อาคารสถานที่
ตึก 123 ปีสวนกุหลาบวิทยาลัย |
อาคาร 123 ปีสวนกุหลาบวิทยาลัย ถูกสร้างขึ้นในเดือนพฤษภาคม ปี 2548 และเริ่มเปิดใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2548 ชั้นล่างเป็นสนามกีฬาเล่นฟุตบอล หรือบาสเกสบอล ชั้นบนเป็นหอประชุม 123 ปี สำหรับจัดงานและประชุมนักเรียนระดับชั้นต่างๆ |
|
อาคารสวนกุหลาบ (ตึกยาว) |
อาคารสวนกุหลาบ (ตึกยาว) เป็นอาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยที่สร้างขึ้นใหม่ มีลักษณะเป็นสถาปัตกรรมที่มีความโดดเด่นและสง่างาม มีประวัติความเป็นมาที่มีคุณค่ายิ่งต่อสังคมไทย ชาวสวนกุหลาบทุกคนจึงมีความภาคภูมิใจ และถือว่าเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของโรงเรียน
|
อาคารสวนกุหลาบ เริ่มสร้าง 8 ตุลาคม พ.ศ. 2453 เปิดใช้ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2454 มีเพียงชั้นบนและล่าง ตึกยาวมีความยาว 198.35 เมตร กว้าง 11.35 เมตร เนื้อที่ตึกยาวทั้งหมด 1ไร่ 1 งาน 60 ตารางวา เป็นอาคารทรงยุโรป 2 ชั้น ขนานไปกับถนนตรีเพชร หลังคามุงด้วยกระเบื้องลอนสีอิฐ ภายในกั้นเป็นห้อง ๆ เป็นห้องขนาด 15 เมตร คูณ 9 เมตร 1 ห้อง สลับกับห้องเล็ก 9 เมตร คูณ 7 เมตร 2 ห้อง ตลอดความยาวของตึก |
อาคารหลังนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เจ้าหน้าที่เขียนแบบ ซึ่งจะมีลวดลายมากกว่าในปัจจุบัน ซึ่งสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2452 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสร็จทอดพระเนตรทั้งๆ ที่ยังทรงพระประชวรอยู่ เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ได้เป็นผู้ทำพิธีเปิดตึกนี้ โรงเรียนสวนกุลาบได้ใช้ตึกนี้เป็นที่เล่าเรียนตลอดมา
ประวัติเดิมมีว่า วัดราชบูรณะจะสร้างตึกแถวเพื่อเก็บค่าเช่า ทางกระทรวงธรรมการจึงได้มีหนังสือกราบทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู ่หัว โดยทูลขอพระราชทานที่ตรงท้ายวัดราชบูรณะและขอเช่าตึกแถวทั้งหมดแทนประชาชน โดยเก็บจากนักเรียนคนละบาท และตึกนั้นจะต้องยาวไปตามถนนและข้างหน้าทำเป็นหน้าต่าง ข้างหลังจะให้ทำเป็นเฉลียงทางเดิน ค่าเช่าให้วัดโดยกระทรวงธรรมการให้ค่าเช่าวัดเป็นเงินร้อยละ 7.5 |
|
|
ก่อนปี พ.ศ.2475 ได้มีการปรับปรุงต่อเติมตึกยาวในระยะที่มีการปรับปรุงถนนตรีเพชร เพื่อเตรียมฉลองครบรอบ 150 ปี กรุงเทพมหานคร มีห้องขนาดใหญ่ ( 15 x 9 เมตร ) และห้องขนาดเล็ก ( 9 x 7 เมตร ) 2 ห้อง สลับกันไปเช่นนี้ตลอดตึก บริเวณห้องเล็กๆ จะมีเฉลียงและมีประตูตามระเบียงหันออก ด้านถนนตรีเพชร ต่อมาได้ก่อผนังทางด้านถนนตรีเพชรโดยตลอดตามความยาวของตึก |
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ.2488 อาคารถูกระเบิดเสียหายเป็นบางส่วน ได้มีการบูรณะซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม และมีการบูรณะปฏิสังขรณ์อื่นๆ อีก เช่น เปลี่ยนพื้นระเบียงชั้นล่าง จากพื้นไม้เป็นพื้นหินขัด เปลี่ยนกระเบื้องหลังคาจากกระเบื่องสี่เหลี่ยมเป็นกระเบื้องลอน
ปัจจุบันอาคารหลังนี้ได้ขึ้นทะเบียนกรมศิลปากรเป็นโบราณสถานของชาติ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษเล่ม 104 ตอนที่ 18 วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2530 (พื้นที่โบราณสถานประมาณ 3 ไร่ 1 งาน 6 ตารางวา) ซึ่งในปัจจุบันได้มีการบูรณะปรับปรุงซ่อมแซมอาคารหลังนี้ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์สวยงาม และใช้เป็นสถานที่ดำเนินการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์การศึกษาแห่งชาติ และบางส่วนเป็นสถานที่เรียนของนักเรียน |
