การปฏิรูปศาสนา (The reformation) - การปฏิรูปศาสนา (The reformation) นิยาย การปฏิรูปศาสนา (The reformation) : Dek-D.com - Writer

    การปฏิรูปศาสนา (The reformation)

    โดย obiviouss

    บทความนี้แสดงถึงการปฏิรูปศาสนาในคริสต์ศตวรรษที่ 15-16 โดยรายละเอียดแสดงให้เห็นถึงสาเหตุ การเริ่มต้นและผลของการปฏิรูปศาสนา

    ผู้เข้าชมรวม

    1,032

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    24

    ผู้เข้าชมรวม


    1.03K

    ความคิดเห็น


    24

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  30 พ.ย. 57 / 21:46 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น

    เธเธฒเธฃเธเธเธดเธฃเธนเธเธจเธฒเธชเธเธฒ  (The  Reformation)

     

    เธเธณเธญเธเธดเธเธฒเธข: http://www.satriwit.ac.th/members/soc/image/image011.png

     

    เนเธชเธเธญ
    เธญเธฒเธเธฒเธฃเธขเนเธเธฃเธฒเธเธเนเธชเธธเธงเธฃเธฃเธ“   เธจเธฑเธเธ”เธดเนเนเธชเธเธ“เธเธธเธฅ

     

    เธเธฑเธ”เธเธณเนเธ”เธข
    1. เธเธฒเธเธชเธฒเธงเธเธดเธฃเธฒเธเธฑเธเธฃ                     เธเธตเธฃเธฐเธเธดเธงเธฑเธ’เธเน  เนเธฅเธเธเธตเน 41
    2. เธเธฒเธเธชเธฒเธงเธชเธธเธเธฑเธเธเธฒ                      เนเธเธเธดเนเนเธเนเธง      เนเธฅเธเธเธตเน 48
    เธเธฑเนเธเธกเธฑเธเธขเธกเธจเธถเธเธฉเธฒเธเธตเธเธตเน 6.5

    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ในคริสต์ศตวรรษที่ 15-16 ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญอีกประการคือ การปฏิรูปศาสนา ซึ่งคริสต์ศาสนาได้แตกแยกออกเป็นนิกายต่างๆโดยแต่ละนิกาย มีลักษณะเป็นศาสนาประจำชาติมากขึ้น

      สาเหตุของการปฏิรูปศาสนา

      1.               ความเป็นอยู่ของสันตะปาปาและพระชั้นสูงมีความฟุ่มเฟือย ขัดต่อความรู้สึกที่ว่าพระควรจะมีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย  อีกทั้งพระเรียกเก็บภาษีสูงขึ้น  มีการซื้อขายตำแหน่งกัน ชาวยุโรปมีความรู้มากขึ้น จึงไม่เชื่อคำสั่งสอนของฝ่ายศาสนจักร เกิดความคิดที่จะปรับปรุงศาสนาให้บริสุทธิ์

      2.               สันตะปาปาผู้ปกครองฝ่ายศาสนจักร มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงโรม ได้เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองของยุโรป เข้าไปครอบงำ รัฐต่างๆในเยอรมัน ทำให้แคว้นต่างๆต้องการเป็นอิสระจากจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และจากผู้ที่รักษาอำนาจของคริสตจักรคือ สันตะปาปา

      3.               ศาสนจักรมุ่งเน้นพิธีกรรมมากเกินไป ทำให้ประชาชนต้องการทำความเข้าใจหลักธรรมทางศาสนามากขึ้น จนมีนักคิดเสนอว่ามนุษย์ควรเข้าถึงพระเจ้าและทำความเข้าใจในคัมภีร์ไบเบิล ด้วยตนเองมากกว่าผ่านพิธีกรรม

      4.               สันตะปาปาจูเลียสที่ 2 และสันตะปาปาลีโอที่ 10 ต้องการงบประมาณในการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ที่กรุงโรม จึงส่งสมณะทูตมาขายใบยกโทษบาป  ในดินแดนเยอรมัน แต่ด้วยภาวะทางสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดกลุ่มต่อต้านคริสตจักรหลายกลุ่มด้วยกัน ทั้งขุนนาง นักคิด และปัญญาชนในเยอรมัน

