ใบว่านหางจระเข้
การสังเกตุใบว่านหางจระเข้ และข้อมูลเกี่ยวกับคลอโรฟิลล์
ผู้เข้าชมรวม
2,524
ผู้เข้าชมเดือนนี้
1
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
รายงาน
การฝึกทักษะการสังเกตในทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
เรื่อง
ข้อมูลการสังเกตใบว่านหางจระเข้
โดย
นางสาว วิมลวรรณ โพธิ์ยะทา
ชั้น ม.4/2 เลขที่ 36.
เสนอต่อ
โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
ครูที่ปรึกษาและประจำวิชา อ. สินีนาฐ วัชระภาสกร
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนวิชาชีววิทยา ว. 40241 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550
..................................
ความคิดเห็นของผู้ปกครอง
ทำให้ได้รู้จักการสังเกตสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเรา และรู้จักการค้นคว้าเรื่องราวต่างๆทำให้เป็นคนมีสมาธิมีหลักการในการรู้จักคิดมากขึ้น ทำให้มีเหตุผลในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆดีขึ้น ทำอะไรรอบคอบมากขึ้น รู้จักระวังสิ่งที่อยู่รอบตัว ทำให้เด็กรู้จักเกี่ยวกับว่านหางจระเข้มากขึ้น รู้จักการหาความรู้จากสิ่งต่างๆทั้งในหนังสือและอินเตอร์เน็ต
..........................
จากการสังเกตใบไม้ในครั้งนี้ เป็นการฝึกให้ผู้ศึกษารู้จักสังเกตสิ่งต่างๆอย่างละเอียดรอบคอบ และสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตนั้นมา วิเคราะห์ และหาบทสรุปของข้อมูลได้ เป็นการฝึกทักษะการสังเกต ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งตรงตามหลักกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้ผู้ศึกษาเรียนรู้ที่จะคิดอย่างมีหลักการ สามารถเรียงลำดับความคิดออกเป็นขั้นตอนได้ และยังทำให้ผู้ศึกษารู้จักที่จะสืบค้นหาข้อมูลที่มีมากกว่าในหนังสือเรียนธรรมดา และนอกจากนี้ยังทำให้ได้รับความรู้ ข้อมูลเกี่ยวกับพืช ใบไม้ และเจาะลึกข้อมูลเกี่ยวกับใบว่านหางจระเข้อีกด้วย
..........................................
สารบัญ
การสังเกตใบว่านหางจระเข้ 1
การอภิปราย 4
การสรุปการสังเกต 5
ความรู้เพิ่มเติม
- ว่านหางจระเข้ 6
- หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ด้านสรรพคุณทางยาของว่านหางจระเข้ 7
- การปลูกว่านหางจระเข้ 17
- การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช 18
บรรณานุกรรม
............................
การสังเกตใบว่านหางจระเข้
วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นการฝึกทักษะการสังเกต ซึ่งเป็นหนึ่งในทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 13 ทักษะ และสามารถนำมาเขียนอภิปรายและสรุปอย่างถูกต้อง
อุปกรณ์
1.ใบว่านหางจระเข้
2.ไม้บรรทัด
3.ไฟฉาย
4.แว่นขยาย
5.มีด
วิธีการสังเกต
สังเกตใบว่านหางจระเข้โดยใช้ประสาทสัมผัส ได้แก่ ตา ซึ่งใช้ในการดู จับจ้องและพิจารณาลายละเอียดต่างๆ มือ ใช้ในการสัมผัสพื้นผิว จมูก ใช้ในการสูบดมกลิ่น ปาก ใช้ในการลิ้มรสชาติ ใช้ไฟฉายส่องดูความหนาทึบของใบ ใช้แว่นขยายส่องพิจารณาดูความละเอียดของใบในส่วนที่ตาเปล่ามองไม่เห็น และใช้มีดในการกรีด ตัด ใบว่านหางจระเข้
ผลการสังเกต
ลักษณะที่ทำการสังเกต |
ข้อมูลที่ได้ด้านคุณภาพ |
ข้อมูลที่ได้ด้านปริมาณ | |||||||||||||||
1.ก้านใบ |
1.ไม่พบก้านใบ |
| |||||||||||||||
2.ตัวใบ |
|
1.ความยาวตั้งแต่โคนใบถึงปลาย ใบ ประมาณ 31 เซนติเมตร 2.ความกว้างของส่วนโคนประมาณ 4 เซนติเมตร 3.ความกว้างของส่วนปลายประมาณ 1 เซนติเมตร 4.น้ำหนักโดยประมาณ 10 กรัม | |||||||||||||||
3.ขอบใบ |
|
| |||||||||||||||
4.เมื่อใช้มีดตัด |
|
| |||||||||||||||
5.ฉีกด้วยมือ |
34.ไม่สามารถฉีดได้ง่ายๆด้วยมือ 35.ไม่มีความยืดหยุ่นสามารถดึงให้ขาดได้ |
| |||||||||||||||
6.เมื่อส่องด้วยไฟฉาย |
|
|
อภิปราย
1 เป็นการฝึกสังเกต(observation) ซึ่งการสังเกตข้อมูล หมายถึง การสำรวจข้อมูลอย่างระเอียดละเอียด ข้อมูลที่ได้จะแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ข้อมูลทางด้านคุณภาพ และข้อมูลทางด้านปริมาณ
2.ใบว่านหางจระเข้ มีสีเขียวเนื่องจากมีคลอโรฟิลล์ ซึ่งคลอโรฟิลล์ทำหน้าที่ดูดคลื่นแสงได้ดีในบางช่วงของความยาวคลื่น โดยเฉพาะในช่วงแถบสีม่วงและสีน้ำเงิน รองลงมาคือ คลอโรฟิลล์ทำหน้าที่ดูดคลื่นแสงได้ดีที่สุด ช่วงคลื่นที่ดูดพลังงานรองลงมาคือ แถบสีแดง ส่วนแถบสีเขียวดูดได้น้อยที่สุดและปล่อยแสงออกมามากที่สุด จึงทำให้มองเห็นคลอโรฟิลล์มีสีเขียว
3.ใบว่านหางจระเข้มีรูปร่างใบเป็นแบบ ใบรูปแถบ (linear) ใบแคบ และยาว ลักษณะที่สังเกตได้ชัดคือ ใบจะคล้ายกับหางจระเข้ ช่วงโคนใบจะกว้าง และลักษณะแบบตัดตรง (truncate) ส่วนตรงปลาย จะแหลม (acute) ขอบใบแข็งมีหนามแหลม เป็นขอบใบแบบจักฟันเลื่อย (serrate) การเรียงใบเป็นแบบซ้อนสลับ (equitant) และเนื้อใบ (leaf texure) อวบน้ำ
4.ใบว่านหางจระเข้เป็นใบพิเศษ (specialized leaf) ซึ่งคือ ใบที่เปลี่ยนหน้าที่เป็นอย่างอื่นนอกจากสร้างอาหาร หายใจ และคายน้ำ คือ ใบสะสมอาหาร (storage leaf) มีหน้าที่สะสมอาหาร จึงเป็นเหตุให้ใบของว่านหางจระเข้มีลักษณะอวบอ้วน ลักษณะเส้นใบเรียงตัวขนานกันจากโคนใบไปทางปลายใบทั่วทั้งใบ
5. ใบว่านหางจระเข้เป็นพืชใบเดี่ยว (simple leaf) หมายถึงใบที่มีเพียงใบเดียวติดกับก้านที่แตกออกจากกิ่งหรือลำต้น
6. ใบว่านหางจระเข้จัดอยู่ในดิวีชัน แอนโธไฟตา (Divition Anthophyta) เป็นดิวีชันของพืชดอก มีวิวัฒนาการสูงสุด มีมากกว่าพืชชนิดอื่นๆรวมกันถึง 3 เท่า คือประมาณ 300 แฟมิลี 12500 จีนัส และ 275000 สปีชีส์ สามารถปรับเข้ากับทุกสภาวะแวดล้อม ใบว่านหางจระเข้อยู่ในกลุ่มของพืชดอกใบเลี้ยงเดี่ยว (Monocotyledon) คือ พืชดอกที่มีใบเลี้ยงเพียงใบเดียว
สรุปผลการสังเกต
1.จากการศึกษาใบไม้ในครั้งนี้เป็นการฝึกทักษะการสังเกต และได้ข้อมูล 2 ประเภท คือ ข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ ข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลที่ได้จากการสังเกตจริงทั้งหมด เป็นข้อเท็จจริง ไม่มีการลงความเห็นใดๆ
2.ใบว่านหางจระเข้เป็นตัวแทนของวัตถุที่เราใช้ในการฝึกสังเกต ซึ่งก็ได้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง 2ประเภท ได้แก้ ข้อมูลเชิงปริมาณ และข้อมูลเชิงคุณภาพเช่นเดียวกัน
3. ใบไม่ที่นำมาสังเกต คือใบว่านหางจระเข้ ซึ่งจัดอยู่ในดิวีชัน แอนโธไฟตา อยู่ในกลุ่มของพืชดอกใบเลี้ยงเดี่ยว มีลักษณะเป็นใบรูปแถบ (linear)ช่วงโคนใบจะกว้าง และลักษณะแบบตัดตรง (truncate) ส่วนตรงปลาย จะแหลม (acute) ขอบใบแข็งมีหนามแหลม เป็นขอบใบแบบจักฟันเลื่อย (serrate) การเรียงใบเป็นแบบซ้อนสลับ (equitant) และเนื้อใบ (leaf texure) อวบน้ำ นอกจากนี้ใบว่านหางจระเข้ยังเป็นใบชนิดพิเศษ (specialized leaf) คือใบสะสมอาหาร (storage leaf) มีหน้าที่สะสมอาหาร
4.การสังเกตอย่างระเอียดถี่ถ้วนจะทำให้ได้ข้อมูลที่มีจำนวนมาก และชัดเจน ถือเป็นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ เนื่องจากสามารถนำไปช่วยสร้างความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้ได้กว้างขวางขึ้น
ว่านหางจระเข้
ชื่อทั่วไป : ว่านหางจระเข้
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Aloe barbadensis Mill.
