โครงการ : ออกแบบหนังสือภาพถ่าย ชุด "น้ำของชีวิต" - นิยาย โครงการ : ออกแบบหนังสือภาพถ่าย ชุด "น้ำของชีวิต" : Dek-D.com - Writer
×

    โครงการ : ออกแบบหนังสือภาพถ่าย ชุด "น้ำของชีวิต"

    ผู้เข้าชมรวม

    403

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    3

    ผู้เข้าชมรวม


    403

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    จำนวนตอน :  0 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  7 ต.ค. 54 / 00:00 น.
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

     
    วิชา โครงการพิเศษด้านวิชาชีพ
     
    โครงการ : ออกแบบหนังสือภาพถ่าย ชุด "น้ำของชีวิต"
    ( Photo Book : Stream Story )
     
     
    โดย
     
    นางสาว ศรัญญา เฉวียงวาศ 1521020441146
     
     
     
     
     
     
    โครงการนี้เปนส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศิลปบัณฑิต
    คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ สาขาวิชา เทคโนโลยีนิเทศศิลป์
    าควิชา เทคโนโลยีนิเทศศิลป์ 4 ปี
    บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
    ปีการศึกษา 2554
    ลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
    บทที่ 1
    บทนำ
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
    โครงการ : ออกแบบหนังสือภาพถ่าย ชุด "น้ำของชีวิ"
    ( Photo Book : Stream Story )
     
    ความเป็นมาของโครงการ
     
    น้ำในฐานะที่เป็นเสมือนเส้นเลือดหลักของคนทุกคนในสังคมไทยเป็นองค์ประกอบหล่อเลี้ยงชีวิตทั้งยังมีอิทธิพลต่อรูปแบบการดำเนินชีวิต การสืบทอดขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นแหล่งกำเนิดของวัฒนธรรมในท้องถิ่นต่าง ๆ อีกด้วย นับตั่งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
    นิสัยคนไทยมาแต่โบร่ำโบราณ เป็นชนชาติรักความสนุกสนาน จึงเสาะหากลวิธีการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข และพึ่งพิงกับธรรมชาติได้อย่างแนบเนียน ในสมัยโบราณเราจะเห็นได้ว่า บ้านเรือนผู้คนจะหันหน้าเข้าหาแม่น้ำหรือคลอง ความเจริญสูงสุดอยู่ริมน้ำ ชีวิตริมน้ำคึกคัก และเต็มไปด้วยสีสัน วันเวลาผันผ่าน เมื่อไม่กี่สิบปีมานี้ในชนบทห่างไกล ถนนที่ตัดผ่านเข้าไปในพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ ทำให้ชีวิตริมคลองเริ่มหดหาย ผู้คนเริ่มใช้รถแทนเรือ ความสะดวกสบาย หรือที่หลาย ๆ คนเข้าใจว่ามันคือความเจริญเริ่มแทรกซึมเข้าไปตามชุมชน ทำให้วิถีชีวิตริมน้ำเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ร้านค้าริมคลองเริ่มซบเซา หลาย ๆ ที่ถึงกับต้องปิดกิจการและเปลี่ยนอาชีพกันไปบ้างก็มี ชีวิตในคลอง ในแม่น้ำเริ่มเลือนรางหายไป คนเลิกใส่ใจกับแม่น้ำ ไม่คิดจะดูแลเกื้อหนุนอีกต่อไป ทำให้ลำคลองเริ่มขาดชีวิต ในที่สุดก็ถึงภาวะที่เรียกได้ว่า ตาย น้ำเน่าดำ ส่งกลิ่นคลุ้ง ยามน้ำเหือดแห้งหาย ทุกวันนี้ ภาพชีวิตผู้คนที่ผูกพันกับสายน้ำ ยังพอมีให้เห็นตามชุมชนที่ยังใช้ชีวิตเอื้ออยู่กับริมน้ำ เป็นภาพที่ทำให้ผู้คนตื่นเต้นได้ เมื่อไปพบเห็น แต่ก็หาได้มีชีวิตอิงกับธรรมชาติ เหมือนเมื่อก่อนนี้ ตลาดน้ำยุคนี้ กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับชาวต่างชาติ ภาพชีวิตของตลาดน้ำจึงกลายเป็นของปรุงแต่งมากกว่าจะเป็นวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม
     ที่ผ่านมามีการรณรงค์ให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของน้ำผ่านสื่อต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะงานเขียน ทั้งงานเขียนในเชิงวิชาการและงานเขียนเชิงสร้างสรรค์ แต่งานเขียนเหล่านี้อยู่กระจัดกระจายกันและบางเรื่องเป็นเรื่องที่จัดกันอยู่คนละหมวดหมู่จึงเป็นที่มาของหนังสือภาพถ่าย ชุด แนวความคิดเรื่องเล่าจาก "น้ำ" ภาพถ่ายที่ถ่ายทอดเรื่องราวของน้ำและความผูกพันของคนในสังคมผ่านการเรียบเรียงข้อมูลมาจากการอ่านหนังสือ บทความต่าง ๆ  และบทสัมภาษณ์จากผู้เชี่ยวชาญ โดยที่นำมาร้อยเรียงเรื่องผ่านการเล่นคำให้ดูสละสลวยและน่าสนใจมาก โดยใช้ภาพถ่ายเป็นสื่อกลางหลักในการถ่ายทอดเรื่องราวของน้ำ
     
     
     
                   
    จุดประสงค์ของโครงการ
     
    - ศึกษาการถ่ายภาพเชิงสารคดีในสถานการณ์จริง โดยเน้นการทำภาพให้แข็งแรงและมี concept ชัดเจนโดยนำความผูกพันระหว่างคนกับน้ำมาเป็นแก่นเรื่อง
    ศึกษาและพัฒนากลวิธีในการถ่ายภาพแนวความคิด
    -    ศึกษาแนวทางการและขั้นตอนออกแบบหนังสือภาพถ่าย
    เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายตระหนักถึงความสำคัญของ น้ำ
     
     
    สมมุติฐานการศึกษา
                           
                                    กลุ่มเป้าหมายมีความตระหนักถึงความสำคัญของน้ำ และร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากร น้ำ
     
     
    ขอบเขตของการศึกษาและำนวนผลงานออกแบบ
     
    1.                                                        ออกแบบภาพถ่ายโดยการร่างแบบคร่าว ๆ ของภาพแต่ละภาพก่อนออกถ่ายในสถานที่จริง                                                                                     จำนวน 1 ชุด
    2.                                                        ออกแบบปกหน้าและปกหลัง                                                         จำนวน 1 ชิ้น
    3.                                                        ออกแบบปกใน บทนำ ำนำ                                                          จำนวน 1 ชิ้น
    4.                                                        ออกแบบกล่องใส่หนังสือภาพถ่าย                                                 จำนวน 1 ชิ้น
     
