ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รอบรู้...ไม่เสียหาย (เสื่อมสลายแล้ว)

    ลำดับตอนที่ #52 : สงครามโลกครั้งที่1

    • อัปเดตล่าสุด 16 พ.ค. 51


    สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เป็นสงครามที่เกิดขึ้นในช่วง ค.ศ. 1914 - 1918 ผลจากสงครามทำให้มีผู้เสียชีวิตรวมกันไม่ต่ำกว่า 40 ล้านคน สาเหตุหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งก็คือ การลอบปลงพระชนม์อาร์คดุยค ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ รัชทายาทของบัลลังก์จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี โดยกัฟรีโล ปรินซีป ชาวเซิร์บบอสเนีย ซึ่งเป็นสมาชิกของแก๊งมือดำ และการแก้แค้นของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีต่อราชอาณาจักรเซอร์เบียก็ทำให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ก่อให้เกิดสงครามครั้งใหญ่ปะทุขึ้นในทวีปยุโรป ภายในหนึ่งเดือน ทวีปยุโรปส่วนมากก็อยู่ในสภาวะสงคราม

    สงครามครั้งนี้ได้แบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือ มหาอำนาจไตรภาคี (Triple Entente) ซึ่งเดิมประกอบด้วย ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร จักรวรรดิรัสเซีย รวมไปถึงประเทศอาณานิคมด้วย โดยส่วนใหญ่รัฐที่เข้าร่วมสงครามในภายหลังจะเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตร โดยชาติมหาอำนาจที่เข้าสู่สงครามด้วย ได้แก่ อิตาลี เมื่อเดือนเมษายน 1915 และสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนเมษายน 1917 และฝ่ายมหาอำนาจกลาง ซึ่งเดิมประกอบด้วย จักรวรรดิเยอรมนี จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และดินแดนอาณานิคม จักรวรรดิออตโตมานได้เข้าร่วมกับฝ่ายมหาอำนาจกลางเมื่อเดือนตุลาคม 1914 และบัลแกเรียในอีกปีให้หลัง ระหว่างช่วงสงคราม ประเทศที่วางตัวเป็นกลางได้แก่ เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ สเปนและประเทศตามคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย แม้ว่าประเทศเหล่านี้อาจจะเคยส่งเสบียงและยุทโธปกรณ์ไปช่วยเหลือบางประเทศที่รบอยู่ก็ตาม

    การสู้รบที่เกิดขึ้นตามแนวรบด้านตะวันตกเกิดขึ้นไปตามระบบสนามเพลาะ และป้อมปราการซึ่งถูกแยกออกจากกันด้วยดินแดนรกร้าง แนวปราการเหล่านี้ตรึงขนานออกไปเป็นระยะมากกว่า 600 กม. และเป็นส่วนสำคัญของสงครามสำหรับคนจำนวนมาก ส่วนในแนวรบด้านตะวันออก ที่ราบฝั่งตะวันออกที่กว้างขวางและเครือข่ายทางรถไฟที่จำกัด ทำให้การรบในสนามเพลาะไม่สามารถทำได้ แม้ว่าความรุนแรงของความขัดแย้งในด้านตะวันออกนั้น จะพอๆ กับด้านตะวันตกก็ตาม แนวรบตะวันออกกลางและแนวรบอิตาลีก็มีการสู้รบกันอย่างดุเดือดเช่นกัน และการสู้รบก็ยังลุกลามไปยังน่านน้ำ และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ คือการรบกลางอากาศ

    สงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลงด้วยชัยชนะของฝ่ายพันธมิตร และความปราชัยของฝ่ายมหาอำนาจกลาง ภายหลังสงคราม ได้มีการเซ็นสนธิสัญญาจำนวนมาก แต่ที่สำคัญคือ สนธิสัญญาแวร์ซายส์ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 1919 แม้ว่าฝ่ายเยอรมนีจะยอมสงบศึกไปก่อนแล้วในปี 1918 ผลที่สำคัญอย่างหนึ่งของสงคราม ก็คือการวาดรูปแผนที่ยุโรปใหม่ ประเทศฝ่ายมหาอำนาจกลางสูญเสียดินแดนของตนเป็นจำนวนมาก และทำให้เกิดประเทศใหม่ขึ้นมาในยุโรปตะวันออก เยอรมนีสูญเสียอาณานิคมโพ้นทะเลทั้งหมด รวมไปถึงการต้องชดใช้ค่าปฏิกรสงครามจำนวนมหาศาล และการต้องทนการถูกตราหน้าว่าเป็นผู้เริ่มสงคราม จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีได้แตกออกเป็นประเทศเอกราชใหม่ ได้แก่ ออสเตรีย ฮังการี เชโกสโลวาเกีย ยูโกสลาเวีย จักรวรรดิออตโตมานล่มสลาย แผ่นดินเดิมของจักรวรรดินอกจากที่ราบสูงอนาโตเลียได้ถูกแบ่งให้กลายเป็นอาณานิคมของผู้ชนะสงครามทั้งหลาย ส่วนชาวอาหรับเดิมได้กลายเป็นประเทศตุรกี จักรวรรดิรัสเซียซึ่งได้ถอนตัวจากสงครามในปี 1917 ได้สูญเสียดินแดนของตนเป็นจำนวนมากทางชายแดนด้านตะวันตกกลายเป็นประเทศใหม่ ได้แก่ เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ลัตเวีย ลิทัวเนีย และ โปแลนด์ และได้มีการก่อตั้ง สันนิบาตชาติ เพื่อเป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีจุดประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศด้วยวิธีการทางการทูต สงครามโลกครั้งที่หนึ่งถือเป็นจุดสิ้นสุดของยุคระเบียบโลกที่เกิดขึ้นหลังจากสงครามนโปเลียน และยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สงครามโลกครั้งที่สองเกิดขึ้น

    เบื้องหลัง

    ในสมัยบิสมาร์คเป็นผู้นำในการสร้างจักรวรรดินิยมเยอรมัน เมื่อบิสมาร์ครบชนะฝรั่งเศส และประกาศจักรวรรดิเยอรมันแล้วจึงดำเนินการตั้ง The Three Emperor's League ซึ่งแสดงความเป็นสัมพันธมิตรระหว่าง เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และรัสเซีย ด้วยเจตนาสำคัญประการแรกคือ ป้องกันการแก้แค้นของฝรั่งเศส ต่อมาภายหลังเมื่อออสเตรีย-ฮังการี และรัสเซีย ขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์กัน จนมิอาจเป็นพันธมิตรต่อกันได้ บิสมาร์คจึงชักชวนอิตาลีเข้าแทนที่รัสเซีย จึงเกิดไตรพันธมิตรขึ้น

    ครั้งบิสมาร์คหมดอำนาจลง จักรพรรดิเยอรมัน ไกเซอร์ วิลเฮล์มที่ 2 ทรงเลิกนโยบายเป็นพันธมิตรกับรัสเซีย และสร้างความไม่พอใจให้อังกฤษด้วยการเริ่มโครงการขยายกองทัพเรือและขยายอิทธิพลดินแดนตะวันออก ฝรั่งเศสจึงได้โอกาสเสริมสร้างสัมพันธไมตรีกับรัสเซียและเข้าใจอันดีกับอังกฤษ และในที่สุดเมื่อทั้งสามมหาอำนาจตกลงในความขัดแย้งเรื่องอาณานิคมที่เคยมีต่อกันได้แล้ว จึงจัดตั้ง Triple Entente ในปี ค.ศ. 1907

    เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 1914 กัฟรีโล ปรินซีป นักเรียนชาวเซิร์บบอสเนีย ได้ลอบปลงพระชนม์ อาร์คดยุคฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์แห่งออสเตรีย ผู้เป็นรัชทายาทต่อบัลลก์ของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ที่เมืองซาราเยโว เขาเป็นสมาชิกของกลุ่มบอสเนียหนุ่ม ซึ่งมีเป้าหมายที่จะรวมพวกสลาฟใต้เข้าไว้ด้วยกัน และประกาศเอกราชจากจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี การลอบปลงพระชนม์ที่เมืองซาราเยโวได้ก่อให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ลุกลามต่อมาจนกลายเป็นสงครามเต็มขนาด จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีต้องการให้เซอร์เบียลงโทษผู้กระทำผิด และเมื่อเซอร์เบียปฏิเสธการกระทำใดๆ จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีก็ได้ประกาศสงคราม ซึ่งการที่มหาอำนาจยุโรปจำนวนมากต้องเข้าสู่สงครามภายในหนึ่งสัปดาห์เนื่องจากข้อตกลงการป้องกันร่วมกัน และการเข้าแทรกแซงสงครามของประเทศพันธมิตรของตน

    รูปภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งจะปะทุ

    การแข่งขันการสะสมอาวุธ

    การแข่งขันแสงยานุภาพทางทะเลระหว่างอังกฤษและเยอรมนีนั้นเริ่มรุนแรงเมื่อกองทัพเรืออังกฤษได้ปล่อย เรือประจัญบานชั้นเดรตนอท เมื่อปี 1906 - การคิดค้นเรือประจัญบานหนักได้เป็นการปฏิวัติทั้งขนาดและพลังอำนาจที่เหนือกว่าเรือประจัญบานธรรมดานัก นอกจากนั้นอังกฤษยังคงสามารถรักษาความเป็นผู้นำทางทะเลเหนือกว่าเยอรมนีและอิตาลี พอล เคเนดี้ได้ชี้ว่าทั้งสองประเทศมีความเชื่อว่า แนวคิดของอัลเฟรด เทย์เลอร์ มาฮานเกี่ยวกับการบัญชาการรบทางทะเลว่าเป็นความสำคัญต่อสถานภาพของประเทศอย่างมาก แต่การผ่านการจารกรรมทางพาณิชย์อาจพิสูจน์ว่าแนวคิดของเขาอาจจะผิดก็ได้

    เดวิด สตีเวนสันได้พูดถึงการแข่งขันการสะสมอาวุธว่า "การสร้างเสริมตัวเองเป็นวงกลมแห่งการเตรียมความพร้อมด้านการทหารอย่างแรงกล้า" เดวิด ฮารร์แมนน์ได้มองว่าการแข่งขันด้านการสร้างกองทัพเรือจะกลายเป็นหลักที่จะชี้ชะตาทิศทางของสงคราม อย่างไรก็ตาม ไนอัล เฟอร์กูสันได้โต้เถียงว่า ความสามารถของอังกฤษที่จะรักษาความเป็นผู้นำทางการทหารไว้มิได้นำไปสู่ผลกระทบที่กำลังตามมาในภายหลัง ค่าใช้จ่ายระหว่างการแข่งขันการสะสมอาวุธได้เพิ่มขึ้นอย่างมากในอังกฤษและเยอรมนี จากสถิติแล้ว หกมหาอำนาจ (อังกฤษ จักรวรรดิรัสเซีย ฝรั่งเศส เยอรนี จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีและอิตาลี)ได้สูญเสียงบประมาณเพื่อการแข่งขันการสะสมอาวุธเพิ่มขึ้นถึง 50% ระหว่าง ค.ศ. 1908-1913

     แผนการ ความไม่ไว้วางใจและการประกาศระดมพล

    แนวคิดดังกล่าวถูกเสนอโดยนักปกครองจำนวนมากว่าแผนการระดมพลของเยอรมนี ฝรั่งเศสและรัสเซียนั้นได้ทำให้ความขัดแย้งขยายไปกว้างขึ้น ฟริทซ์ ฟิสเชอร์ได้กล่าวถึงความรุนแรงโดยเนื้อหาของแผนการชลีฟเฟ็นซึ่งได้แบ่งเอากองทัพเยอรมันต้องทำการรบทั้งสองด้าน การทำศึกทั้งสองด้านหมายความว่ากองทัพเยอรมันจำเป็นที่จะต้องรบให้ชนะศัตรูจากทางด้านหนึ่งอย่างรวดเร็วก่อนที่จะทำการรบกับศัตรูที่เหลือได้ มันถูกเรียกว่าเป็นอุบายการตีกระหนาบ เพื่อที่จะทำลายเบลเยี่ยมและทำให้กองทัพฝรั่งเศสกลายเป็นอัมพาตโดยการโจมตีอย่างรวดเร็วก่อนที่ฝรั่งเศสจะพร้อมระดมพล หลังจากได้ชัยชนะแล้ว กองทัพเยอรมันจะเคลื่อนไปยังทิศตะวันออกโดยทางรถไฟและทำลายกองทัพรัสเซียซึ่งระดมพลได้อย่างเชื่องช้า

    แผนการที่สิบเจ็ดของฝรั่งเศสมีจุดประสงค์ที่จะส่งกองทัพของตนเข้าเป็นยึดครองหุบเขารูร์อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นหัวใจหลักของอุตสาหกรรมของเยอรมนี ซึ่งทางทฤษฏีแล้วจะเป็นการทำให้เยอรมนีหมดสภาพที่จะทำสงครามสมัยใหม่ต่อไป

    ส่วนแผนการที่สิบเก้าของจักรวรรดิรัสเซียมีเป้าหมายที่จะมองการณ์ไกลและระดมกองทัพของตนเพื่อต่อต้านทั้งจักรรวรดิออสเตรีย-ฮังการีและจักรรวรดิเยอรมนี

    แผนการของทั้งสามประเทศได้ก่อให้เกิดบรรยากาศซึ่งต้องทำให้ได้มาซึ่งชัยชนะอย่างรวดเร็วเพื่อที่จะสามารถกุมชัยชนะได้ ทุกฝ่ายต่างมีตารางเวลาซึ่งถูกคำนวณอย่างละเอียดลออ เมื่อมีการระดมพลเกิดขึ้น โอกาศที่จะถอยหลังก็หมดสิ้นไปแล้ว ความล่าช้าทางการทูตและการคมนาคมขนส่งที่เลวทำให้แผนการเหล่านี้ประสบความติดขัดหรือหยุดชะงัก และเหตุผลอีกประการหนึ่งก็คือ แผนการของทั้งสามประเทศนี้เป็นปฏิบัติการเชิงรุก ซึ่งทำให้ต้องมีการพัฒนาความสามารถในการป้องกันและการขุดสนามเพลาะเพื่อการป้องกันประเทศ

     ลัทธินิยมทหารและเอกาธิปไตย

    ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสันแห่งสหรัฐอเมริกาและคนอื่นๆ ได้มีความเห็นว่าสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอาจเกิดจากลัทธินิยมทหาร บางคนอาจโต้เถียงว่าเป็นเพราะการปกครองแบบอภิชนาธิปไตย และพวกนายทหารชั้นสูงในกองทัพมีอำนาจมากมายดังเช่นในประเทศอย่างเยอรมนี รัสเซียและออสเตรีย-ฮังการี สงครามนั้นเป็นโอกาสทองที่พวกเขาจะสามารถได้รับตอบสนองความต้องการเพื่ออำนาจทางการทหารและดูถูกการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยเหตุการณ์ดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นอย่างโดดเด่นในโฆษณาต่อต้านเยอรมนี เนื่องจากว่าผู้สนับสนุนแนวคิดดังกล่าวได้เรียกร้องให้มีการสละราชสมบัติของผูนำประเทศ อย่างเช่น สมเด็จพระจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี รวมไปถึงการกำจัดพวกชนชั้นสูงซึ่งมีส่วนร่วมในการปกครองของยุโรปมาหลายศตวรรษรวมไปถึงลัทธินิยมทหารด้วย เวทีนี้ได้ให้เหตุผลอันสมควรแก่สหรัฐอเมริกาที่เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเมื่อจักรวรรดิรัสเซียยอมจำนนเมื่อปี 1917

    ฝ่ายพันธมิตรซึ่งประกอบด้วยสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส มีการปกครองระบบประชาธิปไตย ได้ต่อสู้กับฝ่ายมหาอำนาจกลางซึ่งประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการีและจักรวรรดิออตโตมาน รวมไปถึงรัสเซีย พันธมิตรของอังกฤษและฝรั้งเศสเอง ยังคงมีการปกครองระบบจักรวรรดิจนกระทั่งถึงปี 1917-1918 แต่มันก็ตรงกันข้ามกับการปราบปรามเชื้อชาติสลาฟของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี โดยหลังฉากนี้ มุมมองของสงครามของหนึ่งในกลุ่มประชาธิปไตยกับการปกครองแบบเผด็จการมาตั้งแต่ต้นนั้นดูมีเหตุผลและน้ำหนักพอสมควร แต่กลับสูญเสียความน่าเชื่อถือไปเรื่อยๆ จณะที่ความขัดแย้งได้ดำเนินต่อไปเรื่อยๆ

