ความจริง (ที่อาจเจ็บปวด) ของการสอบเตรียมทหารเหล่าตำรวจ ปี ๒๕๕๓ - ความจริง (ที่อาจเจ็บปวด) ของการสอบเตรียมทหารเหล่าตำรวจ ปี ๒๕๕๓ นิยาย ความจริง (ที่อาจเจ็บปวด) ของการสอบเตรียมทหารเหล่าตำรวจ ปี ๒๕๕๓ : Dek-D.com - Writer

    ความจริง (ที่อาจเจ็บปวด) ของการสอบเตรียมทหารเหล่าตำรวจ ปี ๒๕๕๓

    การสมัครสอบเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๓ เปิดให้มีการรับสมัครทาง Internet เท่านั้น (http://www.rpca-admission.com) อยากมา share ข้อมูลกับน้องๆ ครับ

    ผู้เข้าชมรวม

    2,112

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    3

    ผู้เข้าชมรวม


    2.11K

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    1
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  19 ก.พ. 53 / 01:43 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
      อาจเป็นเรื่องใหม่ สำหรับการสมัครสอบเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๓ นี้ เพราะ รร. นรต. เปิดให้มีการรับสมัครทาง Internet เท่านั้น (http://www.rpca-admission.com) น้องๆ ที่สมัครสอบแล้ว และยังไม่สมัคร (แต่เตรียมจะสมัคร) อาจได้ศึกษาข้อมูล และพบข้อน่าสังเกตหลายประการ พี่เองก็มีข้อสังเกตที่น่าสนใจเช่นกัน จึงอยากมา share ข้อมูลกับน้องๆ ทุกคน ดังนี้ครับ

              ๑. น้องๆ สังเกตนะครับว่า การรับสมัคร จะเปิดในช่วงเวลาที่จำกัด คือตั้งแต่วันที่ ๑ ถึงวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๓ ซึ่งนับเป็นเวลาประมาณ ๓ สัปดาห์เท่านั้น ไม่มีการสมัครสอบด้วยตนเองในเดือนมีนาคม ๒๕๕๓ เหมือนเหล่าอื่นๆ ดังนั้น คนที่สามารถเข้าถึงสื่อทาง Internet เท่านั้น จึงจะสามารถสมัครสอบได้

              ณ วันนี้ เหลือเวลาอีกเพียง ๘ วันก็จะถึงกำหนดปิดการรับสมัคร แต่จะเห็นว่ามีผู้สมัครและจ่ายเงินแล้วเพียง ๗,๘๐๐ กว่าคนเท่านั้น ตัวพี่เองมีความคิดเห็นส่วนตัวว่า ประเทศไทยนั้นกว้างนัก ยังมีเด็กๆ ในต่างจังหวัดอีกหลายหมื่นหลายแสนคนที่ยังไม่สามารถเข้าถึงสื่อทาง Internet ได้ คนเก่งๆ เหล่านี้ที่บ้านอาจเพิ่งมีไฟฟ้าใช้ อาจยังต้องใช้คานหาบถังหิ้วน้ำบาดาลจากบ่อน้ำเก่าๆ เพื่อนำไปซักผ้าที่บ้าน อาจต้องห่อข้าวไปกินที่โรงเรียนกับเงินกินขนมคนละ ๔ - ๕ บาท อาจต้องตื่นตีสี่ครึ่งเพื่อมาเช็ดบาตรเพื่อเดินตามหลวงลุงไปบิณฑบาตตอนเช้า ฯลฯ เด็กๆ คนเก่งหัวใจแกร่งเหล่านี้อาจเตรียมตัวอ่านหนังสือทุกวันมาตลอดทั้งปี เพราะอยากเป็นนายร้อยตำรวจ และคาดหวังว่า แม้ตนเองจะไม่มี Internet ใช้ แต่ก็จะมาสมัครสอบด้วยตนเอง เหมือนนักเรียนรุ่นพี่ๆ ในโรงเรียนของตนที่มาเล่าให้ฟังเมื่อครั้งเปิดเทอมปีที่แล้ว