     
    แผนการดำเนินงาน
                   
    1.                                                      ศึกษา้นว้าและรวบรวมข้อมูล รวบรวมข้อมูลจากหนังสือ บทความ และงานเขียนที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการออกแบบหนังสือภาพถ่าย ชุด "น้ำของชีวิต"
    2.                                                      กำหนดแนววามิดและรูปแบบในการออกแบบทำเป็นแบบร่าง
    3.                                                      ส่งแบบร่างเพื่อพิจารณาแก้ไข  ปรับปรุง
    4.                                                      แก้ไขปรับปรุงแบบร่าง,  ส่งแบบร่างที่แก้ไขปรับปรุงแล้ว
    5.                                                      ปฏิบัติงานจริง, ส่งงานจริง 50%
    6.                                                      ปฏิบัติงานจริงให้เสร็จสมบูรณ์และจัดทำภาคเอกสารให้เสร็จสมบูรณ์
     
    ขั้นตอนการศึกษา
     
    สัปดาห์ที่                    เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
    สัปดาห์ที่                    ศึกษารวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการออกแบบการถ่ายทำ                                   และร่างโครงการ
    สัปดาห์ที่                    ออกแบบภาพถ่ายและร่างภาพถ่าย วางแผนเพื่อปฏิบัติงานจริง, ส่ง แบบร่างพร้อมเอกสาร
    สัปดาห์ที่                    แก้ไขปรับปรุงในขั้นสุดท้าย พร้อมปฏิบัติงานจริง
    สัปดาห์ที่                    ส่งงานจริง 50 %
    สัปดาห์ที่                    ปฏิบัติงานจริง จนเสร็จสมบูรณ์ และพร้อมส่งภาคเอกสารฉบับร่าง 
                  สัปดาห์ที่                    รวบรวมข้อมูลจัดทำส่งเป็นภาเอกสารฉบับสมบูรณ์ พร้อมที่จะส่งงานทั้งหมด
     
     
     
    ผลาดว่าได้รับะได้รับ
     
    - ทำให้กลุ่มเป้าหมาย­­ การได้อ่านหรือดูภาพจากหนังสือเล่มนี้
                  - ได้ทราบกลวิธีในการถ่ายภาพ แนวความคิด
    -   ได้ทราบถงรูปแบบและขั้นตอนออกแบบหนังสือภาพถ่าย
    -   สามารถสร้างอารมณ์ร่วมในการตระหนักถึงความสำคัญของน้ำให้กลุ่มเป้าหมาย
    -   ได้ฝึกถ่ายภาพเชิงสารดีในสถานการณ์จริงและฝึกฝนทักษะในการใช้อุปกรณ์การถ่ายภาพ
     
     
     
     
    นิยามศัพท์เฉพาะ
     
    การออกแบบ หมายถึง ลักษณะการออกแบบในด้านจุดเด่นหรือเอกลักษณ์ การจัดวางข้อมูล การจัดระบบข้อมูล การใช้สีของเว็บไซต์ ตัวอักษร ระบบนำทาง (Navigation) รูปภาพ
    หนังสือภาพถ่าย หมายถึง หนังสือที่รวบรวมภาพถ่าย เพื่อสะท้อนเรื่องราว อารมณ์ ภาพถ่ายเป็นสื่อกลางหลักในการถ่ายทอดเรื่องราว
     
                    ภาพถ่าย ( Photography ) หมายถึง พจนานุกรมศิลปะกับภาพถ่าย
            ได้ให้ความหมายกับภาพถ่ายว่า ภาพถ่ายเป็นกระบวนการวาดภาพ ซึ่งใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ลิตภาพด้วยอารมณ์ของศิลปิน โดยอาศัยแสง สี และเงา ผสมผสานกับวิธีการทางฟิสิกส์และเคมี ทำให้เกิดการถ่ายทอดทางอารมณ์ความรู้สึก และค่านิยมไปสู่ผู้ได้เห็นภาพ พจนานุกรมศิลปะกับภาพถ่ายได้กล่าวเน้นถึงการใช้วิธีการทางฟิสิกส์และเคมีเกี่ยวกับแสง และเงา มาผสมผสานกับอารมณ์ของศิลปินนักถ่ายภาพ เพื่อถ่ายทอด อารมณ์ ความรู้สึก แบะค่านิยมของศิลปินไปสู่ผู้ชม โดยใช้แสง สีและเงาของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แทนการวาดภาพของจิตรกรทั่วไป
    ธารน้ำใจ หมายถึง เรื่องที่เกี่ยวกับใจทั้งหมด ที่มาร่วมกันหลายคน ไม่ว่าจะกำลังใจ เปิดใจ แรงบันดาลใจ ได้ใจ ให้ใจ ใส่ใจ ซึ่งกิจกรรมที่จะทำให้ได้ธารน้ำใจได้ก็คือการจัดการความรัก ซึ่งจะต้องมีกิจกรรมที่ทำให้คนในหน่วยงานหรือในกลุ่มเกิดความรักความสามัคคีกัน เอื้อเฟื้อ ห่วงใย แบ่งปันกันเกิดลักษณะของLearn,Care,Share,Shine ที่ต้องทำด้วยกัน
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
    บทที่ 2
     
