ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    รอบรู้...ไม่เสียหาย (เสื่อมสลายแล้ว)

    ลำดับตอนที่ #53 : สนธิสัญญาแวร์ซายส์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 5.38K
      1
      16 พ.ค. 51

    สนธิสัญญาแวร์ซายส์ [1]เป็นสนธิสัญญาสันติภาพ ที่ทำขึ้น เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1919 ณ พระราชวังแวร์ซายส์ ประเทศฝรั่งเศส หลังเยอรมนีพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 สนธิสัญญาดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังช่วงเวลาหกเดือนแห่งการเจรจาสันตืภาพที่กรุงปารีส และสิ้นสุดลงที่การทำสนธิสัญญา ผลจากสนธิสัญญาดังกล่าวได้กำหนดให้จักรวรรดิเยอรมนีเดิมและพันธมิตรฝ่ายมหาอำนาจกลางต้องรับผิดชอบต่อเสียหายทั้งหมดของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และในข้อตกลงมาตรา 231-248 ได้ทำการปลดอาวุธ เกิดการลดดินแดนของผู้แพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รวมไปถึงต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามเป็นจำนวนเงินมหาศาล แต่สนธิสัญญาดังกล่าวถูกบ่อนทำลายด้วยเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายหลังปี 1922 จนกระทั่งร้ายแรงขึ้นเมื่อทศวรรษ 1930

    ผลจากการแก่งแย่งและเป้าหมายที่ขัดแย้งกันของฝ่ายพันธมิตรผู้ชนะสงครามนั้นเป็นการประนีประนอมที่ไม่มีฝ่ายใดพอใจ เยอรมนีนั้นไม่ได้นิยมสันติภาพและญาติดีกับชาติอื่นๆ ในยุโรป และผลจากสนธิสัญญาดังกล่าวได้กลายเป็นลางในอนาคตของเยอรมนี ยุโรปรวมไปถึงโลกทั้งใบ
    เป้าหมายของฝ่ายพันธมิตร

     เป้าหมายของฝรั่งเศส

    ฝรั่งเศสสูญเสียทหารราว 1.5 ล้านคน รวมไปถึงพลเรือนอีกกว่า 400,000 คน นอกเหนือจากนั้น การรบส่วนใหญ่บนแนวรบด้านตะวันตกก็เกิดขึ้นในประเทศฝรั่งเศส นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส จอร์จส์ คลูมองโซ ได้แสดงท่าทีอย่างชัดเจนว่าตนเป็นผู้แทนของประชาชนชาวฝรั่งเศสที่จะต้องทำการล้างแค้นกับเยอรมนี เขาต้องการให้มีการกำหนดให้เยอรมนีกลายเป็นอัมพาต ทั้งทางการหทาร ทางเศรษฐกิจและทางการเมือง

    เจตนาของคลูมองโซนั้นชัดเจนและเรียบง่าย นั่นคือ กองทัพของเยอรมนีต้องไม่ถูกทำให้อ่อนแอเป็นช่วงเวลาหนึ่ง แต่ต้องทำให้อ่อนแออย่างถาวรจนกระทั่งไม่สามารถทำการรุกรานฝรั่งเศสได้อีก เขายังต้องการให้มีการทำลายเครื่องหมายของลัทธินิยมทหารของจักรวรรดิเยอรมนีเดิม นอกจากนั้นยังต้องการปกป้องสนธิสัญญาลับและเรียกร้องให้มีการปิดล้อมทางทะเลต่อเยอรมนี เพื่อให้ฝรั่งเศสสามารถควบคุมสินค้าเข้าและสินค้าออกของประเทศผู้แพ้สงคราม คลีเมนคอูนั้นเป็นบุคคลที่รุนแรงที่สุดในกลุ่มผู้นำทั้งสี่ จนได้รับฉายา "Tigre" (เสือ ,Tiger) จากเหตุผลดังกล่าว