ชื่ออื่น : ว่านไฟไหม้ หางตะเข้
ชื่อพ้อง : Aloe barbardensis Mill. , A. indica Royle
ชื่ออังกฤษ : Aloe, Barbados aloe, Crocodile' tongue, Indian aloe, Jafferbad, Mediteranean aloe, Star cactus, True aloe
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร Plantae
ส่วน Magnoliophyta
ชั้น Liliopsida
ตระกูล Asparagales
วงศ์ Asphodelaceae
สกุล Aloe
สปีชีส์ A.vera
ว่านหางจระเข้เป็นต้นพืชที่มีเนื้ออิ่มอวบ จัดอยู่ในตระกูลลิเลี่ยม ( Lilium ) แหล่งกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในชานฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและบริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกา พันธุ์ของว่านหางจระเข้มีมากมายกว่า 300 ชนิด ซึ่งมีทั้งพันธ์ที่มีขนาดใหญ่มากจนไปถึงพันธุ์ที่มีขนาดเล็กกว่า 10 เซนติเมตร ลักษณะพิเศษของว่านหางจระเข้ก็คือ มีใบแหลมคล้ายกับเข็ม เนื้อหนา และเนื้อในมีน้ำเมือกเหนียว ว่านหางจระเข้ผลิดอกในช่วงฤดูหนาว ดอกจะมีสีต่างๆกัน เช่น เหลือง ขาว และแดง เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของมัน
คำว่า " อะโล" ( Aloe ) เป็นภาษากรีซโบราณ หมายถึงว่านหางจระเข้ ซึ่งแผลงมาจากคำว่า "Allal" มีความหมายว่า ฝาดหรือขม ในภาษายิว ฉะนั้นเมื่อผู้คนได้ยินชื่อนี้ ก็จะทำให้นึกถึงว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้เดิมเป็นพืชที่ขึ้นในเขตร้อนต่อมาได้ถูกนำไปแพร่พันธุ์ในยุโรปและเอเชีย และทุกวันนี้ทั่วโลกกำลังเกิดกระแสนิยมว่านหางจระเข้กันเป็นการใหญ่
หลักฐานทางวิทยาศาสตร์
1. ฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะอาหาร
ได้มีการศึกษาฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะอาหารในหนูขาวของว่านหางจระเข้ ศึกษาผลของเจลและยางโดยเหนี่ยวนำหนูให้เป็นแผลในกระเพาะอาหารด้วยวิธีต่างๆ ได้แก่ การใช้ acetylsalicylic acid, phenylbutazone, reserpine ความเย็น และใช้ cysteamine hydrochloride ทำให้เกิดแผลในลำไส้ พบว่าไม่ได้ผลในการป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร Koo 1994 รายงานว่าวุ้นว่านหางจระเข้ไม่สามารถป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร เนื่องจากอัลกอฮอล์และความเย็นแต่ช่วยให้หายเร็วขึ้น ซึ่ง Kandil and Gobran ก็พบผลเช่นกันเดียวกัน เมื่อให้วุ้นว่านหางจระเข้หลังเกิดแผล 7 วัน การทดลองต่อมาพบว่าเมื่อให้หนูกินวุ้นว่านหางจระเข้วันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 5 มก./น.น. ตัว 100 กรัม เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้ cortisol และ กลุ่มที่ได้ cortisol ร่วมกับว่านหางจระเข้ พบว่ากลุ่มที่ได้รับวุ้นว่านหางจระเข้จะไม่มีแผล ในขณะที่กลุ่มที่ได้ cortisol มีแผลขั้นรุนแรง และกลุ่มที่ได้ cortisol ร่วมกับว่านหางจระเข้ มีแผลบ้างแต่ไม่รุนแรงเท่ากลุ่มที่ได้รับ cortisol เพียงอย่างเดียว และพบว่ากลุ่มที่ได้รับว่านหางจระเข้เยื่อเมือกมีความหนาเพิ่มขึ้นในส่วนต้นของกระเพาะอาหาร แสดงว่าวุ้นว่านหางจระเข้จะช่วยลดการเกิดแผล โดยกระตุ้นการสร้างเมือกการทดลองของสิริพันธุ์ พบว่าในหนูที่เหนี่ยวนำให้เกิดแผลโดย cortisol และให้วุ้นว่านหางจระเข้ สารสกัดว่านหางจระเข้ทั้งใบ เปรียบเทียบกับไซเมติดีน (cimetidine) พบว่าวุ้นว่านหางจระเข้ช่วยลดการเกิดแผลได้อย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่สารสกัดทั้งใบและไซเมติดีนมีผลเล็กน้อย มีการทดลองในหนูขาวที่ทำให้เกิดแผลด้วย 0.6 N HCl และ กรดอะซิตริก เมื่อให้วุ้นว่านหางจระเข้สด หรือวุ้นสดที่ทำให้แห้งโดยวิธีแช่แข็ง ทั้งที่เตรียมใหม่ และที่เก็บไว้ในตู้เย็นก่อนนำมาใช้เป็นเวลา 2 เดือน ในขนาด 400 มก./กก./วัน พบว่าวุ้นว่านหางจระเข้ทั้ง 3 รูปแบบ สามารถป้องกันการเกิดแผลได้ และให้ผลใกล้เคียงกับยาซูครัลเฟต แสดงว่าวุ้นว่านหางจระเข้ป้องกันการเกิดแผลและทำให้แผลหายเร็ว จากการศึกษาต่อมาพบว่า สารออกฤทธิ์คือ Aloctin A , Aloctin B และ polysaccharide
นอกจากการศึกษาในวุ้นแล้วยังมีการศึกษาในสารสกัด พบว่าได้ผลในการป้องกันการเกิดแผล และรักษาแผล และพบว่าสารออกฤทธิ์เป็นสารที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูง > 5,000 และ > 50,000 ซึ่งสามารถยับยั้งการเกิดแผลเนื่องจากความเครียด กรดอะซิตริก และการผูกกระเพาะอาหารส่วนปลาย (ligation of pylorus) โดยสารที่มีน้ำหนักโมเลกุล > 5,000 ให้ผลดีกว่า ต่อมามีการศึกษาพบว่าการรักษาแผลในกระเพาะอาหารของสารสกัดว่านหางจระเข้ไม่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ prostaglandin
การศึกษายังพบว่าสารสกัดว่านหางจระเข้มีฤทธิ์ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร แต่มีผู้พบว่าสารสกัดว่านหางจระเข้มีผลรักษาแผลในกระเพาะอาหาร และพบว่า magnesium lactate และ aloenin ลดการหลั่งน้ำย่อย การศึกษาต่อมาพบว่า Aloctin A นอกจากรักษาแผลในกระเพาะอาหารแล้วยังลดกรดและเปบซิน จึงลดการเกิดแผลเนื่องจากแอสไพริน และอินโดเมธาซิน (indomethacin)ซึ่งต่อมามีการศึกษาเพิ่มเติมและพบว่าให้ผลช่วยลดการหลั่งกรดและน้ำย่อย แต่รายงานบางฉบับพบว่า เจลว่านหางจระเข้ เพิ่มระยะเวลาที่ histamine กระตุ้นการหลั่งกรดแต่ลดการหลั่งน้ำย่อยเปบซิน และสารออกฤทธิ์คือ Aloctin A
สำหรับการทดลองในคนนั้นได้มีการทดลองในยูเครน โดยนำน้ำวุ้นว่านหางจระเข้มาเตรียมเป็น emulsion ให้รับประทานครั้งละ 2-2.5 fluid drams มาทดลองในผู้ป่วย 12 ราย พบว่าหายทุกราย และนักวิจัยจากยูเครนเชื่อว่าสารออกฤทธิ์ที่สำคัญคือ traumatic acid ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่จะพบในพืชที่มีการทำลายเนื้อเยื่อ โดยจะปนอยู่กับพวกมิวซิเลจต่างๆ และกระบวนการออกฤทธิ์จะมาจาก
1. ไปจับตัวกับ pepsin ทำให้ย่อยโปรตีนไม่ได้ แต่จะปล่อยออกมาเมื่อได้รับอาหาร ดังนั้นจึงลดการเกิดแผลในขณะท้องว่าง