    เอกสารข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
    ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงการ
    และนี้คือเนื้อหาของ หนังสือ าพถ่ายชุด น้ำของชีวิ ซึ่งใช้าพถ่ายเป็นตัวกลางในการสื่อ มนุษย์เรานับแต่เกิดมาล้วนแล้วแต่ต้องข้องเกี่ยวและผูกพันกับ น้ำ อย่างที่เราเองบางทีกลับมองข้ามไป
                  เมื่อแรกเกิดเกิดอาหารแรกที่หล่อเลี้ยงเราก
    ือ น้ำนม เมื่อเกิดมายังสร้างภูมิคุ้มกันเองได้ไม่ดี เลยยังไม่ค่อยมีภูมิต้านทานเชื้อโรคมากเท่าผู้ใหญ่ แต่เรากลับสามารถรับภูมิต้านทานโรคได้จากนมแม่ ถ้าแม่เคยไม่สบายเป็นโรคใดมาก่อนละก็ ร่างกายของคุณแม่ก็จะสร้างภูมิป้องกันเชื้อโรคชนิดนั้นๆ ไว้ด้วย และภูมิคุ้มกันนั้นก็สามารถส่งผ่านให้ลูกรักได้ทางนมแม่
     และอีกหนึ่งน้ำที่มองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่กลับเป็นสิ่งดี ๆที่สร้างความรักให้บังเกิด ก็คือ น้ำใจ ไม่ว่าจะกำลังใจ เปิดใจ แรงบันดาลใจ ได้ใจ ให้ใจ ใส่ใจ ซึ่งจะทำให้ความรักความสามัคคีกันเอื้อเฟื้อห่วงใยแบ่งปันกันเกิดลักษณะของLearn,Care,Share,Shine ที่ต้องทำด้วยกัน
    หรือแม้กระทั่ง สายน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของสรรพสิ่งทั้งหลายแม้กระทั่ง วัฒนธรรม มนุษย์ กับสายน้ำ เป็นสิ่งที่ผูกพันกันอย่างยากที่จะแยกออกจากกันได้ ในอดีต นิสัยคนไทยมาแต่โบร่ำโบราณ เป็นชนชาติรักความสนุกสนาน จึงเสาะหากลวิธีการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข และพึ่งพิงกับธรรมชาติได้อย่างแนบเนียน              นับตั้งแต่ที่คนไทยเราเกิดมา จะมีน้ำเข้ามาเกี่ยวข้องตั้งแต่เกิด   อย่างแรกๆ คือ ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่จะต้องอาศัยน้ำเพื่อการทำนา ทำสวน ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ เพื่อดื่ม อาบ และกิจวัตรประจำวันอื่นๆ จึงจะเห็นว่า คนไทยเรามักตั้งบ้านเมืองในที่ราบที่ลุ่มหรือใกล้แหล่งน้ำ เพื่อจะได้ทำมาหากินได้สะดวก เมื่ออยู่กับน้ำ ได้รับประโยชน์จากน้ำ จะผูกพันและมีความเชื่อหลายอย่างเกี่ยวกับน้ำ เช่น ความเชื่อเรื่องนาคให้น้ำ ว่าในปีนั้นๆ นาคจะให้น้ำมากหรือน้ำน้อย   ปีใดมีน้ำที่ใช้ในการทำเกษตรไม่มากจนท่วมและไม่น้อยจนแห้งแล้ง ผลผลิตทางการเกษตรก็จะอุดมสมบูรณ์ มีข้าวกิน ไม่เดือดร้อน มีความเชื่อเกี่ยวกับพระแม่คงคาว่าเป็นผู้รักษาสายน้ำลำธารให้มีน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภค บริโภค จึงเป็นที่มาของประเพณีหลายอย่างของคนไทย เช่น การลอยกระทงในวันเพ็ญเดือนสิบสอง เพื่อขอขมาพระแม่คงคา จากการที่พวกเราได้ใช้น้ำอย่างมากมายหรือทำให้น้ำเกิดความสกปรก   ซึ่งจะว่าไปแล้วความเชื่อเรื่องการลอยกระทงนี้ยังไม่แน่ใจว่าเป็นการขอขมา หรือทำให้แม่น้ำสกปรกมากยิ่งขึ้น เพราะผ่านวันลอยกระทงทีไร เห็นแม่น้ำลำคลองเต็มไปด้วยขยะทุกปี คงจะต้องบอกว่า หากจะลอยกระทงในคราวต่อไป ขอให้พวกเราช่วยกันคิดว่าจะทำอย่างไรแม่น้ำจึงจะไม่สกปรกมากกว่านี้
     
    บรรพบุรุษของไทยเราเคยกล่าวไว้ว่า คนไทยจะเกี่ยวข้องกับน้ำ มีการอาบน้ำหรือชำระล้าง เมื่อถึงช่วงสำคัญ ๆ อยู่ 4 ช่วง คือ
                  1. จะมีการอาบน้ำเมื่อจะปลงผมไฟให้เด็กที่เกิดมาครบ 1 เดือน
                         2. จะมีการอาบน้ำเมื่อโกนจุกให้กับเด็กไทยสมัยก่อนที่จะมีการไว้จุก
                         3. อาบน้ำเมื่อมีพิธีแต่งงานหรือมงคลสมรส เพื่อเตรียมร่างกายให้สะอาดก่อนเข้าหอ
                         4. อาบน้ำให้แก่ผู้ที่เสียชีวิต เพื่อให้ร่างกายสะอาดก่อนไปสู่สุคติภพ
     
                  ความเชื่อที่ว่า ก่อนจะทำพิธีสำคัญๆ นั้น จะต้องชำระล้างร่างกายให้สะอาด และยังได้มีการปฏิบัติกันหลากหลาย เช่น การล้างเท้าก่อนเข้าโบสถ์ทำพิธีบวช   ล้างเท้าก่อนขึ้นศาลาวัดเพื่อร่วมทำบุญในวันสำคัญทางศาสนา และยังเป็นความเชื่อที่มีมาแต่อดีต เมื่อผู้จะทำพิธีบวงสรวงหรือบูชาเทพเจ้าตามความเชื่อ เราจะเห็นว่า หน้าปราสาทหรือศาสนสถานจะมีการสร้างสระ (ตระพัง) ไว้หน้าทางเข้า เพื่อให้กษัตริย์หรือพราหมณ์ได้สระหรือสรงสนานก่อนทำพิธี ซึ่งคนไทยเราได้รับเอาความเชื่อนี้มาใช้กับการเข้าวัดทำบุญนั่นเอง มีพิธีสำคัญในสมัยก่อนสำหรับข้าราชการที่จะต้องตั้งใจปฏิบัติหน้าที่เพื่อ ความสุขของประชาชนและไม่ให้มีการทุจริตคิดโกงบ้นโกงเมือง โดยจะมีพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา หรือการดื่มน้ำกระทำสัตย์สาบานต่อหน้าองค์พระมหากษัตริย์ โดยข้าราชการจะต้องถวายสัตย์สาบานแล้วดื่มน้ำที่ผ่านการปลุกเสก หรือในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ก่อนจะเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติขององค์พระมหากษัตริย์จะมีการอัญเชิญน้ำ มูรธาภิเษกที่มาจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทั่วประเทศเพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงสรง ซึ่งความเชื่อในเรื่องน้ำศักดิ์สิทธิ์นี้ ยังมีความเชื่อเรื่องน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ของพระเกจิอาจารย์ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ หากได้รดน้ำมนต์แล้ว เราเชื่อกันว่าจะทำให้โชคดี หมดทุกข์หมดโศก มีประเพณีสำคัญของไทยที่เราจำกันได้ว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องน้ำแน่นอนอีกหลายอย่าง เช่น ประเพณีสงกรานต์   จะมีการรดน้ำดำหัว ขอพรจากผู้สูงอายุ เพื่อให้เกิดสิริมงคลแก่ชีวิต คนต่างจังหวัดจะสนุกสนานกับประเพณีนี้มาก เพราะจะได้หยุดหลายวันกลับบ้านไปอยู่กับครอบครัว นอกจากนี้ ยังมีประเพณีลอยกระทงเพื่อขอขมาพระแม่คงคาดั่งที่กล่าวมาแล้ว รวมไปถึงประเพณีการแข่งเรือในหลายๆ ภูมิภาค ทำให้เกิดความสนุกสนาน สามัคคี และส่งเสริมกีฬาพื้นบ้านของไทยด้วยในอดีตที่ผ่านมา คนไทยของเราส่วนหนึ่งยังสร้างบ้านเรือนอาศัยอยู่ในน้ำ โดยการสร้างเรือนแพ คือ ใช้ไม้ไผ่ทำเป็นแพรองบ้านไว้ แล้วสร้างบ้านข้างบน เวลาน้ำขึ้นหรือลง เรือนแพก็จะลอยขึ้น-ลงตามกระแสน้ำไปด้วย คนไทยบางแห่งยังได้อาศัยเรือและน้ำเป็นแหล่งประกอบอาชีพขายก๋วยเตี๋ยว ขนม ผัก ผลไม้ บางแห่งยังปรากฏว่ามีการค้าขายริมน้ำ ตามตลาดน้ำหลายแห่ง เช่นที่ ตลาดน้ำตลิ่งชัน ตลาดน้ำคลองลัดมะยม ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง ตลาดน้ำราชบุรี ตลาดน้ำอโยธยา ตลาดน้ำอัมพวา เป็นต้น จะเห็นว่าแม้การคมนาคมทางบกจะก้าวไกลแค่ไหน แต่วิถีชีวิตของคนไทยเรายังมีน้ำเป็นส่วนสำคัญเสมอต่อวิถีชีวิตเสมอ นอกจากจะมีประเพณีเหล่านี้แล้ว ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีไหนฝนแล้งไม่ตกตามฤดูกาล ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับการแห่นางแมวขอฝนของชาวอีสาน   มีการละเล่นเพลงเรือในภาคกลาง หรือแม้แต่คำพูดสุภาษิต คำพังเพยของคนไทยยังมีน้ำมาเกี่ยวข้อง เช่น น้ำขึ้นให้รีบตัก น้ำนิ่งไหลลึก น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ น้ำกลิ้งบนใบบอน เป็นต้น ตรงนี้เองบอกให้รู้ว่า คนไทยเรากับสายน้ำนั้นผูกพันกันมานานจนแยกกันไม่ออก
    ไม่เพียงน้ำจะเป็นธาตุพื้นฐาน 1 ใน 4 ที่เป็นองค์ประกอบของสรรพสิ่งตามธรรมชาติเท่านั้น   น้ำยังเป็นสิ่งประสานให้ธาตุทั้งสี่ประกอบรวมกันอยู่ได้ ก่อให้เกิดประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงามสืบทอดมายังรุ่นเรา ซึ่งเราเองจะต้องช่วยกันรักษาให้อยู่ยาวนาน และที่สำคัญอย่าคิดว่าโลกเรามีน้ำอยู่เยอะมากถึง 2 ใน 3 ดื่มกินอย่างไรก็ไม่หมด เพราะจริงๆ แล้ว น้ำที่เราใช้ได้ เพื่อการดำรงชีพหรือทำการเกษตร มีเพียงน้อยนิดเท่านั้น
     
