ภัยจาก......ผ้าอนามัย - ภัยจาก......ผ้าอนามัย นิยาย ภัยจาก......ผ้าอนามัย : Dek-D.com - Writer

    ภัยจาก......ผ้าอนามัย

    ภัยจาก......ผ้าอนามัย

    ผู้เข้าชมรวม

    1,040

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    2

    ผู้เข้าชมรวม


    1.04K

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  22 มี.ค. 51 / 08:17 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ภัยจาก......ผ้าอนามัย


       วันนี้ขออนุญาตคุยเรื่องผ้าอนามัยนะคะ
      หมอสังเกตว่าผ้าอนามัยนั้นเป็นสิ่งเล็กๆ แต่ไม่ใช่เรื่องเล็กสำหรับผู้หญิงเชียวนะคะ
      " คุณหมอคะ ทำไมเมื่อดิฉันเป็นประจำเดือนทีไร ใส่ผ้าอนามัย จะต้องมีผื่นขึ้นที่ขาหนีบ และคันอยู่เรื่อยคะ ใช่ดิฉันแพ้ผ้าอนามัยหรือเปล่า " คำถามนี้เป็นคำถามที่มีคนไข้ปรึกษาบ่อยๆ ค่ะ หมอมักจะตอบว่า

       

      " อาการที่คุณเป็นนั้น คงมีสาเหตุเกี่ยวกับผ้าอนามัยแหละค่ะ แต่จะเป็นเพราะ แพ้ผ้าอนามัยหรือเพราะเป็นประจำเดือน ทางที่ดีก็ต้องตรวจภายในดูแหละค่ะ "
      คนไข้ส่วนหนึ่งอาจจะบอกว่า " แหมกำลังเป็นประจำเดือนอยู่ค่ะ คุณหมอช่วยจัดยา ให้ไปกินไปทาก่อนได้ไหมคะ เอาไว้หายจากเป็นประจำเดือนแล้วค่อยมาตรวจ "

       

      " ให้ดีก็ตรวจภายในแหละค่ะ " หมอมักจะตอบซ้ำเช่นนั้น เพราะคนไข้มีผื่น ที่ขาหนีบเมื่อใส่ผ้าอนามัยตอนเป็นประจำเดือน ที่เจอบ่อยที่สุดไม่ใช่เป็นอาการแพ้ ผ้าอนามัยตามที่สงสัยนะคะ แต่เป็นเรื่องของการอักเสบจากการติดเชื้อราที่อวัยวะเพศและขาหนีบ เชื้อรานี้มักจะกำเริบก่อนเป็นประจำเดือน เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ความอับชื้น ฯลฯ ถัดลงมาจึงเป็นการแพ้ผ้าอนามัย และการติดเชื้อประเภทอื่นๆ

       

      หมอเองพบว่า ถ้าไม่ได้ตรวจภายใน เฉพาะคำบอกเล่าของคนไข้เองนั้น ไม่สามารถวินิจฉัยได้แม่นยำ เพราะการบอกเล่านั้น แล้วแต่อุปนิสัยของคนไข้นะคะ บางคนบอกน่ากลัว เช่น เป็นแผลขนาดใหญ่ เจ็บแสบมาก เมื่อตรวจภายในไม่พบแผลเลยก็มี บางคนบอกว่าเจ็บแสบนิดหน่อย เมื่อตรวจพบว่า มีแผลที่แคมขนาดใหญ่จนถึงกับเนื้อแคม แหว่งไปเลยก็มี ดังนั้นเมื่อมีความผิดปกติในบริเวณอวัยวะเพศ การตรวจภายใน จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด เมื่อวินิจฉัยถูกต้อง การรักษาก็จะได้ผล

       

      " แล้วถ้าแพ้อนามัยจะมีอาการต่างจากการติดเชื้ออื่นๆ อย่างไรค่ะ " คนไข้บางคนสงสัย

       