2. ยับยั้งการหลั่งกรด
3. เจลมี manuronic และ glucuronic acid เป็นส่วนประกอบจึงช่วยป้องกันการเกิดแผล
นอกจากนี้ยังมีการจดสิทธิบัตรว่าตำรับยาที่มีผงว่านหางจระเข้ 1-50 ส่วน เป็นส่วน ประกอบหนึ่ง มีสรรพคุณในการรักษาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร แผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenal ulcer) กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง การหลั่งกรดไฮโดรคลอริกในกระเพาะอาหารมากเกินไป ปวดแสบปวดร้อนในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารมีการหดเกร็ง และการย่อยอาหารไม่ดี และมีการนำสารโพลีแซคคาไรด์ในว่านหางจระเข้ มาทำเป็นยาในการรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารเรื้อรัง และแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้นเรื้อรัง (chronic duodenal ulcer)
2. ฤทธิ์ในการสมานแผล
การใช้ว่านหางจระเข้สมานแผลมีมาแต่โบราณ มีการศึกษาในสัตว์ทดลองต่างๆ เมื่อทาขี้ผึ้งซึ่งมีสารสกัดว่านหางจระเข้เป็นส่วนประกอบ บนหลังหนูถีบจักรที่ทำให้เกิดแผล Davis และคณะได้ทำการศึกษาผลของว่านหางจระเข้หลายการทดลอง พบว่าเมื่อนำสารสกัดซึ่งเอา anthraquinone ออกแล้วไปฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนูถีบจักร และหนูขาว ในขนาด 10 มก./กก. พบว่าแผลหายเร็วกว่ากลุ่มควบคุม การศึกษาพบว่าฤทธิ์การสมานแผลของวุ้นว่านหางจระเข้ใช้ได้ผล ทั้งการให้สัตว์ซึ่งทำให้เกิดแผลกินในขนาด 100 มก./กก./วัน หรือผสมกับ Eucerin cream 25% ทา ตะกอนที่ได้จากการตกตะกอนสารสกัดเอทานอล (50%) ทำให้แผลมีขนาดเล็กลง 47.1% แต่ส่วนใสไม่มีผล mannose-6-phosphate ซึ่งได้จากว่านหางจระเข้ในขนาด 300 มก./กก. ทำให้แผลหายเร็วขึ้น เมื่อให้ว่านหางจระเข้ 100 และ 300 มก./กก. แก่หนูถีบจักร จะช่วยยับยั้ง hydrocortisone acetate ที่ทำให้แผลหายช้า แผลจึงหายเร็วขึ้น และเขาได้จดสิทธิบัตรการใช้ว่านหางจระเข้ในการรักษาแผลเปิด มีการพบผลเช่นเดียวกัน เมื่อฉีดวุ้นว่านหางจระเข้เข้าช่องท้องหนูถีบจักร ในขนาด 2 ซีซี/กก. อย่างไรก็ตามมีผู้รายงานว่าไม่ได้ผล
มีผู้จดสิทธิบัตรของขี้ผึ้งที่มีโพลีแซคคาไรด์เป็นส่วนประกอบในเรื่องการรักษาแผลในหนูขาว การทดลองในหนูขาว โดยทำให้เกิดแผลที่หลังแล้วทาด้วย 2% mupirocin ointment, 1% clindamycin cream, 1% silver sulfadiazine cream, วุ้นว่านหางจระเข้ และ 1 % silver sulfadiazine ร่วมกับวุ้นว่านหางจระเข้ พบว่ากลุ่มที่ได้รับว่านหางจระเข้แผลหายเร็วที่สุด และยังช่วยเร่งให้แผลหายเร็วขึ้นเมื่อใช้ร่วมกับ silver sulfadiazine ซึ่งทำให้แผลหายช้า และยังมีผู้ศึกษาพบว่าการที่ว่านหางจระเข้ทำให้แผลในหนูขาวหายเร็วขึ้นเนื่องมาจากไปเสริมฤทธิ์ NO หรือจับอนุมูลอิสระจึงทำให้เนื้อบริเวณนั้นไม่ตาย และไปยับยั้ง Thromboxane synthetase แผลจึงหายเร็วขึ้น และยังพบว่าวุ้นว่านหางจระเข้เมื่อใช้ภายนอกหรือให้หนูขาวกิน จะเร่งให้แผลหายเร็วขึ้น โดยการไปเร่งการสร้าง collagen และผู้วิจัยกลุ่มเดียวกันยังได้ทดลองให้หนูขาวซึ่งเป็นเบาหวานกิน พบว่าแผลหายเร็วขึ้น ซึ่งตรงกับที่ Davis และคณะ ได้รายงานว่าเมื่อใช้ว่านหางจระเข้ซึ่งกำจัด anthraquinone ออกทำให้แผลหายเร็วขึ้น ทั้งในหนูปกติและหนูเบาหวาน และยังพบว่าวุ้นว่านหางจระเข้ยังช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น และทำให้หลอดเลือดบริเวณแผลที่ขยายกลับเป็นปกติ
ไม่เพียงแต่มีผลการทดลองในสัตว์ทดลอง ยังมีรายงานผลทางคลินิก การนำขี้ผึ้งซึ่งมีว่านหางจระเข้ 50% ไปใช้รักษาแผลถลอก พบว่าอัตราการหายของแผลดี มีผู้ทดลองเปรียบเทียบผลของวุ้นว่านหางจระเข้และ polyethyline oxide พบว่าได้ผลดีกว่าในการรักษาแผลถลอก และรักษาแผลที่ไม่ติดเชื้อได้ผล มีผู้นำไปใช้ในแผลเรื้อรัง สิว และพบว่าลดการหลุดร่วงของผมด้วย มีการนำมาใช้รักษาแผลภายนอกได้ผลโดยใช้ร่วมกับ Vitamin E ซึ่งมีรายงานผลดีของว่านหางจระเข้ต่อมาอีกหลายฉบับ การที่แผลหายเร็วขึ้นก็เนื่องจากการที่ผิวหนังเร่งแบ่งตัวเพื่อซ่อมแซมผิว Thompson ได้นำไปใช้ในผู้ป่วยผ่าตัดจมูก พบว่าทำให้แผลหายเร็วขึ้น และมีการนำไปใช้รักษาแผลที่เกิดจากการรักษาสิวด้วยวิธีดูดหัวสิว สารสกัดด้วยน้ำเมื่อนำไปใช้หลังการผ่าตัดฟัน พบว่าช่วยให้แผลสมานเร็วขึ้น การทดลองในผู้ป่วย 31 คนซึ่งเป็นแผลในปาก พบว่าผู้ป่วย 77% ปวดน้อยลง ผู้ป่วย 80% แผลดีขึ้น และการนำว่านหางจระเข้ไปรักษาแผลที่เกิดจาการถอนฟัน พบว่าทำให้เกิด alveolar asteitis ซึ่งทำให้แผลหายช้าน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับน้ำเกลือ
อย่างไรก็ตามการนำว่านหางจระเข้มาใช้รักษาแผล มีผู้รายงานว่าไม่ได้ผล การทดลองในหญิง 21 คน ซึ่งมีแผล พบว่าแผลหายช้ากว่า standard treatment การนำว่านหางจระเข้ผสม silicon dioxide และ allantoin ไปรักษาแผลในปากพบว่าไม่ได้ผล การนำ acemannan จากว่านหางจระเข้ไปใช้รักษาแผลกดทับในผู้ป่วย 30 ราย พบว่าได้ผลพอๆ กับน้ำเกลือ
การศึกษาผลของว่านหางจระเข้ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพบว่าเร่งการแบ่งตัว Lectin จากว่านหางจระเข้ทำให้เซลล์ประสานกันได้ดี ได้มีการนำเอาวุ้นสด และผลิตภัณฑ์วุ้นที่ทำขายมาทดสอบในการเพาะเลี้ยงเซลล์ผิวหนัง และ fibroblast ของผิวหนัง พบว่าวุ้นสดให้ผลดีกว่าผลิตภัณฑ์ที่ขายในท้องตลาด โดยเร่งการเจริญของเซลล์ทั้ง 2 ชนิด glycoprotein จากว่านหางจระเข้เร่งการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนัง และไต และ glycoprotein ยังเร่งการแบ่งตัวของเซลล์ตับ โดยเร่งการนำเอา [3 H] thymidine ไปใช้สังเคราะห์ DNA และมีรายงานผลของ aloesin เช่นเดียวกัน การเร่งการแบ่งตัวของเซลล์ จึงทำให้แผลหายเร็วขึ้น