    แม้กระทั่งปรัชญาจีนยังมีคำสอนที่พูดถึงน้ำเยอะมาก น้ำถูกใช้เปรียบกับความอ่อนน้อม และมีเมตตา แต่บางครั้งสิ่งที่เบาบางอ่อนหวานที่สุด อาจแปรเปลี่ยนเป็นสิ่งที่รุนแรง บ้าคลั่งได้แค่ในชั่วพริบตา เพียงแค่มีองค์ประกอบอื่นๆ เข้ามาร่วมปั่น ร่วมปลุก ให้สิ่งนั้นลุกกร้าว ถาโถม อาจจะเพียงสายลมแผ่วเบาที่ทำให้ผิวน้ำกระเผื่อมไว้ หรือจะเป็นพายุรุนแรง อากาศที่ร้อนแบบไม่ปราณี หรือเม็ดฝนที่ร่วงใส่สายน้ำ ล้วนแล้วแต่ทำให้สายน้ำที่เคยชื่นเย็นอ่อนน้อม กลับกลายเป็นเกลียวคลื่นที่รุนแรง น่ากลัว
    ก็คงเหมือนกับชีวิตของเรา ...เราเป็นมนุษย์มีเลือดเนื้อ อารมณ์ และจิตใจ และเจ้าจิตใจนี่เอง ที่ควบคุมยากที่สุด ตัวเราเองอาจเป็นน้ำเค็ม หรือน้ำจืดที่ให้ประโยชน์กับคนอื่นๆได้มหาศาล  แต่บางครั้งเราก็อาจเปลี่ยนเป็นเจ้าตัวร้าย แบบที่ชั่วสุดๆจากคำคน จากสิ่งยั่วยุต่างๆ ที่ถาโถมเข้าทำลายความเป็นตัวตนที่น่ามอง
    มีสติ..คิดและใตร่ตรอง เลือกที่จะเป็น เลือกที่จะทำ ให้ดีที่สุดเท่าที่คนๆหนึ่งจะเป็นได้ ทำได้ นั่นคงเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับชีวิตที่มีคุณค่า


     
    แนววามิดในการออกแบบ
    แนววามิดในการออกแบบหนังสือ าพถ่ายชุด น้ำของชีวิต ของข้าพเจ้า ะออกมาในรูปแบบของหนังสือภาพถ่าย ที่มีาพประกอบในเล่มเป็นาพถ่ายทั้งหมด โดยจเน้นวามเป็นธรรมชาติของาพให้มากที่สุด ือ เห็นลักษณะของสาพแวดล้อมที่มาของาพ าพที่ออกมาจเป็นในลักษณะของาพถ่ายที่ดูมีุณค่าทางศิลป์ มีความน่าสนใจมากกว่าาพวาดธรรมดา ๆ ทั่วไป
     
     
    แนววามิดในการถ่ายาพ
                                    ต้องการดูเน้นที่การสื่อวามหมายให้กลุ่มเป้าหมายเข้าาพมากที่สุด และเน้นาพที่เป็นธรรมชาติให้มากที่สุด เพื่อให้ทรงุณ่า และมีวามน่าสนใจ ดูแปลกและไม่ซ้ำซาก สามารถสะท้อนอารมณ์ และให้กลุ่มเป้าหมายมีอารมณ์ร่วมกับภาพถ่าย เข้าใจวามหมายของาพที่ต้องการสื่อ
     
     
    เทนิในที่เลือกใช้
                                    ในการถ่ายาพประกอบายในเล่ม สำหรับทำหนังสือาพถ่ายชุด นำของชีวิ ใช้เทคนิคผสม คือ ทั้งเทคนิคการถ่ายาพ และการใช้ โปรแกรม Photoshop ในการจัดทำาพประกอบายในเล่ม
     
     
    ขนาดที่เลือกใช้
                            ขนาดริงของหนังสือภาพถ่ายชุด น้ำของชีวิ ที่เลือกใช้ คือ ขนาด 8 ½  x 11 ½ คือขนาดโดยปกติของนิตยสารทั่ว ๆไปต่ขนาดของาพถ่ายด้านในเล่มใช้ขนาด ริงของภาพถ่ายและใช้หลักการัดองค์ประกอบเป็นัวกำหนด
     
     
     
     
     
