แผ่นดินผู้กล้า
นิยายแปลงประวัติศาสตร์ยุคเสียกรุงฯครั้งที่สอง เรื่องราวการต่อสู้เอาชีวิตรอด การรบ ความรัก ความเสียสละ บนลมหายใจของกรุงศรีอยุธยาที่เป็นดั่งเรือน้อยล่องลอยบนเกลียวคลื่นยักษ์
ผู้เข้าชมรวม
2,874
ผู้เข้าชมเดือนนี้
6
ผู้เข้าชมรวม
ข้อมูลเบื้องต้น
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
แผ่นดินผู้กล้า
ลำดับเหตุการณ์สำคัญก่อนกรุงแตก
(พ.ศ.)
2300 - ปรากฏดาวหางฮัลเลย์ขึ้นบนฟ้า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศประชวรหนัก และสวรรคตลง
2301 – สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ
- หลังจากนั้น ๒ เดือนสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรสละราชสมบัติในปีเดียวกันให้กับสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์)
2302 - พระเจ้าอลองพญาซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์พม่าได้ทราบข่าวความอ่อนแอของสยามในรัชกาลนี้ จึงเสด็จกรีธาทัพเข้ามาตีเมืองตะนาวศรี ทวาย และมะริดไว้ได้ และจึงยกทัพมาทางด่านสิงขร ตีหัวเมืองรายทางแตกทั้งหมด
2303 - เหล่าขุนนางแม่ทัพล้วนแต่อ่อนแอและแตกความสามัคคีสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์เกรงจะเสียเมือง มีรับสั่งให้ไปกราบทูลเชิญสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมขุนอุทุมพร ให้ลาผนวชมาช่วยศึกครั้งนี้
- ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 5 สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรได้เข้าบัญชาการรบอย่างเข้มแข็ง พม่าล้อมกรุงอยู่เป็นเวลานาน ตั้งปืนใหญ่ระดมยิงทั้งกลางวันและกลางคืน จนลูกปืนถูกยอดพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ยิงเข้ามาในพระนครทุกวัน แต่ก็ไม่สามารถจะตีพระนครให้แตกได้
- พระเจ้าอลองพญาทรงเข้าบัญชาการยิงปืนใหญ่และจุดปืนใหญ่เอง ในที่สุดปืนใหญ่ระเบิดแตกต้องพระองค์บาดเจ็บสาหัส กองทัพพม่าจึงจำเป็นต้องถอยทัพกลับไป
- พระเจ้าอลองพญาทรงทนพิษบาดแผลไม่ไหวเสด็จสวรรคต ณ บริเวณตำบลเมาะกะโลก แขวงเมืองตาก เมื่อแรม 12 ค่ำ เดือน 6 ขณะมีพระชนมพรรษาได้ 45 พรรษา
- สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรไปหาถึงในพระที่ สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรได้เห็นพระแสงดาบวางพาดอยู่บนพระเพลาทวงราชสมบัติคืน สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรจึงออกผนวชอีกครั้ง
2304 - สิ้นพระเจ้าอลองพญา พม่าเกิดสงครามภายในเพื่อแย่งชิงราชบัลลังค์ จนกระทั่งพระเจ้ามังลอกราชบุตรของพระเจ้าอลองพญาออกปราบปรามได้สำเร็จ
2306 - พระเจ้ามังลอกประชวรหนักจนสิ้นพระชนม์พระเจ้ามังระพระอนุชาผู้นิยมการสงครามขึ้นเสวยราชสมบัติแทน
- พระเจ้ามังระตีเมืองมณีปุระได้สำเร็จแล้วจึงย้ายราชธานีกลับไปที่กรุงอังวะ