                                                                                                 
                                                                                 มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์
                                                                               

                                                           สันตะปาปาจูเลียสที่ 2 (Julius II ค.ศ. 1506-1514)

       

      สันตะปาปาลีโอที่10  (Leo X ค.ศ.1514-1521)

      การเริ่มปฏิรูปศาสนา

      1.               การขายใบยกเลิกบาป ทำให้ มาร์ติน ลูเทอร์ นักบวชชาวเยอรมันประท้วงด้วยการปิดประกาศคำประท้วง 95 ข้อ หน้ามหาวิหารแห่งเมืองวิทเทนแบร์ก ได้ประกาศว่า สันตะปาปาไม่ควรเก็บภาษีในเยอรมันเพื่อนำไปสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์และ สันตะปาปาไม่ได้เป็นบุคคลเพียงผู้เดียวที่จะนำพามนุษย์ไปสู่พระเจ้า ประกาศดังกล่าวถือว่าเป็นการประท้วง ที่มีต่อศาสนจักรอันเป็นที่มาของนิกายโปรเตสแตนต์  คำประกาศของเขาได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางในเขตเยอรมัน                                   
                                                                 
      คำอธิบาย: http://www.writeawriting.com/wp-content/uploads/2010/08/Why-Martin-Luther-Wrote-Nintey-Five-95-Thesis.jpg

                                                                                                        ninety-five theses

                                                                                      
       
                                                                                      มาร์ติน ลูเทอร์                                                                                         

      2.               ค.ศ. 1521 มาร์ติน ลูเทอร์ ได้รับคำสั่งจากจักรพรรดิชาลส์ที่ 5 ให้ไปเข้าประชุมสภาแห่งเวิร์ม เขาถูกกล่าวหาว่ามีท่าทีเป็นปฏิปักษ์ต่อคริสต์ศาสนาและเป็นบุคคลนอกศาสนา แต่เจ้าผู้ครองแคว้นแซกโซนีได้อุปถัมภ์เขาไว้ และเขาได้แปลคัมภีร์ไบเบิลจากภาษาละตินมาเป็นภาษาเยอรมัน ทำให้ความรู้ทางศาสนาเป็นที่แพร่หลายในหมู่ประชาชนเพิ่มมากขึ้น และเป็นการส่งเสริมการพัฒนาการของวรรณกรรมภาษาเยอรมัน

                                                          คำอธิบาย: สภาเมืองเวิร์มส์ (Diet of Worms)

                                                                       สภาเมืองเวิร์ม (Diet of Worms)

                                                                                                        

                                                                 พระคัมภีร์ฉบับภาษาเยอรมันของลูเธอร์                  

                                                                 
      คำอธิบาย: http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/7/76/Map-DR-Saxony.svg/250px-Map-DR-Saxony.svg.png
                                               ราชอาณาจักรแซกโซนีเป็นส่วนหนึ่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

      3.            ช่วงหลังจากนั้น เจ้านายในเยอรมันแตกแยกออกเป็น 2 ฝ่าย ได้แก่

      ·       ฝ่ายเจ้าผู้ครองแคว้นทางเหนือ ซึ่งสนับสนุน มาร์ติน ลูเทอร์

      ·       ฝ่ายเจ้าผู้ครองแคว้นทางใต้ ซึ่งสนับสนุนคริสตจักรโรมันคาทอลิกที่กรุงโรม

      ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้น  ในค.ศ.1546 ในที่สุดก็มีการสงบศึก โดยการทำสนธิสัญญาสันติภาพแห่งเอากส์บูร์ก  โดยให้ทางเจ้าชายเยอรมันและแคว้นของพระองค์มีสิทธิที่จะเลือกนับถือนิกายลูเทอร์หรือนิกายโรมันคาทอลิก