      " ค่ะ อาการแพ้ผ้าอนามัย ก็เหมือนอาการแพ้ที่เกิดกับส่วนอื่นๆ ของร่างกาย คนเราแพ้ผ้าอนามัย หรือส่วนประกอบอื่นๆ ของผ้าอนามัย เช่น น้ำหอมได้ อาการแพ้มักเกิดเมื่อใส่ผ้าอนามัยไปได้ไม่นาน คือมีอาการคัน มีผื่นขึ้น ลักษณะของผื่นแดง บางทีเป็นตุ่มน้ำใสๆ สังเกตว่า อาการคันและตุ่มน้ำนี้ ไม่ได้อยู่บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกเท่านั้น ยังลามไปบริเวณรอบๆ ทวารหนัก คือบริเวณที่ผ้าอนามัยสัมผัสผิวของผู้สวมใส่ได้อีกด้วย เพราะถ้าแพ้อนามัย ผิวส่วนอื่นๆ ก็มักจะแพ้ด้วย ไม่ใช่เฉพาะผิวบริเวณอวัยวะเพศนะคะ "
      " รักษาอย่างไรคะ "
      " เมื่อมีผื่นแพ้ ก็ต้องเลิกใช้ของที่แพ้ และอาจใช้ยาแก้แพ้ ชนิดทาและหรือชนิดกินช่วย"

       

      " คุณหมอคะ โรคอื่นๆ ที่กำเริบในช่วงเป็นประจำเดือนนั้น มีโรคอะไรบ้างคะ "

       

      " ค่ะ ก็มีหลายโรค โรคที่พบบ่อยก็คือโรคเชื้อรา เชื้อรานี้โดยปกติร้อยละ 15 ของสตรี มีเชื้อนี้อยู่ โดยไม่มีอาการ เชื้อราเหล่านี้มักมีสาเหตุนำที่ทำให้เกิดอาการขึ้น เช่น ความอับชื้น ความเป็นกรดด่างที่เปลี่ยนไป ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ตั้งครรภ์ รับประทานยาคุมกำเนิด รับประทานยาปฏิชีวนะอยู่ เป็นโรคพร่องภูมิต้านทาน รับประทานยาบางชนิด เป็นต้น
      ลักษณะของการอักเสบจากเชื้อรานี้ มักจะเป็นบริเวณรอบๆ ช่องคลอดและขาหนีบ ช่องคลอดจะบวมแดง คัน และเป็นรอยแตก ทำให้มีอาการปัสสาวะแสบร่วมด้วย
      ส่วนโรคอื่นที่ทำให้เกิดผื่นที่อวัยวะเพศ และพบบ่อยในช่วงเป็นประจำเดือน ได้แก่ โรคเริม ส่วนโรคติดเชื้อชนิดอื่นๆ ก็พบได้ แต่ไม่บ่อยค่ะ "

       

      " อยากให้หมอเล่าเรื่องโรคเริม เขาว่าเป็นแล้วรักษาไม่หายจริงหรือเปล่าคะ "

       

      " คะ โรคเริมนั้น เป็นการติดเชื้อไวรัส ชนิดเฮอร์ปี่ซิมเพล็กส์ชนิด 1 หรือชนิด 2 (HSV1, HSV2) โรคเริมที่อวัยวะเพศส่วนใหญ่เป็นการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สมัยก่อนเชื่อว่าชนิดที่ 1 นั้น เกิดที่ริมฝีปาก ชนิดที่ 2 เกิดที่อวัยวะเพศ ปัจจุบันเชื่อว่า ทั้งสองชนิดเกิดได้ที่อวัยวะเพศเหมือนๆ กันโดยชนิดที่ 1 บางทีติดมาจากริมฝีปาก ในกรณีมีการร่วมเพศโดยใช้ปากช่วย โรคเริมนี้มีระยะฟักเชื้อประมาณหนึ่งสัปดาห์ นั่นหมายถึงเมื่อร่วมเพศกับคนที่เป็นเริม อีกหนึ่งสัปดาห์ จึงจะมีอาการอักเสบจากโรคเริม

       

