อินไซด์ "พรรคชาติไทย" - อินไซด์ "พรรคชาติไทย" นิยาย อินไซด์ "พรรคชาติไทย" : Dek-D.com - Writer

    อินไซด์ "พรรคชาติไทย"

    มารู้จักกับพรรคชาติไทย ที่มีความเป็นมากว่า 32 ปี

    ผู้เข้าชมรวม

    654

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    0

    ผู้เข้าชมรวม


    654

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  26 พ.ย. 49 / 11:14 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      การเมืองรายสัปดาห์:อินไซต์ "พรรคชาติไทย"
      บทนำ:
          
      การเมืองในรอบสัปดาห์นี้มีเรื่องเล็กเรื่องใหญ่มากมายแต่ผมขอหยิบยกประเด็นข่าวที่ นายสนธยา คุณปลื้ม อดีตเลขาธิการพรรคชาติไทยและแกนนำกลุ่มชลบุรี ที่ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทยก่อนหน้านี้นานแล้ว ยกพลกลุ่มชลบุรีมาเข้าพรรคชาติไทยอีกคำรบหนึ่ง เมื่อวันที่ 19 พ.ย. 2549 ที่มีการจัดงานครบรอบ 32 ปี การก่อตั้งพรรคชาติไทย ที่นายสนธยา และอดีตส.ส.กลุ่มชลบุรี จำนวน 13 คน นำใบสมัครเป็นสมาชิกพรรคใส่ในซองสีน้ำตาลและบรรจุในกระบอกข้าวหลามหนองมนอันมีชื่อแห่งชลบุรี ทำให้ป๋าเติ้ง บรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ชื่นมื่นได้ไม่น้อย
      มารู้จักกับพรรคชาติไทยในบทบาทการเมืองไทย:
          