    วิลสันนั้นหวังว่าสันนิบาตชาติและการปลดอาวุธนั้นจะช่วยให้สามารถธำรงสันติภาพให้คงอยู่กาลนาน โดยยืมแนวคิดมาจากเอช.อี.เวลส์ เขาได้อธิบายเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่งว่าเป็น "สงครามเพื่อที่จะยุติสงครามทั้งมวล" เขายังหวังที่จะเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตรของอังกฤษและฝร่งเศสตั้งแต่ต้นจนจบ แม้ว่าท้งสองประเทศจะมีลัทธินิยมทหารอยู่บ้าง

     สมดุลแห่งอำนาจ

    ภาพล้อเลียนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างประเทศในทวีปยุโรป ก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งปะทุ
    ภาพล้อเลียนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างประเทศในทวีปยุโรป ก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งปะทุ

    หนึ่งในเป้าหมายของประเทศมหาอำนาจก่อนที่จะเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งก็คือ การรักษา "สมดุลแห่งอำนาจ" ในทวีปยุโรป ทำให้ต่อมาได้กลายเป็นระบบที่ประณีตของข้อตกลงและสนธิสัญญาต่างๆ ทั้งต่อหน้า (เผยแพร่ต่อสาธารณชน) และลับหลัง (เป็นความลับ) ตัวอย่างเช่น หลังจากสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย อังกฤษก็ได้ให้ความช่วยเหลือแก่เยอรมนีอันแข็งแกร่ง ซึ่งอังกฤษหวังว่าจะช่วยรักษาสมดุลกับศัตรูทางวัฒนธรรมของอังกฤษ นั่นคือ ฝรั่งเศส แต่ว่าภายหลังจากที่เยอรมนีเริ่มที่จะสร้างกองทัพเรือขึ้นมาแข่งขันกับอังกฤษ ก็ทำให้สถานภาพนี้เปลี่ยนไป ฝรั่งเศสผู้กำลังหาพันธมิตรใหม่เพื่อรักษาความปลอดภัยจากอันตรายของเยอรมนี ซึ่งก็คือจักรวรรดิรัสเซีย จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งเผชิญหน้ากับภัยจกรัสเซีย ได้รับความช่วยเหลือจากเยอรมนี

    เมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งปะทุ สนธิสัญญาเหล่านี้เป็นแค่ตัวตัดสินว่าพวกเขาจะเข้าร่วมสงครามกับฝ่ายใด อังกฤษผู้ไม่มีสนธิสัญญาผูกพันกับฝรั่งเศสและรัสเซีย แต่ก็เข้าร่วมสงครามกับฝ่ายพันธมิตร ทางด้านอิตาลีมีทั้งสนธิสัญญาผูกพันกับทั้งเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี แต่ก็ไม่ได้เข้าร่วมสงครามกับฝ่ายมหาอำนาจกลาง กลับเป็นฝ่ายพันธมิตร บางที สนธิสัญญาที่น่าสังเกตที่สุดน่าจะเป็นสนธิสัญญาการป้องกันร่วมกันระหว่างเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งเยอรมนีได้ร่างขึ้นในปี 1909 โดยได้กล่าวไว้ว่า เยอรมนีจะยืนเคียงข้างจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี แม้ว่าพวกเขาจะเป็นฝ่ายเริ่มสงครามก่อนก็ตาม

    เศรษฐกิจลัทธิจักรวรรดินิยม

    วลาดีมีร์ เลนินได้ยืนยันว่าสาเหตุของสงครามนั้นตั้งอยู่บนจักรวรรดินิยม เขาได้กล่าวพรรณาถึงแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ของคาร์ล มาร์กซ และนักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ จอห์น เอ. ฮอบสัน ซึ่งได้ทำนายว่าการแข่งขันอย่างไม่สิ้นสุดเพื่อการขยายตลาดการค้านั้นจะนำไปสู่ความขัดแย้งในระดับโลก โดยเหตุผลดังกล่าวนั้นมีผู้เชื่อถือเป็นจำนวนมากและได้สนับสนุนการเจริญเติบโตของลัทธิคอมมิวนิสต์ เลนินยังได้กล่าวว่าความสนใจในการเงินของมหาอำนาจลัทธิทุนนิยม-จักรวรรดินิยมจำนวนมากได้ก่อให้เกิดสงคราม

     การกีดกันทางการค้า

    คอร์เดล คูล ซึ่งเป็นเลขานุการของประธานาธิบดี แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ เชื่อว่าการกีดกันทางการค้าเป็นทั้งสาเหตุของทั้งสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สอง ในปี 1944 เขาได้มีส่วนในการร่วมร่างระบบเบร็ตตัน วูดส์เพื่อลดการกีดกันทางการค้าและกำจัดสิ่งที่เขาเห็นว่าเป็นต้นเหตุของความขัดแย้ง

     การแข่งขันทางการเมืองและมนุษยชาติ

    สงครามบนคาบสมุทรบอลข่านระหว่างจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีและเซอร์เบียนั้นถูกพิจารณาว่าไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ด้วยอิทธิพลของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีได้เสื่อมถอยและการเจริญเติบโตของลัทธิรวมเชื้อชาติสลาฟ และความเจิรญขึ้นของลัทธิชาตินิยมภายในประจวบกับการเจริญเติบโตของเซอร์เบีย ซึ่งความรู้สึกต่อต้านชาวออสเตรียอาจจะมีความรุนแรงมากที่สุด จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีนั้นได้ยึดครองแคว้นบอลเนีย-เฮอร์เซโกวิเนียของจักรวรรดิออตโตมาน ซึ่งมีจำนวนประชากรชาวเซิร์บเป็นจำนวนมากในปี 1878 และจากนั้นก็ได้ถูกยุบรวมเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีในปี 1908 ความรู้สึกรักชาติที่เพิ่มมากขึ้นพร้อมกับที่จักรวรรดิออตโตมาน รัสเซียนั้นได้สนับสนุนการเคลื่อนไหวเพื่อการรวมเชื้อชาติสลาฟ และกระตุ้นโดยมนุษยธรรมและความจงรักภักดีต่อศาสนาและการแข่งขันกับจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีย้อนกลับไปยังสงครามไครเมีย เหตุการณ์ปัจจุบันอย่างเช่น สนธิสัญญาล้มเหลวระหว่างออสเตรีย-ฮังการีกับรัสเซีย และความฝันเก่าตั้งแต่ต้นศตวรรษเรื่องท่าเรือน้ำอุ่นก็ได้ถูกกระตุ้นในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

    นอกจากในบอสเนียแล้ว ก็ยังมีเจตนอยู่ในสถานที่อื่นๆ อีกเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นการสูญเสียแคว้นอัลซาซและแคว้นลอร์เรนภายหลังสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียได้ก่อให้เกิดความรู้สึกต่อต้านในกลุ่มประชากรไปโดยปริยาย ในที่สุด ฝรั่งเศสก็ได้รัสเซียเป็นพันธมิตร และได้สร้างสิ่งที่ตั้งเค้าว่าจะกลายเป็นบศึกสองด้านกับเยอรมนี

     วิกฤตการณ์เดือนกรกฎาคมและการประกาศสงคราม

    สาส์นประกาศสงครามของจักรพรรดิไกเซอร์ วิลเฮล์มที่ 2 ของจักรวรรดิเยอรมนีในปี 1914
    สาส์นประกาศสงครามของจักรพรรดิไกเซอร์ วิลเฮล์มที่ 2 ของจักรวรรดิเยอรมนีในปี 1914

    รัฐบาลของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเยอรมนี ได้ยกเอาเหตุผลของการลอบปลงพระชนม์ อาร์คดยุคฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์แห่งออสเตรีย เป็นการตั้งคำถามกับเซอร์เบีย เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 ออสเตรีย-ฮังการีได้ยื่นคำขาดแก่เซอร์เบียโดยมีความต้องการสิบข้อ ซึ่งบางข้อนั้นเซอร์เบียเห็นว่ารุนแรงเกินไป จึงปฏิเสธคำขาดข้อที่หก เซอร์เบียนั้นไว้ใจว่าตนจะได้รับการสนับสนุนอย่างเพียงพอจากรัสเซีย จึงทำให้เกิดการปฏิเสธคำขาดบางกรณี และหลังจากนั้นก็มีการออกคำสั่งระดมพล จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีได้ตอบสนองโดยการประกาศสงครามเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ในตอนเริ่มต้น กองทัพรัสเซียได้สั่งระดมพลเป็นบางส่วน มุ่งตรงมายังชายแดนของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม หลังจากที่กองเสนาธิการทั่วไปของรัสเซียได้ทูลแก่พระเจ้าซาร์ว่า การส่งกำลังบำรุงแก่ทหารเกณฑ์นันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ จึงได้เปลี่ยนเป็นการระดมพลเต็มขนาดแทน แผนการชลีฟเฟ็นซึ่งมีเป้าหมายที่จะโจมตีสายฟ้าแลบต่อฝรั่งเศสนั้น ไม่สามารถให้รัสเซียสามารถระดมพลได้ นอกจากภายหลังกองทัพเยอรมันได้เข้าโจมตีแล้ว ดังนั้น เยอรมนีจึงประกาศสงครามกับรัสเซียเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม และฝรั่งเศสในอีกสองวันต่อมา หลังจากนั้นเยอรมนีก็ได้ฝ่าฝืนต่อความเป็นกลางของเบลเยี่ยมโดยการเดินทัพผ่านเพื่อไปโจมตีกรุงปารีส ซึ่งส่งผลให้จักรวรรดิอังกฤษเข้าสู่สงคราม ด้วยสาเหตุนี้ ห้าในหกประเทศมหาอำนาจของยุโรป จึงเข้ามาพัวพันอยู่ในความขัดแย้งวงกว้างภายในทวีปยุโรปครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามนโปเลียน

     เส้นทางของสงคราม

    กระสุนนัดแรก

    ความขัดแย้งของยุโรปในปี 1914
    สีเหลือง: ประเทศเป็นกลาง
    สีแดง: ฝ่ายมหาอำนาจกลาง
    สีเขียว:ฝ่ายพันธมิตร

     ความสับสนภายในฝ่ายมหาอำนาจกลาง

    แผนการทางยุทธศาสตร์ของฝ่ายมหาอำนาจกลางต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความไร้ประสิทธิภาพของการคมนาคมและการสื่อสารระหว่างกัน เยอรมนีให้คำมั่นแก่ออสเตรีย-ฮังการีว่าตนจะช่วยสนับสนุนในการรุกรานเซอร์เบีย จึงทำให้เกิดความผิดใจกันในฝ่ายมหาอำนาจกลาง ออสเตรีย-ฮังการีนั้นเชื่อว่าเยอรมนีจะช่วยส่งกองทัพเข้ามาป้องกันประเทศทางชายแดนด้านทิศเหนือซึ่งติดกับรัสเซีย อย่างไรก็ตาม ออสเตรีย-ฮังการีได้มีความเห็นที่จะส่งกองทัพหลักของตนพุ่งเป้าไปยังรัสเซีย ขณะที่เยอรมนีจัดการกับประเทศฝรั่งเศส จากสาเหตุดังกล่าวได้สร้างความสับสนให้แก่กองทัพออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งจำเป็นต้องแบ่งกองทัพของตนเพื่อรบกับทั้งเซอร์เบียและรัสเซียทั้งสองด้าน

     เขตสงครามทวีปแอฟริกา

    ประกายแรกของสงครามก็ได้เข้ามาพัวพันกับอาณานิคมทั้งหลายของอังกฤษ ฝรั่งเศสและเยอรมนีในทวีปแอฟริกา เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1914 กองทัพอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศสได้เข้าโจมตีรัฐในอารักขาของเยอรมนี โตโกแลนด์ อีกสองวันต่อมา กองทัพเยอรมันในนามิเบียได้เข้าโจมตีแอฟริกาใต้ การรบในทวีปแอฟริกายังมีขึ้นอย่างประปรายและรุนแรงตลอดช่วงเวลาของาสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

     เขตสงครามเซอร์เบีย

    กองทัพเซอร์เบียได้ต่อสู้กับกองทัพออสเตรีย-ฮังการีผู้รุกรานระหว่างยุทธภูมิเซอร์ ซึ่งเริ่มต้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ได้เข้ายึดตำแหน่งที่มั่นทางตอนใต้ของแม่น้ำดรินาและแม่น้ำซาวา อีกสองสัปดาห์ถัดมา กองทัพออสเตรีย-ฮังการีถูกโจมตีโต้กลับอย่างหนักประสบความเสียหายรุนแรง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของชัยชนะครั้งแรงของฝ่ายพันธมิตรและทำลายความหวังของกองทัพออสเตรีย-ฮังการีไปสิ้น ซึ่งทำให้กองทัพออสเตรีย-ฮังการีจำเป็นต้องรักษากองกำลังขนาดใหญ่ไว้ทางแนวรบเซอร์เบีย ซึ่งทำให้ความพยายามต่อต้านรัสเซียอ่อนแอลง กองทัพเซอร์เบียยังได้ชัยชนะเหนือกองทัพออสเตรีย-ฮังการีอีกครั้งในยุทธภูมิคาลูบารา

     กองทัพเยอรมันในเบลเยี่ยมและฝรั่งเศส

    สภาพสนามรบในฝรั่งเศสปี 1917
    สภาพสนามรบในฝรั่งเศสปี 1917

    ในตอนเริ่มแรก กองทัพเยอรมันได้รับชันขนะใหญ่หลวงในยุทธภูมิแห่งชายแดน (14-24 สิงหาคม) อย่างไรก็ตาม รัสเซียได้โจมตีปรัสเซียตะวันออก ทำให้เยอรมนีจำเป็นต้องแบ่งกองทัพออกมาตั้งรับรัสเซียในแนวรบด้านตะวันออก แทนที่จะไปสนับสนุนกองทัพของตนในแนวรบด้านตะวันตก ด้านกองทัพเยอรมันก็ได้ชัยชนะเหนือกองทัพรัสเซียในการรบหลายคร้ง อย่างเช่น ยุทธภูมิทันเนนเบิร์กครั้งที่หนึ่ง (17 สิงหาคม - 2 กันยายน) แต่การรบในแนวรบด้านตะวันออกก็ต้องล่าช้าเนื่องจากความเร็วในการรุกเป็นไปอย่างเชื่องช้าและทางคมนาคมทางรถไฟของรัสเซียไม่ถูกค้นพบโดยกองเสนาธิการเยอรมัน แต่เดิม แผนการชลีฟเฟ็นได้มีเป้าหมายเพื่อให้ปีกขวาของกองทัพเยอรมันโจมตีเข้าสู่ทางตะวันตกของกรุงปารีส อย่างไรก็ตาม ด้วยความเชื่องช้าและความไร้ประสิทธิภาพของพาหนะม้าลากขัดขวางรถไฟขนเสบียงของเยอรมนี ทำให้กองทัพพันธมิตรสามารถหยุดยั้งการรุกของเยอรมนีได้ที่ ยุทธภูมิแม่น้ำมาร์นครั้งที่หนึ่ง (5-12 กันยายน) ฝ่ายมหาอำนาจกลางจึงสุญเสียความเร็วในการโจมตีและการโจมตีสายฟ้าแลบก็เริ่มประสบความล้มเหลว เนื่องจากเยอรมนีต้องสู้ศึกทั้งสองด้าน แต่ว่าทางด้านกองทัพเยอรมันก็ได้ประจำอยู่ในที่มั่นตั้งรับภายในฝรั่งเศสและสามารถสังหารทหารพันธมิตรได้มากกว่า 230,000 คน ด้วยการคมนาคมที่ไร้ประสิทธิภาพและการบัญชาการที่เป็นปัญหา เยอรมนีจำเป็นต้องชดใช้ด้วยการทำสงครามยืดเยื้อในอนาคต

     ทวีปเอเชียและแถบมหาสมุทรแปซิฟิก

    นิวซีแลนด์ได้เข้ายึดครองซามัวตะวันตกเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม เมื่อวันที่ 11 กันยายน ทหารเรือและกองทหารนอกประเทศของออสเตรเลีย ได้ขึ้นฝั่งบนเกาะนิว พัมเมิร์น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมันนิวกินี ญี่ปุ่นได้เข้าโจมตีดินแดนอาณานิคมของเยอรมนีในไมโครนิเซีย และภายในไม่กี่เดือน ดินแดนอาณานิคมโพ้นทะเลของเยอรมนีแถบมหาสมุทรแปซิฟิกก็ถูกกองทัพพันธมิตรยึดครองทั้งหมด

     แนวรบด้านตะวันตก:การรบแบบสนามเพลาะ

    ทหารออสเตรเลียสวมหน้ากากกันแก๊สพิษประจำสนามเพลาะ ตั้งรับที่เมืองอีพรี เมื่อปี 1917
    ทหารออสเตรเลียสวมหน้ากากกันแก๊สพิษประจำสนามเพลาะ ตั้งรับที่เมืองอีพรี เมื่อปี 1917

