โครงการองค์ประกอบศิลป์และหลักทฤษฎีสีเพื่อการออกแบบเว็บไซต์ - นิยาย โครงการองค์ประกอบศิลป์และหลักทฤษฎีสีเพื่อการออกแบบเว็บไซต์ : Dek-D.com - Writer
×

    โครงการองค์ประกอบศิลป์และหลักทฤษฎีสีเพื่อการออกแบบเว็บไซต์

    ผู้เข้าชมรวม

    1,341

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    6

    ผู้เข้าชมรวม


    1.34K

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    จำนวนตอน :  0 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  7 ต.ค. 54 / 00:00 น.
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

     
    วิชา โครงการพิเศษด้านวิชาชีพ
    เรื่อง องค์ประกอบศิลป์และหลักทฤษฎีสีเพื่อการออกแบบเว็บไซต์
     
     
    โดย
    นางสาว กิตติยา อิศรเมธางกูร
    รหัสนักศึกษา 1521020441123
     
     
     
     
     
     
     
     
    โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศิลปะมหาบัณฑิต
    คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ สาขาวิชาเทคโนโลยีนิเทศศิลป์
    ภาควิชาการเทคโนโลยีนิเทศศิลป์ 4
    บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ (พื้นที่ ศาลายา)
    ปีการศึกษา 2554
     
    ลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ (พื้นที่ ศาลายา)
    คำนำ
    ความเจริญรุดหน้าทุกด้านของมนุษยชาติในปัจจุบัน โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต ที่สามารถเชื่อมโลกให้เป็นหนึ่งเดียว และคอมพิวเตอร์ก็ได้ก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อทุกสังคมโลก ซึ่งการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทั้งหลายทั้งปวงทุกวันนี้สามารถทำได้อย่างง่ายดายด้วยการคลิกเมาส์หรือกดแป้นคีย์บอร์ดของคอมพิวเตอร์ และการลงทุนด้านธุรกิจ การวิเคราะห์ทางการแพทย์ การวิจัย-ทางทหาร การวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ อีกทั้งงานด้านการเกษตรหรืออุตสาหกรรมล้วนต้องพึ่งพาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น เว็บเพจ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเว็บไซต์ (web site) หรือเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW หรือ เรียกสั้นๆว่า เว็บ) โดยที่เวิลด์ไวด์เว็บเป็นบริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตที่มีผู้นิยมใช้กันมากทางผู้จัดทำจึงจัดทำโครงการ องค์ประกอบศิลป์และหลักทฤษฎีสีเพื่อการออกแบบเว็บไซต์ขึ้น เพื่อความง่ายต่อการผลิตเว็บไซต์ที่สวยงาม และมีความโดดเด่น ใช้งานง่าย
     
    นางสาว กิตติยา อิศรเมธางกูร
    ผู้จัดทำ
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
    สารบัญ
                  เรื่อง                                                                                                   หน้า
    คำนำ                                                                                                              
    บทที่ 1                                                                                                1-5
    บทที่ 2                                                                                                 6-17
    บทที่ 3 ขั้นตอนการดำเนินงาน                                                                        18
    แบบประเมิน                                                                                       19
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
    บทที่ 1

