อารมณ์กับแนวคิดกับเพื่อนและคนรอบข้าง - อารมณ์กับแนวคิดกับเพื่อนและคนรอบข้าง นิยาย อารมณ์กับแนวคิดกับเพื่อนและคนรอบข้าง : Dek-D.com - Writer

    อารมณ์กับแนวคิดกับเพื่อนและคนรอบข้าง

    คุณเคยรู้สึกไหมว่าอารมณ์ส่วนตัวของคุณมีผลกระทบต่อเพื่อนและคนรอบข้าง และบ่อยครั้งที่มันทำให้เราเข้ากับคนอื่นลำบาก

    ผู้เข้าชมรวม

    213

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    2

    ผู้เข้าชมรวม


    213

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  9 เม.ย. 49 / 20:20 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
            บทความนี้ไมได้คัดลอกมาจากที่ใดนอกจากความคิดและความรู้สึกของผมแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นครับ และขอสารภาพว่ามาจากความคิดของผมและไมได้อ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่ชัดเจนอะไรใดๆในโลกเลยเพราะฉะนั้นอาจผิดพลาดและไม่ถูกต้องก็ขอโทษด้วยครับ

             เพื่อนๆเคยรู้สึกกันบ้างไหมว่าอารมณ์ของเราก็สามารถทำให้เรามีเพื่อนหรือไม่มีเพื่อนเลยก็ได้ ผมเชื่อเช่นนั้นและถึงแม้ว่านักวิทยาศาสตร์หรือนักจิตวิทยาจะแบ่งมนุษย์เราได้กี่ร้อยกี่พันแบบแต่ในความคิดของผมนั้นผมแบ่งมนุษย์ในชีวิตประจำวันที่ผมพบเจอได้ 2 ประเภทและ 2 แนวความคิด ผมจะขอกล่าวถึงประเภทก่อนซึ่งหมายถึงอารมณ์ อย่าสับสนนะครับอารมณ์กับแนวคิดของคนไม่เหมือนกันแต่สัมพันธ์กัน จากที่บอกผมแบ่งคนได้2 แบบ คือ 1.อารมณ์ดี 2.อารมณ์เสีย เราทุกคนเป็นทั้ง2ประเภทนั้น ครับอย่างงอ่านดีๆ เราอารมณ์ดีได้ อารมณ์เสียได้ แล้วเราเป็นแบบไหนต่อหน้าคนอื่นล่ะ ถ้าเราทำอารมณ์ไหนใส่เค้าเค้าก็จะจดจำเราในแบบที่เค้าเห็นและฝังใจ การที่เราอารมณ์เสียใส่หน้าคนอื่นแน่นอนว่าไม่มีใครหรอกครับที่อยากทำลายภาพพจน์อันดีงามของตัวเอง แต่ว่ามันอาจมีสาเหตุนิ บางครั้งก็มาจากแนวคิดของเราเอง ก่อนจะอารมณ์เสียใส่คนอื่นนั้น ผมขอเตือนว่า ไม่มีอะไรกับแก้ตัวทีหลัง ความยุ่งยากมันต่างกันและความรู้สึกหลังจากนั้นต่างกัน แต่กลับกันถ้าเราอารมณ์ดีกับคนอื่น ไม่ว่าจะอยู่ในภาวะใดสถาณการณ์ใดมันย่อมทำให้คนอื่นมองเราในแง่ดีๆ ทั้งที่จริงๆแล้วเราอาจจะดีหรือไม่ดีก็ได้ เชื่อผมเถอะวิธีหาเพื่อนที่ดีที่สุดน่ะคืออารมณ์ดี และยิ้มแย้มตลอดเวลา คุณจะมีเพื่อนโดยไม่รู้ตัว เอาล่ะในความคิดผม(อีกแล้ว) คิดว่าอารมณ์ไม่สำคัญเท่าแนวความคิด เพราะแนวความคิดที่เรามีนี่แหละส่งผลต่ออารมณ์ของเราโดยตรง จากที่บอกไปข้างต้น ผมแบ่งแนวความคิดใว้ 2 แบบ นั่นก็คือ
      1.ยึดติดและขบคิดกับปัญหา
      คนกลุ่มนี้มักเป็นคนที่ไม่ยอมปล่อยวาง ยิ่งในวัยรุ่นนั้นมักมีการนินทา ว่าร้าย รัก เรียน เพื่อน และสารพัดซึ่งผมคิดว่าส่วนใหญ่มันไร้สาระผมกล้าพูดแบบนี้ถึงแม่ว่าผมก็เป็นวัยรุ่นเหมือนพวกคุณ ตัวอย่างเช่น ได้ยินคนอื่นเล่ามาว่ามีคนมานินทา เพียงเท่านั้นแหละคนกลุ่มนี้จะอยากรู้เรื่องราวทันทีว่าใคร ทำไม เพราะอะไร หรือปัญหารักเมื่อทะเลอะกับแฟนก็คิดมาก อะไรมากมาย โดยที่ไม่พยายามหาสาเหตุของปัญหาเลย ว่าแท้จริงแล้วเกิดจากอะไร รวมถึงการลำดับความสำคัญของ บุคคลผิดไป (ผมเลือกที่จะเชื่อฟังทุกอย่างที่แม่สั่งและพร้อมจะเลิกกับแฟนซึ่งผมรักมาก เพียงแค่ถ้าแม่ผมสั่ง ถึงแม้จะมีเหตุผลหรือไม่มีก็ตามเพราะผมถือว่าพ่อ แม่ มีพระคุณมาก มากกว่าที่คุณจะถามหาเหตุผล และมากกว่าชีวิตของตัวเราเองด้วยซ้ำ)

