ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ห้องเก็บของนานาสาระ (=w=)

    ลำดับตอนที่ #43 : อักษรไทย

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 133
      0
      8 ส.ค. 52

    ประวัติศาสตร์

    อักษรไทยปรับปรุงมาจาก อักษรขอม ในที่นี้ ขอมที่ว่า คือคำที่ คนไทยทางเหนือใช้เรียกคนไทยทางใต้ในที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามานานแล้วว่า พวกขอม ขอมที่ว่าจึงเป็นขอมที่เป็นไทสยาม การนำภาษาขอม (หรือไทสยาม) มาปรับเป็นภาษาไทยที่ใช้ใน

    ปัจจุบัน นั้น นักวิชาการจำนวนหนึ่ง ในช่วงปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา พร้อมหลักฐานการศึกษาใหม่เชื่อว่า เป็นการปรับใช้มาจาก
    ในช่วงสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2223) ซึ่งตัวอักษรและการใช้งานมีความคล้ายคลึงกับของปัจจุบันมากที่สุด

     

    ในอีกทฤษฎีหนึ่งได้มีการกล่าวไว้ว่า ในสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ท่าน ทรงประดิษฐ์อักษรที่เรียกกันว่า "ลายสือไทย" ขึ้น และ มีการเรียกกันว่าเป็นต้นกำเนิดของอักษรไทยนั้น มีการสืบอายุกลับไปเพียงประมาณ 700 ปี ซึ่งแท้จริง

    แล้ว "ลายสือไท" น่าจะเป็นหนึ่งในการพัฒนาอักษรไทย ในหลายๆ สาย ซึ่งจริงๆ แล้วไทสยาม ได้มีอักษรใช้กันมาก่อนหน้านี้แล้ว โดยเป็นการวิวัฒน์มาจาก อักษรพราหมี และ 

    ปัลลวะ ซึ่งเป็นแบบตัวอักษรที่นำมาจากอินเดียตอนเหนือและตอนใต้ตามลำดับ[1] ตามหลักฐานที่น่าเชื่อมากกว่ายืนยันว่า ชาติสยาม มีอักษรใช้มานานแล้ว นับได้เป็นพันปี คิดเป็นจำนวนปี ได้ 1400 ปีมาแล้วโดยประมาณ

     

    พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1826 โดยทรงดัดแปลงมาจากอักษรขอมหวัดและอักษรไทยเดิม ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรมอญและคิด

    อักษรไทยขึ้นใหม่ให้มีสระ  และวรรณยุกต์ให้พอใช้กับภาษาไทย และทรงเรียกอักษรดังกล่าว ลายสือไทย ดังมีกล่าวในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงตอนหนึ่งว่า

     

            "เมื่อก่อนลายสือไทยนี้บ่มี 1205 ศกปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสือไทยนี้ ลายสือไทยนี้จึงมีพ่อขุนรามคำแหงผู้นั้นใส่ไว้…" (ปี 1205 เป็นมหาศักราชตรงกับพุทธศักราช 1826)

     

    ลักษณะอักษรไทยสมัยพ่อขุนรามคำแหง

     

            1.      อักษรสมัยพ่อขุนรามคำแหงดัดแปลงมาจากอักษรขอมหวัด มีดังนี้คือ ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ญ ฎ ฐ ณ ต ถ ท ธ น ป ผ พ ภ ม ย ร ล ว ศ ษ ส ห และได้เพิ่มพยัญชนะและวรรณยุกต์ให้พอกับภาษาไทยในสมัยนั้น ได้แก่ ฃ ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ อ และวรรณยุกต์เอก และโท

            2.      สระและพยัญชนะเขียนเรียงอยู่ในบรรทัดเดียวกัน และสูงเสมอกัน เขียนสระไว้หน้าพยัญชนะ ยกเว้นสระอะ   สระอาเขียนอยู่ข้างหลัง ส่วนวรรณยุกต์เขียนไว้ข้างบน

