วิชา โครงการพิเศษด้านวิชาชีพ
เรื่อง การออกแบบตัวอักษรอนุรักษ์ไทยในงานพิมพ์
โดย
นางสาว ญาณิศา ไพรศรี
รหัสนักศึกษา 1521020441102
โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศิลปะมหาบัณฑิต
คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ สาขาวิชาเทคโนโลยีนิเทศศิลป์
ภาควิชาการเทคโนโลยีนิเทศศิลป์ 4
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ (พื้นที่ ศาลายา)
ปีการศึกษา 2554
ลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ (พื้นที่ ศาลายา)
บทที่ 1 บทนำ
การเขียนอักษรให้สวยงาม น่าสนใจและชวนอ่าน นับเป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับผู้ที่จะต้องนำตัวอักษรมาใช้เป็นสื่อ แต่ผู้ที่ไม่ถนัดในการเขียน หรือประดิษฐ์ตัวอักษร มักคิดว่า การเขียนตัวอักษรให้สวยงามนั้นทำได้ยาก เพราะไม่มีพรสวรรค์ในทางนี้ จึงไม่ค่อยสนใจเท่าที่ควร ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว การเขียนหรือประดิษฐ์ตัวอักษร ไม่เป็นเรื่องทุ่งยากเลย ทุกคนสามารถที่จะเขียนตัวอักษรให้สวยงามได้เพียงแต่ได้มีความตั้งใจจริง และเรียนรู้ถึงวิธีการเขียนเท่านั้น ก็น่าจะพอ
ก่อนที่จะเรียนรู้วิธีการออกแบบอักษรไทย ควรได้ศึกษาให้รู้ถึงคุณค่าของตัวอักษรซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมูลฐานที่ควรจะเข้าใจ ความเป็นมาของตัวอักษรกำเนิดขึ้นอย่างไร มีแนวคิดมาจากอะไร การนำอักษรไทยมาใช้และทำไมจึงต้องออกแบบอักษร เป็นเรื่องที่ควรทราบทั้งสิ้น
ที่มาและความสำคัญของปัญหา
เนื่องจากในยุคสมัยปัจจุบันการใช้ตัวอักษรในงานพิมพ์ได้พัฒนาไปมาก กลุ่มคนหนึ่งต้องการจะสื่อสารกับอีกคนหนึ่งเป็นจำนวนมาก รูปแบบของบอกต่อจึงเปลี่ยนจาก ปากต่อปาก ไปสู่รูปแบบของการโฆษณา และในปัจจุบันการสื่อสารในเชิงโฆษณาที่เป็นที่นิยมมากที่สุดคือ สื่อสิ่งพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็น โปสเตอร์ ใบปลิว ใบปิดประกาศขนาดใหญ่ ป้ายโฆษณา หรือสิ่งต่างๆรอบตัวเรา รวมไปถึงตามหน้าต่างในWebsite ซึ่งองค์ประกอบหลักในการให้ข้อมูลเพื่อเป็นสารคือ ตัวอักษร ดังจะเป็นได้ว่า ในโลกของเราได้มีตัวอักษรจำนวนมาก แต่ยังไม่เพียงพอสำหรับการนำไปใช้ในสื่อสิ่งพิมพ์
ข้าพเจ้าในฐานะ นิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ ภาควิชาเทคโนโลยีนิเทศศิลป์ ซึ่งเรียนมาทางด้านนี้โดยตรง จึงเลือกที่จะทำโครงการที่เป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆโดยการนำความรู้ที่มีทางด้านศิลปะการออกแบบกับความต้องการของสิ่งพิมพ์ในปัจจุบันมาออกแบบตัวอักษร ที่อาจไม่มีใครเคยทำมาก่อนนั้นคือการนำสิ่งของ 3 มิติ มาเป็น แรงบันดาลใจในการสร้างตัวอักษรซึ่งเป็น 2 มิติ และสามารถนำมาพิมพ์ใช้ได้จริง ทั้งตัวไทย และตัวอังกฤษ
ความมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. เพื่อศึกษาและรวบรวมอิทธิพลขององค์ประกอบหลักในการให้ข้อมูลเพื่อเป็นสาร คือตัวอักษร ที่มีผลต่อความสนใจของผู้บริโภค
2. พัฒนาการออกแบบตัวอักษรให้ตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุด
3. ศึกษาและวิเคราะห์แนวทางในการพัฒนาการออกแบบตัวอักษรทั้งไทย และอังกฤษให้เกิดความน่าสนใจให้ได้มากที่สุด
4. เพื่อสร้างสรรค์ตัวอักษรใหม่ๆสู่วงการงานพิมพ์
5. เพื่อสร้างทางเลือกให้ผู้ที่ต้องการใช้ตัวอักษรในงานต่างๆ
6. สร้างตัวอักษรที่เหมาะสมกับการใช้งาน และเป็นตัวอักษรที่มีความสวยงาม เหมาะกับการสื่อความหมายในงานพิมพ์
สมมติฐาน
การศึกษาการออกแบบตัวอักษรอนุรักษ์ไทยในงานพิมพ์จะสามารถนำไปเป็นแนวในการออกแบบเพื่อสร้างความสนใจกับกลุ่มเป้าหมายได้
ขอบเขตทางการศึกษา
1. กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ใหญ่ กลุ่มวัยรุ่น กลุ่มวัยเรียนหรือวัยเด็กโดยใช้หนังสือออกแบบตัวอักษรเป็นแนวทาง
2. งานวิจัยนี้มุงศึกษาเฉพาะการออกแบบตัวอักษร ได้แก่ ตัวไทย และตัวอังกฤษ
3. ตัวอย่างตัวอักษรที่เลือกมาเป็นกรณีศึกษา จะเป็นตัวอักษรที่มีการใช้เท่าไป
กลุ่มเป้าหมาย
ทุกกลุ่มวัย เช่น นักเรียน นักศึกษา วัยทำงาน
ขั้นตอนการดำเนินงาน
สัปดาห์ที่ 1 เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
สัปดาห์ที่ 2 - 3 ศึกษารวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการออกแบบตัวอักษรทั้ง แบบไทยและแบบอังกฤษ
สัปดาห์ที่ 4 7 ออกแบบตัวอักษรและร่างตัวอักษร วางแผนเพื่อปฏิบัติงานจริง ส่งแบบ ร่างพร้อมเอกสาร
สัปดาห์ที่ 8 แก้ไขปรับปรุงในขั้นสุดท้าย พร้อมปฏิบัติงานจริง
สัปดาห์ที่ 9 ส่งงานจริง 50 %
สัปดาห์ที่ 10 - 11 ปฏิบัติงานจริง จนเสร็จสมบูรณ์ และพร้อมส่งภาคเอกสารฉบับร่าง
สัปดาห์ที่ 12 รวบรวมข้อมูลจัดทำส่งเป็นภาเอกสารฉบับสมบูรณ์ พร้อมที่จะส่งงาน ทั้งหมด
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทำให้กลุ่มเป้าหมาย ได้ใช้ตัวอักษรที่ออกแบบมาเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน
2. ได้ทราบถึงประโยชน์ของตัวอักษร
3. ได้ทราบถึงรูปแบบและขั้นตอนออกแบบตัวอักษร
4. สามารถสร้างสรรค์ตัวอักษรออกมาในแบบต่างๆได้
5. ได้ฝึกการออกแบบตัวอักษรไปในตัวและฝึกฝนการใช้โปรแกรมต่างๆ
คำจำกัดความที่ใช้ในการศึกษา
ตัวอักษร ( Alphabet or Letters and Typefaces )
ตัวอักษรไม่เป็นเพียงสื่อข้อมูลตามอักขระ แต่สามารถสื่ออารมณ์ หรือความหมายทางสัญลักษณ์ ซึ่งง่ายต่อการจดจำของผู้รับสารมากกว่าเนื้อหาของข้อมูลนั้น ศิลปะการใช้ตัวพิมพ์ ( Typography ) จึงเป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการสร้างความจดจำ การสื่อสารด้วยตัวอักษรที่แตกต่าง และโดดเด่นอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยสร้างความประทับบนความจดจำในสมองของผู้บริโภคอย่างอัตโนมัติ การเลือกใช้แบบอักษร ( Font ) ให้มีประสิทธิภาพผู้ออกแบบจะต้องมีความรู้ในเรื่องประเภทของตัวพิมพ์ ( Type Classification ) แต่ละประเภท รูปร่าง ลักษณะ หน้าตา บุคลิกของตัวอักษร การจัดระยะตัวอักษร ( Letter Spacing ) การชดเชยทางสายตา การทิ้งระยะระหว่างบรรทัด ความชัดเจนในการอ่าน ( Legibilility )