      2.ไม่ยึดติดและไม่ขบคิดปัญหาที่ไร้สาระ
      คนกลุ่มนี้แน่นอนว่าสบายๆกว่าคนกลุ่มแรกชัวร์ พวกเขาจะไม่คิดมาก แต่ก็ใช่ว่าจะไม่คิดแก้ไขปัญหาอะไรเลยนะครับ แต่มีคติประมาณว่า "คิดไม่ออก ก็ไม่ต้องคิด" แน่ก็เป็นการบอกกล่าวที่แน่ชัดแล้วครับ คือถ้าคิดแล้วคิดไม่ออกก็คือเกินความสามารถเราแล้ว เพราะฉะนั้นคิดต่อไปให้ตายก็คิดไม่ออกจะคิดให้เป็นทุกข์ทำไม มักปล่อยวางในปัญหาทุกๆเรื่อง และสามารถลำดับความสำคัญได้มักไม่ค่อยทุ่มเทอะไรอย่างเต็มที่ เช่นเรื่องความรัก ถ้าเขารักใครซักคนเขาอาจจะรักอย่างจริงใจแต่ไม่ได้ให้หมดทั้งใจ เพราะการรักหมดใจคือการทำร้ายตนเอง แต่การรักอย่างจริงใจคือการรักด้วยใจครึ่งนึงและ สมองอีกครึ่งนึง นั่นจึงจะเรียกว่าความรักและความจริงใจ (ในความคิดของผมน่ะนะ) แฟนคือแฟน เราคือเรา มีอะไรเกิดขึ้นแน่นอนเราเจ็บที่สุด แล้วทำไมเราถึงจะต้องให้ความสำคัญคนอื่นมากกว่าตัวเราล่ะครับ ตัวเราซึ่งพ่อแม่เราเลี้ยงดูมาด้วยความยากลำบาก 

      ป.ล.เพื่อนๆก็เลือกเอานะครับว่าจะเป็นคนประเภทไหนและอยากมีแนวความคิดแบบไหน ส่วนผมผมเชื่อในความคิดที่ว่า "คิดไม่ออกก็ไม่ต้องคิด" และผมมักลำดับความสำคัญของบุคคลต่างๆที่ผ่านมาในชีวิตของผมด้วยคติที่ว่า "กฏแห่งความเท่าเทียม" ก็คือให้เรามาเท่าไหร่เราก็จะให้ตอบกลับไปมากเท่านั้น (เชื่อผมมันสมดุลและความสมดุลมักไม่ทำให้เราเจ็บปวด) และท้ายสุดนี้ผมเขียนบทความนี้โดยไม่ค่อยได้อธิบายอะไรมากนักเพราะอยากให้เพื่อนๆลองอ่านและลองคิดดูด้วยตัวเองครับถ้าอ่านแล้วไม่เข้าใจหรืองงตรงไหน ผมก็ขอโทษด้วยครับ (นี่คือบทความแรกที่ผมเคยเขียนครับ) 

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×