    บทนำ
    ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
    ความเจริญรุดหน้าทุกด้านของมนุษยชาติในปัจจุบัน โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต ที่สามารถเชื่อมโลกให้เป็นหนึ่งเดียว และคมพิวเตอร์ก็ได้ก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อทุกสังคมโลก ซึ่งการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทั้งหลายทั้งปวงทุกวันนี้สามารถทำได้อย่างง่ายดายด้วยการคลิกเมาส์หรือกดแป้นคีย์บอร์ดของคอมพิวเตอร์ และการลงทุนด้านธุรกิจ การวิเคราะห์ทางการแพทย์ การวิจัย-ทางทหาร การวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ อีกทั้งงานด้านการเกษตรหรืออุตสาหกรรมล้วนต้องพึ่งพาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งสิ้น
    เว็บเพจ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเว็บไซต์ (web site) หรือเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW หรือ เรียกสั้นๆว่า เว็บ) โดยที่เวิลด์ไวด์เว็บเป็นบริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตที่มีผู้นิยมใช้กันมาก และในเว็บไซต์หนึ่งๆ นั้นอาจจะมีเพียง 1 เว็บเพจ หรือมากกว่านั้นก็ได้
    สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (2540) ได้ให้ความหมายของเว็บเพจ(web page) ไว้ว่า คือหน้าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์บนเวิลด์ไวด์เว็บ ที่เสนอข้อมูลใดๆ ที่เจ้าของเว็บเพจต้องการจะใส่ลงไปในหน้าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นั้น เช่น ข้อมูลแนะนำตัวเอง หรือข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจการเขียนหรือสร้างเว็บเพจ นั้นจะใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า HyperText Markup Language(HTML) ซึ่งสามารถแสดงข้อมูลได้หลายรูปแบบ เช่น ข้อความ ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว รวมทั้งสื่อประสม(multimedia) และข้อมูลที่นำเสนอนั้นสามารถเชื่อมโยงในรูปของไฮเพอร์เท็กซ์ (Hypertext) คือ เชื่อมโยง(Link) ไปยังเว็บเพจอื่นๆ ที่จะให้ข้อมูลเพิ่มเติมต่อไปเรื่อยๆ และแต่ละเว็บเพจ จะต้องมีที่อยู่อิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่ายเฉพาะของตน ซึ่งแหล่งที่อยู่นี้เรียกว่า Uniform Resource Locator หรือ URL
    จิตเกษม พัฒนาศิริ (2540) กล่าวถึงการสร้างเว็บเพจว่า มีลักษณะคล้ายกับการเขียนหนังสือให้น่าอ่านและการจะเขียนหนังสือให้น่าอ่านย่อมขึ้นอยู่กับการออกแบบหน้าปก เนื้อหา ว่าจะมีวิธีการอย่างไรถึงจะทำให้ผู้อ่านอยากอ่าน อยากติดตาม และการเข้าไปใช้งานบนเว็บเพจนั้นคล้ายกับการเดินทางไปในดินแดนต่างๆที่แปลกตา เพราะในแต่ละเว็บไซต์นั้นอาจมีการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อื่นที่ซับซ้อนอีกมากมาย ถ้าผู้ใช้รู้จักเส้นทางที่ดีก็จะสามารถไปถึงจุดหมายปลายทางได้อย่ารวดเร็วดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้สร้างและออกแบบเว็บเพจที่จะต้องหาหนทางให้ผู้ใช้สามารถเดินทางไปสู่จุดหมายได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องตรงกับวัตถุประสงค์การใช้งาน อีกประการหนึ่งที่สำคัญในการออกแบบเว็บเพจคือ จะต้องมีสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นหาสถานที่ที่ผู้ใช้จะเดินทางไปได้โดยมีคำอธิบายสั้นๆ ถึงความสำคัญหรือภารกิจของเว็บไซต์ที่ผู้ใช้กำลังจะเลือกเดินทางไป 
    นีลเซ็น (Nielsen, 1996) ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเว็บเพจ ได้ให้ข้อแนะนำที่น่าสนใจเกี่ยวกับการออกแบบและสร้างเว็บเพจว่าการใช้เฟรม (กรอบ) มากเกินไปจะทำให้ผู้ใช้เกิดความสับสน ควรหลีกเลี่ยงการใช้ตัวอักษรเคลื่อนไหวทั้งหลาย การใช้ตัวชี้แหล่งในอินเทอร์เน็ต (URL) ที่มีความซับซ้อนและยากต่อการพิมพ์การสร้างเว็บเพจที่ไม่สามารถเชื่อมโยงกลับไปโฮมเพจ การใช้แถบเลื่อนด้านข้างที่มีความยาวของหน้ามากเกินไป (long scrolling) การขาดคำแนะนำสำหรับสืบค้นข้อมูล การไม่ใช้สีที่เป็นมาตรฐานในการเชื่อมโยงความไม่ทันสมัยของข้อมูล การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ไม่มีความจำเป็นและไม่เหมาะสมในการนำเสนอประการสุดท้ายคือการเข้าถึงข้อมูลที่ใช้เวลามากกว่า10 วินาที ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะทำให้ผู้ใช้เกิดความเบื่อหน่าย และอาจจะไม่เข้ามาชมเว็บเพจอีก ดังนั้นนักออกแบบเว็บเพจควรตระหนักและควรหลีกเลี่ยงไม่ให้มีขึ้น 
    ในงานวิจัยดังกล่าวยังได้ศึกษาถึงโครงสร้างและองค์ประกอบต่างๆ ของเว็บไซต์ซึ่งพบว่าในแต่ละเว็บไซต์นั้นโดยรวมแล้วมีรูปแบบในการนำเสนอที่คล้ายคลึงกัน แต่อาจจะมีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างออกไปตามแต่วัตถุประสงค์ของเว็บไซต์นั้นๆโดยการศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาโครงสร้างหรือองค์ประกอบของเว็บซึ่งประกอบไปด้วย คือ ลักษณะโครงสร้างของเว็บตัวนำทาง การสืบค้นสารสนเทศ การออกแบบเว็บเพจ การวางโครงร่างลักษณะงานกราฟิก และสัญรูป เหล่านี้ล้วนเป็นองค์ประกอบหลักของการนำเสนอผ่านเว็บและนอกจากนี้ยังกล่าวว่า เนื้อหาของการนำ เสนอบนเว็บนั้นถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด และผลจากการศึกษาที่ต่อเนื่องกันยังพบสิ่งที่สนใจอีก 3 ประการคือ
    1)            ผู้ที่เข้าไปในเว็บนั้นจะไม่ใช้วิธีการอ่านเนื้อหาหรือสารสนเทศที่ปรากฏบนเว็บไซต์แต่จะเป็นการกวาดสายตาเพื่อหาสิ่งที่น่าสนใจ
    2)            ผู้ที่เข้าไปในเว็บส่วนใหญ่ไม่ชอบที่จะใช้แถบเลื่อนด้านข้าง (scrolling) เพื่อการอ่าน ซึ่งผู้อ่านต้องการข้อความที่กระชับและได้ใจความมากกว่า
    3)             ผู้ที่เข้าไปในเว็บต้องการให้สิ่งที่ปรากฏนั้นเป็นข้อเท็จจริงมากกว่าอื่นใด
    จากผลการศึกษาดังกล่าว จะเห็นว่าทั้งการออกแบบและการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศผ่านอินเทอร์เน็ตหรือเวิลด์ไวด์เว็บนั้น เป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้อย่างง่ายๆ จำเป็นต้องผ่านกระบวนการและขั้นตอนมากมาย 
    อย่างไรก็ถ้าหากมีการศึกษาถึงลักษณะและรูปแบบ รวมทั้งแนวทางในการสร้างและออกแบบ เพื่อเป็นแนวทางออกแบบเว็บไซต์ ก็จะทำให้การออกแบบเว็บไซต์ให้ดูดีเป็นเรื่องที่ง่าย เป็นไปอย่างน่าสนใจและน่าติดตามมากขึ้น ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความเห็นว่าควรจะมีการศึกษาถึงลักษณะการออกแบบและการสร้างเว็บไซต์ ด้วยหลักการใช้ทฤษฎีสีและการจัดองค์ประกอบศิลป์ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาเว็บเพจ

    วัตถุประสงค์ของการวิจัย
    1. เพื่อศึกษาลักษณะการออกแบบและการสร้างเว็บเพจให้น่าสนใจและเข้าใจง่ายด้วยหลักทฤษฎีสีและหลักขององค์ประกอบศิลป์
    2. เพื่อนำผลการวิจัยที่ได้ไปเป็นแนวทางในการออกแบบและสร้างเว็บเพจสำหรับคนทั่วไปและมือใหม่หัดทำเว็บ
    คำจำกัดความที่ใช้ในการวิจัย
    1. เว็บไซต์ (web site) หมายถึง ชุดของเอกสารที่เกี่ยวข้องกันในเวิลด์ไวด์เว็บหรือในระบบไฮเพอร์เท็กซ์(hypertext) ใดๆ ที่เอกสารเหล่านั้นมารวมอยู่ด้วยกัน และมีการนำเสนอในลักษณะ
    ไฮเพอร์เท็กซ์ 
    2. โฮมเพจ (home page) หมายถึง หน้าแรกของเว็บไซต์ หรือเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า หน้าต้อนรับ(welcome page) 
    3. เว็บเพจ (web page) หมายถึง หน้าของเอกสารที่บรรจุอยู่ในเว็บไซต์ซึ่งแต่ละเว็บไซต์อาจจะมีเพียงหนึ่งหน้าหรือหลายหน้าก็ได้ 
    4. โปรแกรมค้นดูเว็บ (web browser) หรือเว็บเบราเซอร์ หมายถึง โปรแกรมสำหรับดำเนินการบนคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตและจัดการเข้าถึงเวิลด์ไวด์เว็บ 
    5. เว็บมาสเตอร์ (web master) หมายถึง ผู้สร้างเว็บไซต์หรือผู้ดูแลและบริหารเว็บไซต์
     