การออกแบบตัวอักษรต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆประกอบด้วย เป็นสินค้าอะไร กลุ่มเป้าหมายคือใคร เด็ก ผู้ใหญ่ ผู้ชาย ผู้หญิง หรือคนสูงอายุ ขายสินค้าที่ไหน ฯลฯ ลักษณะของตัวอักษรที่ใช้ในงานพิมพ์ จะโยงไปถึงกลุ่มเป้าหมายของสินค้าได้ ตัวอักษรในงานพิมพ์จะต้องอ่านง่าย ชัดเจน สะดุดตา
ลักษณะของตัวอักษร
ลักษณะของตัวอักษรไทย มีรูปแบบซึ่งแบ่งได้เป็น 4 รูปแบบ คือ
1. รูปแบบทางราชการ ได้แก่ ตัวอักษรที่มีลักษณะแบบเรียบ ๆ อ่านง่าย นิยมใช้กันมากโดยเฉพาะงานที่เกี่ยวกับทางราชการ องค์การต่าง ๆ ใช้ในการพิมพ์หนังสือเรียน เป็นแบบที่เรียบร้อยแสดงถึงความเป็นระเบียบแบบแผนของความเป็นไทย ลักษณะของตัวอักษรจะเป็นหัวกลม เช่น
โรงเรียนแม่ใจวิทยาคม
2. รูปแบบอาลักษณ์ หมายถึง แบบตัวอักษรที่ใช้ในราชสำนักมาแต่โบราณ นับแต่พระบรมราชโองการ เอกสารทางราชการ หรือการจารึกเอกสารสำคัญ เช่นรัฐธรรมนูญ งานเกียรติยศต่าง ๆ
3. รูปแบบสมเด็จกรมพระนริศฯ หมายถึง ลักษณะตัวอักษรที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้คิดรูปแบบขึ้น ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันมาก เพราะเป็นแบบที่ใช้เขียนได้อย่างรวดเร็ว สะดวก และเหมาะสมกับการเขียนด้วยปากกา สปีดบอลล์ พู่กันแบน และสีเมจิกชนิดปลายตัด หรือที่เรียกว่า อักษรหัวตัด
4. รูปแบบประดิษฐ์ หมายถึง รูปแบบตัวอักษรที่เกิดจากการออกแบบสร้างสรรค์เพื่อนำไปใช้ให้เหมาะสมกับงานประเภทต่าง ๆ เช่น งานออกแบบโฆษณา หัวเรื่องหนังสือ ฯลฯ ซึ่งออกแบบให้เป็นแบบเหลี่ยม แบบวงกลม แบบโค้ง และแบบอื่น ๆ ตามความเหมาะสม
วิธีการออกแบบตัวอักษร
การออกแบบตัวอักษร นักเรียนจะต้องรู้จักกำหนดความสูง ความกว้าง และความยาวของประโยค ตัวอักษรที่จะออกแบบเพื่อให้ได้ตัวอักษรที่เหมาะสมกับเนื้อที่อย่างเหมาะสม
วิธีการออกแบบตัวอักษรแบ่งออกเป็น 4 ขั้น ดังนี้
1. ตีเส้นกำกับบรรทัด (Guide line) คือ การขีดเส้นตามแนวนอน ห่างกันตามความสูงของตัวอักษร เว้นด้านล่าง และด้านบน เหลือไว้พอสมควร เพื่อเขียนสระและวรรณยุกต์ เส้นกำกับบรรทัดนี้ควรขีดให้เบาพอมองเห็น เพื่อใช้เป็นแนวร่างตัวอักษรให้มีขนาดตามต้องการ
2. ตีเส้นร่างตามขนาดและจำนวนตัวอักษร ในการออกแบบตัวอักษรลงบริเวณใด เพื่อความเหมาะสมและสวยงาม จึงควรนับจำนวนตัวอักษรที่จะเขียนทั้งหมด แล้วจึงคำนวณเนื้อที่ทั้งหมดสำหรับบรรจุตัวอักษรลงไป แล้วตีเส้นร่างเบา ๆ ตามขนาดและจำนวนตัวอักษรทั้งหมด
3. การร่างตัวอักษร การร่างควรเขียนด้วยเส้นเบา เพื่อสะดวกต่อการลบ เมื่อเกิดการผิดพลาดหรือเมื่องานเสร็จแล้ว จะได้ลบเส้นที่ไม่ต้องการออกได้ง่ายไม่สกปรก