      จะว่าไปพรรคชาติไทยมีความเป็นมายาวนานถึง 32 ปีแล้ว แต่น้อยกว่าพรรคประชาธิปัตย์ที่ครบรอบการก่อตั้งมาแล้วถึง 60 ปี พรรคชาติไทยมีผู้ริเริ่มก่อตั้งระดับแกนนำ 3 คน คือ บิ๊กมาณ พล.ต.อ.ประมาณ อดิเรกสาร บุตรเขยของจอมพล ผิน ชุณหะวัณ(หัวหน้าคณะปฏิวัติ ปี 2490) ,พล.ต. ศิริ สิริโยธิน อดีตประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ โดยพรรคชาติไทย จัดตั้งตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง ปี 2517
           พรรคชาติไทยในยุคเริ่มต้นมี พล.ต.อ.ประมาณ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก พล.ต.ศิริ เป็นรองหัวหน้าพรรค และ พล.อ.ชาติชาย เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก โดยประเดิมการเลือกตั้งเมื่อ 26 ม.ค. 2518 พรรคชาติไทยได้รับเลือกเข้ามาเป็นอันดับ 3 จาก 21 พรรคการเมือง แล้วเข้าร่วมรัฐบาล ของอาจารย์หม่อม พล.ต.ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกฯ 18 เสียง มีสมาชิกพรรคชาติไทย 7 คนได้ตำแหน่งรัฐมนตรี เช่น พล.ต.อ.ประมาณ นั่งรองนายกฯควบรมว.กลาโหม,พล.อ.ชาติชาย เป็นรมว.ต่างประเทศ เป็นต้น แต่รัฐบาลของหม่อมคึกฤทธิ์ อยู่ได้เพียงปีเศษก็ยุบสภาเมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2519 เนื่องจากรัฐบาลนี้ขาดเสถียรภาพทางการเมือง
           บทบาทของพรรคชาติไทยทางการเมืองไทยยังดำเนินอยู่จนเมื่อ ป๋าเปรม พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี พล.ต.อ.ประมาณ นั่งรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลนี้ เมื่อถึงวันที่ 19 มี.ค. 2526 ป๋าเปรมประกาศยุบสภาแล้วจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ พรรคชาติไทยได้รับเลือกถึง 73 ที่นั่งเป็นอันดับ 2 แต่ต้องไปเป็นฝ่ายค้าน พล.ต.อ.ประมาณ ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทยได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้าน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2521 คนแรกของรัฐสภาไทย
           ปี 2529 พล.อ.เปรม ประกาศยุบสภา ในช่วงนี้เองอันเป็นจุดเปลี่ยนของพรรคชาติไทยและพล.ต.อ.ประมาณเองคือ ในช่วงหาเสียงพล.ต.อ.ประมาณ ประกาศความพร้อมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งกระแสข่าวนี้จะเกิดขึ้นจริงหรือไม่……ไม่ทราบ…..แต่มีข่าววงในรายงานว่า พล.อ.เปรม ขณะนั้นเป็นนายกฯ ไม่พอใจอย่างมาก แล้วมีการบอกว่า หลังการเลือกตั้งจะไม่เอาพรรคชาติไทยเข้าร่วมรัฐบาลเด็ดขาดหากคนชื่อ "ประมาณ อดิเรกสาร" ยังนั่งเก้าอี้ผู้นำพรรคอยู่ ! พล.ต.อ.ประมาณเลยโชว์สปิริตลาออกเพื่อ "พรรค" ที่สร้างมากับมือ ไม่ใช่เพื่อ "ตนเอง" แล้วเปลี่ยนให้  พล.อ.ชาติชาย เลขาธิการพรรคขณะนั้น ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรค และนายบรรหาร ศิลปอาชา รองหัวหน้าพรรค นั่งตำแหน่งเลขาธิการพรรค หลังการเลือกตั้งพรรคชาติไทยได้ 63 ที่นั่ง ได้เข้าร่วมรัฐบาลพล.อ.เปรม ระดับแกนนำพรรคได้ตำแหน่งรัฐมนตรี เช่น พล.อ.ชาติชาย เป็นรองนายกรัฐมนตรี,บรรหาร เป็นรมว.คมนาคม เป็นต้น
           หลังจากพล.อ.เปรมประกาศไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกหลังการเลือกตั้ง ปี 2531 ตามพระราชโองการโปรดเกล้าฯยุบสภา พรรคชาติไทยได้ส.ส.