จักวาลบรรจบ - นิยาย จักวาลบรรจบ : Dek-D.com - Writer
×

    จักวาลบรรจบ

    เมื่อจักวาลแรกกำเนิด บรรจบกับจักวาลหลังกำเนิด ขุมปัญญาอันมหาศาล พลังอันไม่รู้จบก็ก่อเกิด

    ผู้เข้าชมรวม

    472

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    2

    ผู้เข้าชมรวม


    472

    ความคิดเห็น


    2

    คนติดตาม


    1
    จำนวนตอน :  1 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  8 พ.ค. 56 / 15:54 น.
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

              ในเอกภาพนี้มีพลังตรงกันข้ามอยู่ 2 อย่างคือ หยาง กับหยิน สำหรับหยาง นั้น คือพลังบวกมีลักษณะสีแดง เป็นพลังเพศชาย เป็นพลังที่พบได้ในสิ่งที่ให้ความอบอุ่น สว่างไสว มั่นคง สดใส เช่น ดวงอาทิตย์ ไฟ ส่วน หยินเป็นพลังลบ มีลักษณะสีดำ เป็นพลังเพศหญิง พบในทุกสิ่งทุกอย่างที่ให้ความหนาวเย็น ความมืด อ่อนนุ่ม ชื้นแฉะ ลึกลับ และเปลี่ยนแปลง เช่น เงามืด น้ำ
              สวรรค์เป็นหยางแทบทั้งหมด และโลกเป็นหยินแทบทั้งหมด จากการปะทะกันของสองสิ่งนี้ ทุกสิ่งทุกอย่างก็อุบัติขึ้นมา ทุกสิ่งทุกอย่างมีพลังทั้งสองนี้ทั้งนั้น บางครั้งหยินอาจมีพลังแข็งแรง แต่บางครั้ง หยาง ก็มีพลังมากกว่า ดั่งท่อนไม้ ตามปกติเป็นหยิน แต่เมื่อโยนเข้าไปในกองไฟ ก็เปลี่ยนรูปเป็นหยางไป ในชีวิตคนหยินและหยางก่อให้เกิดความล้มเหลวและความสำเร็จเป็นต้น เช่นเดียวกัน หยางและหยินไม่ใช่เป็นตัวแทนของความดีและความชั่ว แต่ทั้งสองนี้มีความจำเป็นต่อกฏเกณฑ์และระเบียบของเอกภพ ทั้งสองนี้ไม่ใช่อยู่ในภาวะปะทะกันตลอดเวลา แต่ยามใดมีความสามัคคีกัน ทั้งสองอย่างนี้ก็เป็นสิ่งดีด้วยกัน
              
    คัมภีร์ที่เล่าจื้อเขียนชื่อว่า เต๋า - เต๋อ - จิง แปลว่า คัมภีร์แห่งมรรคและอำนาจ
    "อะไรคือแก่นของเอกภพ"
    "เราจะดำเนินชีวิตอย่างไร"
    เล่าจื้ออธิบายว่า  "เต๋า" หมายถึง "ทาง", "มรรค" หรือ "แหล่งกำเนิดของทุกสิ่งทุกอย่าง" แต่จะให้ความหมายอย่างไรก็ตามแก่นแท้ของเต๋าก็ลึกลับกว่าความลึกลับใด ๆ  เป็นพลังที่หลั่งไหลท่วมท้นทุกสิ่งทุกอย่าง มีความรักทะนุถนอม แต่ก็ไม่เข้าไปเกี่ยวข้องหรือยึดสิ่งใดเป็นเจ้าของ มีความนุ่มนวลและสงบเสงี่ยม
              ส่วนแนวทางของเซนจะเน้นให้อยู่กับความจริง ในการยอมรับตัวเองและศึกษาธรรมพิจารณาธรรม โดยอาศัยธรรมชาติของชีวิตเป็นสิ่งที่สอน โดยมีจุดหมายสูงสุดด้วยการบรรลุธรรม ตัดสิ้นกิเลสตัณหา อุปาทานขันธ์
              ความแตกต่างของสองคำสอนนี้ก็คือ ทางหนึ่งเน้นการเคลื่อนไหว ส่วนทางหนึ่งเน้นการบำเพ็ญพิจารณา หากเราหาจุดสมดุลของเต๋าและเซน เราอาจค้นพบในสิ่งที่เราไม่เคยรู้ ไม่เคยเห็น

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น