    ชาวฝรั่งเศสจำนวนมากเห็นด้วยว่าฝรั่งเศสควรจะได้ครอบครองโรงงานอุตสาหกรรมของเยอรมนีจำนวนมาก ถ่านหินจากแคว้นรูร์ ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจสำคัญของเยอรมนีถูกขนส่งไปยังฝรั่งเศสโดยทางรถไฟ กองทัพฝรั่งเศสยังได้ยึดครองหัวเมืองสำคัญของเยอรมนีจำนวนมาก อย่างเช่น เก๊า-อัลเกสไฮม์ ทำให้เกิดพลเมืองไร้บ้านเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก คนงานทางรถไฟของเยอรมนีจำนวนมากได้ทำการเผาการขนส่งถ่านหินไปสู่ฝรั่งเศส ซึ่งส่งผลให้คนงานราว 200 คนถูกประหารชีวิตโดยเจ้าหน้าที่ชาวฝรั่งเศส

    จอร์จ คลีเมนคลูแห่งฝรั่งเศสต้องการค่าปฏิกรสงครามจากเยอรมนีเพื่อบูรณะประเทศฝรั่งเศสซึ่งเสียหายในสงคราม ระหว่างสงคราม บ้านราว 750,000 หลังคาเรือน และโรงงานอุตสาหกรรม 23,000 โรงถูกทำลาย และจำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อการบูรณะขึ้นมาใหม่ และยังมีความต้องการอย่างรุนแรงที่จะลดจำนวนทหารในกองทัพเยอรมันให้อยู่ในจุดที่สามารถควบคุมได้ รวมไปถึงส่วนหนึ่งของค่าปฏิกรรมสงคราม ฝรั่งเศสต้องการที่ครอบครองโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมากในเยอรมนี

     เป้าหมายของอังกฤษ

    นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ เดวิด ลอยด์ จอร์จ ก็ได้สนับสนุนการเรียกเก็บค่าปฏิกรสงครามจากเยอรมนี แต่ในขอบเขตที่น้อยกว่าข้อเสนอของฝรั่งเศส เนื่องจากเขารู้ดีว่าถ้าหากทำตามข้อเสนอของฝรั่งเศส ฝรั่งเศสก็อาจจะกลายเป็นประเทศมหาอำนาจในยุโรปตอนกลาง และความสมดุลอันบอบบางก็จะถูกทำลาย นอกจากนั้น เขายังกังวลกับข้อเสนอของวูดโรว์ วิลสันสำหรับอำนาจปกครองตัวเอง และ - เหมือนกับฝรั่งเศส - ต้องการปกปักรักษาผลประโยชน์ของประเทศของตน โดยสภาพดังกล่าวนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันระหว่างประเทศที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกสองแห่ง ซึงได้มีส่วนในการรบเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตน เดวิด ลอยด์ จอร์จก็เป็นผู้นำอีกคนหนึ่งซึ่งสนับสนุนการปิดล้อมทางทะเลกับเยอรมนีและสนธิสัญญาลับ

    ยังมีคำกล่าวบ่อยๆ ว่าลอยด์ จอร์จเดินทางสายกลางระหว่างข้อเสนออันเพ้อฝันของวิลสันและข้อเสนอพยาบาทของคลูมองโซ อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอของเขานั้นเป็นข้อเสนอที่แสนบอบบางกว่าที่ปรากฏในตอนแรก มหาชนชาวอังกฤษต้องการให้เกิดการลงโทษเยอรมนีให้หนักเหมือนกับข้อเสนอของฝรั่งเศส เพื่อให้รับผิดชอบต่อผลของสงครามที่เกิดขึ้น และได้สัญญาไว้เช่นสนธิสัญญาการเลือกตั้งปี 1918 ซึ่งลอยด์ จอร์จได้รับชัยชนะ นอกจากนั้นยังมีการบีบคั้นจากพรรคอนุรักษ์นิยม ในความต้องการแบบเดียวกันกับชาวอังกฤษ เพื่อปกปักรักษาจักรวรรดิอังกฤษ ต่อมา แรงกดดันของมหาชนชาวอังกฤษได้สนับสนุนให้มีการลดขนาดของจักรวรรดิเยอรมัน ลอยด์ จอร์จจึงจัดการให้เพิ่มการชำระค่าปฏิกรสงครามโดยรวม และส่วนแบ่งของอังกฤษ โดยให้เหตุผลว่า ใช้เป็นค่าตอบแทนแก่หญิงม่าย เด็กกำพร้า ชายทุพพลภาพ ชายที่ตกงานจำนวนมหาศาลเนื่องจากสงครามโลก