              การพลาดโอกาสสมัครสอบ เพราะความเป็นคนเหมือนกันแต่มีโอกาสไม่เทียมกันเด็กเก่งๆ คนดีๆ นับหมื่นนับแสนคนเหล่านี้ เป็นความผิดของเขาหรือครับ? ผมขอตอบให้ว่า ไม่ใช่หรอกครับ เป็นเพราะโอกาสที่ไม่เท่าเทียมกันต่างหาก ทั้งนี้ ผมเชื่อว่าความไม่สมบูรณ์แบบของการประชาสัมพันธ์และรูปแบบการรับสมัครสอบ จะถูกนำมาพิจารณาอย่างถี่ถ้วน และจะถูกนำมาแก้ไขเพื่อให้เด็กๆ ทุกคนในสังคมไทยมีความเท่าเทียมกันมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ครับ

              หรือหากจะมองอีกมุมหนึ่ง เด็กเก่งๆ จากต่างจังหวัดเหล่านี้จะได้ไปเป็นนายร้อยเหล่าทหาร ไม่มาเป็นนายร้อยตำรวจ คิดแบบนี้ก็ดีไปอีกแบบครับ

      

              ๒. หากแม้นถึงเวลาปิดรับสมัครแล้ว มีผู้สมัครสอบที่จ่ายเงินเรียบร้อยแล้วไม่ถึง ๑๐, ๐๐๐ คน ก็มิได้หมายความว่า จะเป็นการแข่งขันกันของคนจำนวน ๑๐, ๐๐๐ คนนะครับ ในทุกๆ ปี ผู้สมัครสอบเข้าเป็น นตท. แต่ละเหล่าจะมีประมาณ ๓๐, ๐๐๐ คน แต่จะเป็นการสอบแข่งขันกันของคนไม่เกิน ๑, ๕๐๐ คนต่อเหล่าเท่านั้น อีก ๒๘, ๕๐๐ คนนั้น เขาเรียกว่า มาสมัครสอบตามสิทธิ์ครับ กล่าวคือ

      • เป็นเด็กชาย จบ ม. ๓ ก็มาสมัครสอบได้
      • ไม่เป็นตุ๊ด แต๋ว เกย์ กระเทย ก็มาสมัครสอบได้
      • สายตาปกติ ไม่ใส่แว่นตา ก็มาสมัครสอบได้
      • ไม่เป็นโรคร้ายแรง ไม่เป็นเอดส์ ก็มาสมัครสอบได้
      • เหตุผลอื่นๆ ฯลฯ ที่ไม่ขัดตามระเบียบการรับสมัคร ก็มาสมัครสอบได้

              แต่ ทั้ง ๓๐, ๐๐๐ คน เคยถามตัวเองไหมว่า น้องๆ ได้เตรียมตัวมาเต็มที่หรือยัง? น้องๆ ยังไม่ขยันทำการบ้าน ไม่อ่านหนังสือ ยังเล่นเกมส์ ดูทีวี Chat Facebook, hi5, เล่น BB, ยังใช้เวลาในแต่ละวันให้เปล่าประโยชน์อยู่หรือไม่ น้องๆ เคยใช้ความพยายามเต็มที่เพื่อฟิตซ้อมตัวเอง อ่านหนังสือวันละ ๕ ๖ ชั่วโมง นำคำถามที่ไม่เข้าใจไปถามเพื่อนเก่งๆ ถามครู ออกกำลังกาย รักษาสุขภาพให้พร้อมสำหรับการสอบแล้วหรือยัง? ถ้าวันไหนน้องๆ ขี้เกียจ ขอให้จำไว้ว่า ยังมีคนอีกเป็นร้อยเป็นพันที่กำลังขยันระดับเทพ เพื่อเอาชนะน้องๆ

              แล้ว น้องๆ ขยันระดับเทพเหล่านี้ มีแค่ประมาณ ๑,๕๐๐ คนต่อเหล่าเท่านั้นแหละครับ ที่เหลืออีก ๒๘,๕๐๐ คนต่อเหล่า (ที่มาสมัครตามสิทธิ์) ก็ถือว่า เสียค่าสมัครสอบเพื่อบำรุงโรงเรียนเหล่าก็แล้วกันนะครับ คิดง่ายๆ สมัครสอบคนละประมาณ ๒๐๐ บาท หักค่าใช้จ่ายแล้วโรงเรียนเหล่า (แต่ละเหล่า) จะได้รับเงินจากเด็กๆ ประมาณคนละ ๑๐๐ บาท ถ้า ๓๐, ๐๐๐ คน โรงเรียนเหล่าก็รับไปเหล่าละประมาณ ๓ ล้านบาท สี่เหล่าก็ประมาณ ๑๒ ล้านบาท !!!