4. การลงสี เมื่อได้แบบตัวอักษรที่แน่นอนแล้วจึงลงสี หรือหมึก ให้เกิดความสวยงามตามต้องการ
วิวัฒนาการของตัวอักษร
อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่นๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ
อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่งภาษาไทยมีตัวเลขเป็นของตัวเอง แต่นิยมใช้เลขอารบิกเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน
วิวัฒนาการ
ราว พ.ศ. 400 ไทยได้อพยพจากถิ่นเดิมมาตั้งภูมิลำเนาอยู่ใกล้อาณาเขตมอญ ซึ่งกำลังเป็นชาติที่เจริญรุ่งเรืองในสมัยนั้น เริ่มแรกคงเริ่มเลียนแบบตัวอักษรมาจากมอญ ต่อมาราว พ.ศ. 1500 เมื่อขอมขยายอำนาจเข้ามาในดินแดนของคนไทยซึ่งตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำยม และได้ปกครองเมืองเชรียงและเมืองสุโขทัย ไทยก็เริ่มดัดแปลงอักษรที่มีอยู่เดิมให้คล้ายกับอักษรขอมหวัด
อักษรมอญและอักษรขอมที่เรานำมาดัดแปลงใช้นั้นล้วนแปลงรูปมาจากอักษรพราหมี ของพวกพราหมณ์ซึ่งแพร่หลายในอินเดียตอนเหนือ และอักษรสันสกฤตในสมัยราชวงศ์ปัลลวะ ซึ่งแพร่หลายบริเวณอินเดียตอนใต้ อักษรอินเดียทั้งคู่นี้ต่างก็รับแบบมาจากอักษรฟินิเชียนอีกชั้นหนึ่ง อักษรเฟนีเซียนับได้ว่าเป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นแม่แบบตัวอักษรของชาติต่างๆ ทั้งในเอเชียและยุโรป
ราว พ.ศ. 1826 พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์อักษรไทยที่เรียกกันว่า "ลายสือไทย" ขึ้น ซึ่งได้เค้ารูปจากอักษรอินเดียฝ่ายใต้ รวมทั้งอักษรมอญและเขมรที่มีอยู่เดิม (ซึ่งต่างก็ถ่ายแบบมาจากอักษรอินเดียฝ่ายใต้ทั้งสิ้น) ทำให้อักษรไทยมีลักษณะคล้ายคลึงกับอักษรทั้งสาม แม้บางตัวจะไม่คล้ายกัน แต่ก็สามารถรู้ได้ว่าดัดแปลงมาจากอักษรตัวไหน
อักษรไทยมีการปรับปรุงอยู่เรื่อยๆ ในสมัยพญาฦๅไทราว พ.ศ. 1900 มีการแก้ไขตัวอักษรให้ผิดเพี้ยนไปบ้างเล็กน้อย โดยเฉพาะการเพิ่มเชิงที่ตัว ญ ซึ่งใช้ติดต่อเรื่อยมาจนทุกวันนี้ คาดว่าน่าจะเอาอย่างมาจากเขมร ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ราว พ.ศ. 2223 ตัวอักษรเริ่มมีทรวดทรงดีขึ้นแต่ก็ไม่ทิ้งเค้าเดิม มีบางตัวเท่านั้นที่แก้ไขผิดไปจากเดิม คือตัว ฎ และ ธ ซึ่งเหมือนกับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน นักวิชาการจำนวนหนึ่งเชื่อว่าในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตัวอักษรและการใช้งานมีความคล้ายคลึงกับในปัจจุบันมากที่สุด
พยัญชนะ
พยัญชนะไทยมี 44 รูป สามารถแบ่งตามฐานที่ใช้ในการออกเสียงเป็นวรรค ดังเช่นในภาษาบาลีและสันสกฤต พร้อมแสดงชื่อเรียกในปัจจุบัน
วรรค กะ - ก ไก่ ข ไข่ ฃ ขวด* ค ควาย ฅ คน* ฆ ระฆัง ง งู
วรรค จะ - จ จาน ฉ ฉิ่ง ช ช้าง ซ โซ่ ฌ เฌอ ญ หญิง
วรรค ฏะ - ฎ ชฎา ฏ ปฏัก ฐ ฐาน ฑ มณโฑ ฒ ผู้เฒ่า ณ เณร
วรรค ตะ - ด เด็ก ต เต่า ถ ถุง ท ทหาร ธ ธง น หนู