การศึกษากระบวนการออกฤทธิ์ในการรักษาแผลของว่านหางจระเข้ พบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการต่างๆ ได้แก่ กระบวนการลดการอักเสบเนื่องจาก bradykininase ในว่านหางจระเข้ไปทำลาย bradykinin สารซึ่งทำให้หลอดเลือดขยายตัวและเกิดการอักเสบ ปวด และ bradykininase ยังไปเปลี่ยน angiotensin I ไปเป็น angiotensin II ซึ่งทำให้หลอดเลือดหดตัว จึงทำให้การอักเสบลดลง กระบวนการที่ 2 คือ magnesium lactate ที่มีในว่านหางจระเข้ จะยับยั้ง histidine dicarboxylase ไม่ให้เปลี่ยน histidine ไปเป็น histamine ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบ กระบวนการที่ 3 คือ การที่ alloctin A ไปเพิ่มการทำงานของ adenylate cyclase ใน T-lymphocyte ทำให้ ATP เปลี่ยนเป็น cyclic AMP ซึ่งเร่งการแบ่งตัวของเซลล์ที่ได้รับอันตราย ซึ่งก็มีผู้พบว่า alloctin A ช่วยในการแบ่งตัวของเซลล์ ดังนั้นจึงช่วยสมานแผล Alloctin A ยังช่วยลดการอักเสบอีกด้วย นอกจากนี้ยังอาจเป็นไปได้ว่า วุ้นว่านหางจระเข้ช่วยสมานแผลโดยการสร้างโปรตีนจากกรดอะมิโนที่ได้จาก bradykinin ที่ถูกย่อย และ aloctin A อาจจะช่วยเพิ่มการกำจัดเนื้อเยื้อที่ตาย โดยกระบวนการกระตุ้นการแบ่งตัวของ leukocytes, macrophages และ monocytes ซึ่งจะช่วยกำจัดเซลล์ที่ตาย และในขณะเดียวกันก็เร่งการแบ่งตัวของเซลล์ที่ยังมีชีวิตบริเวณแผลเพื่อมาซ่อมแซมส่วนที่เสียไป
3. สารสำคัญในการออกฤทธิ์สมานแผล
สารออกฤทธิ์สมานแผลคือ Aloctin A และ Aloctin B
4. ฤทธิ์รักษาแผลไหม้เนื่องจากรังสี
การรักษาด้วยการใช้แสงทำให้เกิดการไหม้ หรืออาการผิวหนังอักเสบ มีผู้นำว่านหางจระเข้มาใช้รักษาอาการเหล่านั้น พบว่าอาการดีขึ้น โดยมีการใช้วุ้นว่านหางจระเข้ และใช้ใบสดทั้งใบ ใช้ขี้ผึ้ง ทำเป็นอีมัลชั่น แต่ใบสดให้ผลดีกว่าขี้ผึ้ง การศึกษากระบวนการออกฤทธิ์พบว่าเกี่ยวข้องกับการจับอนุมูลอิสระที่เกิดขณะฉายแสง Wang และคณะได้ศึกษาพบว่า polysaccharide จากวุ้นว่านหางจระเข้ สามารถป้องกันอันตรายแก่หนูที่รับรังสีโคบอลท์ ทำให้อัตราการตายลดลง เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกร็ดเลือดเพิ่มขึ้น โดยฉีด polysaccharide ในขนาด 25 และ 50 มก./กก. ทางช่องท้องก่อนรับการฉายแสง ผลการวิจัยที่คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แสดงว่าครีมว่านหางจระเข้ทำให้แผลหายเร็วกว่ากลุ่มที่ได้รับครีมเบส และยังพบว่าวุ้นว่านหางจระเข้สามารถรักษาอาการของ conjunctiva เนื่องจากถูกรังสี
การศึกษาบางอันไม่ได้ผล มีการศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมซึ่งรักษาด้วยการฉายรังสี 225 คน เมื่อเปรียบเทียบผล กลุ่มที่ใช้ aqueous cream และใช้วุ้นว่านหางจระเข้ 95% พบว่ากลุ่มที่ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ไม่ได้ผล ผู้ป่วยยังมีอาการคันและปวดแสบปวดร้อน ซึ่งตรงกับรายงานของ Williams และคณะ ซึ่งได้ทดสอบในผู้ป่วยมะเร็ง 108 คน เมื่อได้รับวุ้นว่านหางจระเข้พบว่าไม่สามารถป้องกันอันตรายจากการฉายรังสี
นอกจากดูผลของการรักษาแผลที่เกิดจากรังสีแล้ว ได้มีผู้ศึกษาผลการป้องกันแสง UV มีผู้ทดลองในผู้ป่วย 12 ราย ว่าช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น การศึกษาพบว่า oligosaccharide ซึ่งมีน้ำหนักโมเลกุล 1,000 - 5,000 daltons สามารถป้องกันการทำลายระบบภูมิคุ้มกันของผิวหนัง Lee และคณะได้ศึกษาพบว่าสารซึ่งมีน้ำหนักโมเลกุลน้อยกว่า 1,000 daltons สามารถป้องกันแสง UVA ไม่ให้ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของผิวหนัง และพบว่าเมื่อนำสารนี้ในขนาด 0.1, 0.5 และ 2.5 มก./มล. พ่นหลังหนูถีบจักรทันทีหลังจากได้รับแสง พบว่าสามารถป้องกันรังสี UVB แสง UV จะกระตุ้นการสร้าง matrix degrading metalloproteinase (MMPs) ซึ่งไปทำลาย connective tissue ทำให้ผิวหนังหยาบกร้านแก่ก่อนวัย และอาจเกิดมะเร็ง วุ้นว่านหางจระเข้สามารถยับยั้งการสร้าง MMPs และช่วยให้เซลล์รอดชีวิตจากการทำลายของ UVA และมีการพัฒนาตำรับวุ้นว่านหางจระเข้ซึ่งใช้ป้องกันการไหม้เนื่องจากแดดได้ผลดี และทำให้ผิวมีความชุ่มชื้น มีการจดสิทธิบัตรว่าอีมัลชั่นที่มีส่วนผสมของน้ำว่านหางจระเข้ที่ไม่มี aloin (60-70%) base cream (30-40%) สามารถรักษาอาการผิวหนังอักเสบจากแสงแดดได้ แต่มีรายงานว่าการใช้ gel ว่านหางจระเข้ในการรักษาและป้องกันอาการแดงเนื่องจาก UVB ไม่ได้ผล
5. ฤทธิ์รักษาแผลไหม้เนื่องจากความร้อน
มีการศึกษาเรื่องการใช้วุ้นว่านหางจระเข้ในการรักษาแผลไหม้เนื่องจากความร้อนในสัตว์ทดลองต่างๆ Rodriguez-Bigas และคณะ ได้ทดลองทำให้เกิดแผลไหม้ด้วยความร้อนในหนูตะเภา และใช้วุ้นว่านหางจระเข้ทา พบว่าแผลหายเร็วขึ้น การติดเชื้อเนื่องจากแบคทีเรียลดลง เมื่องานของเขาตีพิมพ์ได้มีผู้เห็นด้วยหลายคน อย่างไรก็ตาม Kaufman ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมเรื่องการทดลองว่า การ biopsy แผลไปตรวจ จะมีผลกระทบต่อการรักษาแผลไหม้ ต่อมาได้มีการทดลองใช้ gel รักษาแผลไหม้เนื่องจากความร้อนและหิมะกัด พบว่าได้ผล และช่วยรักษาเนื้อเยื่อบริเวณแผลไม่ให้ตาย แผลจึงหายเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม Kaufman และคณะ รายงานว่าผลไม่ดีเท่าครีม silver sulfadiazine
นอกจากหนูตะเภามีการทดลองในหนูขาวซึ่งได้ผลดีในการรักษา การทดลองในหนูถีบจักร ซึ่งทำให้เป็นแผลไหม้ในความลึกต่างๆ กัน พบว่าได้ผลสำหรับแผลไหม้ระดับ 1 และระดับ 2 ส่วนระดับ 3 เกิดการติดเชื้อจึงทดลองไม่ได้ การศึกษายังชี้ให้เห็นว่าครีมได้ผลดีกว่าวุ้นสด การทดลองในกระต่ายพบว่าครีมวุ้นว่านหางจระเข้ นอกจากจะทำให้แผลหายเร็วยังพบว่าทำให้เกิดแผลเป็นน้อย Cera และ ได้ทดลองให้ครีม Dermide ซึ่งมีวุ้นว่านหางจระเข้ 80% ในสุนัข 2 ตัว ซึ่งเป็นแผลไหม้พบว่าใช้ได้
มีผู้พบว่า polyuronide จาก aloe ใช้รักษาแผลไหม้ได้ ต่อมาผู้ทดลองเดียวกันได้เตรียมอนุพันธุ์ methyl ของ polysaccharide เมื่อนำไปทดสอบพบว่ารักษาแผลไหม้ได้เป็นอย่างดี