    ยุทธวิธีทางการทหารก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้ประสบความล้มเหลวที่จะตามทันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี มันต้องใช้สิ่งก่อสร้างที่มีระบบการป้องกันที่เยี่ยมยอด ซึ่งยุทธวิธีการทหารซึ่งล้าสมัยไม่สามารถโจมตีผ่านได้เป็นช่วงเวลาส่วนใหญ่ของสงคราม ลวดหนามนั้นเป็นการประดิษฐ์เพื่อยับยังการโจมตีแบบคลื่นมนุษย์ ส่วนปืนใหญ่ก็มีประสิทธิภาพร้ายแรงกว่าในทษวรรษ 1870 มากนัก และเมื่อใช้ร่วมกับปืนกลทำให้การเคลื่อนทัพผ่านที่กว้างๆ แทบจะเป็นไปไม่ได้ ด้านเยอรมนีได้คิดค้นแก๊สพิษและต่อมาก็ได้ใช้ในสงครามทั้งสองฝ่าย แม้ว่ามันจะไม่เคยพิสูจน์ตัวเองเลยว่าจะได้รับชัยชนะเด็ดขาดในการรบ อย่างไรก็ตาม แก๊สพิษนั้นมีผลที่โหดร้าย ทำให้ความตายที่ตามมานั้นเชื่องช้าและทรมาน จากนั้นมันก็ได้กลายเป็นอาวุธที่น่าสะพรึงกลัวที่สุดและเป็นความทรงจำที่เลวร้ายของสงคราม เหล่าผู้บัญชาการของทั้งสองฝ่ายประสบความล้มเหลวที่จะพัฒนายุทธวิธีใหม่ๆ เพื่อที่จะโจมตีผ่านแนวสนามเพลาะซึ่งเป็นที่มั่นอย่างดีสำหรับฝ่ายตั้งรับ ทำให้เกิดความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงทุกครั้งที่เกิดการบุก อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไป เหล่านักวิทยาศาสตร์ก็ได้คิดค้นยุทโธปกรณ์ใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการรุก อย่างเช่น รถถัง เดิมทีอังกฤๅและฝรั่งเศสได้นำมาใช้ในสงคราม ส่วนเยอรมนีได้ยึดเอารถถังจำนวนหนึ่งจากฝ่ายพันธมิตรและประดิษฐ์ขึ้นเองอีกเล็กน้อย

    ภายหลัง ยุทธภูมิแม่น้ำมาร์นครั้งที่หนึ่ง ทั้งฝ่ายพันธมิตรและเยอรมนีก็ได้เริ่มอุบายการตีขนาบปีกของกองทัพฝ่ายตรงข้าม เรียกว่า "การแข่งขันสู่ทะเล" อังกฤษและฝรั่งเศสพบว่าตัวเองกำลังเผชิญหน้ากับกองทัพเยอรมันที่อยู่ในเขตที่มั่นอย่างมั่นคงเป็นแนวยาวตั้งแต่แคว้นลอร์เรนของฝรั่งเศสไปจนถึงเขตทุ่งฟแลนดีสของเบลเยี่ยมติดกับทะเลเหนือ ด้านอังกฤษและฝรั่งเศสได้พยายามที่จะเริ่มการโจมตี ขณะที่เยอรมนีได้ทำการตั้งรับอย่างเข้มแข็งในดินแดนยึดครอง ในด้านยุทธวิธี สนามเพลาะของเยอรมนีนั้นโดยรวมแล้วมีประสิทธิภาพเหนือกว่าสนามเพลาะของฝ่ายพันธมิตรมากนัก ขณะที่แนวสนามเพลาะของฝ่ายพันธมิตรนั้นมีเจตนาเพื่อเป็นแนวชั่วคราวสำหรับเตรียมโจมตีผ่านแนวรบของเยอรมนีเท่านั้น ทั้งสองฝ่ายได้พยายามที่จะรบโดยการนำเอาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการรบมากขึ้น ในเดือนเมษายน 1915 ฝ่ายเยอรมนีเริ่มใช้ก๊าซคลอรีนเป็นครั้งแรก (เป็นการละเมิด การประชุมกรุงเฮก) และได้เปิดแนวรบพันธมิตรเป็นช่องยาวกว่า 6 กิโลเมตรเมื่อกองทัพพันธมิตรได้ถอนตัวออกไป จากนั้นกองทัพแคนาดาได้เข้ามาอุดช่องโหว่ที่ยุทธภูมิอีพรีครั้งที่สอง และในยุทธภูมิอีพรีครั้งที่สาม กองทัพแคนาดาและกองทัพผสมแอนแซ็กได้ยึดครองหมู่บ้านพาสเชลเดล

    วันที่ 1 กรกฎาคม 1916 เป็นวันแรกของยุทธภูมิแม่น้ำซอมม์ กองทัพอังกฤษได้พบกับความสูญเสียที่นองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์ ความสูญเสียกว่า 57,470 นายและเสียชีวิตกว่า 19,240 นาย ความสูญเสียส่วนใหญ่เกิดขึ้นระหว่างชั่วโมงแรกของการรบ จนถึงตอนนี้การรุกของกองทัพอังกฤษในแนวรบด้านตะวันตกได้คร่าชีวิตทหารไปเกือบครึ่งล้านนายแล้ว

    ทหารฝรั่งเศสเข้าโจมตีที่ตั้งของกองทัพเยอรมัน เมืองแชมเปญ ฝรั่งเศส ปี 1917
    ทหารฝรั่งเศสเข้าโจมตีที่ตั้งของกองทัพเยอรมัน เมืองแชมเปญ ฝรั่งเศส ปี 1917

    ทั้งสองฝ่ายนั้นไม่สามารถที่จะโจมตีผ่านแนวรบของอีกฝ่ายได้เป็นเวลากว่าสองปี แม้ว่าการทำศึกยืดเยื้อของเยอรมนีที่ป้อมเปเดิงตลอดทั้งปี 1916 ประกอบกับความล้มเหลวของกองทัพพันธมิตรในแม่น้ำซอมม์ ทำให้กองทัพฝรั่งเศสที่เหนื่อยอ่อนนั้นใกล้ที่จะล่มสลายเต็มที ด้วยความพยายามอย่างปราศจากเหตุผลที่จะโจมตีทางด้านหน้า การยึดหมั่นในหลักการเดิมๆ นันเป็นวิธีที่ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง วิธีนี้ทำให้อังกฤษและฝรั่งเศสต้องจ่ายในราคาสูงลิบด้วยชีวิตของทหาร และได้นำไปสู่การขัดคำสั่งของทหารฝรั่งเศส โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการรุกเนวิลล์

    ทหารแคนาดาเดินตามหลังรถถังมาร์ก 1 ของอังกฤษ ระหว่างยุทธภูมิเนินวิมี
    ทหารแคนาดาเดินตามหลังรถถังมาร์ก 1 ของอังกฤษ ระหว่างยุทธภูมิเนินวิมี

    ตลอดช่วงเวลาปี 1915-1917 จักรวรรดิอังกฤษและฝรั่งเศสได้รับความสูญเสียหนักกว่ากองทัพเยอรมันมากนัก ด้านยุทธศาสตร์ กองทัพเยอรมันใช้วิธีโหมกระหน่ำโจมตีครั้งใหญ่เพียงครั้งเดียวที่ป้อมเปเดิง ขณะที่กองทัพพันธมิตรได้พยายามหลายครั้งเพื่อที่จะโจมตีผ่านแนวของเยอรมัน ด้านยุทธวิธี หลักการตั้งรับของเยอรมันนั้นเหมาะสมกับกลยุทธ์สนามเพลาะอย่างยิ่ง ด้วยการที่ปล่อยให้แนวสนามเพลาะที่มีประสิทธิภาพน้อยกว่าป้องกันแนวหน้าส่วนที่ไม่สำคัญ ส่วนตำแหน่งหลักนั้นทำให้สามารถโจมตีกลับได้อย่างรวดเร็วและรุนแรง การผสมผสานนี้ทำให้เยอรมนี่สามารถผลักดันกองทัพพันธมิตรให้ถอยออกไปได้โดยสุญเสียทหารน้อยกว่าอีกฝ่ายมาก และเมื่อเวลาผ่านไป จำนวนความสูญเสียของทหารเยอรมันกับทหารพันธมิตร เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ทหารเยอรมันสูญเสียเป็นจำนวนน้อยอย่างน่าอัศจรรย์