            3.      สระอะเมื่อมีตัวสะกด ใช้พยัญชนะซ้อนกัน เช่น น่งง (นั่ง) ขบบ (ขับ)

            4.      สระเอีย ใช้ ย แทน เช่น สยง (เสียง) ถ้าไม่มีตัวสะกดใช้สระอี   โดยไม่มีไม้หน้า

            5.      สระอัว ที่ไม่มีตัวสะกด ใช้ วว เช่น ตวว (ตัว)

            6.      สระอือและสระออที่ไม่มีตัวสะกด ไม่ใช้ อ เช่น ชี่ (ชื่อ) พ่ (พ่อ)

            7.      สระอึ ใช้สระอิและสระอีแทน เช่น ขิ๋น (ขึ้น) จี่ง (จึ่ง)

            8.      ตัว ม ที่เป็นตัวสะกดใช้นฤคหิต เช่น กลํ (กลม)

                                            ฯลฯ

     

            อักษรไทยของพ่อขุนรามคำแหง  ใช้แพร่หลายในเขตล้านนา ล้านช้าง และกรุงศรีอยุธยา      ต่อมาชาวล้านนาและชาวล้านช้างเลิกใช้อักษรไทยสมัยกรุงสุโขทัยและใช้อักษรของพวกลื้อ ซึ่งเป็นอักษรไทยพวกหนึ่งแทน     ส่วนกรุงศรีอยุธยายังคงใช้อักษรไทยและดัดแปลงแก้ไขมาเป็นระยะ ๆ จนเป็นเช่นอักษรไทยปัจจุบัน

     

     

    อักษรไทยอื่น ๆ

    ในสมัยอยุธยามีการเรียนการสอนภาษาไทยดังเห็นได้จากมีตำราสอนอ่านและเขียนภาษาไทยเกิดขึ้น ชื่อว่า จินดามณี คนไทยนิยม แต่งโคลงกลอน (และแต่งตำราต่าง ๆ) ในยุคโน้นคนมีโอกาสเขียนหนังสือ การเขียน คงแพร่หลายมากกว่ายุคสุโขทัย และ

    เป็นการเขียนด้วยมือ ตัวหน ังสือจึงพัฒนาเปลี่ยนไปมากและมีลักษณะใกล้เคียงกับตัวเขียนในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องของการเขียนตัวอักษรเท่า นั้น ส่วนระบบการเขียนยังคงเดิม 

    นอกจากอักษรไทยที่สืบทอดมาจากสุโขทัยที่กล่าวมาแล้ว ในเมืองไทย ยังมีตัวอักษรพื้นเมืองอื่น ๆ ที่รู้จักกันอีกคือ ตัวอักษรฝัก ขาม และตัวอักษรพื้นเมืองล้านนา ซึ่งในปัจจุบันไม่ได้ใช้เขียนอ่านในชีวิตประจำวันแล้ว ตัวอักษรที่เราใช้เขียนในราชการ ใน

    โรงเรียน และในการสื่อสารทั่ว ๆ ไป ในปัจจุบันเป็นตัวเขียนมีวิวัฒนาการสืบทอดมาจากลายสือไทยที่พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์ขึ้นที่เราได้เห็นในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ จาก "การจารึก" บนแผ่นศิลา มาสู่การเขียนด้วยมือ และในปัจจุบันนอกจากการเขียนแล้ว 
    เรายัง "พิมพ์" ภาษาไทยด้วยพิมพ์ดีด และด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์อีกด้วย รูปร่างลักษณะของตัวหนังสือไทยได้เปลี่ยนไปตามกาลเวลาและเทคโนโลยีของแต่ละยุค เช่นเดียวกับคนไทยที่เปลี่ยนลักษณะชีวิตความเป็นอยู่ไปตามกาลเวลาและสภาพแวดล้อม

     

     

    อ้างอิง

    http://www.thaigoodview.com

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×