      4.            นิกายลูเทอร์มีหลักปฏิบัติ การดำเนินงาน พิธีกรรมทางศาสนา และลักษณะของนักบวชเป็นแบบคาทอลิก แต่นักบวชในนิกายลูเทอร์เป็นเพียงผู้สอนศาสนาจึงสามารถมีครอบครัวได้ มีการรักษาพิธีกรรมบางข้อไว้ เช่น ศีลจุ่ม และศีลมหาสนิท นิกายนี้มีกรอบความคิดว่าความหลุดพ้นทางวิญญาณของชาวคริสต์จะสามารถมีได้ก็เนื่องจากการยึดมั่นในพระผู้เป็นเจ้าจนพระองค์ทรงเมตตาเท่านั้น

             การปฏิรูปคริสต์ศาสนาได้ขยายตัวจากเยอรมันไปยังประเทศอื่นๆในยุโรป มีผู้นำในการปฏิรูป เช่น

      1.               จอห์น คาลวิน ชาวฝรั่งเศส ผู้เห็นด้วยกับความคิดของมาร์ติน ลูเทอร์ ได้หนีพวกคาทอลิกจากฝรั่งเศสไปตั้งนิกายคาลวิน  เป็นโปรเตสแตนต์นิกายที่ 2 ในสวิตเซอร์แลนด์

                                                                                                                                                   

                                                  จอห์น คาลวิน (John Calvin ค.ศ.1509 - 1564)       

      2.               พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งประเทศอังกฤษ มีพระราชประสงค์ที่จะหย่าขาดกับพระนางแคทเธอรีนแห่งอะรากอน แต่สันตะปาปาจัดการให้ไม่ได้ รัฐสภาอังกฤษจึงออกกฎหมายตั้งพระเจ้าเฮนรีที่ 8 เป็นประมุขทางศาสนาในประเทศอังกฤษ ไม่ขึ้นต่อคริสตจักรที่กรุงโรม เรียกนิกายใหม่นี้ว่า นิกายอังกฤษหรือนิกายแองกลิคัน

      การขอหย่าร้างของพระเจ้าเฮนรีที่ 8

      ผลของการปฏิรูปทางศาสนาได้ก่อให้เกิดนิกายโปรเตสแตนต์ขึ้น  โดยแบ่งเป็น 3 นิกายสำคัญ คือ

      1.               นิกายลูเทอร์ แพร่หลายในเยอรมันและประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวีย

      2.               นิกายคาลวิน แพร่หลายใน สวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์และสกอตแลนด์

      3.               นิกายอังกฤษหรือแองกลิคัน เป็นนิกายประจำประเทศอังกฤษ

      การปฏิรูปของศาสนจักร

      เมื่อเกิดการปฏิรูปศาสนาในดินแดนส่วนต่างๆของยุโรป คริสตจักรที่กรุงโรมได้พยายามต่อต้านปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยวิธีต่างๆ ได้แก่

      1. ศาสนจักรได้จัดการประชุมสังคายนาพระศาสนาที่เมืองเทรนต์ (The Council of Trent) ใน ค.ศ.1545 การประชุมดังกล่าวใช้เวลาถึง 18 ปี    สิ้นสุดใน ค.ศ.1563 โดยมีบทสรุปดังนี้
                    - สันตะปาปาทรงเป็นประมุขของคริสต์ศาสนา
                    - การประกาศหลักธรรมทางศาสนาต้องให้ศาสนจักรเป็นผู้ประกาศแก่ศาสนิกชน
                    - คัมภีร์ไบเบิลยังต้องเป็นภาษาละติน

                - ยกเลิกการขายใบยกโทษบาปและตำแหน่งทางศาสนา มีการกำหนดระเบียบวินัย    มาตรฐานของการศึกษาของพระ และให้ใช้ภาษาพื้นเมืองในการสอนศาสนา

      จัดการประชุมสังคายนาพระศาสนาที่เมืองเทรนต์

      2. การจัดตั้งสมาคมเยซูอิทซ์ (The Jesuits) ที่เน้นการศึกษาวิทยาการใหม่เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและให้การศึกษาให้แก่บุตรหลานชาวคาทอลิก เพื่อจะได้ไม่เปลี่ยนไปเป็นโปรเตสแตนต์