    อย่างไรก็ตาม ลอยด์ จอร์จนั้นก็ได้เฝ้าระวังปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากเยอรมนีที่ขมขื่นจากสงคราม และเขารู้สึกว่าสนธิสัญญาที่ลดความรุนแรงลงซึ่งมิได้ก่อให้เกิดความพยาบาทน่าจะเป็นผลที่ดียิ่งกว่าและเป็นการดำรงไว้ซึ่งสันติภาพที่ยาวนาน อีกหนึ่งปัจจัยนั้นคือเยอรมนีนั้นเป็นประเทศคู่ค้าที่มีความสำคัญเป็นอันดับสองของอังกฤษ และการจำกัดเศรษฐกิจของเยอรมนีย่อมไม่ส่งผลดีต่ออังกฤษ นอกจากนั้น เขาและคลูมองโซได้รู้จักสภาพของสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจนั้นจะทำให้สหรัฐอเมริกากลายเป็นมหาอำนาจทางทหารของโลกในอนาคตอีกด้วย หลังจากนั้น ข้อเสนออันเพ้อฝันของวิลสันก็ไม่สามารถได้รับคำเยาะเย้ยหรือถูกหัวเราะใส่จากอังกฤษและฝรั่งเศสถ้าพวกเขายังต้องการรักษาความสัมพันธ์อันดีกับสหรัฐอเมริกาอยู่ นี่ช่วยให้เข้าใจว่าทำไมสันนิบาตชาติเกี่ยวกับแนวคิดหลักของวิลสันซึ่งตั้งอยู่บนสันติภาพที่โอบอ้อมอารีนั้นได้ถูกเล่นงานโดยอังกฤษและฝรั่งเศสเมื่อวิลสันได้เดินทางมาถึงสถานที่จัดการประชุม ยิ่งกว่านั้น อังกฤษต้องการที่จะรักษา"ความสมดุลของอำนาจ" - โดยไม่ให้ทประเทศใดก็ตามในยุโรปเสนอข้อตกลงไว้มากมายกว่าประเทศอื่นๆ และถ้าข้อเสนอของฝรั่งเศสได้ถูกนำไปใช้ นอกจากเยอรมนีจะกลายเป็นคนพิการแล้ว ฝรั่งเศสก็จะกลายเป้นประเทศมหาอำนาจแทนที่อังกฤษอีกด้วย

    สรุปข้อเสนอของเดวิด ลอยด์ จอร์จมีดังนี้:

    1. เพื่อรักษาผลประโยชน์ของอังกฤษโดยการดำรงไว้ซึ่งอำนาจทางทะเลซึ่งถูกคุกคามโดยเยอรมนีระหว่างสงคราม การคงไว้ซึ่งจักรวรรดิอังกฤษ
    2. เพื่อลดขนาดกองทัพเยอรมันในอนาคต และรับค่าปฏิกรสงครามจากเยอรมนี
    3. เพื่อหลีกเลี่งการแก้แค้นและการคุกคามสันติภาพในอนาคตของเยอรมนี
    4. เพื่อช่วยเหลือเยอรมนีให้กลายเป็นประเทศคู่ค้าของอังกฤษ

    เป้าหมายของสหรัฐอเมริกา

    นับตั้งแต่สหรัฐอเมริกาเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งเมื่อเดือนเมษายนปี 1917 ชาวอเมริกันจำนวนมากมีความรู้สึกร้อนรนที่จะปลดตัวเองออกจากปัญหาที่เกิดขึ้นในทวีปยุโรปอย่างรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ สหรัฐอเมริกานั้นได้รับมุมมองผูกไมตรีมากขึ้นจากผลที่เกิดขึ้นของค่าปฏิกรสงครามเยอรมนี นอกจากนั้น ชาวอเมริกันยังต้องการที่จะทำให้แน่ใจว่าโอกาสทางการค้าและรอการชำระหนี้สินคืนจากประเทศในยุโรป

    ก่อนสงครามจะสิ้นสุด ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน พร้อมกับข้าราชการระดับสูงคนอื่นๆ ซึ่งรวมไปถึง เอ็ดเวริ์ด แมนเดล เฮ้าส์ ได้ผลักดันให้ข้อเสนอสิบสี่ประการซึ่งมีความรุนแรงน้อยกว่าข้อเสนอของอังกฤษและฝรั่งเศสซึ่งมหาชนชาวเยอรมันคิดว่าสนธิสัญญาดังกล่าวควรจะออกมาประมาณนี้ ซึ่งทำให้พวกเขามีความหวัง แต่ทว่ามันผิด