              ดังนั้น มันจึงเป็นการสู้กันระหว่างเด็กๆ ระดับเทพ ประมาณ ๑,๕๐๐ คนต่อเหล่าเท่านั้นแหละครับ น้องๆ ก็ลองถามตัวเองว่า เราสมัครสอบเพราะเราคือระดับเทพ หรือสมัครสอบเพราะสอบตามสิทธิ์ ครับ

              ๓. หลายคนสอบถามว่า ทำไมไม่เพิ่มคะแนนพิเศษที่คุณพ่อเป็นทหาร ตำรวจในรอบแรก และทำไมเราไม่ต้องส่งเอกสารมากมายในการสมัครสอบรอบแรกครับ

              ในความเป็นจริงแล้ว โรงเรียนนายร้อยตำรวจ (และโรงเรียนเหล่าอื่นๆ) ไม่มีความจำเป็นต้องเก็บข้อมูลของน้องๆ ทุกคนที่มาสมัครไว้ หาก ๙๕ % ของข้อมูลเหล่านั้น จะต้องกลายมาเป็นขยะกระดาษกองมหาศาล ดังนั้น จะเป็นการดีกว่าไหมถ้าให้ผู้สมัครกรอกข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง และเพียงพอที่จะทราบคร่าวๆ ว่าเด็กๆ แต่ละคนเป็นใคร จาก ๓๐, ๐๐๐ คนนี้ จะสอบผ่านรอบแรกเพียง ๕๐๐ ๖๐๐ คนต่อเหล่าเท่านั้น ดังนั้น โรงเรียนเหล่าก็เรียกข้อมูลจากเด็กเก่งๆ ๖๐๐ คนเหล่านี้ ดีกว่า ใช่ไหมครับ พอถึงการตัดสินรอบสุดท้าย ก็เก็บไว้เพียง ๑๘๐ ชุด และทิ้งเพียง ๔๒๐ ชุด นี่น่าจะเป็นการบริหารจัดการข้อมูลที่ดีขึ้นของระบบการรับสมัคร ครับ

              และ พี่คิดว่าเป็นการยุติธรรมดีครับ ที่คะแนนพิเศษกรณีบุตรข้าราชการทหาร ตำรวจ จะถูกนำมาใช้ในการสอบรอบสอง เพราะสิทธิพิเศษควรเป็นของคนที่มีความสามารถจริงๆ ไม่ใช่ลูกหลานนายพลเดินมาหัวโล่งๆ ความรู้ = 0 แล้วขอใช้สิทธิ์ตั้งแต่รอบแรก อย่างนี้คงไม่ยุติธรรมเท่าไหร่หรอกครับ ในความเป็นจริงแล้ว สิทธิพิเศษนี้ถือว่ามีค่าน้อยมากหากเทียบกับคะแนนจากความสามารถจริงๆ ไม่อย่างนั้น นักเรียนเตรียมทหารในแต่ละรุ่นหน้าตาไม่เป็น OTOP (One Tambon One Product) อย่างที่เห็นในปัจจุบันนี้หรอกครับ หล่อแบบเด็กบ้านนอกทั้งนั้น (รวมทั้งพี่ด้วย) ^^