2307 - พระเจ้ามังระแต่งตั้งให้มังมหานรธาเป็นแม่ทัพ ยกทัพไปตีเมืองทวายมังมหานรธาสังเกตเห็นกรุงศรีอยุธยากำลังอ่อนแอจึงตีไล่ขึ้นมาได้เรื่อยจนถึงเพชรบุรี
- พระเจ้ามังระแต่งตั้งให้เนเมียวสีหบดีเป็นแม่ทัพ บุกตีเข้ามาทางเมืองเชียงใหม่อีกทางหนึ่ง
2309 - ทัพของเนเมียวสีหบดีต้องสะดุดที่อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ด้วยฝีมือของชาวบ้านกลุ่มหนึ่งที่รวมตัวกันต่อสู้อย่างเข้มแข็ง แม้ทัพพม่าจะส่งกองทัพเข้าโจมตีค่ายบางระจันถึง ๗ ครั้ง แต่ต้องประสบความล้มเหลวทุกครั้ง
- ในการโจมตีครั้งที่ ๘ เนเมียวสีหบดีแต่งตั้งสุกี้พระนายกองชาวมอญผู้อาศัยอยู่ในแผ่นดินไทยมานานและชำนาญพิชัยสงครามเป็นแม่ทัพ สุกี้เดินทัพด้วยความอดทนและไม่ประมาท ฝ่ายบางระจันสู้ไม่ได้จึงขอปืนใหญ่จากทางพระนครแต่ถูกปฏิเสธ จนในที่สุดค่ายบางระจันก็ถูกตีแตก ทัพเนเมียวสีบดีมาสมทบกับทัพของมังมหานรธา
- มังมหานรธาป่วยเสียชีวิต เนเมียวสีหบดีจึงรวบรวมกำลังทั้งสองทัพเข้าตีกรุงศรีอยุธยาหลังฤดูฝน
2310 -กรุงศรีอยุธยาถูกตีแตกเสียเอกราชครั้งที่สอง เนเมียวสีหบดีหลังจากตีกรุงศรีฯได้ก็เผาทำลายเมือง และขนเอาทรัพย์สมบัติจำนวนมากกลับไปพม่า ทิ้งสุกี้พระนายกองคุมกองดูแลทรัพย์สินที่ค่ายโพธิ์สามต้น
กำแพงรอบขอบคูก็ดูลึก ไม่น่าศึกอ้ายหม่าจะมาได้
ยังให้มันข้ามเข้าเอาเวียงชัย โอ้อย่างไรเหมือนบุรีไม่มีชาย
หรือธานินสิ้นเกณฑ์จึงเกิดยุค ไพรีรุกรบได้ดังใจหมาย
เหมือนทุกวันแล้วไม่คัณณาตาย ให้ใจหายหวั่นหวั่นถึงจันทร์ดวง
พระสุนทรโวหาร
แผ่นดินกรุงศรีอยุธยาตอนปลายร้างสงครามมายาวนานถึง 92 ปี ชาวสยามอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขมาตลอดระยะเวลาอันยาวนาน แต่เมื่อบ้านเมืองปกครองด้วยกษัตริย์ไร้ความสามารถ ลุ่มหลงมัวเมาในความสำราญและอำนาจบาตรใหญ่ กอปรกับการทุจริตคดโกงของบรรดาขุนนางทำให้บ้านเมืองที่เคยรุ่งเรืองต้องอ่อนแอลงภายในเวลาอันรวดเร็ว ไม่นานข้าศึกก็ยกทัพบุกเข้าตี เกิดไฟสงครามไปทุกหย่อมหญ้า ชาวสยามสูญเสียทั้งบ้านเรือนที่อยู่อาศัย เสียไร่นาที่เคยเก็บเกี่ยว เสียทรัพย์สมบัติ บ้างก็เสียชีวิต เสียครอบครัวอันเป็นที่รัก ที่สำคัญคือเสียเอกราชให้แก่อริราชศัตรู ในยุคแห่งความวุ่นวายนี้ก่อกำเนิด วีรบุรุษ วีรสตรี มหาโจร คนเข้มแข็ง คนอ่อนแอ คนรักชาติ คนขายชาติ คนกล้าและคนขลาด ขึ้นมากมาย ทุกผู้คนต้องใช้ทั้งไหวพริบปฏิภาณ เล่ห์เหลี่ยมเพทุบาย รวมไปถึงพิชัยสงครามเข้าห้ำหั่นกันเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตนต้องการหรือเพื่อรักษาอุดมการณ์เอาไว้ เรื่องราวเหล่านี้ได้รับการจดบันทึกให้ลูกหลานได้เรียนรู้ในเวลาต่อมา
ผลงานอื่นๆ ของ ตรัย อักษรา ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ ตรัย อักษรา
ความคิดเห็น