    เป็นแนวทางในการออกแบบและสร้างเว็บไซต์มือใหม่ ให้มีดีไซน์ ที่ใช้ง่าย เข้าใจง่าย
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
    บทที่ 2
    เอกสารและข้อมุลที่เกี่ยวข้อง
    เว็บไซต์
             เว็บไซต์ (Web Site) คือ แหล่งที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารและสื่อประสมต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง ข้อความ ของแต่ละบริษัทหรือหน่วยงานโดยเรียกเอกสารต่าง ๆ เหล่านี้ว่า เว็บเพจ (Web Page) และเรียกเว็บหน้าแรกของแต่ละเว็บไซต์ว่า โฮมเพจ (Home Page) หรืออาจกล่าวได้ว่า เว็บไซต์ก็คือเว็บเพจอย่างน้อยสองหน้าที่มีลิงก์ (Links) ถึงกัน ตามหลักคำว่า เว็บไซต์จะใช้สำหรับผู้ที่มีคอมพิวเตอร์แบบเซิร์ฟเวอร์หรือจดทะเบียนเป็นของตนเองเรียบร้อยแล้วเช่น www.google.co.th ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลเป็นต้น
     โฮมเพจ (Home Page)
           โฮมเพจ คือคำที่ใช้เรียกหน้าแรกของเว็บไซต์ ซึ่งประกอบไปด้วยเมนูต่างๆและเรื่องราวต่างๆมากมายคล้ายกับหน้าปกนิตรสารบ้านเรา ดังนั้นหากเราออกแบบหน้าโฮมเพจให้สวยงามและน่าสนใจ โอกาสที่ผู้ชมจะแวะเข้ามาเยี่ยมเยียนโฮมเพจของเราก็จะยิ่งมากตามไปด้วย
          เว็บเพจ (Web Page)
              
    เว็บเพจ คือ คำที่ใช้เรียกหน้าเอกสารต่างๆ ที่อยู่ในรูปแบบไฟล์ HTML (Hyper Text Markup Language) เปรียบเสมือนหน้ากระดาษแต่ละหน้าที่มีเรื่องราวต่างๆมากมายบรรจุอยู่ในนิตรสาร แต่แตกต่างกันตรงที่มีการเชื่อมโยง (Link) ซึ่งเราสามารถคลิกไปที่หน้าใดของโฮมเพจก็ได้
         เว็บไซต์ (Web Site)
               เว็บไซต์ คือ คำที่ใช้เรียกกลุ่มของเว็บเพจ ( ดังนั้นภายในเว็บไซต์จะประกอบไปด้วยโฮมเพจและเว็บเพจ ) โดยเรามักใช้เรียกเว็บที่มีขนาดใหญ่และมีการจดทะเบียนชื่อเว็บไซต์นั้นๆไว้แล้ว (Domain Name) เช่น http://www.geocities.com , http://www.sanook.com , http://www.yahoo.com เป็นต้น

        ถ้าอยากจะเป็นนักออกแบบเว็บไซท์ที่ครบเครื่อง ไม่เพียงแต่ดีไซน์เรื่อยเปื่อยไปวันๆ แต่ผมมีเคล็ดลับ

    1. เว็บไซท์จะต้องมีโลโก้ของเว็บและชื่อ ในทุกๆหน้า และต้องสามารถคลิกที่โลโก้ แล้วกลับมายังหน้าแรกของเว็บได้
    2. ถ้าเว็บไซท์คุณมีเกิน 100 หน้า อย่าช้าเลยที่จะใส่ระบบค้นหา หรือ Search Engine ลงไป เพราะไม่งั้นคนที่เข้าชมต้องบ่นแน่ๆ เพราะกว่าจะหาหน้าที่ต้องการเจอ ตาก็แทบถลนแล้ว... เช่นเว็บสนุก หรือ เว็บยาฮู ที่มีการใส่ระบบค้นหาลงไป
    3. ระบุชื่อ Title ของเพจ ลงไปด้วยทุกๆหน้า ว่าเกี่ยวกับอะไรแล้ว อย่าปล่อยให้โล่ง หรือขึ้นคำว่า Untitle Page เพราะว่า มันจะทำให้ดูไม่เป็นมืออาชีพ ซึ่งมันจะช่วยทำให้การค้นหาในภายหลังง่ายยิ่งขึ้นด้วย
    4. พยายามกระชับโครงสร้างของเว็บไซท์ ไม่ให้เละเทะ เยิ่นเย้อ หัวข้อสะเปะสะปะไปหมด แบบนี้แย่ครับ กรุณาจัดโครงสร้างให้เรียบร้อย หัวข้อไหนที่มันคล้ายคลึงกัน ก็ยุบให้มันเหลืออันเดียวที่ เข้าใจได้ชัดสุด จะดีกว่า
    5. อย่ายัด สินค้า หรือทุกๆสิ่ง ทุกๆอย่างที่มีในเว็บ ลงไปในหน้าเดียว เพราะมันจะทำให้โหลดช้า และคนชมจะด่าเอาด้วย ให้ทำเป็นลิ้งค์ แยกเป็นหัวข้อย่อยๆไว้ แล้วคลิกเข้าไปชม ทีละหน้า

    6. วิธีการใส่รูปสินค้า หรือ รูปภาพ Gallery ให้ใช้วิธีทำเป็นภาพเล็กๆ แล้วให้คนชมสามารถคลิกเลือกได้ ว่าจะดูรูปอะไรแล้วค้อยขยายภาพใหญ่ออกมาอีกที เป็นต้น อย่ายัดรูปจริงๆลงไปรวมกันเลย เพราะอย่างที่บอกว่า เว็บจะโหลดช้าครับ

    7. ยังต่อในเรื่องการจัดภาพ ให้จัดเป็นกลุ่มๆ ตามหัวข้อ ไม่มั่วนิ่มแบบบางเว็บ ที่ไม่มีการแบ่งแยกประเภทให้ชัดเจนแล้วคลิกเข้าไป ค่อยมีรายละเอียดเสริมอีกที

    8. เวลาทำลิ้งค์ ให้ใส่ Link Title ลงไปด้วย เพื่อให้คนชม สามารถรู้ก่อนได้ว่า มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไรก่อนที่จะคลิกถ้าใครไม่รู้ว่ามันคืออะไร 
     