มีการศึกษาในผู้ป่วยหลายรายงาน การศึกษาในผู้ป่วย 38 ราย โดยใช้วุ้นสด เปรียบเทียบกับ silver sulfadiazine พบว่าใช้วุ้นสดได้ผล 95% ในขณะที่อีกกลุ่มได้ผล 83% มีอาการไม่พึงประสงค์บ้างเล็กน้อย คือรู้สึกระคายเคืองมีการศึกษาผลของครีมว่านหางจระเข้ในผู้ป่วยนอกที่เป็นแผลไหม้ระดับ 2 พบว่าเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ได้รับ silver sulfadiazine พบว่ากลุ่มที่ได้รับว่านหางจระเข้หายเร็วกว่า silver sulfadiazine แต่ผลการทดลองข้างต้นก็น่าจะยืนยันประสิทธิภาพของครีมวุ้นว่านหางจระเข้ นอกจากวุ้นว่านหางจระเข้ มีผู้ทำขี้ผึ้งว่านหางจระเข้ใช้รักษาแผลไหม้เนื่องจากน้ำร้อนลวก
แผลไหม้อื่น
การใช้ว่านหางจระเข้รักษาแผลไหม้เนื่องจากกรด hydrofluric ไม่ได้ผล แต่สามารถลดการระคายเคืองเนื่องจาก chlorine dioxide
6. สารสำคัญในการออกฤทธิ์ลดการอักเสบ
6.1 สารซึ่งออกฤทธิ์คือ Aloctin A โดย Aloctin A ไปยับยั้งการสังเคราะห์ prostaglandin E2 จาก arachidonic acid สาร veracylglucan B และ C
6.2 มี bradykininase ซึ่งเป็น enzyme พวก carboxypeptidase ซึ่งจะไปทำลาย bradykinin ซึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบ
7. ฤทธิ์ลดการอักเสบ
มีการศึกษาฤทธิ์ลดการอักเสบของใบว่านหางจระเข้ โดยใช้ส่วนต่างๆ ได้แก่ สารสกัด (สารสกัดจะประกอบด้วยทั้งวุ้นและยางสีเหลือง มีฤทธิ์ลดการอักเสบในการทดสอบในหูหนู อุ้งเท้าหนูโดยเหนี่ยวนำในเกิดการอักเสบด้วย kaolin, carrageenan, albumin, dextran, gelatin, mustard และน้ำมันละหุ่ง ได้ทดลองฤทธิ์ลดการอักเสบในหนูเบาหวานซึ่งเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วยเจลาติน พบว่าสามารถยับยั้งการอักเสบและมีฤทธิ์เหมือน gibberellin ผู้วิจัยจึงเสนอแนะว่าสารออกฤทธิ์อาจเป็น gibberellin หรือสารที่มีคุณสมบัติเหมือน gibberellin การศึกษาต่อมาพบว่าเมื่อใช้ร่วมกับสาร hydrocortisone-21-acetate ยิ่งเสริมฤทธิ์ลดการอักเสบของ hydrocortosone-21-acetate ผู้วิจัยกลุ่มเดียวกันได้ทำสารสกัดว่านหางจระเข้ด้วยอัลกอฮอล์ 50% มาแยกเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่ตกตะกอน และส่วนที่เป็นน้ำใส พบว่าทั้ง 2 ส่วนยับยั้งการอักเสบ แต่ส่วนน้ำใสจะมีฤทธิ์ดีกว่าส่วนที่เป็นตะกอน การศึกษาต่อมาพบว่าสารสกัดที่กำจัด anthraquinone ออกมีฤทธิ์ลดการอักเสบดีกว่าสารสกัดที่มี anthraquinone
กระบวนการออกฤทธิ์ของวุ้นว่านหางจระเข้มีหลายกระบวนการได้แก่
7.1 ออกฤทธิ์ทำลาย bradykinin
bradykinin เป็นสารที่ร่างกายหลั่งออกมาเมื่อเกิดการกระทบกระเทือน หรือเกิดบาดแผล มีฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดขยายตัว ทำให้สารที่ทำให้อักเสบมาคั่งอยู่ที่บริเวณนี้ ว่านหางจระเข้มีฤทธิ์ยับยั้งการเกิด bradykinin ซึ่งต่อมาพบว่าคือ enzyme carboxypeptidase หรือ bradykininase ซึ่งจะย่อยสลาย bradykinin ที่ทำให้เกิดการอักเสบ เอนไซม์นี้สกัดแยกได้จากการนำใบว่านหางจระเข้มาปั่น ซึ่ง พบว่าเป็นเอนไซม์ที่อยู่ที่เปลือกของใบว่านหางจระเข้ นอกจากนี้พบว่าสารที่สลาย bradykinin คือ glycoprotein ซึ่งอยู่ในส่วนของวุ้น ซึ่งต่อมามีรายงานว่า protein จากวุ้นว่านหางจระเข้มีฤทธิ์ทำลาย bradykinin
7.2 ยับยั้งการสังเคราะห์พรอสต้าแกลนดิน (prostaglandin)
กระบวนการลดการอักเสบที่สำคัญคือ การยับยั้งการสร้างพรอสต้าแกลนดินอี2 (prostaglandin E2) จาก arachidonic acid ทำให้ลดการอักเสบ ยับยั้ง lipoxygenase methyltransferase I, II และ prostaglandin synthetase ซึ่งสารสำคัญในการออกฤทธิ์คือ aloctin A ในการเกิดอักเสบโดยเฉพาะในกรณีที่เกิดแผลต่างๆ จะมีการหลั่ง thromboxane ซึ่งเป็นสาร prostaglandin ที่ทำให้หลอดเลือดหดตัว และเกิดการจับตัวของเกร็ดเลือด เป็นผลทำให้เกิดอักเสบบริเวณที่เกิดแผล วุ้นว่านหางจระเข้มีผลยับยั้งการสร้าง thromboxane ซึ่งช่วยให้การอักเสบลดลงและเนื้อเยื่อไม่ตาย และสารออกฤทธิ์คือ glycoprotein นอกจากนี้ยังยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ cyclooxygenase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่สำคัญในการสังเคราะห์สาร prostaglandin ที่ทำให้เกิดการอักเสบ (182, 184 -185) ซึ่งสารออกฤทธิ์ก็คือ glycoprotein
7.3 ยับยั้งการเกิดสารพวก cytokines ที่ทำให้เกิดการอักเสบได้แก่ TNF-alpha และ IL-6 และยังลดการเกิด leukocyte adhesion และยับยั้งการหลั่ง IL-8 การลดการอักเสบของว่านหางจระเข้ อาจเนื่องมาจาก steroid ในว่านหางจระเข้
ด้วยการที่ว่านหางจระเข้มีฤทธิ์ลดการอักเสบ จึงมีการนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้แก่ ครีมทารักษาโรคผิวหนัง และแผลอักเสบ ผสมกับ lidocaine และ diphenlydramine ใช้รักษาการอักเสบของผิวหนังและเนื้อเยื่ออ่อน และผสมในตำรับรักษาอาการอักเสบเนื่องจาก carrageenan, histamine, serotonin (5-HT), nystatin ผสมกับ glycyrrhetinic acid รักษาการอักเสบ และยาตำรับผสมกับสมุนไพรอื่น การทำเป็นโลชั่นโดยมีวุ้นว่านหางจระเข้ วิตามินซี วิตามินอี และไฮโดรคอร์ติโซน อะซิเตรต เป็นส่วนประกอบหนึ่ง ใช้ทาผิวหนังหลังการโกนขน หรือผม พบว่าสามารถลดการอักเสบ และการระคายเคืองต่อผิวหนัง มีการนำว่านหางจระเข้ไปรักษาสิว รักษาอาการอักเสบของระบบทางเดินหายใจ รักษาอาการไอ โดยฉีดสารสกัดว่านหางจระเข้เข้าหลอดลมเป็นเวลา 10 วัน พบว่าได้ผลดี และมีผู้เตรียมยาหยดแก้ไอจากโพลีแซคคาไรค์ รักษาอาการอักเสบเนื่องจากหิมะกัด รักษาอาการโรคปอดอักเสบเรื้อรัง รักษาเหงือกอักเสบ รักษาอาการบาดเจ็บของนักกรีฑา นอกจากนี้ยังมีการศึกษาในผู้ป่วยลำไส้ใหญ่อักเสบจำนวน 42 คน โดยให้ผู้ป่วย 30 คน รับประทานน้ำว่านหางจระเข้ ขนาด 100 มล. วันละ 2 ครั้ง นาน 4 สัปดาห์ และผู้ป่วยอีก 14 คน ให้รับประทานยาหลอก พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับน้ำว่านหางจระเข้ ขนาดของแผลที่ลำไส้ใหญ่ดีขึ้น และมีขนาดเล็กลง เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับน้ำว่านหางจระเข้ แสดงว่าน้ำว่านหางจระเข้ช่วยในการลดการอักเสบของลำไส้ใหญ่ได้