วรรค ปะ - บ ใบไม้ ป ปลา ผ ผึ้ง ฝ ฝา พ พาน ฟ ฟัน ภ สำเภา ม ม้า
เศษวรรค - ย ยักษ์ ร เรือ ล ลิง ว แหวน ศ ศาลา ษ ฤๅษี ส เสือ ห หีบ
ฬ จุฬา อ อ่าง ฮ นกฮูก
* เนื่องจาก ฃ และ ฅ ปัจจุบันไม่พบการใช้งาน จึงอนุโลมใช้ ข และ ค แทนในการสะกดพยัญชนะไทยยังแบ่งออกเป็น 3 หมู่ เรียกว่า ไตรยางศ์ ประกอบด้วย
อักษสูง 11 ตัว ได้แก่ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
อักษรกลาง 9 ตัว ได้แก่ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
อักษรต่ำ 24 ตัว ได้แก่ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ
สระ
สระในภาษาไทยมี 21 รูป ซึ่งรูปสระเหล่านี้จะนำไปประกอบเป็นรูปสระที่ใช้จริงอีกต่อหนึ่ง
ะ วิสรรชนีย์ นมนางทั้งคู่
ั ไม้หันอากาศ หางกังหัน ไม้ผัด
็ ไม้ไต่คู้ ไม้ตายคู้
า ลากข้าง
ิ พินทุ์อิ
่ ฝนทอง
ํ นิคหิต นฤคหิต หยาดน้ำค้าง
" ฟันหนู, มูสิกทันต์
ุ ตีนเหยียด ลากตีน
ู ตีนคู้
เ ไม้หน้า
ใ ไม้ม้วน
ไ ไม้มลาย
โ ไม้โอ
อ ตัวออ
ย ตัวยอ
ว ตัววอ
ฤ ตัวรึ
ฤๅ ตัวรือ
ฦ ตัวลึ
ฦๅ ตัวลือ
วรรณยุกต์
วรรณยุกต์ในภาษาไทยมี 4 รูป 5 เสียงคำทุกคำในภาษาไทยจะมีเสียงวรรณยุกต์เสมอ แม้ว่าจะไม่มีรูปวรรณยุกต์แสดงให้เห็นก็ตาม
รูปวรรณยุกต์
่ ไม้เอก
้ ไม้โท
๊ ไม้ตรี
๋ ไม้จัตวา
เสียงวรรณยุกต์
- เสียงสามัญ
- เสียงเอก
- เสียงโท
- เสียงตรี
- เสียงจัตวา
ตัวเลข
ตัวเลขที่เป็นอักษรไทย เรียกว่าเลขไทย มีลักษณะดังนี้
๐ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙
วิธีการบอกจำนวนใช้ระบบประจำหลักเหมือนกับตระกูลเลขฮินดู-อารบิกอื่นๆ
เครื่องหมายวรรคตอน
. มหัพภาค หรือ จุด
, จุลภาค หรือ ลูกน้ำ
; อัฒภาค
: ทวิภาค หรือ ต่อ
:- วิภัชภาค
- ยัติภังค์
ยัติภาค
() นขลิขิต หรือ วงเล็บ
[] วงเล็บเหลี่ยม
{} วงเล็บปีกกา
? ปรัศนี
! อัศเจรีย์
อัญประกาศ
... จุดไข่ปลา
_ _ _ เส้นประ
" บุพสัญญา
/ ทับ
ๆ ไม้ยมก
ฯ ไปยาลน้อย หรือ เปยยาลน้อย
ฯลฯ ไปยาลใหญ่ หรือ เปยยาลใหญ่
๏ ฟองมัน หรือ ตาไก่
๏" ฟองมันฟันหนู หรือ ฟันหนูฟองมัน
ฯ อังคั่นเดี่ยว คั่นเดี่ยว หรือ คั่น
๚ อังคั่นคู่ หรือ คั่นคู่
๚ะ อังคั่นวิสรรชนีย์
๛ โคมูตร
๎ ยามักการ
์ ทัณฑฆาต (ตัวการันต์ คือพยัญชนะที่ถูกทัณฑฆาตกำกับ เช่น ก์ เรียกว่า กอการันต์)
ฺ พินทุ
┼ ตีนครุ หรือ ตีนกา
มหัตถสัญญา (ย่อหน้า)
สัญประกาศ (ขีดเส้นใต้)
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
อักษรตัวพิมพ์
อักษรตัวพิมพ์ คือ อักษรสำเร็จที่ได้รับการออกแบบและผลิตเป็นแม่แบบไว้สำหรับเลือกใช้ในงานพิมพ์ต่าง ๆ อักษรตัวพิมพ์มีความสำคัญต่อการออกแบบกราฟิกมาก บางครั้งก็นำมาเป็นสิ่งดึงดูดใจในสื่อนั้น ด้วยการเลือกใช้ตัวอักษรที่มีรูปแบบแปลก น่าสนใจ หรือการขยายให้มีขนาดใหญ่เป็นพิเศษและการใช้สีสันเข้าช่วย ตัวอักษรตัวพิมพ์ใช้เสนอเนื้อหาสาระข้อมูลที่ต้องการนำเสนอ โดยจะเลือกใช้ตัวอักษรที่มีรูปแบบเรียบ ชัดเจน อ่านง่าย รูปแบบอักษรตัวพิมพ์อาจแบ่งได้ ดังนี้
