว่าอยากทำงานมั่นคงก็มีงานราชการให้เลือกเยอะ เช่น กรมทรัพยากรธรณี กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กรมน้ำบาดาล ฯลฯ นอกจากนี้ก็มีงานเหมืองแร่ เช่น เหมืองทองอัครา เหมืองถ่านหินที่แม่เมาะ หรือจะเปิดบริษัทเองเกี่ยวกับ consulting การก่อสร้างก็ได้ เพราะธรณีวิทยาคือรากฐานของตึก ต้องมีการศึกษาฐานรากก่อน (Engineering Geology หรือ Civil Engineer)

      - บอกเคล็ดลับการเรียนในสาขานี้อย่างคนมีกึ๋นมา 1 ข้อ
      ต้องเป็นคนอดทน มีความเข้าใจ อาจจะมีท่องบ้าง แต่เน้นความเข้าใจในธรรมชาติเป็นหลัก


      - อยากบอกน้องๆ ที่จะเลือกคณะนี้ว่า??
      ถ้าสนใจก็ลองเข้ามาเรียนกันนะ เป็นอีกทางเลือกนึงที่น่าสนใจ แหวกแนวจากคณะพื้นฐานๆ และยังมีงานรองรับอีกมาก



      แนะแนวน้องๆ ม.ปลาย

      อยาก ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคณะธรณีวิทยาค่ะ ชอบมาก อยากเรียน แต่ไม่รู้ว่าต้องเก่งวิชาอะไรเป็นพิเศษบ้าง แล้วเวลาเรียนยากมั้ย เรียนอะไรบ้าง จบมาทำงานอะไรได้บ้าง ช่วยตอบให้หน่อยนะคะ ขอบพระคุณพี่ๆล่วงหน้า

      ภาควิชาธรณีวิทยา ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สังกัดอยู่ในคณะวิทยาศาสตร์ ยังไม่เป็นคณะครับผม คณะวิทยาศาสตร ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีหลายภาควิชาให้น้องๆเลือกเรียน ถึง 14 ภาควิชา ได้แก่ เคมี เคมีเทคนิค คณิตศาสตร์ จุลชีววิทยา ฟิสิกส์ ชีวเคมี ชีววิทยา เทคโนโลยีทางอาหาร พฤกษศาสตร์ วัสดุศาสตร์ วิทยาศาสตร์ทางทะเล วิทยาศาสตร์ทั่วไป วิทยาศาสตร์ทางภาพถ่ายฯ และ ธรณีวิทยา

      ส่วนเรื่องเก่งวิชาอะไรนั้น ต้องอาศัยทักษะความรู้ของทุกวิชาครับ โดยเฉพาะวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เช่นคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ที่สำคัญ วิชาภาษาอังกฤษ ค่อนข้างสำคัญทีเดียว เพราะการติดต่อสื่อสาร เป็นเรื่องจำเป็น ทิ้งไม่ได้เลยแต่ละวิชา แต่มีข้อพึงระวังคือ ห้ามตาบอดสี และกลัวความสูงครับ   

      ถามว่าเรียนยากมั้ย มันเป็นเรื่องของความถนัดและความขยันครับ ธรณีวิทยาเป็นเรื่องของธรรมชาติทั่วไป ที่เราเอาวิทยาศาสตร์มาอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ

      เรียนอะไรบ้าง พี่แนะนำให้ไปดูใน หลักสูตรการเรียนครับ

      http://www.geo.sc.chula.ac.th/Geology/Thai/Technique/technique.html <----- วิชาที่ต้องเรียน มีให้ดูเลยครับ

      http://www.geo.sc.chula.ac.th/Geology/Thai/Knowledge/knowledge.html <----- เป็นเรื่องที่พี่ๆ เรียนกัน

      จบมาแล้วแต่ชอบครับ ข้าราชการ เช่น กรมทรัพยากรธรณีวิทยา กรมทรัพยากรน้ำบาดล กรมชลประทาน กรมทางหลวง กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กรมอุตุนิยมวิทยา อาจารย์ประถม มัธยม หรือ มหาวิทยาลัย หรือที่อื่นๆ แล้วแต่ความถนัด เอกชน เช่น บริษัทขุดเจาะน้ำบาดาล บริษัทให้คำปรึกษาทางสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ (SGS, เมทริกซ์ แอสโซซิเอทซ์) บริษัทก่อสร้างและสำรวจ (ช.การช่าง, อิตาเลียนไทย) เหมืองแร่,เหมืองถ่านหิน และเหมืองหิน (อัครา,บ้านปู,ปูนซีเมนต์ไทย,ทุ่งคำ) บริษัทน้ำมัน (ปตท.สผ., Chavron, Petronas มากมาย) บริษัท oil service ต่างๆ (I-log, Halliburton, KMC oil tools, Hess, Pearloil, Schlumberger, Exxonmobil, Baker Hughes, Mi-Swago)
         

