จิบทุกวันฟันไม่เหลือ - จิบทุกวันฟันไม่เหลือ นิยาย จิบทุกวันฟันไม่เหลือ : Dek-D.com - Writer

    จิบทุกวันฟันไม่เหลือ

    สาระน่ารู้

    ผู้เข้าชมรวม

    332

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    332

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  29 ธ.ค. 52 / 18:08 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
                 ความรู้สึกเสียดายฟันและ เห็นความสำคัญของฟันอย่างมากๆ มักเกิดเมื่อเราต้องสูญเสียมันไป และมีผลทำให้เราเคี้ยวอาหารไม่ถนัด ลำบาก หรือจะยอมไม่ได้เลยหากปล่อยฟันหน้าให้หลอข้ามวัน ทุกคนไม่อยากสูญเสียฟัน โดยพื้นฐานการทำความสะอาดฟันให้คราบอาหารหมดไม่ติดฟันมีส่วนทำให้ฟันมีอายุ นานขึ้น แต่ฟันดีไม่ดีนั้นไม่ได้ขึ้นกับการทำความสะอาดฟันเพียงอย่างเดียว ปัจจัยสำคัญ
    อีกอย่างที่เรามักมองข้ามไป คือ อาหาร


        


    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
              อาหาร มี 2 ลักษณะที่เกี่ยวกับฟัน คือ อาหารที่ทำให้ฟันแข็งแรง ซึ่งเราต้องได้รับให้ได้สัดส่วนพอเพียง เช่น นม เนย ไข่ ผัก แต่อีกพวก
      ที่ เราต้องหลีกเลี่ยงและมีผลเสียต่อฟัน เช่น พวกที่มีรสหวาน แข็ง พวกที่เป็นกรด มักเป็นส่วนเกินที่แม้เราขาดร่างกายก็ยังคงอยู่ได้ แต่เรามักจะกินเพราะติดในรสชาติ รสหวานอร่อยที่แฝงมาในรูปน้ำหวาน น้ำอัดลม ขนมต่าง ๆ

           ในปัจจุบันคนไทยเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมดื่มน้ำ อัดลมแทนน้ำเปล่ากันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในเด็กวัยรุ่น แนวโน้มของโรคในช่องปากที่เกิดขึ้นก็เริ่มมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลง นี้ น้ำอัดลมมีผลเสีย 2 เรื่องใหญ่ๆ คือ ทำให้ฟันผุง่ายขึ้น และทำให้ฟันกร่อนง่ายขึ้น

           น้ำ อัดลม โดยตัวของมันเองมีน้ำตาลที่เข้มข้น รสหวานจัด แต่เพราะมีคาร์บอเนตรสซาบซ่าบดบังทำให้เรามักมองข้ามอันตรายเงียบๆ ตรงนี้ไป ซึ่งแบคทีเรียจะชอบมาก ถ้าที่ไหนมีน้ำตาล มันจะเปลี่ยนน้ำตาลเป็นกรดทันที เมื่อฟันสัมผัสกับกรดก็ทำลายฟัน เกิดฟันผุง่ายเช่นกัน

           มีข้อมูลการสำรวจของ National Health and Nutrition Examination ของประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า ยิ่งดื่มน้ำอัดลมมาก โอกาสฟันผุมากขึ้น คนที่ดื่มน้ำอัดลม 2-3 ครั้งต่อวันมีโอกาสฟันผุสูงถึง 17-26% มากกว่าคนไม่ดื่ม ในอังกฤษก็เช่นกัน เด็ก
      นักเรียนที่ดื่มน้ำอัดลม 1 กระป๋อง / สัปดาห์ มีฟันผุมากกว่า 3% ถ้าเปรียบเทียบกับคนไม่ดื่ม

           ในเรื่องฟันสึกกร่อน ก็เพราะว่าน้ำอัดลมมีฤทธิ์เป็นกรดจากฟอสฟอริก กรด
      คาร์บอนิค กรดซิตริก เมื่อมีการสัมผัสกับผิวฟันมันจะทำให้ฟันสึกกร่อนไปเรื่อย
      จน เป็นร่องลึก ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้เกิดอาการเสียวฟันก่อความรำคาญให้กับหลายคนชนิด เห็นน้ำเย็น น้ำแข็ง ไอศกรีม ต่างก็รู้สึกขยาดไปตามๆ กัน

           การ ต่อสู้กับฟันผุ เหงือกอักเสบ หากเราจะตามแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุอย่างเดียวก็คงต้องเสียค่าใช้จ่ายมหาศาล และยากที่จะให้การรักษาได้ทันให้ถ้วนทั่วทุกคน แล้วในประเทศที่ร่ำรวยและมีความเจริญมากในระบบสุขภาพ เขารณรงค์เรื่องนี้กันอย่างไร?