1. ตัวอักษรแบบมีเชิง (Serif) เป็นแบบตัวอักษรที่มีเส้นยื่นของฐานและปลายตัวอักษรในทางราบที่เรียกว่า Serif ลักษณะของตัวอักษรจะมีเส้นตัวอักษรเป็นแบบหนาบางไม่เท่ากัน เหมือนการเขียนประดิษฐ์ด้วยขนนกหรือปากกาแบบแบน มีหลายรูปแบบและตั้งชื่อรูปแบบแตกต่างกันออกไป
2. ตัวอักษรแบบไม่มีเชิง (Sans Serif) เป็นลักษณะของตัวอักษรอีกแบบหนึ่งที่รูปแบบเรียบง่าย ดูเป็นทางการ ต่าจากแบบแรก คือ ไม่มีเชิง หมายถึงไม่มีเส้นยื่นออกมาจากฐานและปลายของตัวอักษรในทางราบ นิยมใช้ในงานพิมพ์ทั่วไปและงานประชาสัมพันธ์
3. ตัวอักษรแบบตัวเขียน (Script) ตัวอักษรแบบนี้เป็นแบบที่แตกต่างไป การออกแบบจะเน้นให้ตัวอักษรมีลักษณะคล้ายกับการเขียนด้วยลายมือ ซึ่งมีหางโยงต่อเนื่องกันระหว่างตัวอักษร มีขนาดเส้นอักษรหนาบางแตกต่างกัน นิยมทำให้เอียงเล็กน้อย
4. ตัวอักษรแบบตัวอาลักษณ์ (Text Letter) เป็นตัวอักษรโรมันแบบตัวเขียนอีกลักษณะหนึ่ง มีลักษณะเป็นแบบประดิษฐ์มีเส้นตั้งดำหนา ภายในตัวอักษรมีเส้นหนาบางคล้ายกับการเขียนด้วยพู่กัน หรือปากกาปลายตัด นิยมใช้ในการจารึกในเอกสารตำราสมัยโบราณ
5. ตัวอักษรแบบประดิษฐ์ (Display Type) หรือตัวอักษรตัวพิมพ์ขนาดใหญ่ มีลักษณะเด่น คือ การออกแบบตกแต่งตัวอักษรให้สวยงามเพื่อดึงดูดสายตา มีขนาดความหนาของเส้นอักษรที่หนากว่าแบบอื่น ๆ จึงนิยมใช้เป็นหัวเรื่อง ประกาศนียบัตร ฯลฯ
6. ตัวอักษรแบบสมัยใหม่ (Modern Type) เป็นตัวอักษรที่ประดิษฐ์ขึ้น มีลักษณะเรียบง่ายใช้ในงานประชาสัมพันธ์
ลักษณะของตัวอักษร (Type Character)
นอกจากรูปแบบของตัวอักษรที่มีลักษณะแตกต่างกันแล้ว การสร้างแบบตัวอักษรยังมีแนวคิดให้เกิดความแตกต่างอย่างหลากหลาย ทำให้มีลักษณะเฉพาะตัวของตัวอักษรที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น
ประเภทตัวเอน (Italic)
ประเภทตัวธรรมดา (Normal)
ประเภทตัวบางพิเศษ (Extra Light)
ประเภทตัวแคบ (Condensed)
ประเภทตัวบาง (Light)
ประเภทตัวหนา (Bold)
ประเภทตัวเส้นขอบ (Outline)
ประเภทตัวหนาพิเศษ (Extra Bold)
ประเภทตัวดำ (Black)
ขนาดของตัวอักษร (Size Type)
ขนาดของตัวอักษรในงานออกแบบกราฟิกมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะต้องใช้สื่อสารให้เกิดความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การใช้หน่วยกำหนดขนาดตัวอักษรเป็นสากลจึงเป็นที่แพร่หลาย เราจึงควรต้องทำความเข้าใจในเรื่องนี้ด้วยขนาดของตัวอักษรเป็นการกำหนดขนาดที่เป็นสัดส่วนของขนาดความกว้างกับความสูงและรูปร่างของตัวอักษร โดยถือเอาความสูงเป็นหลักในการจัดขนาดที่เรียกว่า พอยต์ (Point) ขนาดของตัวอักษรหัวเรื่องมักจะใช้ขนาดตั้งแต่ 16 พอยต์ขึ้นไป ส่วนขนาดของเนื้อหาก็จะใช้ขนาดประมาณ 6 พอยต์ ถึง 16 พอยต์ แล้วแต่ลักษณะงานนั้น ๆ
12 พอยต์=1 ไพก้า
6 ไพก้า=1 นิ้ว (2.5 ซ.ม.)