      ตอนนี้เพิ่งจบ ม.6 เพิ่งสอบ admission เสร็จ กำลังตัดสินใจว่าจะเรียนคณะไหนดี  พอดีสนใจภาควิชาธรณีฯ แต่ยังไม่แน่ใจ เลยอยากจะรู้ว่าตอนเรียนต้องเรียนอะไรบ้าง ต้องลุยมากไหม  แล้วผู้หญิงเรียนจะเหมาะไหมค่ะ  และที่สำคัญจบไปแล้ว จะทำงานอะไรได้บ้าง อาชีพกำลังเป็นที่ต้องการรึป่าว  แล้วรายได้จะดีไหมค่ะ

      การเรียน การสอนในภาควิชาธรณีวิทยา มีวิชาบังคับที่เรียกกันติดปากว่า " ออก field " หรือแปลเป็นทางการว่าการออกภาคสนาม หมายถึงการเรียนนอกสถานที่ โดยการออกไปดูตัวอย่างจริงในสถานที่ต่างๆ เช่นไปดูหิน ไปดูโครงสร้างทางธรณีวิทยา ไปทำแผนที่ธรณีวิทยา รวมๆแล้วต้องออกทั้งหมด 4 ครั้ง ทุกๆปิดเทอมทั้งเล็กและใหญ่ ตั้งแต่ปีที่ 2 เป็นต้นไป โดยแบ่งเป็น ในช่วงปิดเทอมเล็ก จะนั่งรถไปศึกษาธรณีวิทยาทั้งประเทศไทย เส้นทางจะถูกกำหนดตามความเหมาะสมในแต่ละปี ออกจากกรุงเทพไปทางตะวันตก ขึ้นเหนือ ไปอีสาน ลงมากรุงเทพ บางเส้นไปทางตะวันออก เลาะไปทางจันทรบุรี ขึ้นไปสระแก้วย้อนไปโคราช

      ในช่วงปิดเทอมใหญ่จะไปเรียนรู้การทำแผนที่ ธรณีวิทยาเป็นหลัก มีการเปลี่ยนแปลงสถานที่ในแต่ละปีเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ลพบุรี อุทัยธานี ฉะเชิงเทรา ชุมพร ราชบุรี แต่ไม่ต้องห่วงครับอาจารย์ท่านจะคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก แต่เรื่องความสะดวกสบายนั้น ขอรับประกันว่า ไม่เหมือนกรุงเทพแน่นอน ที่พักเราจะติดต่อตามโรงเรียนในพื้นที่ที่จะไปมีตลาดให้น้องหาทานข้าว และเตรียมอาหารไว้ทานตอนกลางวัน (กินกันในป่านะครับ...อร่อยมากๆ) ในการเรียนแต่ละวัน จะมีการเดินด้วยเท้าประมาณ 3-5 กิโลเมตร(ไม่มีมอเตอร์ไซด์หรือรถเบนซ์ คอยรับส่งนะครับ) บางวันเป็น 10 กว่ากิโลเมตร
       

      ต้องลุยมากไหม แล้วผู้หญิงเรียนจะเหมาะไหมค่ะ - ก็ถ้าเรียนในห้องเรียนก็ไม่ต้องลุยอะไรมากหรอกค่ะ แต่ช่วงปิดเทอมจะมีการออกภาคสนาม ไปต่างจังหวัด ลุยมากไหมน่ะเหรอ ถ้าชอบก็ไม่มากหรอกค่ะ และปัจจุบันนี้ก็มีผู้หญิงเรียนธรณีมากขึ้น ถ้าเราสนใจและชอบที่จะเรียนด้านนี้จริง ไม่มีอะไรที่อยากเกินกว่าความตั้งใจหรอกค่ะ

      โควต้า รับตรง คะแนน O-net, A-net น้องๆต้องติดตามชนิด ทุกวินาทีครับ เพราะแต่ละปี มี สัดส่วนไม่เท่ากัน แต่ที่แน่นอนคือ รับทั้งหมดรวมกัน 40-50  คนต่อปีครับ ยืนยันจากทางภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครับ


      ห้องพักนิสิตธรณีวิทยา เราอยู่ชั้น 4 ของภาควิชาธรณีวิทยาครับ
      เบอร์โทร 02-2185460 24 .........ชั่วโมงครับ
      โทรมาแล้วอาจจะมีคนรับ หรือไม่มีคนรับนะครับ เพราะต้องไปเรียนกัน

      เว็บบอร์ดนะครับ
      http://www.geo.sc.chula.ac.th/boards
      http://board.thaigeowiki.org/index.php


      credit: http://sakura.exteen.com
                  http://board.thaigeowiki.org/index.php

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×