    วิลสันนั้นไม่ต้องการการทูตที่เป็นความลับมากกว่านี้ ยกตัวอย่างเช่น พันธมิตรลับ สนธิสัญญาอื่นๆ เป็นต้น เขายังต้องการให้เยอรมนีควรจะลดขนาดของอาวุธยุทธภัณฑ์ ซึ่งทำให้ขนาดของกองทัพลดขนาดเล็กลงไปและทำให้ปราศจากข้อสงสัยว่าในอนาคตจะไม่เกิดสงครามขึ้นอีก นอกจากนั้น เขายังต้องการให้ประเทศอื่นๆ ได้กระทำแบบเดียวกัน ซึ่งจะเป็นการจำกัดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดสงคราม ซึ่งเขากล่าวไว้ชัดเจนในข้อเสนอข้อที่ 4

    หลักสิบสี่ข้อ ประกอบด้วย:

    1. สร้างข้อตกลงแห่งสันติภาพที่ไม่ปิดบัง ตรงไปตรงมา ซึ่งจะทำให้ปราศจากความเข้าใจส่วนตัวนานาชาติ แต่ควรจะเป็นการทูตที่เปิดเผยและอยู่ในสายตาของสาธารณชน
    2. เปิดเสรีในการเดินทางทางทะเล ซึ่งเป็นเขตน่านน้ำสากล ทั้งในยามสงบและยามสงคราม ยกเว้นแต่ว่าจะถูกปิดกั้นจากการกระทำของนานาชาติเพื่อการดำรงไว้ซึ่งข้อตกลงนานาชาติ
    3. การยกเลิกการกีดกันทางการค้า และการสร้างความเท่าเทียมกันทางการค้าระหว่างประเทศซึ่งได้ยินยอมในสันติภาพและมีส่วนร่วมในการดำรงรักษามันไว้
    4. ให้ความมั่นใจว่าจะมีการอาวุธยุทธภัณฑ์ของกองทัพนานาชาติลงจนถึงจุดที่มีความปลอดภัย ต่ำกว่าความเสี่ยงของสงคราม และสามารถป้องกันประเทศของตนเองเท่านั้น
    5. ให้ความยุติธรรมอย่างทั่วถึงในการจัดการกับอาณานิคมโพ้นทะเลของทุกประเทศ รวมไปถึงให้โอกาสและความสำคัญแก่การประกาศเอกราชของชนพื้นเมืองภายในอาณานิคม ให้มีน้ำหนักเท่ากับประเทศแม่
    6. การถอนเอาเอาณาเขตปรัสเซียออกไป และรวมไปถึงรกรากของสหภาพโซเวียตนั้นเป็นการปลอดภัยและเสรีในความร่วมมือของนานาชาติที่จะเสนอโอกาสซึ่งไม่ขัดขวางและไม่อยู่ในฐานะที่อับอายในการที่มีสิทธิ์เต็มที่ในการใช้อำนาจปกครองตัวเอง เพื่อการพัฒนาทางการเมืองและนโยบายแห่งชาติของตัวเอง รวมไปถึงการให้ความรับรองแก่สหภาพโซเวียตที่จะเข้าสู่เวทีนานาชาติภายใต้สถาบันที่ได้จัดตั้งขึ้นมาเอง และนอกจากนั้น ให้ความช่วยเหลือแก่สหภาพโซเวียตในทุกวิถีทาง การปฏิบัติต่อสหภาพโซเวียตโดยประเทศอื่นๆ ในช่วงเวลาต่อมานั้นก็เป็นการทดสอบสำหรับจุดประสงค์ของแต่ละประเทศ และเปิดโอกาสให้สหภาพโซเวียตมีความสนใจของตน ด้วยความใจกว้างและด้วยปัญญา