    หลักการและทฤษฎีที่สนับสนุนการสร้างผลงานด้านการออกแบบของงานโครงการ
     
    ิตวิทยาของสี
                   
    สี เป็นสิ่งที่ปรากฏอยู่บนโลก ทุกๆสิ่งที่เรามองเห็นรอบๆตัวนั้น ล้วนแต่มีสี โลกของเราถูกจรรโลง และแต่งแต้มด้วย สีสันหลายหลาก ทั้งสีสันตามธรรมชาติ และสีที่มนุษย์รังสรรค์ขึ้น หากโลกนี้ไม่มีสี หรือมนุษย์ไม่สามารถ รับรู้เกี่ยวกับสีได้ สิ่งนั้นอาจเป็น ความพกพร่องที่ยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ เพราะสีมีความสำคัญต่อวัฏจักรแห่งโลก และเกี่ยวข้องกับ วิถีชีวิตมนุษย์ จนแยกกันไม่ออก เพราะมนุษย์ได้ตระหนักแล้วว่า สีนั้นส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ จินตนาการ การสื่อความหมาย และความสุขสำราญใจในชีวิตประจำวันมาช้านานแล้ว ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า สี มีอิทธิพลต่อมนุษย์เราเป็นอย่างสูง และมนุษย์ก็ใช้ประโยชน์ จากสีอย่าง เอนกอนันต์ ในการสร้างสรรค์ สิ่งต่างๆอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
     
    จิตวิทยาสีกับความรู้สึก ( Psychology of Colour)
    ในด้านจิตวิทยา สี เป็นตัวกระตุ้นความรู้สึกและมีผลต่อจิตใจของมนุษย์ สีต่างๆจะให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน ดังนั้นเราจึงมักใช้สีเพื่อสื่อความรู้สึกและความหมายต่างๆ ได้แก่
    -  สีแดง        ให้ความรู้สึกเร่าร้อน รุนแรง อันตราย ตื่นเต้น
    -  สีเหลือง   ให้ความรู้สึก สว่าง อบอุ่น แจ่มแจ้ง ร่าเริง ศรัทธา มั่งคั่ง
    -  สีเขียว      ให้ความรู้สึก สดใส สดชื่น เย็น ปลอดภัย สบายตา มุ่งหวัง 
    -  สีฟ้า         ให้ความรู้สึก ปลอดโปล่ง แจ่มใส กว้าง ปราดเปรื่อง
    -  สีม่วง       ให้ความรู้สึก เศร้า หม่นหมอง ลึกลับ
    -  สีดำ         ให้ความรู้สึก มืดมิด เศร้า น่ากลัว หนักแน่น
    -  สีขาว       ให้ความรู้สึก บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ว่างเปล่า จืดชืด
    -  สีเทา        ให้ความรู้สึก เศร้า เงียบขรึม สงบ แก่ชรา
    -  สีน้ำเงิน   ให้ความรู้สึก เงียบขรึม สงบสุข จริงจัง มีสมาธิ
    -  สีน้ำตาล ให้ความรู้สึก แห้งแล้ง ไม่สดชื่น น่าเบื่อ
    -  สีชมพู     ให้ความรู้สึก อ่อนหวาน เป็นผู้หญิง ประณีต ร่าเริง
    -  สีทอง      ให้ความรู้สึก มั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์
           ------------------------------------------------------
    อ้างอิงจาก
    โครงการออกแบบภาพประกอบหนังสือ เรื่อง เสียงร้องจากลานหิน
    โดย นายชาคริต โภชะเรือง
    หน้า 18
     
    การใช้สีในงานออกแบบ
    เราเรียนรู้เรื่องศิลปะมาจนสามารถบอกได้แล้วว่า ศิลปะคืออะไร ศิลปะแตกต่างจากธรรมชาติอย่างไร คราวนี้เรา ลองหลับตานึกภาพดูซิว่า ถ้าโลกเราไม่มีสีเลย ทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเรา มีแต่สีขาวกับสีดำ ไฟจราจรมีแต่ขาวกับดำ แต่งตัวด้วยเสื้อผ้าสีขาวกับดำ ต้นไม้ ดอกไม้มีแต่สีขาวกับดำ จะเป็นอย่างไร เราคง อึดอัด หดหู่ดูไม่มีชีวิตชีวา ฉะนั้น "สี" จึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในชีวิตของเรา เพราะสีช่วยให้ชีวิตของเราดูสดใส ร่าเริง หรือเศร้าหมอง ก็ได้ ช่วยให้เราเข้าใจสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ง่ายขึ้น เราจึงจำเป็น ต้องรู้จักกับ "สี" ก่อน เพราะในชีวิตของเรา หรือ ในงานศิลปะ สี ช่วยให้เกิดความงาม ความรู้สึก เพราะสีมีความหมายเฉพาะตัวของแต่ละสี อยู่ แต่ ก่อนที่เรา จะศึกษาบทเรียนเรื่อง ศิลปะการใช้สี เรามาทำความเข้าใจ รู้จัก ความหมาย และความสำคัญ ของสี ที่มี ต่อวิถีชีวิตของเราอย่างไรก่อนเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
    ความหมายของสี
    สี หมายถึง แสงที่มากระทบวัตถุแล้วสะท้อนเข้าตาเรา ทำให้เห็นเป็นสีต่างๆ การที่เรามองเห็นวัตถุเป็นสีใดๆ ได้ เพราะวัตถุนั้นดูดแสงสีอื่น สะท้อนแต่สีของมันเอง เช่น วัตถุสีแดง เมื่อมีแสงส่องกระทบ ก็จะดูดทุกสี สะท้อนแต่สีแดง ทำให้เรามองเห็นเป็นสีแดง
    เรารับรู้สีได้เพราะ เมื่อสามร้อยกว่าปีที่ผ่านมา ไอแซก นิวตัน ได้ค้นพบ ว่า แสงสีขาวจาก ดวงอาทิตย์เมื่อหักเห ผ่านแท่งแก้วสามเหลี่ยม ( prism) แสงสีขาวจะกระจายออกเป็นสีรุ้ง เรียกว่า สเปคตรัม มี 7 สี ได้แก่ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง ส้ม แดง (ศักดา ศิริพันธุ์. 2527 : 5 อ้างถึงใน http://rbu.qru.ac.th/~somsak/design/ lesson5/ lesson_5.html ) และได้มีกำหนดให้เป็นทฤษฎีสีของแสงขึ้น ความจริงสีรุ้งเป็นปรากฏการณ์ ตาม ธรรมชาติ ซึ่งเกิดขึ้น และพบเห็นกันบ่อยๆ อยู่แล้ว โดยเกิดจากการหักเห ของ แสงอาทิตย์หรือ แสงสว่าง เมื่อผ่าน ละอองน้ำในอากาศ
    ซึ่งลักษณะกระทบต่อสายตาให้เห็นเป็นสี มีผลถึงจิตวิทยา คือมีอำนาจให้เกิดความเข้มของแสง ที่อารมณ์ และความรู้สึกได้ การที่ได้เห็นสีจากสายตา สายตาจะส่งความรู้สึกไปยังสมองทำให้เกิดความรู้สึกต่างๆ ตาม อิทธิพลของสี เช่น สดชื่น เร่าร้อน เยือกเย็น หรือตื่นเต้น มนุษย์เราเกี่ยวข้องกับสีต่างๆ อยู่ตลอดเวลาเพราะ ทุกสิ่ง ที่อยู่รอบตัวนั้น ล้วนแต่มีสีสันแตกต่างกันมากมาย
    ความสำคัญของสีที่มีต่อวิถีชีวิตของเรา
    สีเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของเราอย่างมาก นับแต่สมัยดึกดำบรรพ์ จนถึงปัจจุบัน เราได้นำสีมา ใช้ ให้เกิดประโยชน์โดยใช้เป็นสัญลักษณ์ในการถ่ายทอด ความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง สีจึงเป็นสิ่งที่ควรศึกษา เพื่อ ใช้ประโยชน์กับวิถีชีวิตของเรา เพราะสรรพสิ่งทั้งหลายที่แวดล้อมตัวเราประกอบไปด้วยสี ทั้งสิ้น ในงานศิลปะ สีเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่ง และในวิถีชีวิตของเราสีเป็นองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึก อารมณ์ และจิตใจ ได้มากกว่าองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น
    1 . ใช้ในการจำแนกสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เห็นชัดเจน
    2 . ใช้ในการจัดองค์ประกอบของสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสวยงาม กลมกลืน เช่น การแต่งกาย การจัดตกแต่งบ้าน
    3 . ใช้ในการจัดกลุ่ม พวก คณะ ด้วยการใช้สีต่าง ๆ เช่น คณะสี เครื่องแบบต่าง ๆ
    4 . ใช้ในการสื่อความหมาย เป็นสัญลักษณ์ หรือใช้บอกเล่าเรื่องราว
    5 . ใช้ในการสร้างสรรค์งานศิลปะ เพื่อให้เกิดความสวยงาม สร้างบรรยากาศ สมจริงและน่าสนใจ
    6 . เป็นองค์ประกอบในการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ของ มนุษย์
     