              ๔. หลายคนสงสัย แต่ไม่กล้าถามว่า สอบเตรียมทหารมีเส้นจริงหรือไม่? พี่ขอตอบว่า จริงครับ แต่มีน้อยมาก และการจะใช้เส้นได้นั้น เด็กคนนั้นต้องสอบผ่านรอบแรกโดยมีคะแนนสอบที่ดีเป็นที่ตั้ง หากท่านนายพลคนใดพยายามที่จะดันลูกชาย (หัวโล่งๆ) เข้าสู่ระบบของการผลิตนักเรียนเตรียมทหาร น้องๆ คิดว่าเด็กเส้นคนนี้จะอยู่ได้หรือครับ?? โรงเรียนเหล่าต้องการเด็กฉลาดที่มีความสามารถทางด้านพละศึกษา ความปกติด้านร่างกาย และไหวพริบจากการสอบสัมภาษณ์ เพราะพอเข้าสู้ระบบการสร้างนักเรียนเตรียมทหารแล้ว นักเรียนเตรียมทหารใหม่ทุกคนจะโง่ลง จากการโดนรับประทาน (เรียกสั้นๆ ว่าโดนแดกครับ) แล้วร่างกายที่อ่อนล้า ก็จะทำให้ประสิทธิ์ภาพการศึกษาลดลง จากคนเก่งมากๆ จากทั่วประเทศ จะกลายเป็นคนเก่งธรรมดา พอสอบกันทีก็เกือบผ่านบ้าง สอบตกบ้าง คละกันไป ดังนั้นลูกท่านนายพลที่ขนาดแก้สมการ Quadratic ยังไม่เป็น แต่ถูกระบอบอำมาตยาธิปไตยยัดเข้าไป ก็จะสอบตก ติด F เมื่อแก้ F ไม่ผ่านก็ต้องออกจากการเป็นนักเรียนเตรียมทหารไปในที่สุด นี่คือเรื่องจรงที่เกิดขึ้นเสมอๆ ในโรงเรียนเตรียมทหารครับ น้องไม่คิดบ้างหรือครับว่าถ้าน้องไม่เจ๋งจริง ไม่ได้สอบด้วยความสามารถจริงๆ พอเข้าไปเรียนก็รับความรู้อะไรไม่ได้เลย (ขออภัยสำหรับคำพูดไม่สุภาพครับ) เพื่อนถามว่า มึงสอบเข้ามาได้ไงวะ น้องก็ตอบไม่ได้ พอเพื่อนรู้ก็อาจมีการตั้งกรรมการสอบสวนและถูกให้ออก เพราะมันเป็นการไม่ยุติธรรมสำหรับคนเก่งที่ควรสอบได้แต่ถูกเบียดบัง ไม่ใช่ว่าทุกคนที่เข้าศึกษาจะสำเร็จการศึกษาหมดนะครับ การลาออก ถูกให้ออก ถูกไล่ออก สอบตก และเสียชีวิต คือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงครับ

              ดังนั้น การช่วยเหลือบุตรหลานด้วยการใช้เส้น จึงเป็นลักษณะของ พ่อแม่ รังแกฉัน นอกจากจะเป็นการเอาเปรียบเยาวชนของชาติที่ควรสอบได้ (แต่ไม่ได้ เพราะลูกเราไปเอาเปรียบเขา) แล้ว ยังเป็นการทำร้ายลูกเราทางอ้อม ด้วยครับ

              ทั้งนี้ ความเห็นทั้งหมดข้างต้น ๙๙% เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของพี่ครับ แต่เป็นความคิดเห็นที่ Common ที่คนทั่วไปและพี่ๆ น้องๆ นักเรียนเหล่าก็คิดเช่นนี้ครับ น้องๆ ที่อ่านแล้วมีความคิดเห็นเป็นเช่นไร ก็ส่ง e-mail หรือ post the comment ใน webboard ก็ได้ครับ

              อย่าลืมนะครับ ไม่ควรสมัครสอบในวันที่ ๒๕ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ เพราะระบบอาจจะล่ม (Mass Data transferred เนื่องจากปริมาณมหาศาล พุ่งเข้าสู่ศูนย์ข้อมูลเพียงจุดเดียวในเวลาเดียวกัน) แต่น้องควรจะรีบดำเนินการสมัครก่อนวันดังกล่าวตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันปัญหาี่ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นได้

              การเตรียมตัวทุกวัน ไม่ใช่สู้กับใครแต่สู้เพื่อเอาชนะตัวเอง พี่ขอให้น้องๆ ทุกคนที่มีความตั้งใจ สามารถสอบผ่านเข้าเป็นนักเรียนใหม่ได้ ในปีการศึกษานี้ครับ

    ด้วยความเคารพ
    Webmaster: www.thaicadet.org

    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
       

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×