    9. เช็คให้แน่นอนเลยว่า หน้าที่สำคัญๆของเว็บ จะต้องไม่ถูกซ่อน หรือ หาไม่สะดวก แบบคนชมหาที่คลิกไม่เจอ

    10. ข้อสุดท้าย เว็บไซท์ทุกหน้า จะต้องมีแนวทางไปในทางเดียวกัน แบบเอกเทศน์ ไม่ใช่ หน้านึงออกแบบอย่างพอคลิกอีกหน้า ดันทะลึ่งออกแบบอีกอย่าง ชนิดหน้ามือเป็นหลังตูด!!?? จนคนชมนึกว่าคนละเว็บหรือเปล่า
    8 บัญญัติแห่งยุคเจเนอเรชั่นซี๊ด ครับ

    1. อย่าอวดเก่ง
         ไม่ว่าคุณจะเก่งใหญ่หรือเก่งเล็ก จำไว้ว่าคุณไม่ควรจะอวดเก่ง แบบใครคุยเรื่องอะไร กูรู้หมด มึงเคยไปไหน กูก็ไปมาแล้วอย่างนี้ไม่ดีครับ ควรจะปรับปรุงตัวคุณเองใหม่ และรับฟังคนอื่นก่อนบ้าง เผื่อว่าเค้าจะเปิดเผยความลับเทคนิคการออกแบบบางอย่างให้คุณรู้ก็ได้ โดยที่คุณไม่ต้องถามมากเลย

    2. หาความรู้ใส่สมอง
         ถ้าคุณเรียนหนังสือ แล้วคุณไม่เอาความรู้ใส่สมอง ถือว่าใกล้โง่แล้วครับ เรียนไปต้องจำไป เช่นเดียวกับการออกแบบทุกแขนงผมเห็นหนังสือสอนการใช้โปรแกรมต่างๆมากมาย เวลาคุณเดินผ่าน ถ้าคิดว่าค่าขนมเดือนนี้เหลือแน่ๆ ก็ซื้อไว้สักเล่ม รับรองคุณจะต้องคิดถึงหนังสือที่คุณซื้อมาสักวัน เพราะมันจะมีประโยชน์แก่คุณในอนาคต

    3. ตีซี้คนเก่ง
         อันนี้สำคัญ ยิ่งถ้าคุณเป็นพวกมือใหม่หัดเดิน ขอแนะนำเลยให้ตีซี๊คนเก่งเอาไว้เยอะๆ เพราะบุคคลเหล่านี้คือมือปืนโลกพระจันทร์ที่คุณต้องยำเกรง นอบน้อมกับพวกเขาไว้เถิด จะเป็นดี

    4. Photoshop ต้องได้
        สมัยนี้แม้แต่เด็กประถมปลาย ยังใช้โปรแกรม Photoshop เป็นเลยครับ แล้วนับประสาอะไรกับคนที่มีการศึกษาอย่างคุณโปรแกรมนี้ ถ้าไม่เป็นนี่แย่เลยครับ เพราะมันเป็นสะพานเชื่อมให้คุณไปสู่โปรแกรมอื่นๆอย่างไม่ยากเย็น

    5. ศึกษางานชาวบ้าน
         ข้อนี้ไม่ได้บอกให้คุณไปนั่งถามชาวบ้านแถวตลาดนะครับ อย่าเข้าใจผิด เราจะบอกคุณว่า ให้คุณดูแนวทางการออกแบบของคนอื่นๆ ว่าเค้าเป็นอย่างไรกันบ้าง สวยมั้ย เท่ห์ไม่หยอกหรือเปล่า หรือสุนัขไม่รับประทาน อันนี้ต้องศึกษาเรียนรู้ให้หนักเพราะจะทำให้คุณได้ไอเดียใหม่ๆ อยู่เสมอ

    6. อย่าลอกคนอื่นนะเว้ย
         คุณจะมาบอกว่า โอกาสที่สีเหมือนกันได้ หรือ เลย์เอาท์มีสิทธิ์เหมือนกันก็ได้นั้น ถ้าถามคนที่เค้าชำนาญการ พวกนี้ดูก็รู้แล้วว่าคุณก๊อปปี้งานมา หรือคิดเอง เราแนะว่าคุณศึกษางานชาวบ้าน แต่ไม่ได้แนะให้คุณลอกงานคนอื่น ในเมื่อคุณมีสมอง ถ้าคิดว่ามันยังไม่กลวง ก็พยายามคิดงานเอง อาจจะคิดคอนเซ็ปขึ้นมาก่อน แล้วค่อยดีไซน์เลย์เอาท์อะไรก็ว่ากันไป

    7. Relax คือการผ่อนคลาย
         ถ้าคุณนั่งตะบี้ตะบันออกแบบอยู่ทุกๆวัน ระวังเส้นเลือดในสมองคุณอาจจะแตกตายได้ ฉะนั้นควรหาเวลาว่างๆ เบาๆ ออกไปเดินเล่นกับเพื่อนๆ หรือคนสนิท หรืออาจจะไปดูหนัง ฟังเพลง ร้องเพลง อะไรก็ได้ ที่คุณคิดว่าไม่หนักสมองอีกต่อไป

    8. Do it now!! ทำมันเดี๋ยวนี้เลยเพื่อน

          หลังจากคุณซึมซับข้อบัญญัติต่างๆที่เราแนะนำข้างต้นไปแล้ว คราวนี้ถึงเวลาที่คุณต้องโซโล่แล้วล่ะ นำความคิดทั้งหมดในกบาล เค้นออกมาเป็นงานที่สร้างสรรค์บรรลัยกัลป์ ชนิดที่ว่าคนอื่นๆยังต้องทึ่ง ขอให้คุณโชคดี
    http://www.websmartpro.net/home/index.asp?autherid=31&ContentID=10000024
    องค์ประกอบศิลป์ (Composition)
         องค์ประกอบศิลป์ (Composition) หรือเราอาจเรียกว่า  ส่วนประกอบของการออกแบบ (Elements of Design) ก็ได้ หมายถึงการนำสิ่งต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกัน ตามสัดส่วน ตรงตามคุณสมบัติของสิ่งนั้นๆ เพื่อให้เกิดผลงานที่มี ความเหมาะสม ส่วนจะเกิดความงดงาม มีประโยชน์ใช้สอย น่าสนใจหรือไม่นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับคุณภาพ ในการ ปฏิบัติงานการออกแบบ ของเรา
    ต้องคำนึงถึงปัจจัย ดังต่อไปนี้
                1. รูปแบบที่สร้างสรรค์
                2. ความงามที่น่าสนใจ
                3. สัมพันธ์กับประโยชน์ใช้สอย
                4. เหมาะสมกับวัสดุ
                5. สอดคล้องกับการผลิต
    สิ่งต่างๆ ที่เราจะนำมาบูรณาการเข้าด้วยกัน ประกอบด้วย จุด, เส้น, รูปร่าง รูปทรง, ลักษณะผิว, สี, เฉกเช่น ร่างกายของเราประกอบด้วย ส่วนประกอบย่อยๆ คือ ศีรษะ จมูก ปาก ตา หู ลำตัว แขน ขา และอวัยวะ น้อยใหญ่มากมาย หากอวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดมีความบกพร่อง หรือขาดหายไป เราก็จะกลายเป็นคนพิการ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก และไม่ได้รับความสุขสมบูรณ์เท่าที่ควร 
         ในงานศิลปะก็เช่นกัน จำเป็นต้องมีส่วนประกอบต่าง ๆ ของศิลปะที่นำมาจัดประสานสัมพันธ์กัน ให้เกิดคุณค่า ทางความงาม เราเรียกว่า องค์ประกอบศิลป์ (Composition) 
     