    -------------------------------------------------------------------------------
    อ้างอิงจาก
    เขียนเมื่อ : 03/04/07 21:53:40 (03/04/07 21:53:40)
     
     
    คุณลักษณะของสี
    คุณลักษณะของสีมี 3 ประการ คือ
    1. สีแท้ หรือความเป็นสี (Hue ) หมายถึง สีที่อยู่ในวงจรสีธรรมชาติ ทั้ง 12 สี สี ที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้แบ่งเป็น 2 วรรณะ โดยแบ่งวงจรสีออกเป็น 2 ส่วน จากสีเหลือง วนไปถึงสีม่วง คือ
    1. สีร้อน (Warm Color) ให้ความรู้สึกรุนแรง ร้อน ตื่นเต้น ประกอบด้วย สีเหลือง สีเหลืองส้ม สีส้ม สีแดงส้ม สีแดง สีม่วงแดง สีม่วง
    2. สีเย็น (Cool Color) ให้ความรู้สึกเย็น สงบ สบายตาประกอบด้วย สีเหลือง สีเขียวเหลือง สีเขียว สีน้ำเงินเขียว สีน้ำเงิน สีม่วงน้ำเงิน สีม่วง เราจะเห็นว่า สีเหลือง และสีม่วง เป็นสีที่อยู่ได้ทั้ง 2 วรรณะ คือเป็นสีกลาง เป็นได้ทั้งสีร้อน และสีเย็น
    2. ความจัดของสี (Intensity) หมายถึง ความสด หรือความบริสุทธิ์ของสีใดสีหนึ่ง สีที่ถูกผสมด้วย สีดำจนหม่นลง ความจัด หรือความบริสุทธิ์จะลดลง ความจัดของสีจะเรียงลำดับจากจัดที่สุด ไปจน หม่นที่สุด ได้หลายลำดับ ด้วยการค่อยๆ เพิ่มปริมาณของสีดำที่ผสมเข้าไปทีละน้อยจนถึงลำดับที่ความจัดของสีมีน้อยที่สุด คือเกือบเป็นสีดำ
    3. น้ำหนักของสี (Values) หมายถึง สีที่สดใส (Brightness) สีกลาง (Grayness) สีทึบ(Darkness)
    ของสีแต่ละสี สีทุกสีจะมีน้ำหนักในตัวเอง ถ้าเราผสมสีขาวเข้าไปในสีใดสีหนึ่ง สีนั้นจะสว่าวขึ้น หรือมีน้ำหนักอ่อนลง ถ้าเพิ่มสีขาวเข้าไปทีละน้อยๆ ตามลำดับ เราจะได้น้ำหนักของสีที่เรียงลำดับจากแก่สุด ไปจนถึงอ่อนสุด น้ำหนักอ่อนแก่ของสีก็ได้ เกิดจากการผสมด้วยสีขาว เทา และ ดำ น้ำหนักของสีจะลดลงด้วยการใช้สีขาวผสม ( tint) ซึ่งจะทำให้ เกิดความรู้สึกนุ่มนวล อ่อนหวาน สบายตา น้ำหนักของสีจะเพิ่มขึ้นปานกลางด้วยการใช้สีเทาผสม ( tone) ซึ่งจะทำให้ความเข้มของสีลดลง เกิดความรู้สึก ที่สงบ ราบเรียบ และน้ำหนักของสีจะเพิ่มขึ้นมากขึ้นด้วยการใช้สีดำผสม ( shade) ซึ่งจะทำให้ความเข้มของสีลดความสดใสลง เกิดความรู้สึกขรึม ลึกลับ
    น้ำหนักของสียังหมายถึงการเรียงลำดับน้ำหนักของสีแท้ด้วยกันเอง โดยเปรียบเทียบ น้ำหนักอ่อนแก่กับสีขาว ดำ เราสามารถเปรียบเทียบระหว่างภาพสีกับภาพขาวดำได้อย่างชัดเจนเมื่อนำภาพสีที่เราเห็นว่ามีสีแดงอยู่หลายค่า ทั้งอ่อน กลาง แก่ ไปถ่ายเอกสารขาว-ดำ เมื่อนำมาดูจะพบว่า สีแดงจะมีน้ำหนักอ่อน แก่ ตั้งแต่ขาว เทา ถึงดำ นั่นเป็นเพราะว่าสีแดงมีน้ำหนักของสีแตกต่างกัน  ความรู้สึกของสี สีต่างๆ ที่เราสัมผัสด้วยสายตา จะทำให้เกิดความรู้สึกขึ้นภายในต่อเรา ทันทีที่เรามองเห็นสี ไม่ว่าจะเป็น การแต่งกาย บ้านที่อยู่อาศัย เครื่องใช้ต่างๆ แล้วเราจะ ทำอย่างไร จึงจะใชสี้ได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับหลักจิตวิทยา เราจะต้องเข้าใจว่าสีใดให้ความรู้สึก ต่อมนุษย์อย่างไร ซึ่งความรู้สึกเกี่ยวกับสี สามารถจำแนกออกได้ดังนี้
     