    ภาพถ่ายของนายทหารของกองทัพอาสาสมัครปืนใหญ่เบอร์มิวด้าบนเกาะเบอร์มิวด้า กองทัพหลวงประจำการในทวีปยุโรป
    ภาพถ่ายของนายทหารของกองทัพอาสาสมัครปืนใหญ่เบอร์มิวด้าบนเกาะเบอร์มิวด้า กองทัพหลวงประจำการในทวีปยุโรป

    ทหารของจักรวรรดิอังกฤษราว 800,000 คนนั้นทำการรบอยู่บนแนวรบด้านตะวันตกในช่วงเวลาหนึ่งๆ กว่า 1,000 กองพันได้ตั้งเรียงเป็นแนวยาวเผชิญหน้ากับแนวสนามเพลาะของเยอรมนีตั้งแต่ทะเลเหนือลงมาจนถึงแม่น้ำออนี ทำให้เกิดระบบหมุนเวียน เว้นแต่ว่าอยู่ระหว่างการโจมตี แนวหน้าของฝ่ายพันธมิตรนั้นเป็นแนวสนามเพลาะยาวกว่า 9,600 กิโลเมตร กองพันแต่ละกองมีหน้าที่ที่จะรักษาแนวสนามเพลาะนี้เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ก่อนที่จะเปลี่ยนเวร และถอยกลับไปยังแนวสนับสนุนหลังแนวรบ วิธีการนี้ใช้มากในเขตโปเปอร์รีนและอเมนส์ของเบลเยี่ยม

    ในปี 1917 ยุทธภูมิแอเรซนั้นเป็นแค่เพียงชัยชนะทางทหารของอังกฤษซึ่งสามารถยึดเนินวีมีได้สำเร็จเพียงครั้งเดียว ภายใต้คณะทหารแคนาดาภายใต้การบังคับบัญชาของเซอร์ อาเธอร์ คูรี่และจูเลี่ยน บียง ฝ่ายโจมตีสามารถรุกได้สำเร็จเพียงครั้งเดียว จ่ากนั้นก็ทำการสนับสนุนอย่างรวดเร็วและสามารถยึดครองแคว้นบูไอซึ่งมีทรัพยากรถ่านหินเป็นจำนวนมาก

     สงครามทางทะเล

    กองเรือรบประจัญบานแห่งกองเรือทะเลหลวงในมหาสมุทรแอตแลนติก
    กองเรือรบประจัญบานแห่งกองเรือทะเลหลวงในมหาสมุทรแอตแลนติก

    ในตอนเริ่มต้นของสงคราม จักรวรรดิเยอรมนีนั้นมีเรือลาดตระเวนเป็นจำนวนประปราย แต่อยู่ทั่วทั้งโลก ในภายหลังกองทัพเรือเยอรมันได้ใช้เรือรบดังกล่าวเพื่อการจมเรือพาณิชย์ของฝ่ายพันธมิตร กองทัพเรืออังกฤษนั้นได้พยายามตามล่าเรือรบเหล่านี้อย่างเป็นระบบ แต่ว่ากองเรือเหล่านี้มีความอับอายเนื่องจากเรือรบเหล่านี้ไม่สามารถป้องกันเรือพาณิชย์ได้ จึงได้มีการกระทำบางประการ เช่น มีเรือลาดตระเวนเบาอันสันโดษของเยอรมัน "เอมเดน" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองเรือเอชียตะวันออก ประจำการอยู่ในเมืองท่าซิงเทา ถูกเผาและพ่อค้า 15 ตนบนเรือเสียชีวิต รวมไปถึงการจมเรือลาดตระเวนเบาของรัสเซียและเรือพิฆาตฝรั่งเศสอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ด้วยขนาดใหญ่โตของกองเรือเอเชียตะวันออกของเยอรมัน-ซึ่งประกอบด้วยเรือลาดตระเวนหุ้มเกราะ Scharnhorst และ Gneisenau เรือลาดตระเวนเบา Nürnberg และ Leipzig และเรือบรรทุกอีกสองลำ- นั้นมิได้รับคำสั่งให้เข้าปล่นเรือสินค้าฝ่ายพันธมิตรแต่อย่างใด และกำลังเดินทางกลับสู่เยอรมนีเมื่อกองเรือเหล่านี้ปะทะเข้ากับกองเรืออังกฤษ กองเรือเล็กเยอรมัน พร้อมด้วยเรือเดรสเดน ได้จมเรือลาดตระเวนหุ้มเกราะไปสองลำในยุทธนาวีโคโรเนลแต่ว่ากองเรือดังกล่าวก็เกือบจะถูกทำลายจนสิ้นในยุทธนาวีหมู่เกาะฟอล์คแลนด์ ในเดือนธันวาคม 1914 เหลือเพียงเรือเดรสเดนเท่านั้นที่สามารถหลบหนีได้

    ไม่นานหลังจากการรบทางทะเลเริ่มต้น อังกฤษก็ได้ทำการปิดล้อมทางทะเลกับเยอรมนี ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่พิสูจน์ว่าได้ผลในสงครามครั้งนี้ การปิดล้อมได้ตัดเสบียงและทรัพยากรของเยอรมนี แม้ว่าการกระทำดังกล่าวจะเป็นการละเมิดประมวลกฤหมายนานาชาติซึ่งถูกร่างขึ้นโดยทั้งสองประเทศก็ตาม กองทัพเรืออังกฤษยังได้วางทุ่นระเบิดตามนานน้ำสากลเพื่อป้องกันมิให้กองเรือใดๆ เข้าออกเขตมหาสมุทร ซึ่งเป็นอันตรายแม้แต่กับเรือของประเทศที่เป็นกลาง และเนื่องจากอังกฤษไม่ออกมารับผิดชอบต่อผลเสียที่เกิดจากยุทธวิธีนี้ เยอรมนีจึงได้กระทำแบบเดียวกันกับกลยุทธ์เรือดำน้ำของตนเช่นกัน

    เรือรบหลวงไลออนระหว่างยุทธนาวีคาบสมุทรจัตแลนด์ ภายหลังถูกระดมยิงอย่างหนักจากเรือรบเยอรมัน
    เรือรบหลวงไลออนระหว่างยุทธนาวีคาบสมุทรจัตแลนด์ ภายหลังถูกระดมยิงอย่างหนักจากเรือรบเยอรมัน

    ปี 1916 ยุทธนาวีคาบสมุทรจัตแลนด์ (ภาษาเยอรมัน: "Skagerrakschlacht", หรือ "Battle of the Skagerrak") ได้กลายเป็นยุทธนาวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในสงครามโลกครั้งนี้ ซึ่งเป็นการปะทะกันเต็มอัตราศึกของกองทัพเรือทั้งสองฝ่าย ซึ่งกินเวลาตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน 1916 บริเวณทะเลเหนือห่างจากคาบสมุทรจัตแลนด์ กองเรือทะเลหลวงของกองทัพเรือเยอรมันบัญชาการโดยพลเรือโท Reinhard Scheer เผชิญหน้ากับกองเรือหลวงของกองทัพเรืออังกฤษภายใต้การนำของพลเรือเอก เซอร์ John Jellicoe ผลชองยุทธนาการครั้งนี้คือเสมอกัน ฝ่ายเยอรมันนั้นมีชัยชนะเชิงเล่ห์เหลี่ยมเหนือกองทัพอังกฤษที่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งกองเรือเยอรมันวางแผนที่จะหลบหนีและได้สร้างความเสียหายต่อกองทัพเรืออังกฤษมากกว่าที่กองเรือเยอรมันได้รับ แต่ทางยุทธศาสตร์แล้ว กองทัพเรืออังกฤษยังคงครองความเป็นเจ้าสมุทรเหนือมหาสมุทรต่อไป และกองทัพเรือบนผิวน้ำก็ถูกกักให้อยู่แต่ในท่า (ไม่สามารถปฏิบัติการได้) อีกเลยตลอดช่วงเวลาของสงคราม