         ความสำคัญขององค์ประกอบศิลป์              
         องค์ประกอบศิลป์ เป็นเรื่องที่ผู้เรียน ศิลปะ ทุกคน ต้องเรียนรู้เป็นพื้นฐาน เพื่อที่จะนำได้ไปใช้ได้ กับวิถีชีวิตของเรา เช่น การจัดวางสิ่งของเพื่อตกแต่งบ้าน, การจัดสำนักงาน,การจัดโต๊ะอาหาร, จัดสวน, การออกแบบปกรายงาน, ตัวอักษร, การจัดบอร์ดกิจกรรมต่างๆ รวมถึงผู้เรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สามารถนำไปใช้กับกลุ่มสาระวิชาอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งเหล่านี้ เราต้องอาศัยหลักองค์ประกอบศิลป์ทั้งสิ้น 
     
         ส่วนประกอบขององค์ประกอบศิลป์
        
    ส่วนประกอบขององค์ประกอบศิลป์ ซึ่งจะทำให้เราสร้างสรรค์ผลงานทุกรูปแบบได้น่าสนใจ มีความสวยงาม มีดังนี้
         1. จุด ( Point, Dot)
    คือ ส่วนประกอบที่เล็กที่สุด เป็นส่วนเริ่มต้นไปสู่ส่วนอื่นๆ เช่น การนำจุดมาเรียงต่อกันตามตำแหน่งที่เหมาะสม และซ้ำๆ กัน จะทำให้เรามองเห็นเป็น เส้น รูปร่าง รูปทรง ลักษณะผิว และการออกแบบที่น่าตื่นเต้นได้ จากจุดหนึ่ง ถึงจุดหนึ่งมีเส้นที่มองไม่เห็นด้วยตา แต่เห็นได้ด้วยจินตนาการ เราเรียกว่า เส้นโครงสร้าง
         นอกจากจุดที่เรานำมาจัดวางเพื่อการออกแบบแล้ว เราสามารถพบเห็นลักษณะการจัดวางจุดจากสิ่งเป็นธรรมชาติ ที่อยู่รอบๆ ตัวเรา ได้   เช่น ข้าวโพด รวงข้าว เมล็ดถั่ว ก้อนหิน เปลือกหอย ใบไม้ ลายของสัตว์นานาชนิด ได้แก่ เสือ ไก่ นก สุนัข งู และแมว เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ธรรมชาติได้ออกแบบไว้อย่างสวยงาม มีระเบียบ มีการซ้ำกันอย่าง มี จังหวะ และมีอิทธิพลต่อความคิดของมนุษย์เราเป็นอย่างมาก เช่น การออกแบบลูกคิด ลูกบิดประตู การร้อยลูกปัด สร้อยคอ และเครื่องประดับต่างๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เกิดมาจากจุดทั้งสิ้น
         2. เส้น ( Line)
     เกิดจากจุดที่เรียงต่อกันในทางยาว หรือเกิดจากการลากเส้นไปยังทิศทางต่างๆ มีหลายลักษณะ เช่น ตั้ง นอน เฉียง โค้ง ฯลฯ เส้น คือ ร่องรอยที่เกิดจากเคลื่อนที่ของจุด  หรือถ้าเรานำจุดมาวางเรียงต่อ ๆ กันไป ก็จะเกิดเป็นเส้นขึ้น  เส้นมีมิติเดียว  คือ  ความยาว ไม่มีความกว้าง ทำหน้าที่เป็นขอบเขต ของที่ว่าง รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก  สี   ตลอดจนกลุ่มรูปทรงต่าง ๆ  รวมทั้งเป็นแกนหรือ โครงสร้างของรูปร่างรูปทรง   เส้นเป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะทุกชนิด เส้นสามารถให้ความหมาย แสดงความรู้สึก และอารมณ์ได้ด้วยตัวเอง และด้วยการสร้างเป็นรูปทรงต่าง ๆ ขึ้น  เส้นมี 2 ลักษณะคือ เส้นตรง   (Straight Line) และ เส้นโค้ง (Curve Line) เส้นทั้งสองชนิดนี้เมื่อนำมาจัดวางในลักษณะต่าง ๆ กัน จะมีชื่อเรียกต่าง ๆ และให้ความหมาย ความรู้สึก ที่แตกต่างกันอีกด้วย
     