    สีแดง ให้ความรู้สึกร้อน รุนแรง กระตุ้น ท้าทาย เคลื่อนไหว ตื่นเต้น เร้าใจ มีพลัง ความอุดมสมบูรณ์ ความมั่งคั่ง ความรัก ความสำคัญ อันตราย
    สีแดงชาด จะทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์
    สีส้ม ให้ความรู้สึก ร้อน ความอบอุ่น ความสดใส มีชีวิตชีวา วัยรุ่น ความคึกคะนอง การปลดปล่อย ความเปรี้ยว การระวัง
    สีเหลือง ให้ความรู้สึก แจ่มใส ความร่าเริง ความเบิกบานสดชื่น ชีวิตใหม่ ความสด ใหม่ ความสุกสว่าง การแผ่กระจาย อำนาจบารมี
    สีเขียว ให้ความรู้สึกงอกงาม สดชื่น สงบ เงียบ ร่มรื่น ร่มเย็น การพักผ่อน การผ่อนคลาย ธรรมชาติ ความปลอดภัย ปกติ ความสุข ความสุขุม เยือกเย็น
    สีเขียวแก่ จะทำให้เกิดความรู้สึกเศร้าใจความแก่ชรา
    สีน้ำเงิน ให้ความรู้สึกสงบ สุขุม สุภาพ หนักแน่น เคร่งขรึม เอาการเอางาน ละเอียด รอบคอบ สง่างาม มีศักดิ์ศรี สูงศักดิ์ เป็นระเบียบถ่อมตน
    สีฟ้า ให้ความรู้สึก ปลอดโปร่งโล่ง กว้าง เบา โปร่งใส สะอาด ปลอดภัย ความสว่าง ลมหายใจ ความเป็นอิสระเสรีภาพ การช่วยเหลือ แบ่งปัน
    สีคราม จะทำให้เกิดความรู้สึกสงบ
    สีม่วง ให้ความรู้สึก มีเสน่ห์ น่าติดตาม เร้นลับ ซ่อนเร้น มีอำนาจ มีพลังแฝงอยู่ ความรัก ความเศร้า ความผิดหวัง ความสงบ ความสูงศักดิ์
    สีน้ำตาล ให้ความรู้สึกเก่า หนัก สงบเงียบ
    สีขาว ให้ความรู้สึกบริสุทธิ์ สะอาด ใหม่ สดใส
    สีดำ ให้ความรู้สึกหนัก หดหู่ เศร้าใจ ทึบตัน
    สีชมพู ให้ความรู้สึก อบอุ่น อ่อนโยน นุ่มนวล อ่อนหวาน ความรัก เอาใจใส่ วัยรุ่น หนุ่มสาว ความน่ารัก ความสดใส
    สีไพล จะทำให้เกิดความรู้สึกกระชุ่มกระชวย ความเป็นหนุ่มสาว
    สีเทา ให้ความรู้สึก เศร้า อาลัย ท้อแท้ ความลึกลับ ความหดหู่ ความชรา ความสงบ ความเงียบ สุภาพ สุขุม ถ่อมตน
    สีทอง ให้ความรู้สึก ความหรูหรา โอ่อ่า มีราคา สูงค่า สิ่งสำคัญ ความเจริญรุ่งเรือง ความสุข ความมั่งคั่ง ความร่ำรวย การแผ่กระจาย
    จากความรู้สึกดังกล่าว เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ไในชีวิตประจำวันได้ในทุกเรื่อง และเมื่อต้องการสร้างผลงาน ที่เกี่ยวกับการใช้สี เพื่อที่จะได้ผลงานที่ตรงตามความต้องการในการสื่อความหมาย และจะช่วยลดปัญหาในการ ตัดสินใจที่จะเลือกใช้สีต่างๆได้ เช่น
    1. ใช้ในการนแสดงเวลาของบรรยากาศในภาพเขียน เพราะสีบรรยากาศในภาพเขียนนั้นๆ จะแสดงให้รู้ว่า เป็นภาตอนเช้า ตอนกลางวัน หรือตอนบ่าย เป็นต้น
    2. ในด้านการค้า คือ ทำให้สินค้าสวยงาม น่าซื้อหา นอกจากนี้ยังใช้กับงานโฆษณา เช่น โปสเตอร์ต่างๆ ช่วยให้จำหน่ายสินค้าได้มากขึ้น
    3. ในด้านประสิทธิภาพของการทำงาน เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ถ้าทาสีสถานที่ทำงานให้ถูกหลักจิตวิทยา จะเป็นทางหนึ่งที่ช่วยสร้างบรรยากาศให้น่าทำงาน คนงานจะทำงานมากขึ้น มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น
    4. ในด้านการตกแต่ง สีของห้อง และสีของเฟอร์นิเจอร์ ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความสว่างของห้อง รวมทั้งความสุขในการใช้ห้อง ถ้าเป็นโรงเรียนเด็กจะเรียนได้ผลดีขึ้น ถ้าเป็นโรงพยาบาลคนไข้จะหายเร็วขึ้น
    สีกับการออกแบบ ผู้สร้างสรรค์งานออกแบบจะเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สีโดยตรง มัณฑนากรจะคิดค้นสีขึ้นมาเพื่อใช้ในงานตกแต่ง คนออกแบบฉากเวทีการแสดงจะคิดค้นสีเกี่ยวกับแสง จิตรกรก็จะคิดค้นสีขึ้นมาระบายให้เหมาะสมกับ ความคิด และจินตนาการของตน แล้วตัวเราจะคิดค้นสีขึ้นมาเพื่อความงาม ความสุข สำหรับเรามิได้หรือ
    สีที่ใช้สำหรับการออกแบบนั้น ถ้าเราจะใช้ให้เกิดความสวยงามตรงตามความต้องการของเรา มีหลักในการใช้กว้างๆ อยู่ 2 ประการ คือ การใช้สีกลมกลืนกัน และ การใช้สีตัดกัน
    1. การใช้สีกลมกลืนกัน
    การใช้สีให้กลมกลืนกัน เป็นการใช้สีหรือน้ำหนักของสีให้ใกล้เคียงกัน หรือคล้ายคลึงกัน เช่น
    การใช้สีแบบเอกรงค์ เป็นการใช้สีสีเดียวที่มีน้ำหนักอ่อนแก่หลายลำดับ
    การใช้สีข้างเคียง เป็นการใช้สีที่เคียงกัน 2 3 สี ในวงสี เช่น สีแดง สีส้มแดง และสีม่วงแดง
    การใช้สีใกล้เคียง เป็นการใช้สีที่อยู่เรียงกันในวงสีไม่เกิน 5 สี
    ตลอดจนการใช้สีวรรณะร้อนและวรรณะเย็น ( warm tone colors and cool tone colors) ดังได้กล่าวมาแล้ว
    2. การใช้สีตัดกัน
    สีตัดกันคือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงจรสี (ดูภาพวงจรสี ด้านซ้ายมือประกอบ) การใช้สีให้ตัดกันมีความจำเป็นมาก ในงานออกแบบ เพราะช่วยให้เกิดความน่าสนใจ ในทันทีที่พบเห็น สีตัดกันอย่างแท้จริงมี อยู่ด้วยกัน 6 คู่สี คือ
    1. สีเหลือง ตรงข้ามกับ สีม่วง
    2. สีส้ม ตรงข้ามกับ สีน้ำเงิน
    3. สีแดง ตรงข้ามกับ สีเขียว
    4. สีเหลืองส้ม ตรงขามกับ สีม่วงน้ำเงิน
    5. สีส้มแดง ตรงข้ามกับ น้ำเงินเขียว
    6. สีม่วงแดง ตรงข้ามกับ สีเหลืองเขียว
     