      คำอธิบาย: คณะเยสุอิต (Jesuit) ได้รับความเห็นชอบจากสันตะปาปา

      อิกนาทิอุส โลโยลา (Ignatius Loyola)

      3. ศาสนจักรได้ตั้งศาลศาสนาเพื่อลงโทษพวกนอกศาสนา โดยศาลศาสนาได้พิจารณาความผิดของพวกนอกศาสนาคาทอลิก และชาวคาทอลิกที่มีความคิดเห็นแตกต่างจาก ศาสนจักร ซึ่งมีการลงโทษโดยการเผาคนผิดทั้งเป็น

      การต่อต้านการปฏิรูปศาสนาของคริสตจักรที่กรุงโรมกระทำได้ผล คือ นิกายโรมันคาทอลิกสามารถป้องกันไม่ให้ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกหันไปนับถือนิกาย โปรเตสแตนต์ เพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่สามารถดึงศาสนิกชนโปรเตสแตนต์ให้กลับมานับถือนิกายโรมันคาทอลิกได้

      ผลของการปฏิรูปศาสนา

      การปฏิรูปศาสนาได้ก่อให้เกิดผลกระทบที่สำคัญต่อชาติต่างๆในยุโรป ได้แก่

      1. คริสตจักรตะวันตกแตกแยกออกเป็น 2 นิกาย คือ

                  1.1 นิกายโรมันคาทอลิก ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงโรม มีสันตะปาปาเป็นประมุข

                  1.2 นิกายโปรเตสแตนต์ ซึ่งแยกเป็นนิกายต่างๆ ในประเทศทางภาคเหนือของยุโรป ความเป็นเอกภาพทางศาสนาของยุโรปสิ้นสุดลง

      2. เกิดกระแสชาตินิยมในประเทศต่างๆเช่น กรณีที่มาร์ติน ลูเทอร์ หนุนให้เจ้าผู้ครองรัฐต่างๆ ในเยอรมันต่อต้านจักรพรรดิแห่งอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ผู้ที่นับถือนิกายคาลวินในเนเธอร์แลนด์ส่วนที่เป็นเจ้าของสเปนต่อต้านกษัตริย์สเปนจะได้รับเอกราช

      3. เกิดการแข่งขันระหว่างนิกายต่างๆการปรับปรุงสิ่งที่บกพร่องเพื่อเรียก ศรัทธาและก่อให้เกิดขันติธรรมในการอยู่ร่วมกับผู้นับถือนิกายต่างกัน  
                  4. สภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป นิกายโปรเตสแตนต์ได้สนับสนุนการประกอบอาชีพด้านการค้าและอุตสาหกรรม ทำให้ระบบทุนนิยมในยุโรปเจริญเติบโต

      5. ระบอบรัฐชาติแข็งแกร่งขึ้น การเกิดนิกายโปรเตสแตนต์ได้ส่งเสริมวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น เช่น การแปลคัมภีร์เป็นภาษาท้องถิ่น และยังส่งเสริมอำนาจของผู้ปกครอง ได้แก่ กษัตริย์ในฐานะตัวแทนของพระเป็นเจ้าในการปกครองประเทศ จึงเท่ากับส่งเสริมระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์โดยปริยาย

      6. ผลของการแตกแยกทางศาสนา ทำให้เกิดสงครามศาสนาขึ้นในยุโรปหลายครั้ง เช่น สงครามศาสนาในเยอรมนี สงครามศาสนาในประเทศฝรั่งเศส  สงครามสามสิบปี การเกิดสงครามศาสนาทำให้สถาบันกษัตริย์มีอำนาจเหนือคริสตจักรในที่สุด เพราะสันตะปาปาต้องอาศัยอำนาจของกษัตริย์ที่นับถือคาทอลิกทำการต่อต้าน กษัตริย์ที่นับถือโปรเตสแตนต์

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×