8. ฤทธิ์เป็นยาระบาย
สารที่พบจากยางที่เปลือก คือ anthraquinone สาร barbaloin aloin จากว่านหางจระเข้ และตำรับยาที่ประกอบด้วยสารสกัดจากว่านหางจระเข้ สาร sennosides A และ B มีฤทธิ์เป็นยาระบาย สาร anthraquinone เมื่อทดสอบในแมว พบว่ามีฤทธิ์เป็นยาระบาย โดยที่สาร anthraquinone ออกฤทธิ์ไปเพิ่มการเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่ และยับยั้งการดูดซึมกลับของน้ำ เมื่อป้อนสารสกัด 5% อัลกอฮอล์ของว่านหางจระเข้ให้กับหนูถีบจักรทางสายยางสู่กระเพาะอาหาร ขนาด 15, 20, 30 และ 40 มก. พบว่ามีฤทธิ์เป็นยาระบายได้ 45, 53, 58 และ 77% ตามลำดับ (218) Aloin เป็นสารออกฤทธิ์ที่สำคัญ โดยไปกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้
เมื่อป้อนสาร isobarbaloin และ barbaloin ในว่านหางจระเข้ให้กับหนูขาวเพศผู้ พบว่าขนาดที่ทำให้หนูเกิดอาการท้องเสียได้ครึ่งหนึ่ง (ED50) ของสาร isobarbaloin และ barbaloin เท่ากับ 19.2 และ 19.5 มก./กก. ตามลำดับ เมื่อป้อนสาร barbaloin จากว่านหางจระเข้ ขนาด 31.1 มก./5มล./กก. ในสารละลาย 5% gum arabic ฃ สาร aloe emodin 9-anthrone ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของ barbaloin จากว่านหางจระเข้ พบว่ามีผลในการระบายโดยไปเพิ่มปริมาณน้ำในลำไส้ใหญ่มากกว่าไปกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ สาร aloin 60 มก. มีฤทธิ์เป็นยาระบายเมื่อใช้ในคน
9. หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ
9.1 การทดสอบความเป็นพิษ
มีการรายงานการศึกษาความเป็นพิษของว่านหางจระเข้ทั้งสารสกัด และเจล เมื่อป้อนว่านหางจระเข้ให้หนูขาวในขนาด 92.5 มก./กก. ไม่พบพิษ และเมื่อผสมผงว่านหางจระเข้ในอาหารให้หนูขาวกิน พบว่าหนูมีอาการท้องเสีย มีการทดสอบสารสกัดต่างๆ ในสัตว์ทดลอง เมื่อผสมสารสกัดอัลกอฮอล์ (95%) ในน้ำ ให้หนูถีบจักรกินในขนาด 100 มก./กก. เป็นเวลา 3 เดือน พบว่ามีอาการพิษรวมทั้งขนร่วงและการเสื่อมของอวัยวะเพศ และเมื่อกรอกให้หนูถีบจักรกินในขนาด 3 ก./กก. ไม่พบพิษ เมื่อฉีดสารสกัดว่านหางจระเข้ด้วยเอทานอลและน้ำ (1:1) เข้าช่องท้องหนูถีบจักร ขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง (LD50) มีค่ามากกว่า 1 ก./กก. เมื่อป้อนสารสกัดอัลกอฮอล์ของใบว่านหางจระเข้ให้หนูถีบจักรกิน พบว่าขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง (LD50) มีค่าเท่ากับ 120.65 มก./กก. สารสกัดด้วยน้ำเมื่อฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักรในขนาด 100 และ 800 มก./กก. ไม่พบพิษ และไม่มีสัตว์ตาย เมื่อฉีดสารสกัด aloe ด้วยอัลกอฮอล์ (95%) เข้าช่องท้อง ขนาดที่หนูทนได้คือ 100 มก./กก. และเมื่อให้หนูถีบจักรกินสารสกัดที่ได้จากการนำใบว่านหางจระเข้มาปั่นและทำให้เป็นผงด้วยวิธีแช่แข็ง แล้วผสมในอาหาร 1% ให้หนูขาวกิน และอีกตัวอย่างนำไปกำจัดสีก่อนทำเป็นผง แล้วไปผสมอาหาร 1% และ 10% พบว่าทำให้ parathyroid hormone และ calcitonin ลดลง แต่ระดับ glucose และ insulin ในเลือดไม่เปลี่ยนแปลง ไม่มีผลต่อ cardiac และ hepatic mitochondria และปริมาณโปรตีนไม่เปลี่ยนแปลง ผลการทดสอบในกระต่ายพบว่า เมื่อฉีดสารสกัดว่านหางจระเข้ให้กระต่ายปกติและกระต่ายที่มีอาการตับอักเสบ พบว่ากระต่ายมีอายุยืนขึ้น เมื่อให้ทิงเจอร์ยาดำทางปาก ฉีดเข้าหลอดเลือด ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง หรือฉีดเข้าช่องท้อง พบว่าในขนาดสูงทำให้กระต่ายตาย แต่ขนาดน้อยลงมีอาการท้องเสีย หัวใจเต้นช้าลง และทำให้มดลูก และลำไส้เล็กบีบตัว และเมื่อให้กระต่ายกินว่านหางจระเข้ ทำให้เกิดอักเสบที่ปากช่องคลอด และทางเดินปัสสาวะ ว่านหางจระเข้ยังทำให้เกิดอาการแพ้ การศึกษาต่อมาได้มีรายงานผลของสารกลุ่ม anthraquinone ซึ่งจะออกมากับกระบวนการสกัด hydroxyanthraquinone กระตุ้นให้เกิดการขยายตัวของมะเร็ง ยาดำมีผลกระตุ้นการสังเคราะห์ prostaglandin ทำให้เกิดการอักเสบ ผู้ป่วยที่เป็นโรคดีซ่านเสียชีวิตเมื่อรับประทานยาซึ่งมียาดำ โกฐน้ำเต้า และมะขามแขก การชันสูตรพบว่าตับถูกทำลาย และมีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อไต ม้าม หัวใจ และปอด Aloin ทำให้ท้องเสียอย่างรุนแรง และยังพบว่าเมื่อฉีด aloin เข้าใต้ผิวหนังสุนัขในขนาด 0.10 0.12 ก./กก. ทำให้สุนัขเป็นไข้เป็นเวลา 24 ช.ม. และ gas exchange มากกว่าปกติ 2 เท่า มีการผลิต uric acid และ urea เพิ่มขึ้น และ chromone C-glucoside ซึ่งทำให้เกิดอาเจียนอย่าง
9.2 ผลต่อระบบสืบพันธุ์
มีการศึกษาฤทธิ์ทำให้แท้งของสารสกัดว่านหางจระเข้หลายการทดลอง เมื่อฉีดสารสกัดว่านหางจระเข้ด้วยน้ำ อัลกอฮอล์ (95%) และปิโตรเลียมอีเทอร์เข้าช่องท้องหนูขาว พบว่าไม่ทำให้แท้ง ผู้รายงานว่า aloin ทำให้แท้ง และสารสกัดใบว่านหางจระเข้ในขนาด 0.5 มก. ทำให้มดลูกบีบตัว นอกจากนี้มีการทดลองนำเอาสารสกัดว่านหางจระเข้ซึ่งทำให้แห้งด้วยวิธีแช่แข็ง ความเข้มข้น 7.5% และ 10% สามารถฆ่าเชื้ออสุจิได้โดยไม่มีอันตรายต่อผิวเยื่อบุช่องคลอดของกระต่าย 9.3 พิษต่อตัวอ่อน
การศึกษาความเป็นพิษต่อตัวอ่อน พบว่าเมื่อให้หนูขาวกินสารสกัดว่านหางจระเข้ด้วยเบนซิน เอทานอล (50%) และคลอโรฟอร์ม ในขนาด 100 มก./กก. เป็นพิษต่อตัวอ่อน เมื่อให้สารสกัดอัลกอฮอล์และน้ำ (1:1) ในขนาด 100 และ 200 มก./กก. เป็นพิษต่อตัวอ่อนเช่นกัน ส่วนอีกการทดลองเมื่อให้หนูขาวกินสารสกัดด้วยเบนซินและอัลกอฮอล์และน้ำ (1:1) ไม่มีพิษต่อตัวอ่อน ส่วนสารสกัดด้วยน้ำ เมื่อป้อนให้หนูขาวที่ท้อง ในขนาด 125 มก./กก. มีผลต่อตัวอ่อน ทำให้พิการ และมีผู้พบว่าการรับประทานยาดำ ทำให้ทารกในท้องมีอาการท้องเสีย (266)