    เรืออูของเยอรมันนั้นมีความพยายามที่จะตัดเส้นทางสนับสนุนระหว่างสหรัฐอเมริกากับอังกฤษ และเป็นธรรมชาติของกลยุทธ์เรือดำน้ำที่จะทำการโจมตีโดยไม่มีการกล่าวตักเตือน เรือสินค้าที่ถูกจมจึงมีความหวังน้อยมากที่ลูกเรือจะมีชีวิตรอด สหรัฐอเมริกาจึงประท้วง เยอรมนีจึงปรับปรุงรูปแบบการทำการรบ ภายหลังจากการจมเรือโดยสารลูซิทาเนียอันไม่โด่งดัง ในปี 1915 เยอรมนีสัญญาว่าจะไม่โจมตีเส้นทางของเรือพาณิชย์อีก ขณะที่อังกฤษได้ติดอาวุธให้กับเรือพาณิชย์ของตน ในที่สุดแล้ว ต้นปี 1917 เยอรมนีได้กักนโยบายกลยุทธ์เรือดำน้ำแบบไม่จำกัด เนื่องจากกลัวว่าสหรัฐอเมริกาจะเข้าสู่สงคราม ด้านเเยอรมนีพยายามที่ค้นหาเส้นทางการเดินเรือของฝ่ายพันธมิตรก่อนที่สหรัฐอเมริกาจะขนส่งกองทพขนาดใหญ่ข้ามทะเลมาได้

    ภัยขากเรืออูนั้นเริ้มลดลงเมื่อปี 1917 เมื่อเรือพาณิชย์ของอังกฤษได้เข้าร่วมกับขบวนเรือคุ้มกันซึ่งประกอบไปด้วยเรือพิฆาต ยุทธวิธีดังกล่าวทำให้เป็นการยากที่เรืออูของเยอรมันจะสามารถค้นหาเป้าหมาย ทำให้เกิดความสูญเสียน้อยลง ภายหลังการเปิดตัวไฮโดรโฟนและระเบิดน้ำลึก ทำให้เรือพิฆาตมีความหวังที่จะโจมตีเรือดำน้ำซึ่งยังปฏิบัติการอยู่ได้ แต่ว่าการใช้ระบบขบวนเรือดังกล่าวก็ทำให้เกิดความล่าช้าในการขนส่งเสบียง เนื่องจากต้องใช้เวลานานในการรวบรวมเรือเข้าจัดตั้งเป็นขบวน เหตุการณ์ดังกล่าวได้นำไปสู่การสร้างเรือบรรทุกสินค้าแบบใหม่ จากนั้นเรือทหารก็ไม่สามารถตกเป็นเป้าของเรือดำน้ำเยอรมนีได้อีกต่อไป

    แนวรบด้านตะวันออก

     เยอรมนีรบชนะตลอดทาง

    ขณะที่สถานการณ์ในแนวรบด้านตะวันตกยังคงเสมอกัน ในแนวรบด้านตะวันออก กองทัพรัสเซียวางแผนที่จะโจมตีหลายทิศทางโดยพุ่งเป้าหมายไปยังแคว้นกาซิเลียของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีและปรัสเซียตะวันออกของเยอรมนี ถึงแม้ว่าการรุกเข้าไปยังแคว้นกาซิเลียจะประสบความสำเร็จอย่างงดงาม แต่ด้านปรัสเซียตะวันออกนั้นกลับถูกตีโต้ออกมาหลังความพ่ายแพ้ที่ยุทธการเทนเนนเบริ์กและยุทธการทะเลสาบมาซูเรี่ยนครั้งที่หนึ่ง ระหว่างเดือนสิงหาคมกับเดือนกันยายนของปี 1914 เนื่องจากว่าพื้นฐานทางอุตสาหกรรมที่ไม่มั่นคงของรัสเซียและการนำกองทัพที่ไม่มีประสิทธิภาพกำลังจะนำไปสู่ความพ่ายแพ้ของรัสเซียในไม่ช้านี้ ช่วงฤดูใบไม้ร่วงของปี 1915 กองทัพรัสเซียได้ถอยทัพถึงแคว้นกาซิเลีย และเดือนพฤษภาคม กองทัพฝ่ายมหาอำนาจกลางได้ตีแนวรบรัสเซียด้านทางทิศใต้ในโปแลนด์ได้อย่างน่าประหลาดใจ วันที่ 5 สิงหาคม กรุงวอร์ซอว์แตกและกองทัพรัสเซียล่าทัพออกจากโปแลนด์อีก เหตุการณ์นี้รู้จักกันในนาม "การล่าถอยครั้งใหญ่" ของรัสเซีย และ "การรุกครั้งใหญ่" ของเยอรมนี

     การปฏิวัติรัสเซีย

    เนื่องจากความไม่พอใจต่อความพ่ายแพ้ของกองทัพรัสเซีย แม้ว่าจะมีความสำเร็จอยู่บ้างในการรุกบรูซิลลอฟต่อแคว้นกาลิเซียตะวันออก แต่ความสำเร็จนั้นถูกขัดขวางโดยเหล่านายพลซึ่งไม่เต็มใจในการส่งกองกำลังของตนเข้าไปสู่สนามรบ กองทัพพันธมิตรและกองทัพรัสเซียฟื้นตัวแค่เพียงชั่วคราวเมื่อโรมาเนียเข้าสู่สงครามเป็นฝ่ายพันธมิตรเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม กองทัพเยอรมันสามารถสมทบกับกองทัพออสเตรีย-ฮังการีในทรานซิลวาเนียและกรุงบูชาเรสต์ถูกยึดครองโดยฝ่ายมหาอำนาจกลางเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ไม่นานนัก ความไม่สงบก็แผ่กระจายไปทั่วรัสเซีย ขณะที่ซาร์แห่งรัสเซียยังคงบัญชาการรบอยู่ที่แนวหน้า จักรพรรดินีอเล็กซานดราซึ่งไร้ความสามารถในการปกครองไม่สามารถปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงได้และก็นำไปสู่การฆาตกรรมรัสปูติน ปลายปี 1916

    เลนินกำลังทำงานในสำนักงานของเขาที่เครมลิน
    เลนินกำลังทำงานในสำนักงานของเขาที่เครมลิน

    เมื่อเดือนมีนาคม 1917 การชุมนุมที่กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ได้ลงเอยด้วยการสละราชบัลลังก์ของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซียและการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวของรัสเซียซึ่งมีความอ่อนแอและแบ่งปันอำนาจกับกลุ่มสังคมนิยมเปโตรกราดโซเวียต การจัดการดังกล่าวได้สร้างความสับสนและนำไปสู่ความวุ่นวายทั้งในแนวหน้าและในแผ่นดินรัสเซีย กองทัพรัสเซียยิ่งมีประสิทธิภาพด้อยลงกว่าเดิม

    สงครามและรัฐบาลชั่วคราวของรัสเซียไม่เป็นที่นิยมของประชาชนมากขึ้นเรื่อยๆ ความไม่พอใจดังกล่าวได้ในไปสู่การขึ้นครองอำนาจของพรรคบอลเชวิค นำโดย วลาดีเมียร์ เลนิน ซึ่งเขาได้ให้สัญญากับชาวรัสเซียว่าจะดึงรัสเซียออกจากสงครามและทำให้รัสเซียกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง ชัยชนะของพรรคบอลเชวิคในการปฏิวัติเดือนตุลาคมนั้นตามด้วยการสงบศึกชั่วคราวและการเจรจากับเยอรมนี ในตอนแรก พรรคบอลเชวิคปฏิเสธข้อเสนอของเยอรมนี แต่เมื่อกองทัพเยอรมันทำสงครามต่อไปและรุกถึงยูเครน เขาจึงต้องยอมเซ็นสนธิสัญญาเบรสต์-ลีโตเวส เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 1918 ซึ่งทำให้รัสเซียได้ออกจากสงคราม แต่ว่าต้องยอมยกดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลของรัสเซีย รวมไปถึงฟินแลนด์ มลรัฐบอลติก บางส่วนของโปแลนด์และยูเครนแก่ฝ่ายมหาอำนาจกลาง แผ่นดินส่วนที่เยอรมนีได้รับจากสนธิสัญญาดังกล่าวสามารถชดเชยความล้มเหลวของการรุกฤดูใบไม้ผลิได้ แต่ว่าด้านอาหารและยุทธปัจจัยนั้นได้รับเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

    เนื่องจากพรรคบอลเชวิคได้เซ็นสนธิสัญญาเบรสต์-ลีโตเวส พันธมิตรไตรภาคีจึงล่มสลาย กองทัพพันธมิตรได้นำกองกำลังขนาดเล็กของตนเข้ารุกรานรัสเซียเพื่อป้องกันเยอรมนีมิให้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรจำนวนมากของรัสเซีย และสนับสนุนกองทัพรัสเซียขาวในสงครามกลางเมืองรัสเซีย กองทัพพันธมิตรขึ้นบกที่เมืองอาร์คแองเจิลและวลาดิวอสตอก

