กาพย์เห่เรือ ม.6
สรุปกาพย์เห่เรือ ม.6
ผู้เข้าชมรวม
249,688
ผู้เข้าชมเดือนนี้
1,162
ผู้เข้าชมรวม
ข้อมูลเบื้องต้น
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ประวัติผู้แต่ง
เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงเป็นกวีเอกในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ถือได้ว่าเป็นยุคทองของวรรณคดีที่สำคัญอีกยุคหนึ่ง
พระองค์ทรงมีความสามารถในเชิงอักษรศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในด้านนิรุกติศาสตร์และฉันทศาสตร์ พระนิพนธ์มีทั้งที่เกี่ยวกับทางโลกและทางธรรม ทางธรรมได้แก่
นันโทปนันทสูตรคำหลวง และพระมาลัยคำหลวง ทางโลกได้แก่ กาพย์เห่เรือ กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง กาพย์ห่อโคลงนิราศพระบาท กาพย์เห่เรื่องกากี เป็นต้น ต่อมาได้บังเกิดเหตุอันน่าสลดใจ
เมื่อเจ้าฟ้ากุ้งต้องพระราชอาญาว่าทรงลอบเป็นชู้กับเจ้าฟ้าสังวาล จึงถูกลงทัณฑ์จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ทั้งสองพระองค์ และประดิษฐานพระบรมอัฐิไว้ ณ วัดไชยวัฒนาราม
รูปแบบ
แต่งเป็นกาพย์ห่อโคลง มีโคลงสี่สุภาพนำ 1 บท เรียกว่า “เกริ่นเห่” และตามด้วยกาพย์ยานี 11 พรรณนาเนื้อความโดยไม่จำกัดจำนวนบท
จุดประสงค์ในการนิพนธ์
ใช้เห่เรือเล่นในคราวเสด็จฯ โดยทางชลมารคเพื่อไปนมัสการพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี การเห่เรือนอกจากจะเป็นที่สำราญพระราชอิริยาบถแล้ว ยังเป็นการให้จังหวะแก่ฝีพายด้วย
เนื้อเรื่องย่อ
กล่าวถึงขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งประกอบด้วยเรือพระที่นั่งกิ่ง และเรือที่มีโขนเรือเป็นรูปสัตว์ คือ เรือครุฑยุดนาค เรือไกรสรมุข เรือสมรรถชัย เรือสุวรรณหงส์ เรือชัย
เรือคชสีห์ เรือม้า เรือสิงห์ เรือนาคา (วาสุกรี) เรือมังกร เรือเลียง-ผา
เรืออินทรี เห่ชมปลา กล่าวพรรณนาชมปลาต่างๆ มี
นวลจันทร์ คางเบือน ตะเพียน กระแห แก้มช้ำ ทุก น้ำเงิน กราย หางไก่ สร้อย
เนื้ออ่อน เสือ แมลงภู่ หวีเกศ ชะแวง ชะวาด แปบ เห่ชมไม้ เมื่อเรือแล่นเลียบชายฝั่ง ชมไม้ที่เห็นตามชายฝั่ง มี นางแย้ม
จำปา ประยงค์ พุดจีบ พิกุล สุกรม สายหยุด พุทธชาด บุนนาค เต็ง แต้ว แก้ว กาหลง
มะลิวัลย์ ลำดวน เห่ชมนก
เมื่อใกล้พลบค่ำเห็นนกบินกลับรัง ก็ชมนกต่างๆ มี นกยูง
สร้อยทอง สาลิกา นางนวล แก้ว ไก่ฟ้า แขกเต้า ดุเหว่า โนรี สัตวา
และจบลงด้วยบทเห่ครวญ เป็นการคร่ำครวญคิดถึงนางที่เป็นที่รักในยามค่ำคืน
การดำเนินเรื่อง
ดำเนินเรื่องได้สัมพันธ์กับเวลาใน 1 วัน คือ เช้าชมกระบวนเรือ สายชมปลา บ่ายชมไม้ เย็นชมนก กลางคืนเป็นบทครวญสวาท
การพรรณนาความ
ตอนชมปลา ชมไม้ ชมนก มีการพรรณนาพาดพิงไปถึงหญิงที่รัก
เข้าทำนองเดียวกับนิราศ
ประเพณีการเห่เรือ
มีมาแต่โบราณ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เห่เรือหลวง
ซึ่งเป็นการเห่เรือในราชพิธี และเห่เรือเล่น ใช้เห่ในเวลาเล่นเรือเที่ยวเตร่ กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้ากุ้ง เดิมเป็นเห่เรือเล่น ต่อมา
ร.4 ใช้เป็นบทเห่เรือหลวง
ตำนานการเห่เรือ
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าการเห่เรือของไทยน่าจะได้แบบมาจากอินเดีย
แต่ของอินเดียใช้เป็นมนต์ในตำราไสยศาสตร์ บูชาพระราม ของไทยใช้การเห่เรือบอกจังหวะฝีพายให้พายพร้อมกันเป็นการผ่อนแรงและให้ความเพลิดเพลิน
ลำนำการเห่เรือ
1.
ช้าละวะเห่ (ช้าแลว่าเห่) เป็นการเห่ทำนองช้า ใช้เห่เมื่อเรือเริ่มออกจากท่าและเมื่อพายเรือตามกระแสน้ำ
2.
มูลเห่ เป็นการเห่ทำนองเร็วๆ
ใช้เห่หลังจากช้าละวะเห่แล้ว ประมาณ 2-3 บท
และใช้เห่เรือตอนเรือทวนน้ำ
3.
สวะเห่ ใช้เห่เมื่อเรือจะเทียบท่า
คุณค่าที่ได้รับ
คุณค่าทางด้านวรรณศิลป์
1.
รูปแบบสอดคล้องกับเนื้อหา
2.
ดีเด่นทางด้านการพรรณนาให้เห็นภาพ
และให้อารมณ์ความรู้สึกดี
3.
ศิลปะการแต่งดี มีกลวิธีพรรณนาโดยใช้การอุปมา การเล่นคำ การใช้คำที่แนะให้เห็นภาพ
คำที่นำให้นึกถึงเสียง คำที่แสดงอารมณ์ต่างๆ
ได้ดี
คุณค่าทางด้านสังคม
1.
สะท้อนภาพชีวิตของคนไทยในปลายกรุงศรีอยุธยาที่ใช้การสัญจรทางน้ำเป็นสำคัญ
เนื่องจากประเทศไทยมีแม่น้ำลำคลองมาก
2.
ให้ความรู้เกี่ยวกับขบวนพยุหยาตราทางชลมารค และประเพณีการเห่เรือ
3.
สะท้อนให้เห็นขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม และความเชื่อของคนไทย
เช่น ค่านิยมเกี่ยวกับความงามของสตรีว่าจะต้องงามพร้อมทั้งรูปทรง มารยาท ยิ้มแย้มแจ่มใส และพูดจาไพเราะ ความเชื่อเรื่องเวรกรรมตามหลักพระพุทธศาสนา เป็นต้น
ผลงานอื่นๆ ของ qbwts ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ qbwts
ความคิดเห็น