    7. เบลเยี่ยมควรจะถูกกำหนดให้ได้รับการฟื้นฟูจากนานาชาติ โดยปราศจากความพยายามที่จะจำกัดเอกราชให้เท่าเทียมกับประเทศเสรีอื่นๆ โดยการกระทำดังกล่าวนั้นจะเป็นการฟื้นฟูความไว้วางใจระหว่างประเทศในกฎหมายซึ่งพวกเขาได้จัดตั้งเองและตั้งใจแน่วแน่ที่จะสร้างความสัมพันธ์กับชาติอื่นๆ ผลจากการกระทำดังกล่าวจะเป็นการรักษาความมั่นคงของกฎหมายนานาชาติอีกด้วย
    8. ดินแดนของฝรั่งเศสทั้งหมดควรจะได้รับอิสระและฟื้นฟูส่วนที่เสียหายจากสงคราม และความผิดของปรัสเซียต่อฝรั่งเศสในปี 1871 เกี่ยวกับมณฑลแอลซาซ-ลอเรน ซึ่งไม่ได้ชำระสะสางสันติภาพของโลกมาเป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษ ควรจะถูกทำให้ถูกต้อง เพือให้สันติภาพได้รับการดูแลรักษาอย่างมั่นคง
    9. ควรจะมีการปรับแนวเขตแดนของประเทศอิตาลีควรจะตั้งอยู่บนแนวเขตแดนของชาติที่สามารถจำได้
    10. ประชาชนของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีเดิม ควรจะได้รับการป้องกันและช่วยเหลือ รวมไปถึงได้รับโอกาสอย่างเสรีที่จะพัฒนาตนเอง
    11. โรมาเนีย เซอร์เบียและมอนเตเนโกรควรจะได้รับการฟื้นฟูจากความเสียหายของสงคราม เซอร์เบียมีอาณาเขตทางออกสู่ทะเล และความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบอลข่านต่อกันนั้นตั้งอยู่บนคำแนะนำของชาติพันธมิตรตามประวัติศาสตร์บนเส้นของความจงรักภักดีและความรักชาติ และนานาชาติสมควรที่จะรับรองความเป็นอิสระทางการเมืองและทางเศรษฐกิจรวมไปถึงความมั่นคงในดินแดนของตน
    12. ส่วนแบ่งของตุรกีจากจักรวรรดิออตโตมานเดิมควรจะได้รับความช่วยเหลือให้มีเอกราช แต่เชื้อชาติอื่นๆ ซึ่งตอนนี้อยู่ภายใต้การปกครองของตุรกีควรจะได้รับการรับรองถึงความปลอดภัยในชีวิต และโอกาสอย่างเสรีที่จะได้รับการพัฒนาตนเอง และช่องแคบดาดะเนสควรจะถูกเปิดเป็นเส่นทางเดินเรือเสรีแก่ทุกประเทศ
    13. รัฐอิสระของโปแลนด์ควรจะภูกสถาปนาขึ้นซึ่งรวมไปถึงดินแดนที่ประชาชนโปแลนด์อาศัยอยู่ ซึ่งควรจะถูกรับรองทางออกสู่ทะเลเป็นของตัวเอง รวมไปถึงความเป็นอิสระทางการเมืองและเศรษฐกิจ และความมั่นคงในดินแดนของตนตามข้อตกลงของนานาชาติ
    14. การรวมตัวกันของประชาชาติควรจะถูกก่อตั้งขึ้นภายใต้พันธะที่แน่นอนเพื่อจุดประสงค์ที่สามารถให้ความช่วยเหลือกันได้กับทุกฝ่าย และให้การรับรองแก่รัฐที่มีขนาดเล็กกว่าเทียบเท่ากับตนเอง