9.4 ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ และต้านการก่อกลายพันธุ์
การศึกษาพบว่าสารสกัดว่านหางจระเข้ด้วยอัลกอฮอล์ ในขนาด 10 มคก./จานเพาะเชื้อ มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์อย่างอ่อน ส่วนสารสกัดว่านหางจระเข้ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ ต่อมามีผู้ศึกษาพบสารที่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์คือ anthraquinone glycoside และ hydroxyanthraquinone
นอกจากศึกษาฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์แล้ว ยังมีการศึกษาฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ พบว่ายาชงว่านหางจระเข้ในขนาด 100 มคล./แผ่น ไม่สามารถต้านการก่อกลายพันธุ์ของ methanesulfonate ใน Salmonella typhimurium TA98 และ TA100 ต่อมาพบว่าว่านหางจระเข้มีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ Aloe emodin ซึ่งสกัดได้จากสารสกัดเมทานอลสามารถยับยั้งการก่อกลายพันธุ์ ใน S. typhimurium TA98 ส่วนสกัดที่แยกได้จากคอลัมน์โครมาโตรกราฟฟี่ในขนาด 50 มคก./จานเพาะเชื้อ สามารถต้านการก่อกลายพันธุ์ใน S. typhimurium TA 98 และ TA100 ต่อมาพบว่าสารสกัดคลอโรฟอร์ม และ di (2-ethylhexyl) phthlate มีฤทธิ์ยับยั้งการก่อกลายพันธุ์ใน S. typhimurium
9.5 พิษต่อเซลล์
การทดสอบความเป็นพิษของวุ้นว่านหางจระเข้ต่อเซลล์ พบว่าไม่มีผลต่อเซลล์ปกติ แต่กลับทำให้เซลล์จับตัวกัน แต่มีผลต่อเซลล์มะเร็ง human cervical ME180 ไม่มีผลต่อ Hela cell และ kidney cell มีผลต่อ C3H10 T 1/2
นอกจากศึกษาผลของวุ้นว่านหางจระเข้ มีผู้ศึกษาผลของสารสกัดน้ำ และอัลกอฮอล์ พบว่าเป็นพิษต่อเซลล์ Sarcoma 37 และมีผู้ศึกษาสารที่อยู่ในว่านหางจระเข้พบว่า aloe emodin เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง leukemic K562 ส่วน glycoside ไม่มีผลและมีผลต่อ lymphatic leukemic cell Diethylhexylphthalate มีผลต่อเซลล์มะเร็งหลายสายพันธุ์ได้แก่ leukemic K562, HL60 และ U937 นอกจากนี้มีผู้พบว่าสารซึ่งมีน้ำหนักโมเลกุลน้อยมีผลเหมือน aloe emodin คือเป็นพิษต่อ monolayer chicken fibroblast
9.6 พิษต่อยีนส์
สารสกัดวุ้นว่านหางจระเข้เป็นพิษต่อยีนส์ของเชื้อแบคทีเรีย Escherichia coli แต่ไม่มีผลในการทำลายเซลล์เมมเบรนของเชื้อ E. coli
การปลูก ไม่ต้องอัดดินแน่น กดเพียงเบาๆ พอไม่ให้ต้นว่านโยกคลอนก็เป็นการเพียงพอแล้ว ถ้ากดแน่น ดินจะขาดอากาศ ระดับดินควรต่ำกว่ากระถางอย่างน้อย 2 นิ้ว เผื่อไว้เติมดินภายหลังที่ว่านโต |
การดูแลบำรุง ว่านหางจระเข้ก็เหมือนพืชธรรมดาทั่วไป จะผิดไปตรงที่ว่า ไม่ชอบน้ำมาก การให้น้ำควรให้แต่น้อย โดยทำคล้ายฝนตกปรอยๆ รดน้ำให้ทั่ว พอชื้นๆ อย่ารดน้ำจนน้ำท่วมดิน เพราะการรดน้ำจนน้ำท่วมดิน จะมีฟองอากาศเกิดขึ้นจากดิน หองอากาศดังกล่าวเป็นสัญญาณอันตรายบอกว่าดินได้พังแล้ว คือ น้ำไล่ฟองอากาศในดินหมดแล้ว ฉะนั้นจึงมีเหลือแต่ดินไม่มีอากาศ รากว่านหางจระเข้จึงมีแต่ดินเกาะแต่ไม่มีอากาศหายใจ การรดน้ำเช่นนี้จึงทำให้ว่านไม่งอกงามและเฉาได้ |
ว่านนี้ไม่ชอบแดดเกินไป แต่ไม่ถึงกับชอบในที่ร่ม คือถูกแดดวันหนึ่งไม่เกิน 5 ชั่วโมง และไม่ควรน้อยกว่า 3 ชั่วโมง |
ข้อควรระวัง อย่างตั้งกระถางว่านชิดชิดกำแพงปูนซีเมนต์ เพราะเมื่อปูนถูกแสงแดดจะคายความร้อนออกมา ว่านจะเหมือนถูกอบจะเหี่ยวเฉา อย่าตั้งไว้ใต้ชายคาเพราะว่านไม่ต้องการน้ำค้าง |
การสังเคราะห์ด้วยแสง
การสังเคราะห์ด้วยแสง (อังกฤษ: photosynthesis) เป็นกระบวนการทางชีวเคมีที่สำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้พืช,สาหร่าย และแบคทีเรียบางชนิดได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์มาปรุงอาหารได้ จะว่าไปแล้ว สิ่งมีชีวิตแทบทั้งหมดล้วนอาศัยพลังงานที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อความเติบโตของตน ทั้งทางตรงและทางอ้อม นับเป็นความสำคัญยิ่งยวดสำหรับสิ่งมีชีวิตในโลก นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการผลิตออกซิเจน ซึ่งมีเป็นองค์ประกอบในสัดส่วนที่มากของบรรยากาศโลกด้วย สิ่งมีชีวิตที่สร้างพลังงานจากกระบวนการสังเคราะห์แสงได้ เรียกว่า "phototrophs"
ปัจจัย ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ด้วยแสง
ความเข้มของแสง
ถ้ามีความเข้มของแสงมาก อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังกราฟ อุณหภูมิกับความเข้มของแสง มีผลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงร่วมกัน คือ ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่ความเข้มของแสงน้อยจะไม่ทำให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงเพิ่มขึ้น อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงขีดหนึ่งแล้วอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะลดต่ำลงตามอุณหภูมิและความเข้มของแสงที่เพิ่มขึ้นและยังขึ้นอยู่กับชนิดของพืชอีกด้วยเช่น พืช c3และ พืช c4
โดยปกติ ถ้าไม่คิดถึงปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชส่วนใหญ่จะเพิ่มมากขึ้น เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นในช่วง 0-35 °C หรือ 0-40 °C ถ้าอุณหภูมิสูงกว่านี้ อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะลดลง ทั้งนี้เนื่องจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเป็นปฏิกิริยาที่มีเอนไซม์ควบคุม และการทำงานของเอนไซม์ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ดังนั้น เรื่องของอุณหภูมิจึงมีความสัมพันธ์กับอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง เรียกปฏิกิริยาเคมีที่มีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิว่า ปฏิกิริยาเทอร์โมเคมิคัล