ทั้งหมด 101 เสียง เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์ พรรคกิจสังคม พรรคราษฎร พรรคมวลชน และพรรคสหประชาธิปไตย เหล่าพรรคร่วมเหล่านี้ได้รวมกันสนับสนุนป๋าเปรมเป็นนายกฯอีกครั้งท่ามกลางกระแสเรียกร้องของประชาชนว่า "นายกฯต้องมาจากการเลือกตั้ง" ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจึงตกแก่น้าชาติ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ หัวหน้าพรรคชาติไทย เป็นครั้งแรกของพรรคชาติไทยที่มีโอกาสเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล น้าชาติมีนโยบายที่โดดเด่นและคนสมัยนี้ยังคงจำกันได้คือ นโยบายเปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า โดยมีการเจรจาร่วมระหว่างเขมร 4 ฝ่าย คือ 1.ฮุน เซ็น เป็นนายกฯ 2.เจ้านโรดม สีหนุ 3.นายพลซอนซาน และ 4.เขมรแดง เพื่อยุติการสู้ และจัดตั้งรัฐบาลภายใต้การนำของสีหนุขึ้น
           ส่วนทางด้านเศรษฐกิจรัฐบาลนี้ได้นำประเทศไทยไปสู่ความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น เช่น โครงการขยายบริการโทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมาย หรือจะเป็นโครงการก่อสร้างทางรถไฟยกระดับในเขตกรุงเทพมหานคร ฯลฯ ท่ามกลางความสำเร็จของรัฐบาลน้าชาติ มีกลุ่มที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี โดยมีกลุ่มนักวิชาการหัวก้าวหน้าให้คำแนะนำ ปรึกษาและดำเนินการ ที่ใช้ชื่อว่า "กลุ่มบ้านพิษณุโลก" หรือ "ที่ปรึกษาบ้านพิษฯ" ภายใต้การนำ นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ (อดีตส.ว.โคราชและแนวร่วมพันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตย) ร่วมด้วยนักวิชาการสมัยนั้น เช่น บวรศักดิ์ อุวรรโณ  (อดีตเลขาฯครม.),สุรเกียรติ์ เสถียรไทย (อดีตรองนายกฯ),ชัยอนันต์ สมุทรวนิช (สมาชิก สนช.),สังศิต พิริยะรังสรรค์ (สมาชิก สนช.) และ พันศักดิ์ วิญญรัตน์ (อดีตที่ปรึกษานายกฯทักษิณ ชินวัตร)
           ยุคพล.อ.ชาติชาย เป็นนายกฯเศรษฐกิจเฟื่องฟูมากที่สุด จนมีการกล่าวว่าเป็นเศรษฐกิจแบบฟองสบู่ และมีการทุจริตคอรัปชั่นติดตามมา ต่างคนต่างโกงกันไม่หวั่นไม่ไหว จนมีคำว่า "บุฟเฟ่คาร์บิเนต" ขึ้นมา
           ขณะที่พล.อ.ชาติชาย เป็นนายกฯอยู่ กลุ่มนายทหารมีการคัดแย้งกันคือ จปร.5 ที่นำโดย บิ๊กจ๊อด พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ผบ.สส. และบิ๊กสุ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ผบ.ทบ. เป็นแกนนำ และกลุ่มจปร.7 ที่มี มหาจำลอง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง และพ.อ.มนูญ รูปขจร(ปัจจุบันชื่อ พล.ต.มนูญกฤต รูปขจร อดีตประธานวุฒิสภา) เป็นแกนนำ ปรากฏว่าน้าชาติ ไปดึงเอากลุ่มจปร.7 มาเป็นที่ปรึกษา กลุ่มจปร.5 เลยไม่พอใจ พล.อ.ชาติชายจึงตั้งพล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก รองนายกรัฐมนตรี เป็น รมช.กลาโหมเพื่อจะให้ดูแลกลุ่มจปร.5 ไม่ให้เคลื่อนไหวกระทั่งวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ขณะพาพล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก ไปเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อปฏิญานตนก่อนเข้ารับตำแหน่งรมช.กลาโหม โดยนั่งเครื่องบินซี.130 ไป เวลาเดียวกันคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ รู้จักกันดีในนาม รสช. ได้ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินจากรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ โดยการจี้บังคับและกักตัวพลเอกชาติชาย ไว้บนเครื่องบินโดยมีคณะผู้ก่อการทั้งหมด คือ
       1.พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ผบ.สส. เป็น หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
       2.พล.อ.สุจินดา คราประยูร ผบ.ทบ. เป็น รองหัวหน้าคณะรสช.
       3.พล.อ.อ.เกษตร โรจนนิล ผบ.ทอ. เป็น รองหัวหน้าคณะรสช.
       4.พล.ร.อ.ประพัฒน์ กฤษณจันทร์ ผบ.ทร.เป็น รองหัวหน้าคณะรสช.