     การเจรจา

    พระราชวังแวร์ซายส์ซึ่งเป็นสถานที่ใช้ลงนามสนธิสัญญาแวร์ซายส์
    พระราชวังแวร์ซายส์ซึ่งเป็นสถานที่ใช้ลงนามสนธิสัญญาแวร์ซายส์

    การเจรจาระหว่างฝ่ายพันธมิตรเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 18 มกราคม 1919 ในอาคาร Salle de l'Horloge ของกระทรวงต่างประเทศฝรั่งเศส โดยเริ่มจากการประชุมของคณะผู้แทน 70 คนจาก 26 ประเทศมีส่วนร่วมในการประชุม ส่วนเยอรมนี ออสเตรียและฮังการีผู้แพ้สงครามถูกยกเว้นไม่ได้รับเชิญเข้าร่วมประชุม สหภาพโซเวียตก็ถูกห้ามมิให้เข้าประชุมด้วย เนื่องจากได้ทำสนธิสัญญาแยกต่างหากกับเยอรมนีแล้วในปี 1917 (สนธิสัญญาเบรสท์-ลีโตเวส)

    จนกระทั่งถึงเดือนมีนาคม 1919 บทบาทที่สำคัญที่สุดของการเจรจา ความซับซ้อนและยุ่งยากของสันติภาพอยู่ระหว่างการประชุมของ "สภาสิบ" ซึ่งประกอบด้วยบุคคลสำคัญจาก 5 ประเทศเท่านั้น ดังนั้น ด้วยรูปร่างที่ไม่เหมาะสมของที่ประชุมจึงได้กลายเป็นความใจแคบและไม่เป็นทางการของการตัดสินใจภายหลังสงครามโลก ต่อมา ภายหลังการประชุมไม่นานนัก ญี่ปุ่นก็ได้ถอนตัวออกจากการประชุมหลัก จึงเหลือเพียง "สี่มหาอำนาจ" เท่านั้น ภ่ายหลังอิตาลีได้ถอนตัวออกจากการประชุมเช่นกัน (กลับม่าเซ็นสัญญาในเดือนมิถุนายนเพียงชั่วคราวเท่านั้น) ทำให้การครอบครองแคว้น Fiume ถูกปฏิเสธ ดังนั้น เงื่อนไขสุดท้ายของฝ่ายพันธมิตรจึงเหลือเพียง "สามมหาอำนาจ" เท่านั้น คือ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส ด้านเยอรมนีนั้นถูกห้ามมิให้เข้าประชุมด้วย ในการเจรจาดังกล่าวนั้น เป็นการยากที่จะตัดสินใจในฐานะธรรมดาเนื่องจากว่าเป้าหมายของแต่ละประเทศนั้นแตกต่างกัน ซึ่งสุดท้ายก็ได้ออกมาเป็น "การประนีประนอมอย่างไม่มีความสุข" ด้านเฮ็นรี่ คิสซิงเกอร์ได้เรียกสนธิสัญญาครั้งนี้ว่าเป็น "ข้อตกลงประนีประนอมที่เปราะบางระหว่างพวกอเมริกันและพวกยุโรป - มีเงื่อนไขมากขึ้นกว่าที่จะเติมเต็มวิสัยทัศน์ที่เคยวางเอาไว้เดิมได้ และเป็นการทาบทามเพื่อบรรเทาความกลัวของตนในคราวหลัง"

    ผู้แทนเยอรมนีไม่ยอมรับข้อเสนอในคราวแรก

    วันที่ 29 เมษายน 1919 คณะผู้แทนเยอรมนีภายใต้การนำของรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของเยอรมนีได้มาถึงที่ประชุมที่เมืองแวร์ซายส์ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันครบรอบปีการจมลงสู่ก้นมหาสมุทรของอาร์เอ็มเอส ลูซิทาเนีย ผู้แทนเยอรมนีก็ได้รับเงื่อนไขสันติภาพซึ่งได้ภายหลังการประชุมกันเองในฝ่ายพันธมิตรผู้ชนะแล้ว ข้อตกลงนั้นได้กำหนดไว้ว่าเยอรมนีนั้นต้องเสียพื้นที่ส่วนหนึ่งให้กับประเทศเพื่อนบ้าน และสูญเสียอาณานิคมโพ้นทะเลของตนทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปแอฟริกาเป็นพิเศษ รวมไปถึงการกำหนดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดสงครามขึ้นอีก โดยการจำกัดจำนวนทหารของเยอรมนี และเนื่องจากเยอรมนีมิได้มีส่วนร่วมในการเข้าเจรจาด้วย รัฐบาลเยอรมนีจึงได้ประท้วงต่อข้อเสนอที่ไม่เป็นธรรมเหล่านี้และก็ได้ถอนตัวออกจากการประชุม

    รัฐบาลใหม่ของเยอรมนียอมรับข้อเสนอ

     ข้อสรุปของสนธิสัญญาแวร์ซายส์

    ผลที่เกิดขึ้นจากสนธิสัญญาแวร์ซายส์นั้นได้สร้างความอับอายให้แก่ชาวเยอรมนี เยอรมนีนั้นเคยเป็นประเทศมหาอำนาจ เป็นประเทศที่มีอุตส่าหกรรมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่สองรองจากสหรัฐอเมริกา แต่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เยอรมนีต้องยอมรับข้อตกลงที่ทำให้เยอรมนีกลายเป็นคนง่อยพิกลพิการ เยอรมนีนั้นสูญเสียอาณานิคมโพ้นทะเลทั้งหมดของตนในทวีปเอเชียและแอฟริกา

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×