72 พอยต์=1 นิ้ว
ขนาดทางราบหรือทางกว้างของตัวอักษร เมื่อเรียงกันไปเป็นคำหรือความยาวใน 1 บรรทัด หรือที่เรียกว่าเป็น ความยาวคอลัมน์ ก็กำหนดเป็น ไพก้า (Pica)
ระยะช่องไฟของตัวอักษร (Spacing)
การจัดระยะช่องไฟของตัวอักษรเป็นเรื่องสำคัญมาก ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า ตัวอักษรข้อความที่ถูกออกแบบจัดวางอย่างสวยงาม ทำให้ผู้ดูอ่านง่าย ดูสบายตา ชวนดู ชวนอ่าน การจัดช่องไฟนั้นมีหลักที่ควรคำนึงถึง 3 ประการ ได้แก่
1. ระยะช่องไฟระหว่างตัวอักษร (Letter spacing) เป็นการกำหนดระยะช่องไฟระหว่างตัวอักษรแต่ละตัว ที่จะต้องมีระยะห่างกันพองาม ไม่ติดกันหรือห่างกันเกินไป การเว้นระยะช่องไฟแต่ละตัวไม่ควรกำหนดค่าว่าต้องห่างเท่าใด เพราะตัวอักษรแต่ละตัวทั้งภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษมีลักษณะที่แตกต่างกัน เราควรจัดช่องไฟโดยคำนึงถึงปริมาตรที่มีความสมดุลโดยประมาณในระหว่างตัวอักษร หรือที่เรียกว่า ปริมาตรความสมดุลทางสายตา
2. ระยะช่องไฟระหว่างคำ (Word Spacing) ส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษมากกว่าระยะระหว่างคำโดยทั่วไปจะเว้นระยะระหว่างคำประมาณ 1 ตัวอักษรปกติ ถ้าระยะห่างเกินไปจะทำให้อ่านยาก และถ้าชิดกันเกินไปทำให้ขาดความงามไป
3. ระยะช่องไฟระหว่างบรรทัด (Line Spacing) แนวคิดของการเว้นระยะระหว่างบรรทัด มีจุดประสงค์เพื่อให้อ่านง่าย ดูสวยงาม โดยปกติจะใช้ระยะห่าง 0-3 พอยต์ หลักสำคัญในการกำหนดระยะระหว่างบรรทัดให้วัดส่วนสูง และส่วนต่ำสุดของตัวอักษร เมื่อจัดวางบนบรรทัดแล้วต้องไม่ทับซ้อนกัน
แบบการจัดตัวอักษร (Type Composition)
แบบการจัดตัวอักษรหัวเรื่อง หรือการจัดเนื้อหาย่อย มีวิธีการจัดหลายวิธี ตามความต้องการที่ได้ออกแบบไว้ การจัดตัวอักษรอาจจะกระทำได้หลายวิธี ดังนี้
1.แบบชิดซ้าย (Flush Left)
2.แบบชิดขวา (Flush Right)
3.แบบซ้ายขวาตรงกัน (Justified)
4.แบบศูนย์กลาง (Centered)
5.แบบรอบขอบภาพ (Contour)
6.แบบไม่สมดุล (Asymmetrical)
7.แบบรูปธรรม (Concrete)
8.แบบแนวตั้ง (Vertical Type)
9.แบบเอียง (Inclined Type)
การพิมพ์ ( PRINTING )
ระบบการพิมพ์ ( Printing Systems )
การพิมพ์ระบบกราเวียร์ (Gravure Printing)
การพิมพ์จากแม่พิมพ์ที่เป็นร่องลึก (gravure หรือ Intaglio อ่านว่ากราวัวร์หรืออินทาลโย) การพิมพ์วิธีนี้ส่วนที่ต้องการพิมพ์จะถูกแกะเป็นร่องลึกลงไปในแม่พิมพ์เมื่อจะพิมพ์เอาหมึกทาลงบแม่พิมพ์ หมึกจะมีลักษณะค่องข้างเหลว จะฝ้งตัวอยู่ในร่องที่แกะไว้ในแม่พิมพ์ แล้วก็เช็ดหมึกที่ติดอยู่บนหน้าแม่พิมพ์ออกให้หมดให้เหลือไว้แต่เฉพาะหมึกที่อยู่ในร่องบนแม่พิมพ์แล้วใช้แรงกดกกระดาษลงบนแม่พิมพ์หมึกนี้ก็จะเกาะติดกระดาษขึ้นไปก็จะได้ชิ้นพิมพ์ตามที่ต้องการ