       5.พล.ต.อ.สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ อธิบดีกรมตำรวจ เป็น รองหัวหน้าคณะรสช.
      และ 6.พล.อ.อิสระพงศ์ หนุนภักดี รองผบ.ทบ. เป็น เลขาธิการคณะรสช.
           คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติได้ออกแถลงการณ์ โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
       1. พฤติการณ์การฉ้อราษฎร์บังหลวง
      2. ข้าราชการการเมืองใช้อำนาจกดขี่ข่มเหงข้าราชการประจำผู้ซื่อสัตย์สุจริต 
      3. รัฐบาลเป็นเผด็จการทางรัฐสภา 
      4. การทำลายสถาบันทางทหาร
      5. การบิดเบือนล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์
           หลังจากเกิดการยึดอำนาจแล้วพล.อ.ชาติชายได้เดินทางไปต่างประเทศ โดยตำแหน่งหัวหน้าพรรคชาติไทยต้องว่างลง แกนนำพรรคในสมัยนั้นคือ นายบรรหาร ศิลปอาชา เลขาธิการพรรคชาติไทยและนายเสนาะ เทียนทอง รองหัวหน้าพรรคชาติไทยต้องการได้คนในเครื่องแบบมาเป็น "เกราะ" ป้องกันการยึดทรัพย์เพราะหลังจากการยึดอำนาจโดยรสช.นักการเมืองในพรรคชาติไทยหลายถูกคำสั่งยึดทรัพย์ โดยแกนนำพรรคอย่าง บรรหาร-เสนาะ ได้เชิญ พล.อ.อ.สมบุญ ระหงษ์ ผู้ว่าการสนามบินดอนเมือง ให้ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคชาติไทยคนที่ 3 ด้วยลักษณะของพล.อ.อ.สมบุญ เป็น "มือประสานสิบทิศ" ไม่ว่าจะมีมิตรสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มรสช.และเป็นไมตรีกับนักการเมือง สามารถป้องกันการยึดทรัพย์นักการเมืองของพรรคชาติไทยเป็นอย่างดี
           หลังจากนายอานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรีจากการแต่งตั้งของรสช. ครบวาระ การเลือกตั้งทั่วไปจึงเกิดขึ้น โดยพรรคที่ได้มากที่สุดคือพรรคสามัคคีธรรม คือ 76 ที่นั่ง แต่ทางสหรัฐอเมริกาได้กล่าวหานายณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม ใกล้ชิดกับนักค้ายาเสพติดและติดบัญชีดำห้ามเข้าสหรัฐฯ ทำให้นายณรงค์ วืดตำแหน่งนายกฯไปโดยปริยาย
           ทำให้ตำแหน่งนายกฯจึงหันมาเป็นชื่อของ "พล.อ.อ.สมบุญ ระหงษ์" หัวหน้าพรรคชาติไทย แต่พล.อ.อ.สมบุญ ไม่ต้องการตำแหน่งนายกฯ ทำให้มีการประชุมร่วมกับคณะรสช.ซึ่งขณะนั้นยังมีหน้าที่ปกครองประเทศอยู่ และนักการเมืองจากพรรคต่างๆ ปรากฏว่าทุกพรรคเห็นพ้องต้องกันที่จะให้ "บิ๊กสุ" พล.อ.สุจินดา คราประยูร รองหัวหน้าคณะรสช. เป็นนายกรัฐมนตรี
           เมื่อพล.อ.สุจินดา รับตำแหน่งนายกฯแล้วพรรคร่วมฝ่ายค้าน(ประชาธิปัตย์ ความหวังใหม่ พลังธรรม) และประชาชนต่างคัดค้านการเป็นนายกฯของบิ๊กสุ เพราะครั้งหนึ่งบิ๊กสุเคยพูดหลายครั้งว่าจะไม่เป็นนายกฯจะไม่เล่นการเมืองเด็ดขาด ซึ่งต่อมาเกิดการลุกฮือประท้วงนายกฯสุจินดาโดยมีพล.ต.จำลอง ศรีเมือง หัวหน้าพรรคพลังธรรม เป็นแกนนำ อันนำมาซึ่งเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
           หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬยุติลงแล้วนายกฯสุจินดาลาออก บรรดาพรรคร่วมรัฐบาลได้เสนอชื่อ พล.อ.อ.สมบุญ หัวหน้าพรรคชาติไทย เป็นนายกรัฐมนตรีแต่ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคสามัคคีธรรม ผู้นำชื่อพล.อ.อ.สมบุญ ขึ้นทูลเกล้าเป็นนายกรัฐมนตรี ได้เปลี่ยนโผกลางอากาศ เป็นนายอานันท์ ปันยารชุน อีกครั้งหนึ่งนัยว่าเพื่อความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ และหลีกเลี่ยงกระแสความไม่พอใจอันเนื่องจากเหตุการณ์รุนแรงที่ผ่านมา
           เมื่อนายอานันท์ ปันยารชุน ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง ได้ประกาศยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 13 ก.ย. 2535 