    ประวัติ

    ทหารไทยเดินสวนสนามที่ประตูชัยประเทศฝรั่งเศสในสงครามโลกครั้งที่ 1
    ทหารไทยเดินสวนสนามที่ประตูชัยประเทศฝรั่งเศสในสงครามโลกครั้งที่ 1

    ฝ่ายเยอรมนี ออสเตรีย-อังการี อิตาลีได้ตุรกีและบัลแกเรียเป็นพันธมิตร ตุรกีเข้าโจมตีจักรวรรดิเปอร์เซีย บัลแกเรียเข้าผนวกโรมาเนีย แอลเบเนีย และโจมตีกรีซ ซึ่งต่อมาถูกเรียกโดยรวมว่าฝ่ายมหาอำนาจกลาง (Central Powers) ส่วนอังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย ซึ่งต่อมารู้จักกันในนามฝ่ายพันธ-มิตร (the Allies)ได้ประเทศต่าง ๆ อีกหลายประเทศเข้าร่วม รวมทั้งประเทศในเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น แต่ในปี ค.ศ. 1917 รัสเซียได้ถอนตัวออกจากสงครามครั้งนี้ เนื่องจากเลนินผู้นำกลุ่มบอลเชวิคส์ทำการปฏิวัติทางการเมืองขึ้นในรัสเซีย และสหรัฐอเมริกาก็ได้เข้ามาแทนที่รัสเซีย หลังจากเยอรมนีประกาศจะใช้เรือดำน้ำทำลายเรือข้าศึกและเรือสินค้าของทุกชาติโดยไม่มีขอบเขต สำหรับประเทศไทยได้เข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตรเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1917 โดยส่งทหารอาสาสมัครเข้าร่วมรบในสมรภูมิยุโรปจำนวน 1200 คน

    ในช่วงแรกของสงคราม มหาอำนาจกลางเป็นฝ่ายได้เปรียบ แต่หลังจากที่อเมริกาเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตร พร้อมกับส่งอาวุธยุทโธปกรณ์และกำลังพลเกือบ 5 ล้านคน ทำให้พันธมิตรกลับมาได้เปรียบและสามารถเอาชนะฝ่ายมหาอำนาจกลางได้อย่างเด็ดขาด ในที่สุดเมื่อฝ่ายมหาอำนาจกลางยอมแพ้และเซ็นสัญญาสงบศึกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 สงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งกินระยะเวลายาวนาน 4 ปี 5 เดือนจึงยุติลงอย่างเป็นรูปธรรม

    • หลังจากที่สหรัฐอเมริกาได้เข้าร่วมรบและประกาศศักดาในสงครามครั้งนี้ ทำให้สหรัฐอเมริกาได้ก้าวเข้ามาเป็นหนึ่งในมหาอำนาจโลกเสรีบนเวทีโลกเคียงคู่กับอังกฤษและฝรั่งเศส
    • รัสเซียกลายเป็นมหาอำนาจโลกสังคมนิยม หลังจากเลนินทำการปฏิวัติยึดอำนาจ และต่อมาเมื่อสามารถขยายอำนาจไปผนวกแคว้นต่าง ๆ มากขึ้น เช่น ยูเครน เบลารุส ฯลฯ จึงประกาศจัดตั้งสหภาพโซเวียต (Union of Soviet Republics -USSR) ในปี ค.ศ. 1922
    • เกิดการร่างสนธิสัญญาแวร์ซาย (The Treaty of Versailles) โดยฝ่ายชนะสงครามสำหรับเยอรมนี และสนธิสัญญาสันติภาพอีก 4 ฉบับสำหรับพันธมิตรของเยอรมนี เพื่อให้ฝ่ายผู้แพ้ยอมรับผิดในฐานะเป็นผู้ก่อให้เกิดสงคราม ในสนธิสัญญาดังกล่าวฝ่ายผู้แพ้ต้องเสียค่าปฏิกรรมสงคราม เสียดินแดนทั้งในยุโรปและอาณานิคม ต้องลดกำลังทหาร อาวุธ และต้องถูกพันธมิตรเข้ายึดครองดินแดนจนกว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไขของสนธิสัญญาเรียบร้อย อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่ประเทศผู้แพ้ไม่ได้เข้าร่วมในการร่างสนธิสัญญา แต่ถูกบีบบังคับให้ลงนามยอมรับข้อตกลงของสนธิสัญญา จึงก่อให้เกิดภาวะตึงเครียดขึ้น
    • เกิดการก่อตัวของลัทธิฟาสซิสต์ในอิตาลี นาซีในเยอรมัน และเผด็จการทหารในญี่ปุ่น ซึ่งท้ายสุดประเทศมหาอำนาจเผด็จการทั้งสามได้ร่วมมือเป็นพันธมิตรระหว่างกัน เพื่อต่อต้านโลกเสรีและคอมมิวนิสต์ เรียกกันว่าฝ่ายอักษะ (Axis)
    • มีการจัดตั้งองค์การสันนิบาตชาติขึ้นเป็นองค์กรกลางในการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างประเทศ เป็น ความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อรักษาความมั่นคง ปลอดภัยและสันติภาพในโลก แต่ความพยายามดังกล่าวก็ดูจะล้มเหลว เพราะในปี ค.ศ. 1939 ได้เกิดสงครามที่รุนแรงขึ้นอีกครั้ง นั่นคือ สงครามโลกครั้งที่ 2
    ประเทศไทย

    ภายหลังสงคราม ประเทศไทยได้แก้สนธิสัญญากับประเทศต่าง ๆ จำนวนมาก เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น อเมริกา เยอรมัน ฯลฯ ที่ทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบ นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งองค์การสันนิบาติโลก หรือ องค์การสหประชาชาติ ในปัจจุบันด้วย



    สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
    รูปภาพเรียงตามเข็มนาฬิกาเริ่มจากภาพบนสุด: การรบแบบสนามเพลาะในแนวรบฝั่งตะวันตก; รถถัง Mark IV ของอังกฤษกำลังเคลื่อนผ่านสนามเพลาะ; HMS Irresistible เรือรบหลวงแห่งราชนาวีอังกฤษกำลังอับปางหลังจากปะทะเข้ากับทุ่นระเบิด ในยุทธนาวีดาร์เนลส์; ทหารอังกฤษในหน้ากากกันแก๊สกำลังคุมปืนกลวิคเกอร์ส และฝูงเครื่องบินปีกสองชั้นรุ่น Albatros D.III ของเยอรมนี
    วันที่28 กรกฎาคม พ.ศ. 2457 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461
    สถานที่ทวีปยุโรป แอฟริกา และในภูมิภาคตะวันออกกลาง (รวมถึงการรบย่อยๆ ในประเทศจีนและหมู่เกาะต่างๆ กลางมหาสมุทรแปซิฟิก)
    ผลการรบชัยชนะของฝ่ายไตรภาคี; การล่มสลายของจักรวรรดิเยอรมัน จักรวรรดิรัสเซีย จักรวรรดิออตโตมาน จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี; การสถาปนากลุ่มประเทศใหม่ในทวีปยุโรปและภูมิภาคตะวันออกกลาง; การโอนถ่ายอำนาจประเทศราชที่เคยเป็นของเยอรมนีไปสู่ประเทศมหาอำนาจผู้ชนะ; การก่อตั้งสันนิบาตชาติ; การถือกำเนิดของสหภาพโซเวียต
    ผู้ร่วมรบ
    มหาอำนาจไตรภาคี (สัมพันธมิตร):
    จักรวรรดิรัสเซีย
    ฝรั่งเศส
    จักรวรรดิบริเตน
    ราชอาณาจักรอิตาลี
    สหรัฐอเมริกา
    มหาอำนาจกลาง (ไตรพันธมิตร):
    ออสเตรีย-ฮังการี
    จักรวรรดิเยอรมัน
    จักรวรรดิออตโตมาน
    ราชอาณาจักรบัลแกเรีย
    ผู้บัญชาการ
    ผู้นำฝ่ายไตรภาคีผู้นำฝ่ายไตรพันธมิตร
    ความสูญเสีย
    ทหารเสียชีวิต:
    5,525,000 นาย
    ทหารบาดเจ็บ:
    12,831,500 นาย
    ทหารหายสาบสูญ:
    4,121,000 นาย
    ทหารเสียชีวิต:
    4,386,000 นาย
    ทหารบาดเจ็บ:
    8,388,000 นาย
    ทหารหายสาบสูญ:
    3,629,000 นาย

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×