    การใช้สีตัดกัน ควรคำนึงถึงความเป็นเอกภาพด้วย วิธีการใช้มีหลายวิธี เช่น ใช้สีให้มีปริมาณต่างกัน เช่น ใช้สีแดง 20 % สีเขียว 80% หรือ ใช้เนื้อสีผสมในกันและกัน หรือใช้สีหนึ่งสีใดผสมกับสีคู่ที่ตัดกัน ด้วยปริมาณเล็กน้อย รวมทั้งการเอาสีที่ตัดกันมาทำให้เป็นลวดลายเล็ก ๆ สลับกัน
    ในผลงานชิ้นหนึ่ง อาจจะใช้สีให้กลมกลืนกันหรือตัดกันเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออาจจะใช้พร้อมกันทั้ง 2 อย่าง ทั้งนี้แล้วแต่ความต้องการ และความคิดสร้างสรรค์ของเรา ไม่มีหลักการ หรือรูปแบบที่ตายตัว
    ในงานออกแบบ หรือการจัดภาพ หากเรารู้จักใช้สีให้มีสภาพโดยรวมเป็นวรรณะร้อน หรือวรรณะเย็น เราจะ สามารถควบคุม และสร้างสรรค์ภาพให้เกิดความประสานกลมกลืน งดงามได้ง่ายขึ้น เพราะสีมีอิทธิพลต่อ มวล ปริมาตร และช่องว่าง สีมีคุณสมบัติที่ทำให้เกิดความกลมกลืน หรือขัดแย้งได้ สีสามารถขับเน้นให้ให้เกิด จุดเด่น และการรวมกันให้เกิดเป็นหน่วยเดียวกันได้ เราในฐานะผู้ใช้สีต้องนำหลักการต่างๆ ของสีไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้อง กับเป้าหมายในงานของเรา เพราะสีมีผลต่อการออกแบบ คือ
    1. สร้างความรู้สึก สีให้ความรู้สึกต่อผู้พบเห็นแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และภูมิหลัง ของแต่ละคน สีบางสีสามารถรักษาบำบัดโรคจิตบางชนิดได้ การใช้สีภายใน หรือภายนอกอาคาร จะมีผลต่อการ สัมผัส และสร้างบรรยากาศได้
    2. สร้างความน่าสนใจ สีมีอิทธิพลต่องานศิลปะการออกแบบ จะช่วยสร้างความประทับใจ และความน่าสนใจเป็นอันดับแรกที่พบเห็น
    3. สีบอกสัญลักษณ์ของวัตถุ ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ หรือภูมิหลัง เช่น สีแดงสัญลักษณ์ของไฟ หรือ อันตราย สีเขียวสัญลักษณ์แทนพืช หรือความปลอดภัย เป็นต้น
    4. สีช่วยให้เกิดการรับรู้ และจดจำ งานศิลปะการออกแบบต้องการให้ผู้พบเห็นเกิดการจดจำ ในรูปแบบ และผลงาน หรือเกิดความประทับใจ การใช้สีจะต้องสะดุดตา และมีเอกภาพ
     
    -------------------------------------------------------------------------------
    อ้างอิงจาก
    หนังสือ "เทคนิคการออกแบบงานกราฟิก" พงษ์ศักดิ์ ไชยทิพย์
    เขียนโดย khuntuck เมื่อ 10 กุมภาพันธ์, 2008 - 13:48.
     
     
     
     
    การออกแบบหนังสือ
    ก่อนจะทำการออกแบบหนังสือนั้น มีเรื่องที่จะต้องกำหนดและวางแผนเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ ดังนี้ ก่อนจะทำการออกแบบหนังสือนั้น มีเรื่องที่จะต้องกำหนดและวางแผนเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ ดังนี้
    ศึกษาและทำความเข้าใจหนังสือ
    ก่อนที่จะทำการออกแบบ นักออกแบบจะต้องพยายามหาข้อมูลจากผู้เขียนหรือสำนักพิมพ์ถึงวัตถุประสงค์ในการเขียนหรือจัดทำหนังสือ และต้องทราบถึงลักษณะของผู้อ่านที่เป็นกลุ่มเป้าหมายว่าเจตนาจะมุ่งที่ใครเป็นหลักและคนกลุ่มนี้มีพฤติกรรมและความชอบไม่ชอบอย่างไร       นอกจากนี้ยังต้องทราบให้ชัดเจนว่าผู้เขียนมีความคิดหลักหรือแนวคิดเบื้องหลังของหนังสืออย่างไร รวมทั้งเป็นหนังสือประเภทใดและควร จะมีบุคลิกภาพแบบไหน
    กำหนดขนาดและรูปแบบของหนังสือ
    เมื่อเทียบกับหนังสือพิมพ์และนิตยสารแล้ว หนังสือสามารถจัดทำได้หลายขนาดและหลายรูปแบบมากกว่า ซึ่งในการเลือกขนาดและรูปแบบ ที่เหมาะสมนี้จะต้องดูจากวัตถุประสงค์และประเภทของหนังสือ เป็นหลัก ส่วนใหญ่แล้ว จะต้องพยายามเลือกขนาดที่ตัดกระดาษได้โดยเหลือเศษ น้อยเพื่อเป็นการประหยัดกระดาษเพื่อลดต้นทุนนอกจากในกรณีที่เป็น หนังสือที่ ระลึกราคาแพงและต้องการ รูปแบบ ที่แปลกแตกต่างไปจาก ปกติ ขนาดของหนังสือที่เป็นที่นิยมกันมาก เช่น 5 x 7 นิ้ว (16 หน้ายก หรือขนาดพ็อกเก็ตบุ๊ก) 5 x 8 นิ้ว (ขนาด A5 หรือขนาด พ็อกเก็ตบุ๊ก) เป็นต้น
    รูปแบบของปกหน้า
    เนื่องจากความหลากหลายในรูปแบบที่เป็นไปได้ในการออกแบบปหน้าของหนังสือ นักออกแบบจึงควรตกลงร่วมกันกับผู้เขียน หรือสำนักพิมพ์เรื่อง รูปแบบของปกหน้าเสียก่อนในเรื่องต่างๆ ดังนี้
     กระดาษที่ใช้ในการพิมพ์ปกหน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น