           หลังเหตุการณ์มหาวิปโยคพฤษภาทมิฬสิ้นสุดลง พลังประชาชนสามารถขับไล่อำนาจเผด็จการไปได้แล้ว การเมืองไทยก็กลับมาสู่ประชาธิปไตยอีกครั้ง พรรคชาติไทยได้เปลี่ยนหัวหน้าพรรคจากพล.อ.อ.สมบุญ มาเป็น "พล.ต.อ.ประมาณ อดิเรกสาร" อีกครั้งเพื่อล้างมลทินที่รัฐบาลพรรคชาติไทยภายใต้การนำของน้าชาติทำไว้และอีกเหตุหนึ่งก็คือ พล.อ.ชาติชาย ออกจากพรรคชาติไทยไปตั้ง "พรรคชาติพัฒนา" สมาชิกพรรคชาติไทยย้ายตามน้าชาติเป็นจำนวนมาก ซึ่งการเข้ารับตำแหน่งผู้นำพรรคของพล.ต.อ.ประมาณครั้งนี้เพื่อกอบกู้พรรคชาติไทยที่กำลังแพแตกมาเป็นเรือใหญ่อีกครั้ง
           ผลจากการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคประชาธิปัตย์ของนายชวน หลีกภัยได้ 79 ที่นั่งเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล พรรคชาติไทย ได้ 77 ที่นั่ง พล.ต.อ.ประมาณเป็นผู้นำฝ่ายค้านเป็นคำรบ 2 ตรงข้ามกับนายชวน ที่เป็นนายกรัฐมนตรีครั้งแรก
           แต่เวลาผ่านไป 1 ปี 10 เดือน ชะตาของพล.ต.อ.ประมาณก็เข้าสู่อีหรอบเดิมอีกคือ ถูกขอร้องให้ลงจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคเป็นครั้งที่ 2
           ซึ่งการลงของบิ๊กมาณครั้งนี้ทำให้ นายบรรหาร ศิลปอาชา เลขาธิการพรรคชาติไทย ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคชาติไทย คนที่4 โดยมีนายเสนาะ เทียนทองแห่งวังน้ำเย็น เป็นเลขาธิการพรรค
           ปี 2538 นายชวน ประกาศยุบสภาแล้วให้มีการเลือกตั้งใหม่ทำให้พรรคชาติไทยอันมีนายบรรหารชนะการเลือกตั้งมีโอกาสเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล
           ช่วงสมัยที่นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการปฏิรูปการเมืองอย่างเด่นชัดคือ จัดตั้งคณะกรรมการปฏิรูปการเมือง และตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ อันเป็นที่มาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี 2540 นอกจากนี้รัฐบาลของนายบรรหารได้ดำเนินงานที่สำคัญในขณะนั้นคือ การจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จย่า การจัดงานพระราชพิธีกาญจนาภิเษก และการนำประกาศเข้าสู่เวที ประชาคมโลก เช่น เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอด อาเซียนครั้งที่ 5 การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป (ASEM) การจัดงานแสดงเกษตรและอุตสาหกรรมโลก 2538 และการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 18 ที่จ.เชียงใหม่
           นายบรรหาร บริหารประเทศได้ประมาณ 1 ปีเศษ พรรคร่วมรัฐบาลคือ พรรคความหวังใหม่และพรรคมวลชนเป็นแกนนำ ได้กดดันให้นายบรรหารลาออก ซึ่งนายบรรหารได้ประกาศทางสื่อทุกแขนงอย่างชัดเจนว่า "จะลาออกภายใน 7 วันและให้พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ เป็นนายกฯบริหารประเทศต่อไป" แต่นายบรรหารกลับเอาคืนพรรคร่วมรัฐบาลที่ต้อนเขาจนมุมด้วยการ "ยุบสภา" แล้วจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 17 พ.ย. 2539
           ซึ่งการยุบสภาของนายบรรหารครั้งนี้ทำให้ นายเสนาะ เทียนทอง เลขาธิการพรรคชาติไทยขณะนั้นประกาศตัดขาดกับนายบรรหารและลาออกจาพรรคชาติไทยไปซบอก "บิ๊กจิ๊ว" พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคความหวังใหม่
           บทบาททางการเมืองของพรรคชาติไทยตั้งแต่นายบรรหารประกาศยุบสภาก็ทำให้พรรคชาติไทยอยู่ในสภาวะพรรคขนาดกลาง ในปัจจุบันพรรคชาติไทยมีนายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นหัวหน้าพรรคและนายประภัตร โพธสุธน เป็นเลขาธิการพรรค

      *************************************************

       

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×