      โรคเริมเมื่อเป็นครั้งแรก จะมีอาการมาก อวัยวะเพศจะขึ้นตุ่มใสๆ เป็นกลุ่ม ต่อมาไม่กี่วัน ตุ่มพวกนี้จะแตกเป็นแผลมีหนอง และเจ็บปวดมาก มีต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบโต กดเจ็บ ต่อมาแผลจะเริ่มตกสะเก็ดและหาย ใช้เวลานานถึง 2-3 สัปดาห์ เมื่อติดเชื้อเริมแล้ว เชื้อเริมจะไปอยู่ที่ปมประสาทในไขสันหลัง และแพร่เชื้ออกมาเป็นระยะๆ นั่นคือโรคเริม เมื่อเป็นแล้วไม่หายขาด เมื่อภูมิต้านทานของคนไข้ต่ำลง เช่น กำลังเป็นประจำเดือน ไม่ได้พักผ่อน วิตกกังวล เป็นต้น ก็จะเป็นโรคเริมกลับซ้ำมาอีก โรคเริมกลับซ้ำนี้ มักมีอาการไม่มาก บางทีมีตุ่มใสๆ สองสามตุ่มคันๆ แตกแล้วก็หายไป สรุปตุ่มที่อวัยวะเพศ ในช่วงเป็นประจำเดือนบางทีอาจเป็นการติดเชื้อจากโรคเริมได้ค่ะ "

       

      " แล้วผื่นผ้าอ้อมในเด็กจะเหมือนผื่นที่ผู้ใหญ่ใส่ผ้าอนามัยไหมคะคุณหมอ ลูกดิฉันเวลาใส่ผ้าอ้อมแบบสำเร็จรูปก่อนนอน พอตอนเช้าก้นเป็นผื่นแดงไปหมดเลยค่ะ "

       

      " ในเด็กไม่เหมือนในผู้ใหญ่นะคะ ผื่นผ้าอ้อมในเด็กนั้นสาเหตุที่พบมากได้ที่สุด คือผื่นแพ้ แพ้ความเปียกชื้น ปัสสาวะ อุจจาระ ลักษณะจะเป็นผื่นสีแดงเป็นปื้นใหญ่ รอบๆ อวัยวะเพศ ก้นและต้นขาค่ะ วิธีรักษาก็ง่าย เมื่อเลิกใช้ผ้าอ้อม ระวังความเปียกชื้นให้ดี ผื่นก็จะหายไปค่ะ "

       

      " คุณหมอคะ หนูนะชอบใส่ผ้าอนามัยผืนเล็กๆ เพราะมีกลิ่นหอมและดูสะอาดดี เวลามีตกขาวก็ไม่เปรอะเปื้อนกางเกง แต่หนูสังเกตว่า เมื่อหนูใส่ผ้าอนามัย หนูจะมีตกขาวทุกวัน เป็นเพราะเหตุใดคะ "

       

      " ค่ะ การใส่ผ้าอนามัยตลอดเวลา อาจจะทำให้รู้สึกสะอาด แต่เป็นสุขลักษณะที่ไม่ดีนะคะ เพราะจะทำให้ช่องคลอดมีการอับชื้นตลอดเวลา มีโอกาสติดเชื้อต่างๆ มากขึ้น ดังนั้นจึงควรใส่ผ้าอนามัยในเวลาที่จำเป็นเท่านั้นนะคะ แม้แต่กางเกงชั้นในที่คับๆ ก็ควรจะหลีกเลี่ยง เปลี่ยนมาใช้กางเกงผ้าฝ้ายที่สวมใส่สบายจะดีกว่า เพราะถ่ายเทอากาศได้ดีกว่าค่ะ "

       

      " คุณหมอคะ หนูเป็นนักกีฬาว่ายน้ำ นิยมใช้ผ้าอนามัยแบบสอด จะมีโทษอะไรหรือเปล่าคะ เช่น จะทำให้ช่องคลอดหย่อนยานได้หรือเปล่า "

       