|
|
ตึกสามัคยาจารย์ (ตึก 2)
|
ตึกสามัคยาจารย์เดิมเป็นที่สถานที่ตั้งของสามัคยาจารย์สมาคม ซึ่งย้ายมาจากโรงเรียนกล่อมวิทยา หรือโรงเรียนวัดพระเชตุพนที่ทำการชั่วคราว มาอยู่ที่โรงเรียน ทวีธาภิเษก และต่อมาที่วัดราชบูรณะ และมาอยู๋ในบริเวณโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยในเวลาต่อมา
อาคารสามัคยาจารย์สร้างขึ้นเป็นที่ทำการสามัคยาจารย์สมาคม อันเป็นสำนักงานส่วนหนึ่งของการจัดการศึกษาของกระทรวงธรรมการ ที่เกี่ยวข้องกับการจัด นฌยบายการศึกษาของชาติ การฝึกอบรมเผยแพร่ความรู้ให้ครูอาจารย์ในการเพิ่มวุฒิ และการประชุมวางแผนการศึกษาแห่งชาติ นอกจากนี้ยังมีการก่อตั้งสมาคม สำหรับครูอาจารย์ที่จะมาใช้เป็นสถานที่ค้นหาความรู้ เพราะชั้นล่างเป็นที่ประชุม ส่วนชั้นบนเป็นห้องสมุด ที่ทำการของข้าราชการกระทรวงธรรมการ จึงมีผู้ใหญ่ในกระทรวงมาเยี่ยมชม ประชุม และแสดงปาฐกถาอยู่เป็นประจำ |
ต่อมาปี พ.ศ.2502 ระบบการศึกษาเปลี่ยนไป มีการขยายตัวทางการศึกษามากขึ้น สามัคยาจารย์จึงคับแคบ รัฐบาลได้มีดำริจะสร้างคุรุสภาขึ้นใหม่ที่บริเวณ วังจันทรเกษม ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (นายนาค เทพหัสดิน ณ อยุธนา) ได้ติดต่อคุรุสภาขอรื้ออาคารสามัคยาจารย์หลังเก่า เพื่อขายอิฐหัก และกากปูนนำเงินมา เป็นทุนในการจัดสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ และสร้างห้องสมุดของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ซึ่งเป็นห้องสมุดที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้น โดย ม.ล.ปื่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการสมัยนั้น (ท่านเป็นศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย) |
|
การรื้ออาคารหลังนี้และสร้างอาคารเรียน 3 ชั้น ทำให้มีจำนวนห้องเรียนมากขึ้น และมีห้องสมุดที่ทันสมัย ต่อมาได้ต่อเติมเป็นอาคาร 4 ชั้น และใช้เป็นอาคารเรียนมาจนถึงปัจจุบัน
|
|
อาคารปิยมหาราชานุสรณ์ (ตึก 3)
|
ในปี 2525 เป็นปีที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยมีอายุครบ 100 ปี อ.สำเริง นิลประดิษฐ์ ผู้อำนวยการขณะนั้น มีความคิดที่จะสร้างอนุสรณ์แห่งความระลึกถึง ในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์พระผู้พระราชทานกำเนิดโรงเรียน อันได้แก่ พระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ท่าน และตึก 100 ปี สวนกุหลาบวิทยาลัย
การก่อสร้างครั้งนี้ บรรดาศิษย์เก่า ผู้ปกครองนักเรียน คณะครู-อาจารย์ และนักเรียน ได้ร่วมใจกันสละทุนทรัพย์จำนวนหนึ่งเป็นเงิน 2,5000,000 บาท สมทบ กับเงินงบประมาณแผ่นดินอีก 10,100,000 บาท ตึกหลังนี้สร้างขึ้นบริเวณตึกโรงพละเก่า รวมกับบริเวณสนามบาสเกตบอล ซึ่งใช้เป็นโรงอาคารชั่วคราว |
ตึก 100 ปีสวนกุหลาบ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จมาทรงวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2525 เวลา 15.09 น. และเมื่อตึกนี้สร้างเสร็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ประดิษฐานอยู่หน้าตึก พร้อมทรงเปิดตึก 100 ปีสวนกุหลาบ ในวันที่ 30 กรกฎาคม 2527 |
|
ตึกศาลาพระเสด็จ (ตึก 4)
|