    3. รูปร่างและรูปทรง ( Shape and Form)
          รูปร่าง คือ พื้นที่ ๆ ล้อมรอบด้วยเส้นที่แสดงความกว้าง และความยาว รูปร่างจึงมีสองมิติ รูปทรง คือ ภาพสามมิติที่ต่อเนื่องจากรูปร่าง โดยมีความหนา หรือความลึก ทำให้ภาพที่เห็นมี ความชัดเจน และสมบูรณ์ 
    ความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรง
     เมื่อนำรูปทรงหลาย ๆ รูปมาวางใกล้กัน  รูปเหล่านั้นจะมีความสัมพันธ์ดึงดูด หรือผลักไส ซึ่งกันและกัน  การประกอบกันของรูปทรง อาจทำได้โดย ใช้รูปทรงที่มีลักษณะใกล้เคียงกันรูปทรงที่ต่อเนื่องกัน รูปทรงที่ซ้อนกัน รูปทรงที่ผนึกเข้าด้วยกัน รูปทรงที่แทรกเข้าหากัน รูปทรงที่สานเข้าด้วยกัน หรือ รูปทรงที่บิดพันกัน การนำรูปเรขาคณิต รูปอินทรีย์ และรูป อิสระมาประกอบเข้าด้วยกัน จะได้รูปลักษณะใหม่ ๆ อย่างไม่สิ้นสุด
    4. น้ำหนัก ( Value)
          ค่าน้ำหนัก คือ ค่าความอ่อนแก่ของบริเวณที่ถูกแสงสว่าง และบริเวณที่เป็นเงาของวัตถุหรือ ความอ่อน- ความเข้มของสีหนึ่ง ๆ หรือหลายสี เช่น สีแดง มีความเข้มกว่าสีชมพู หรือ สีแดงอ่อนกว่าสีน้ำเงิน  เป็นต้น นอกจากนี้ยังหมายถึงระดับความเข้มของแสงและระดับ ความมืดของเงา ซึ่งไล่เรียงจากมืดที่สุด (สีดำ)ไปจนถึงสว่างที่สุด (สีขาว)  น้ำหนักที่อยู่ระหว่างกลางจะเป็นสีเทา ซึ่งมีตั้งแต่เทาแก่ที่สุด จนถึงเทาอ่อนที่สุด  
        ความสำคัญของค่าน้ำหนัก
                     1. ให้ความแตกต่างระหว่างรูปและพื้น หรือรูปทรงกับที่ว่าง 
                     2. ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว
                     3. ให้ความรู้สึกเป็น 2 มิติ แก่รูปร่าง และความเป็น 3 มิติแก่รูปทรง
                     4. ทำให้เกิดระยะความตื้น - ลึก และระยะไกล้ - ไกลของภาพ 
                     5. ทำให้เกิดความกลมกลืนประสานกันของภาพ
     
    ความหมายของสี
    สี หมายถึง แสงที่มากระทบวัตถุแล้วสะท้อนเข้าตาเรา ทำให้เห็นเป็นสีต่างๆ การที่เรามองเห็นวัตถุเป็นสีใดๆ ได้ เพราะวัตถุนั้นดูดแสงสีอื่น สะท้อนแต่สีของมันเอง เช่น วัตถุสีแดง เมื่อมีแสงส่องกระทบ ก็จะดูดทุกสี สะท้อนแต่สีแดง ทำให้เรามองเห็นเป็นสีแดง เรารับรู้สีได้เพราะ เมื่อสามร้อยกว่าปีที่ผ่านมา ไอแซก นิวตัน ได้ค้นพบ ว่า แสงสีขาวจาก ดวงอาทิตย์เมื่อหักเห ผ่านแท่งแก้วสามเหลี่ยม ( prism) แสงสีขาวจะกระจายออกเป็นสีรุ้ง เรียกว่า สเปคตรัม มี 7 สี ได้แก่ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง ส้ม แดง (ศักดา ศิริพันธุ์. 2527 : 5 อ้างถึงใน http://rbu.qru.ac.th/~somsak/design/ lesson5/ lesson_5.html ) และได้มีกำหนดให้เป็นทฤษฎีสีของแสงขึ้น ความจริงสีรุ้งเป็นปรากฏการณ์ ตาม ธรรมชาติ ซึ่งเกิดขึ้น และพบเห็นกันบ่อยๆ อยู่แล้ว โดยเกิดจากการหักเห ของ แสงอาทิตย์หรือ แสงสว่าง เมื่อผ่าน ละอองน้ำในอากาศ ซึ่งลักษณะกระทบต่อสายตาให้เห็นเป็นสี มีผลถึงจิตวิทยา คือมีอำนาจให้เกิดความเข้มของแสง ที่อารมณ์ และความรู้สึกได้ การที่ได้เห็นสีจากสายตา สายตาจะส่งความรู้สึกไปยังสมองทำให้เกิดความรู้สึกต่างๆ ตาม อิทธิพลของสี เช่น สดชื่น เร่าร้อน เยือกเย็น หรือตื่นเต้น มนุษย์เราเกี่ยวข้องกับสีต่างๆ อยู่ตลอดเวลาเพราะ ทุกสิ่ง ที่อยู่รอบตัวนั้น ล้วนแต่มีสีสันแตกต่างกันมากมาย

    แม่สี
    ในวิถีชีวิตของเรา ทุกคนรู้จัก เคยเห็น เคยใช้สี และสามารถบอกได้ว่าสิ่งใดเป็น สีแดง สีเหลือง สีเขียว สีฟ้า สีม่วง สีขาว และสีอื่น ๆ แต่เป็นเพียงรู้จัก และเรียกชื่อสีได้ถูกต้องเท่านั้น จะมีพวกเรากี่คนที่จะรู้จักสีได้ลึกซึ้ง เพราะ เรายังขาดสื่อการเรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้นั่นเอง ปัจจุบันนี้ เรายังมองข้ามหลักวิชา ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ประจำวันของเราอยู่ ถ้าเรารู้จักหลักการเบื้องต้นของสี จะทำให้เราสามารถเขียน ระบาย หรือ เลือกประยุกต์ใช้สี เพื่อสร้างความสุขในการดำเนินวิถีชีวิตของเราได้ดีขึ้น นักวิชาการสาขาต่างๆ ได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องสี จนเกิดเป็นทฤษฎีสี ตามหลักการของนักวิชาการ ดังนี้
    สีขั้นที่ 1 (Primary Color) คือ สีพื้นฐาน มีแม่สี 3 สี ได้แก่
    1. สีเหลือง (Yellow)
    2. สีแดง (Red)
    3. สีน้ำเงิน (Blue)
    สีขั้นที่ 2 (Secondary color)
    คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 หรือแม่สีผสมกันในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะทำให้เกิดสีใหม่ 3 สี ได้แก่
    1. สีส้ม (Orange) เกิดจาก สีแดง (Red) ผสมกับสีเหลือง (Yellow)
    2. สีม่วง (Violet) เกิดจาก สีแดง (Red) ผสมกับสีน้ำเงิน (Blue)
    3. สีเขียว (Green) เกิดจาก สีเหลือง (Yellow) ผสมกับสีน้ำเงิน (Blue)
    สีขั้นที่ 3 (Intermediate Color)
    คือสีที่เกิดจากการผสมกันระหว่างสีของแม่สีกับสีขั้นที่ 2 จะเกิดสีขึ้นอีก 6 สี ได้แก่
    1. สีน้ำเงินม่วง ( Violet-blue) เกิดจาก สีน้ำเงิน (Blue) ผสมสีม่วง (Violet)
    2. สีเขียวน้ำเงิน ( Blue-green) เกิดจาก สีน้ำเงิน (Blue) ผสมสีเขียว (Green)
    3. สีเหลืองเขียว ( Green-yellow) เกิดจาก สีเหลือง(Yellow) ผสมกับสีเขียว (Green)
    4. สีส้มเหลือง ( Yellow-orange) เกิดจาก สีเหลือง (Yellow) ผสมกับสีส้ม (Orange)
    5. สีแดงส้ม ( Orange-red) เกิดจาก สีแดง (Red) ผสมกับสีส้ม (Orange)
    6. สีม่วงแดง ( Red-violet) เกิดจาก สีแดง (Red) ผสมกับสีม่วง (Violet)
    เราสามารถผสมสีเกิดขึ้นใหม่ได้อีกมากมายหลายร้อยสีด้วยวิธีการเดียวกันนี้ ตามคุณลักษณะของสีที่จะกล่าวต่อไป จะเห็นได้ว่าทฤษฎีสีดังกล่าวมีผลให้เราสามารถนำมาใช้เป็นหลักในการเลือกสรรสีสำหรับงานสร้างสรรค์ ของเราได้ ซึ่งงานออกแบบมิได้ถูกจำกัดด้วยกรอบความคิดของทฤษฎีตามหลักวิชาการเท่านั้น แต่เราสามารถ คิดออกนอกกรอบแห่งทฤษฎีนั้นๆ ได้ เท่าที่มันสมองของเราจะเค้นความคิดสร้างสรรค์ออกมาได้