      " ผ้าอนามัยแบบสอดนั้น มีมานานแล้วค่ะ ตั้งแต่สมัยยี่สิบปีก่อน แต่ไม่เป็นที่นิยมจริงๆ แล้วหลักการน่าจะดีนะคะ คือสอดม้วนสำลีเล็กๆ เข้าไปในช่องคลอดเพื่อให้ซับประจำเดือน ก่อนประจำเดือนจะมาเปรอะเปื้อนด้านนอก แต่มีปัญหาหลายอย่างที่ทำให้ไม่นิยมนะคะ
      ข้อ 1. วัฒนธรรมไทย ไม่นิยมสอดอะไรเข้าไปในช่องคลอด พบว่ายารักษาโรคบางอย่าง ที่เป็นชนิดสอดเข้าช่องคลอดก็เช่นกัน คนไข้มักจะขอเปลี่ยนเป็นยาชนิดรับประทานแทน
      ข้อ 2. เมื่อสอดเข้าไป ถ้าลืมไว้จะเกิดอันตรายได้ เนื่องจากประจำเดือนนั้นก็คือเลือด ซึ่งเป็นอาหารที่ดีของเชื้อโรค ทำให้ผ้าอนามัยแบบสอดนั้น กลายเป็นก้อนเชื้อโรค เกิดการติดเชื้อภายในได้ ที่ร้ายแรงก็คือ ถ้าอวัยวะเพศมีแผลอยู่ การติดเชื้อนั้น อาจลุกลามเข้ากระแสเลือดได้
      ข้อ 3. ถ้าผู้สอดไม่คุ้นเคยกับอวัยวะภายในช่องคลอด จะเกิดความวิตกมาก
      มีคนไข้รายหนึ่งมาหาหมอด้วยว่า เมื่อสอดผ้าอนามัยเข้าไป เกิดไปคลำเจอ ก้อนอะไรไม่ทราบแข็งๆ อยู่ในช่องคลอด เกิดความวิตกกลัวเป็นก้อนมะเร็ง จึงมาหาหมอ เมื่อตรวจแล้วพบว่าจริงๆ ก้อนนั้นเป็นปากมดลูกธรรมดาค่ะ

       

      ถ้าไม่มีข้อ 1-3 การใช้ผ้าอนามัยแบบสอดก็นับว่าสะดวกปลอดภัยและไม่ได้ทำให้ ช่องคลอดหย่อนยานประการใดนะคะ "

       

      " คุณหมอคะ แม่ของหนูไม่ยอมให้หนูใช้ผ้าอนามัยตอนอยู่ที่บ้านในวันหยุด ท่านบอกว่าทำให้ ประจำเดือนไม่ค่อยไหล จริงหรือเปล่าคะ "

       

      " ปัญหานี้ คนในเมืองกรุงคงไม่ค่อยเจอแล้วนะคะ ในต่างจังหวัดบางแห่งนั้น เมื่อมีประจำเดือนยังพบการใช้วิธี "ขี่ม้า" ประปราย ตอนหมอมาอยู่บ้านนอกใหม่ๆ ก็งงว่าขี่ม้านั้นหมายถึงอะไร มาทราบว่าคือการใช้ผ้าถุงสะอาดหลายผืน พันม้วนเป็นผืน ยาว และสอดรองระหว่างขาเมื่อเป็นประจำเดือน จริงๆ แล้วดูโบราณ แต่ถ้าผ้าเหล่านี้สะอาด ก็เป็นผ้าอนามัยชั้นดี ไม่ต้องเสียเงินตราออกนอกประเทศ แต่จะต้องเสียเวลาซัก เท่านั้นเองค่ะ
      การใส่ผ้าอนามัยแน่นเกินไปก็เป็นการปิดกั้นไม่ให้ประจำเดือนไหลออกมาจริงนะคะ ดังนั้นควรขยับผ้าอนามัยบ้าง เมื่อใส่ไปนานๆ ค่ะ "

      [ ที่มา..หนังสือ นิตยสารใกล้หมอ ปีที่ 25 ฉบับที่ 9 กันยายน 2544 ]

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×