ถ้าความเข้มของแสงน้อยมาก จนทำให้การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชเกิดขึ้นน้อยกว่ากระบวนการหายใจ น้ำตาลถูกใช้หมดไป พืชจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชไม่ได้ ขึ้นอยู่กับความเข้มของแสงเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับความยาวคลื่น (คุณภาพ) ของแสง และช่วงเวลาที่ได้รับ เช่น ถ้าพืชได้รับแสงนานจะมีกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงดีขึ้น แต่ถ้าพืชได้แสงที่มีความเข้มมากๆ ในเวลานานเกินไป จะทำให้กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงชะงัก หรือหยุดลงได้ทั้งนี้เพราะคลอโรฟิลล์ถูกกระตุ้นมากเกินไป ออกซิเจนที่เกิดขึ้นแทนที่จะออกสู่บรรยากาศภายนอก พืชกลับนำไปออกซิไดส์ส่วนประกอบและสารอาหารต่างๆภายในเซลล์ รวมทั้งคลอฟิลล์ทำให้สีของคลอโรฟิลล์จางลง ประสิทธิภาพของคลอโรฟิลล์และเอนไซม์เสื่อมลง ทำให้การสร้างน้ำตาลลดลง
ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์
ถ้าความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เพิ่มขึ้นจากระดับปกติที่มีในอากาศ อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย จนถึงระดับหนึ่งถึงแม้ว่าความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์จะสูงขึ้น แต่อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงไม่ได้สูงขึ้นตามไปด้วย และถ้าหากว่าพืชได้รับคาร์บอนไดออกไซด์ ที่มีความเข้มข้นสูงกว่าระดับน้ำแล้วเป็นเวลานานๆ จะมีผลทำให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงลดต่ำลงได้ ดังกราฟ
คาร์บอนไดออกไซด์จะมีผลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับปัจจัยอย่างอื่นด้วย เช่น ความเข้มข้นสูงขึ้น แต่ความเข้มของแสงน้อย และอุณหภูมิของอากาศก็ต่ำ กรณีเช่นนี้ อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะลดต่ำลงตามไปด้วย ในทางตรงกันข้าม ถ้าคาร์บอนไดออกไซด์มีความเข้มข้นสูงขึ้น ความเข้มของแสงและอุณหภูมิของอากาศก็เพิ่มขึ้น กรณีเช่นนี้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย
นักชีววิทยาจึงมักเลี้ยงพืชบางชนิดไว้ในเรือนกระจกที่แสงผ่านเข้าได้มากๆ แล้วให้ คาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้นเป็นพิเศษ ซึ่งมีผลทำให้พืชมีกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเพิ่มมากขึ้น อาหารเกิดมากขึ้น จึงเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ออกดอกออกผลเร็ว และออกดอกออกผลนอกฤดูกาลก็ได้
อุณหภูมิ เป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช โดยทั่วไปอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น 10-35 °C ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นกว่านี้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะลดต่ำลงตามอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงที่อุณหภูมิสูงๆ ยังขึ้นอยู่กับเวลาอีกปัจจัยหนึ่งด้วย กล่าวคือ ถ้าอุณหภูมิสูงคงที่ เช่น ที่ 40 °C อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะลดลงตามระยะเวลาที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะเอนไซม์ทำงานได้ดีในช่วงอุณหภูมิที่พอเหมาะ ถ้าสูงเกิน 40 °C เอนไซม์จะเสื่อมสภาพทำให้การทำงานของเอนไซม์ชะงักลง ดังนั้นอุณหภูมิจึงมีความสัมพันธ์ต่อการสังเคราะห์แสงด้วย เรียกปฏิกิริยาเคมีที่มีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิว่า ปฏิกิริยาเทอร์มอเคมิคอล (Thermochemical reaction)
ตามปกติในอากาศจะมีปริมาณของออกซิเจน (O2) ประมาณ 25% ซึ่งมักคงที่อยู่แล้ว จึงไม่ค่อยมีผลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง แต่ถ้าปริมาณออกซิเจนลดลงจะมีผลทำให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงสูงขึ้น แต่ถ้ามีมากเกินไปจะทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ของสารต่างๆ ภายในเซลล์ โดยเป็นผลจากพลังงานแสง (Photorespiration) รุนแรงขึ้น การสังเคราะห์ด้วยแสงจึงลดลง
น้ำ ถือเป็นวัตถุดิบที่จำเป็นต่อกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (แต่ต้องการประมาณ 1% เท่านั้น จึงไม่สำคัญมากนักเพราะพืชมีน้ำอยู่ภายในเซลล์อย่างเพียงพอ) อิทธิพลของน้ำมีผลต่อกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงทางอ้อม คือ ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์เกลือแร่
ธาตุแมกนีเซียม (Mg), และไนโตรเจน (N) ของเกลือในดิน มีความสำคัญต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง เพราะธาตุดังกล่าวเป็นองค์ประกอบอยู่ในโมเลกุลของคลอโรฟิลล์ ดังนั้น ถ้าในดินขาดธาตุทั้งสอง พืชก็จะขาดคลอโรฟิลล์ ทำให้การสังเคราะห์ด้วยแสงลดลงด้วย นอกจากนี้ยังพบว่าเหล็ก (Fe) จำเป็นต่อการสร้างคลอโรฟิลล์ และสารไซโตโครม (ตัวรับและถ่ายทอดอิเล็กตรอน) ถ้าไม่มีธาตุเหล็กในดินเพียงพอ การสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ก็จะเกิดขึ้นไม่ได้และ ฟอสฟอรัสอีกด้วย
ใบจะต้องไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป ทั้งนี้เพราะในใบอ่อนคลอโรฟิลล์ยังเจริญไม่เต็มที่ ส่วนใบที่แก่มากๆ คลอโรฟิลล์จะสลายตัวไปเป็นจำนวนมาก
สมการเคมีในการสังเคราะห์ด้วยแสงเป็นดังนี้
สรุปสมการเคมีในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชสีเขียวเป็นดังนี้ :
nCO2 + 2nH2O + พลังงานแสง → (CH2O)n + nO2 + nH2O
เฮกโซส น้ำตาล และ แป้ง เป็นผลผลิตขั้นต้นดังสมการดังต่อไปนี้:
6CO2 + 12H2O + พลังงานแสง → C6H12O6 + 6O2 + 6H2O
บรรณานุกรม
ประสงค์ หลำสะอาด. 2539. ชีววิทยา ม.4 เล่ม 1 ว441
ดร.สมบุญ เตชะภิญญาวัฒน์. 2538. สรีรวิทยาของพืช ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กทม. 10900
http://th.wikipedia.org
www.google.com
ผลงานอื่นๆ ของ ThALly [ตาลลี่] ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ ThALly [ตาลลี่]
ความคิดเห็น