    คุณลักษณะของสีมี 3 ประการ คือ
    1. สีแท้ หรือความเป็นสี (Hue ) หมายถึง สีที่อยู่ในวงจรสีธรรมชาติ ทั้ง 12 สี (ดูภาพสี 12 สีในวงจรสี ด้านซ้ายมือประกอบ) สี ที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้แบ่งเป็น 2 วรรณะ โดยแบ่งวงจรสีออกเป็น 2 ส่วน จากสีเหลือง วนไปถึงสีม่วง คือ
    1. สีร้อน (Warm Color) ให้ความรู้สึกรุนแรง ร้อน ตื่นเต้น ประกอบด้วย
    สีเหลือง สีเหลืองส้ม สีส้ม สีแดงส้ม สีแดง สีม่วงแดง สีม่วง
    2. สีเย็น (Cool Color) ให้ความรู้สึกเย็น สงบ สบายตาประกอบด้วย
    สีเหลือง สีเขียวเหลือง สีเขียว สีน้ำเงินเขียว สีน้ำเงิน สีม่วงน้ำเงิน สีม่วง
    เราจะเห็นว่า สีเหลือง และสีม่วง เป็นสีที่อยู่ได้ทั้ง 2 วรรณะ คือเป็นสีกลาง เป็นได้ทั้งสีร้อน และสีเย็น
    2. ความจัดของสี (Intensity) หมายถึง ความสด หรือความบริสุทธิ์ของสีใดสีหนึ่ง สีที่ถูกผสมด้วย สีดำจนหม่นลง ความจัด หรือความบริสุทธิ์จะลดลง ความจัดของสีจะเรียงลำดับจากจัดที่สุด ไปจน หม่นที่สุด ได้หลายลำดับ ด้วยการค่อยๆ เพิ่มปริมาณของสีดำที่ผสมเข้าไปทีละน้อยจนถึงลำดับที่ความจัดของสีมีน้อยที่สุด คือเกือบเป็นสีดำ
    3. น้ำหนักของสี (Values) หมายถึง สีที่สดใส (Brightness) สีกลาง (Grayness) สีทึบ(Darkness)
    ของสีแต่ละสี สีทุกสีจะมีน้ำหนักในตัวเอง ถ้าเราผสมสีขาวเข้าไปในสีใดสีหนึ่ง สีนั้นจะสว่างขึ้น หรือมีน้ำหนักอ่อนลง ถ้าเพิ่มสีขาวเข้าไปทีละน้อยๆ ตามลำดับ
     
    ความรู้สึกของสี
        สีต่างๆ ที่เราสัมผัสด้วยสายตา จะทำให้เกิดความรู้สึกขึ้นภายในต่อเรา ทันทีที่เรามองเห็นสี ไม่ว่าจะเป็น การแต่งกาย บ้านที่อยู่อาศัย เครื่องใช้ ซึ่งความรู้สึกเกี่ยวกับสี สามารถจำแนกออกได้ดังนี้

    สีแดง ให้ความรู้สึกร้อน รุนแรง กระตุ้น ท้าทาย เคลื่อนไหว ตื่นเต้น เร้าใจ มีพลัง ความอุดมสมบูรณ์ ความมั่งคั่ง ความรัก ความสำคัญ อันตราย สีแดงชาด จะทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์

    สีส้ม ให้ความรู้สึก ร้อน ความอบอุ่น ความสดใส มีชีวิตชีวา วัยรุ่น ความคึกคะนอง การปลดปล่อย ความเปรี้ยว การระวัง

    สีเหลือง ให้ความรู้สึก แจ่มใส ความร่าเริง ความเบิกบานสดชื่น ชีวิตใหม่ ความสด ใหม่ ความสุกสว่าง การแผ่กระจาย อำนาจบารมี
     
    สีเขียว ให้ความรู้สึกงอกงาม สดชื่น สงบ เงียบ ร่มรื่น ร่มเย็น การพักผ่อน การผ่อนคลาย ธรรมชาติ ความปลอดภัย ปกติ ความสุข ความสุขุม เยือก
     
     สีน้ำเงิน ให้ความรู้สึกสงบ สุขุม สุภาพ หนักแน่น เคร่งขรึม เอาการเอางาน ละเอียด รอบคอบ สง่างาม มีศักดิ์ศรี สูงศักดิ์ เป็นระเบียบถ่อมตน

    สีฟ้า ให้ความรู้สึก ปลอดโปร่งโล่ง กว้าง เบา โปร่งใส สะอาด ปลอดภัย ความสว่าง ลมหายใจ ความเป็นอิสระเสรีภาพ การช่วยเหลือ แบ่งปัน

    สีม่วง ให้ความรู้สึก มีเสน่ห์ น่าติดตาม เร้นลับ ซ่อนเร้น มีอำนาจ มีพลังแฝงอยู่ ความรัก ความเศร้า ความผิดหวัง ความสงบ ความสูงศักดิ์