ในปี พ.ศ.2468 กระทรวงศึกษาธิการได้ทำอนุสาวรีย์อุทิศแด่เจ้าพระยาพระเสด็จฯ ให้แก่สามัคยาจารย์สมาคม ซึ่งตั้งอยู่ภายในบริเวณโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้จัดสร้างศาลาให้ชื่อว่า " ศาลาพระเสด็จ " ระหว่างกลางเรือนสโมสรกรีฑา และสโมสรบันเทิง ใช้เป็นที่ประชุมสนทนา เล่นกีฬาในร่มต่าง เป็นที่พักผ่อนของสมาชิกสามัคยาจารย์สมาคม
| |
|
อาคารดำรงราชานุภาพ (ตึก 5)
สร้างขึ้นเมื่อปี 2521 เป็นอาคารเรียน 5 ชั้น ให้ถุนโล่งเป็นพิเศษ สร้างขึ้นเนื่องจาก อาคารเรียน ไม่เพียงพอ ต่อจำนวนนักเรียน ต่อมาได้มีการต่อเติมผนังชั้นล่าง เป็นห้องๆ ใช้เป็นห้องพยาบาล ห้องแนะแนว ห้องโสตทัศนศึกษา ห้องกุหลาบเพชร ฯลฯ ส่วนด้านบน เป็นห้องเรียนสำหรับ นักเรียนย์สมาคม |
|
อาคารสวนกุหลาบรำลึก (ตึก 6)
|
หอประชุมสวนกุหลาบรำลึกเดิมสร้างขึ้นในปี 2496 สมัยหลวงบุญาปาลิตเป็นอาจารย์ใหญ่ โดยอาจารย์เพิ้นย สมบัติเปี่ยม เป็นสถาปนิก ลักษณะรูปแบบหอประชุมสูง ยาวประมาณ 25 เมตร กว้างประมาณ 18 เมตร มีรูปแบบศิลปะคล้ายกับยุคโรมันเช่นเดียวกับอาคารสวนกุหลาบ ( ตึกยาว ) ด้านบนรอบๆ หอประชุมจะมีภาพนูนสูง แสดงด้านพุทธศึกษา จริยศึกษา พลศึกษา และศิลปศึกษา เช่น ภาพเด็กไหว้พระ เล่นกีฬา ทดลองวิทยาศาสตร์ บริเวณนี้เรียงเป็นช่องๆ ด้านหน้าจะมีเหล็กดัดรูปดอกไม้ รูปเด็กไหว้ครู - อาจารย์ หอประชุมนี้มีเวทีการแสดง และมีชั้นที่สองเหมือนโรงละครของเมืองนอก เวลามีการแสดง ครู-อาจารย์จะนั่งชมด้านบน |
ในปี พ.ศ.2534 สมัยอาจารย์สุทธิ เพ็งปาน เป็นผู้อำนวยการ หอประชุมสวนกุหลาบรำลึกมีสภาพทรุดโทรม จึงได้มีการรื้อถอนเพื่อสร้างอาคารหอประชุมใหม่ เป็นอาคารที่เห็นในปัจจุบัน
อาคารหอประชุมสวนกุหลาบรำลึกหลังใหม่นี้เป็นอคาร 6 ชั้น ชั้นล่างสุดเป็นชั้นใต้ดินใช้เป็นที่จอดรถ ชั้นอื่นๆ เป็นสำนักอำนวยการ ห้องประชุม ห้องเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ ศูนย์ควบคุมเครือข่ายสารสนเทศ ด้านบนสุดเป็นหอประชุมจุได้ประมาณ 2,000 คน โดยได้รับงบประมาณแผ่นดินเป็นค่าก่อสร้างจำนวน 42 ล้านบาท
หอประชุมหลังนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 30 กรกฎาคม 2535 และเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารในวันที่ 8 มีนาคม 2538 |
| |
|
สระว่ายน้ำสวนกุหลาบ
อยู่หลังตึกสามัคยาจารย์ด้านประตูจักรเพชร สร้างโดยสมาคมศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นสระขนาด 11 x 25 เมตร 5 ลู่ สำหรับเรียนวิชาว่ายน้ำและออกกำลังกาย พร้อมสระเล็กขนาด 5 x 6 เมตร เปิดให้นักเรียน ผู้ปกครอง และบุคคลภายนอกเข้ามาใช้บริการเพื่อออกกำลังกายได้เวลา 16.00 - 20.00 น. |
|
แฟลตภารโรง
อาคารที่พักสำหรับคนงานภารโรง โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ซึ่งสร้างเป็นแฟลต 4 ชั้น 2 หลัง หันหน้าเข้าหากัน จำนวนห้องพัก 24 ห้อง สมัย อ.สุทธิ เพ็งปาน ในบริเวณบ้านพักเดิม ของคนงาน ส่วนหนึ่งที่อยู่ด้านติดกับเพาะช่าง งบประมาณที่ใช้ก่อสร้างเป็นเงินบริจาคของสมาคมผู้ปกครองและครู โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย |
|
อาคารหอพักนักกีฬา "สุทธิ เพ็งปาน"
เป็นอาคาร 3 ชั้น หลังตึกสามัคยาจารย์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2534 โดยสมาคมผู้ปกครองและครูสวนกุหลาบวิทยาลัย ชั้นล่างเป็นห้องอาบน้ำ 10 ห้อง ห้องสุขา 20 ห้อง ชั้น 2-3 เป็นหอพักนักกีฬา และอาจารย์ผู้ควบคุม
อ้างอิงจาก http://www.sk.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=22&Itemid=36 |
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ความคิดเห็น