การพิมพ์วิธีนี้ให้คุณภาพการพิมพ์ที่ดีเยี่ยมทั้งตัวหนังสือ ภาพลายเส้น ภาพลายสกรีน และภาพลายธรรมชาติ การปลอมแปลงก็ทำได้ยาก การพิมพ์วิธีนี้จึงใช้สำหรับการพิมพ์เอกสารสำคัญ เช่น ธนบัตร แสตมป์ พันธบัตร ใช้พิมพ์ของที่ต้องการคุณภาพสูง เช่น การจำลองภาพเขียนของนักเขียนที่มีชื่อเสียงแลใช้พิมพ์สิ่งพิมพ์ที่พิมพ์เป็นปริมาณมากๆ นอกจากจะพิมพ์บนกระดาษแล้วยังใช้พิมพ์บนผ้าบนพลาสติกได้อีกด้วย ปริมาณการพิมพ์มักใช้พิมพ์สิ่งของที่มีปริมาณมากๆหรือของที่ต้องการคุณภาพสูง
ที่มา หนังสือและการพิมพ์ (กำธรสถิรกุล)
http://www.apichat.net
การพิมพ์ ระบบ Gravure - โดยทั่วไปเราจะรู้จักกันในด้าน ถุง ต่างๆ เช่น ถุงLL ถุงใส ถุงลามิเนท (Laminate) เช่น ถุงแช่แข็ง ถุงสแน็ค หรือ ถุงOPP/LL NYLON/LL OPP/CPP PET/CPP หรือ ซองอลู อลูมิเนียมฟลอยด์ ซองแมทเทอร์ไรท์ ตลอดจน ถุงใส่ปากกา ถุงใส่ไอศกรีม กระดาษเคลือบPE เป็นต้น
การพิมพ์ offset
ประวัติการพิมพ์ offset
มีต้นกำเนิดมาจากการพิมพ์หิน โดยการค้นพบของ "อลัวส์ เซเนเฟลเดอร์" โดยความบังเอิญ ด้วยการใช้แท่งไขมันเขียนบนแท่งหิน ขัดเรียบ และใช้น้ำบางๆ หรือความชื้นคลุมพื้นที่ที่ไม่ต้องการให้เกิดภาพ หรือความชื้นคลุมพื้นที่ที่ไม่ต้องการให้เกิดภาพ แล้วจึง คลึงหมึกตามลงไป ไขมันในส่วนที่เป็นภาพจะรับหมึก และส่วนที่เปียกน้ำก็จะผลักดันหมึก ไม่ให้ปนกัน โดยใช้หลักการทาง วิทยาศาสตร์ที่ว่า "น้ำกับน้ำมันจะไม่รวมตัวกัน" ต่อมาจากความผิดพลาด หมึกจึงพิมพ์ลงบนผ้ายาง ทำให้เกิดการพิมพ์ทางอ้อม จึงเรียกว่า "Offset Lithography"
หลักในการพิมพ์ Offset
หลักของการพิมพ์ offset คือ น้ำกับน้ำมันจะไม่รวมตัวกัน ซึ่งบนแผ่นแม่พิมพ์จะมีทั้งสองส่วน คือ บริเวณที่ไม่มีภาพ ก็จะเป็นบริเวณที่รับน้ำ และในส่วนที่มีภาพก็จะเป็นสารเคมีที่เป็นพวกเดียวกับหมึก
หน้าที่ของบริเวณทั้งสองของแม่พิมพ์
1. ส่วนที่ไร้ภาพและรับน้ำ จะทำหน้าที่ในการรับน้ำหรึอความชื้น และผลักดันหมึกให้ออกนอกบริเวณ
2. ส่วนที่เป็นภาพจะทำหน้าที่รับหมึก และผลักดันน้ำมันออกนอกบริเวณของตน ซึ่งในแต่ละส่วนจะทำหน้าที่ๆแตกต่างกัน
หลักในการถ่ายทอดภาพของเครื่องพิมพ์อ๊อฟเซท
อ๊อฟเซทเป็นระบบการพิมพ์พื้นฐานทั่วไปในระบบ 3 โม คือ
1. โมแม่พิมพ์
2. โมผ้ายาง
3. โมแรงกด
พร้อมด้วยระบบทำความชื้น และระบบการจ่ายหมึกให้แก่ แม่พิมพ์เมื่อมีการเคลื่อนไหวแม่พิมพ์จะหมุนไปรับน้ำ หรือ ความชื้น แล้วจึงหมุนไปรับน้ำ แล้วจึงไปรับหมึก เมื่อแม่พิมพ์รับหมึกในบริเวณภาพแล้ว จะหมุนลงไปถ่ายโอนไปให้โมผ้ายาง แล้วจึงถ่านลงวัสดุพิมพ์ โดยมีโมกดพิมพ์รองรับอยู่ เป็นระบบการพิมพ์ทางอ้อม
ประโยชน์ของการพิมพ์ทางอ้อม
1. ในการพิมพ์ภาพลงสู่ผ้ายาง ผิวของผ้ายางมีความอ่อนนุ่มจึงสามารถแนบกระชับกับผิวของของการดาษที่เป็นแอ่ง และขรุขระได้ดีกว่าการใช้แม่พิมพ์โดยตรง
2. ผ้ายางจะไม่ทำให้ตัวของแม่พิมพ์ชำรุด เหมือนกับการพิมพ์ทางตรง
3. สะดวกในการตรวจสอบความถูกต้องของภาพ และข้อความบนแม่พิมพ์ เพราะเป็นตัวตรงไม่ใช่ตัวกลับอย่าง เลตเตอร์เพลส ซึ่งตรวจสอบได้ยาก
ที่มา www.geocities.com/printingweb/html/comtoplate.html
ระบบเลตเตอร์เพรส(letterpres
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ความคิดเห็น