           หลังจากที่พบว่าตลอดระยะ เวลา 50 ปี มีสถิติที่น่าตกใจว่าคนอเมริกันดื่มน้ำอัดลมเพิ่มขึ้นถึง 500% ในระหว่างปี ค.ศ. 1989-1995 คนอเมริกันดื่มน้ำอัดลมจากวันละ 195 มล. เพิ่มเป็น 275 มล. แต่น่าสังเกตว่ากลุ่มวัยรุ่นดื่มเพิ่มจาก 345 มล. เป็น 570 มล. ถ้าคิดรวมทั้งปี คนอเมริกันดื่มน้ำอัดลม 53แกลลอนต่อคนต่อปี ไม่แปลกเลยที่ตลาดน้ำอัดลมของสหรัฐอเมริกามียอดขายถึง 60,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี

           การดื่มน้ำอัดลมในหมู่วัยรุ่นอเมริกันที่ เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วจึงเป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นปัญหาระดับ ชาติในเรื่องของการเป็นอันตรายต่อสุขภาพเช่นเดียวกับเหล้า บุหรี่ เพราะน้ำอัดลมมีความหวานทำให้เกิดฟันผุ น้ำอัดลมมีฤทธิ์เป็นกรดทำให้ฟันสึกกร่อน น้ำอัดลมมีกรดฟอสฟอริกทำให้การดูดซึมของแคลเซียมได้น้อยลงมีผลทำให้เป็นโรค กระดูกพรุน นอกจากนี้การที่มีน้ำตาลมากนั้นยังส่งผลกระทบต่อผู้ดื่มโดยไม่รู้ตัว คือ เป็นโรคอ้วน และเป็นเหตุทำให้เกิดเบาหวานชนิดที่ 2 ได้

           เมื่อ เดือนมีนาคม ค.ศ.2006 สมาคมเครื่องดื่มของสหรัฐอเมริกาจับมือกับยักษ์ใหญ่แห่งวงการเครื่องดื่ม ได้แก่ Cadbury Schweppes, Coca Cola, Pepsi Co. ตกลงกันว่าจะหยุดขายเครื่องดื่มในโรงเรียนทั้งสหรัฐอเมริกาภายในปี ค.ศ.2009 นั่นหมายความว่าหลังปี 2009
      จะไปหา Pepsi, Coke ในโรงเรียนอเมริกาไม่เจอ

           ประกาศ อันนี้เป็นที่ขานรับจากสมาคมโรคหัวใจของสหรัฐอเมริกาที่พยายามรณรงค์ให้เด็ก วัยรุ่นมีสุขภาพดี แข็งแรง โดยลดอาหารที่ก่อให้เกิดแคลอรีเกินความต้องการของร่างกาย

           Dr.Bob Brandford นายกสมาคมทันตแพทย์สหรัฐอเมริกาออกมาสนับสนุนว่า “นี่เป็นทิศทางที่ถูกต้องที่จะทำให้เด็กนักเรียนมีสุขภาพที่ดีขึ้น” เพราะ “ฟันดี ห่างจากโรคอ้วน โรคเบาหวาน”

           ที่รัฐ Minnesota เขาก็มีการรณรงค์เกี่ยวกับเรื่องนี้และมีคำขวัญว่า “Sip all day get Decay” ก็พอเทียบเคียงภาษาไทยว่า
      “จิบทุกวัน ฟัน(ผุ)ไม่เหลือ”
      ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่โรงเรียนไทยไม่มีน้ำอัดลมขาย!!!

      ที่มา http://www.healthtoday.net/thailand/oralcare/oralcare_80.html

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×