    สีน้ำตาล ให้ความรู้สึกเก่า หนัก สงบเงียบ

    สีขาว ให้ความรู้สึกบริสุทธิ์ สะอาด ใหม่ สดใส

    สีดำ ให้ความรู้สึกหนัก หดหู่ เศร้าใจ ทึบตัน

    สีกับการออกแบบ
     ผู้สร้างสรรค์งานออกแบบจะเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สีโดยตรง มัณฑนากรจะคิดค้นสีขึ้นมาเพื่อใช้ในงานตกแต่ง คนออกแบบฉากเวทีการแสดงจะคิดค้นสีเกี่ยวกับแสง จิตรกรก็จะคิดค้นสีขึ้นมาระบายให้เหมาะสมกับ ความคิด และจินตนาการของตน แล้วตัวเราจะคิดค้นสีขึ้นมาเพื่อความงาม ความสุข สำหรับเรามิได้หรือ
         สีที่ใช้สำหรับการออกแบบนั้น ถ้าเราจะใช้ให้เกิดความสวยงามตรงตามความต้องการของเรา มีหลักในการใช้กว้างๆ อยู่ 2 ประการ คือ การใช้สีกลมกลืนกัน และ การใช้สีตัดกัน
    1. การใช้สีกลมกลืนกัน
    การใช้สีให้กลมกลืนกัน เป็นการใช้สีหรือน้ำหนักของสีให้ใกล้เคียงกัน หรือคล้ายคลึงกัน เช่น
    การใช้สีแบบเอกรงค์ เป็นการใช้สีสีเดียวที่มีน้ำหนักอ่อนแก่หลายลำดับ การใช้สีข้างเคียง เป็นการใช้สีที่เคียงกัน 2 3 สี ในวงสี เช่น สีแดง สีส้มแดง และสีม่วงแดง การใช้สีใกล้เคียง เป็นการใช้สีที่อยู่เรียงกันในวงสีไม่เกิน 5 สี ตลอดจนการใช้สีวรรณะร้อนและวรรณะเย็น ( warm tone colors and cool tone colors) ดังได้กล่าวมาแล้ว
    2. การใช้สีตัดกัน
    สีตัดกันคือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงจรสี (ดูภาพวงจรสี ด้านซ้ายมือประกอบ) การใช้สีให้ตัดกันมีความจำเป็นมาก ในงานออกแบบ เพราะช่วยให้เกิดความน่าสนใจ ในทันทีที่พบเห็น สีตัดกันอย่างแท้จริงมี อยู่ด้วยกัน 6 คู่สี คือ
    1. สีเหลือง ตรงข้ามกับ สีม่วง
    2. สีส้ม ตรงข้ามกับ สีน้ำเงิน
    3. สีแดง ตรงข้ามกับ สีเขียว
    4. สีเหลืองส้ม ตรงขามกับ สีม่วงน้ำเงิน
    5. สีส้มแดง ตรงข้ามกับ น้ำเงินเขียว
    6. สีม่วงแดง ตรงข้ามกับ สีเหลืองเขียว

    การใช้สีตัดกัน ควรคำนึงถึงความเป็นเอกภาพด้วย วิธีการใช้มีหลายวิธี เช่น
    ใช้สีให้มีปริมาณต่างกัน เช่น ใช้สีแดง 20 % สีเขียว 80% หรือ
    ใช้เนื้อสีผสมในกันและกัน หรือใช้สีหนึ่งสีใดผสมกับสีคู่ที่ตัดกัน ด้วยปริมาณเล็กน้อย
    รวมทั้งการเอาสีที่ตัดกันมาทำให้เป็นลวดลายเล็ก ๆ สลับกัน
    ในผลงานชิ้นหนึ่ง อาจจะใช้สีให้กลมกลืนกันหรือตัดกันเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออาจจะใช้พร้อมกันทั้ง 2 อย่าง ทั้งนี้แล้วแต่ความต้องการ และความคิดสร้างสรรค์ของเรา ไม่มีหลักการ หรือรูปแบบที่ตายตัว
    ในงานออกแบบ หรือการจัดภาพ หากเรารู้จักใช้สีให้มีสภาพโดยรวมเป็นวรรณะร้อน หรือวรรณะเย็น เราจะ สามารถควบคุม และสร้างสรรค์ภาพให้เกิดความประสานกลมกลืน งดงามได้ง่ายขึ้น เพราะสีมีอิทธิพลต่อ มวล ปริมาตร และช่องว่าง สีมีคุณสมบัติที่ทำให้เกิดความกลมกลืน หรือขัดแย้งได้ สีสามารถขับเน้นให้ให้เกิด จุดเด่น และการรวมกันให้เกิดเป็นหน่วยเดียวกันได้ เราในฐานะผู้ใช้สีต้องนำหลักการต่างๆ ของสีไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้อง กับเป้าหมายในงานของเรา เพราะสีมีผลต่อการออกแบบ คือ
    1. สร้างความรู้สึก สีให้ความรู้สึกต่อผู้พบเห็นแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และภูมิหลัง ของแต่ละคน สีบางสีสามารถรักษาบำบัดโรคจิตบางชนิดได้ การใช้สีภายใน หรือภายนอกอาคาร จะมีผลต่อการ สัมผัส และสร้างบรรยากาศได้
    2. สร้างความน่าสนใจ สีมีอิทธิพลต่องานศิลปะการออกแบบ จะช่วยสร้างความประทับใจ และความน่าสนใจเป็นอันดับแรกที่พบเห็น
    3. สีบอกสัญลักษณ์ของวัตถุ ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ หรือภูมิหลัง เช่น สีแดงสัญลักษณ์ของไฟ หรือ
    อันตราย สีเขียวสัญลักษณ์แทนพืช หรือความปลอดภัย เป็นต้น
    4. สีช่วยให้เกิดการรรับรู้ และจดจำ งานศิลปะการออกแบบต้องการให้ผู้พบเห็นเกิดการจดจำ ในรูปแบบ และผลงาน หรือเกิดความประทับใจ การใช้สีจะต้องสะดุดตา และมีเอกภาพ
     
    http://innodesign.is.in.th/?md=content&ma=show&id=18
     
     
     
     
     
     
    ขั้นตอนและระยะเวลาในการดำเนินโครงการ องค์ประกอบศิลป์และหลักทฤษฎีสีเพื่อการออกแบบเว็บไซต์
    ผู้เสนอโครงการ นางสาวกิตติยา อิศรเมธางกูร 1521020441123 ภาคปกติ 4 ปี
    คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ สาขาเทคโนโลยีนิเทศศิลป์
     
     
    ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
    ระยะเวลาในการดำเนินงานโครงการ
    มิ.ย.
    .ค.
    .ค.
    .ย.
    1
    2
    3
    4
    1
    2
    3
    4
    1
    2
    3
    4
    1
    2
    3
    4
    เสนอโครงการ
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
    รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     
     

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น