ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ห้องเก็บของนานาสาระ (=w=)

    ลำดับตอนที่ #42 : โธมัส แอลวา เอดิสัน ( Thomas Alva Edison )

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 110
      0
      8 ส.ค. 52

                โธมัส แอลวา เอดิสัน  เกิดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1842 ที่เมืองมิลาน รัฐโอไฮโอ จัดว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์หรือนักประดิษฐ์ในยุควิทยาศาสตร์เฟื่องฟู ในปัจจุบันเป็นผู้ที่รู้จักกันทั่วมุม

    เมืองในฐานะนักประดิษฐ์หลอดไฟที่เราได้ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ บิดาของเขาชื่อ แซมมวล เอดิสัน เชื้อสายทางบรรพบุรุษของเขาเป็นชาวฮอลแลนด์ มีอาชีพไม่แน่นอน มารดาชื่อ แนนซี เอลเลียด เป็นคนเชื้อชาติอิตาเลี่ยน และเคยเป็นครูสอนในโรงเรียนที่กรุงเวียนนามาก่อน

                ครอบครัวของเอดิสันค่อนข้างยากจนสักหน่อย ฉะนั้นเอดิสันจึงได้รับการศึกษาน้อย หรือแบบครึ่งๆ กลางๆ ไม่สำเร็จชั้นประถมศึกษาด้วยซ้ำ แต่อาศัยที่มารดาเป็นครูมาก่อน เอดิสันจึงต้องกลับมาเล่าเรียนเอาที่บ้านของเขาเองจากมารดา กล่าวได้ว่า เอดิสันมีพรสวรรค์มาแต่เล็ก เพราะ

    พอมีอายุได้ 9 ขวบ ก็สามารถอ่านหนังสือวรรณคดีหรือหนังสือที่เป็นเรื่องเป็นราวได้อย่างดี แต่เพราะหนังสือเหล่านั้นไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรให้แก่เขามากนัก เอดิสันจึงหันเข้าหาตำราทางวิทยาศาสตร์มาศึกษาแทน

                เอดิสันสนใจในวิทยาศาสตร์มาก่อนแล้ว พอศึกษาไปได้สักหน่อยก็เริ่มทดลองตามตำราเหล่านั้นดูบ้าง ซึ่งโดยปกติเขามักจะมีความคิดขัดแย้งกับคนอื่นอยู่เสมอ และมีนิสัยชอบซักถามบรรดาผู้มีความรู้ หรือพวกครูอาจารย์ต่างๆ แบบที่เรียกได้ว่าต้องการรู้ให้ถึงแก่นจริงๆ จนบาง

    ครั้งกลายเป็นว่า เขาเป็นเด็กชอบสอดรู้สอดเห็นเกินตัว แต่นั่นก็เป็นด้วยว่า เอดิสันชอบค้นหาความจริงจากสิ่งต่างๆ ให้แน่ชัด เขาเป็นคนที่เรียกว่า “ทำอะไรทำจริง” และมีความมุมานะในเรื่องที่ปรารถนาจะรู้ความจริงให้ถึงที่สุดนั่นเอง จนบางครั้งเขาจะลงมือทำการทดลองด้วยตนเอง ทั้งๆ ที่

    ในขณะนั้น เอดิสันมีอายุเพียง 10 กว่าขวบเท่านั้น กล่าวคือ วันหนึ่งบิดามารดาไปพบเขากำลังนั่งอยู่ในกรงห่าน พยายามจะออกไข่เหมือนกันที่เห็นแม่ห่านทำ เพื่อทดลองว่าเขาสามารถจะกกไข่ห่านให้เป็นตัวได้หรือไม่ หรือเพื่อที่จะดูว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นต่อไป

                พออายุได้ 12 ขวบ เอดิสันก็เริ่มสะสมเครื่องใช้ในการทดลองวิทยาศาสตร์ และถึงกับเอาห้องเก็บของเป็นที่ทดลองทางเคมีของเขา ในห้องนั้นจะเต็มไปด้วยขวดบรรจุสารเคมีเป็นจำนวนมาก และแต่ละขวดเขาจะเขียนไว้ว่า “ยาพิษ ห้ามแตะต้อง” สิ่งของเหล่านี้ เอดิสันพยายามหาเงินมาใช้

    จ่าย ซื้อหามาทดลองด้วยตนเองเกือบทั้งสิ้น ในขั้นแรกก็ได้การขายผักในสวน แต่ต่อมา เขาก็หาทางไปเป็นเด็กขายหนังสือพิมพ์ และลูกกวาดบนรถไฟ ระหว่างเดทรอยถึงปอร์ตฮิวรอนซึ่งเมื่อบิดา

    มารดาอนุญาติให้เขาไป เขาก็จะออกเดินทางแต่เช้าตรู่ เพื่อให้ทันขบวนรถ และกลับเอาเมื่อร่วมเที่ยงคืนทุกวัน ด้วยปรารถนาอันแรงกล้าที่จะหาเงินมาซื้อเครื่องทดลองวิทยาศาสตร์นั่นเอง

                และโดยไม่นึกฝัน การค้นคว้าของเขากลับเจริญก้าวหน้าออกไป จนถึงกับในไม่ช้าเขาก็มีร้านขายของเบ็ดเตล็ดเป็นของตนเองเล็กๆ ร้านหนึ่ง แล้วต่อมาก็ขยายออกไปเป็น 2 ร้าน เขาจึงต้องว่าจ้างเด็กอีกคนหนึ่งเข้ามาช่วยทำงานด้วย

                ถึงระยะนี้ โธมัส แอลวา เอดิสัน เริ่มจะเป็นเด็กหนุ่มขึ้นแล้ว และก็เป็นเพียงอายุ 15 ปีเศษเท่านั้น แต่ก็แสดงให้เห็นว่า เขามีแววของความเป็นอัจฉริยะบุรุษในภายภาคหน้าได้คนหนึ่ง กล่าวคือ

    เขาได้ซื้อเครื่องพิมพ์มาออกหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ของตนเองขึ้นฉบับหนึ่ง ชื่อว่า “วีคลี เฮราลด์” ซึ่งต่อมาได้ทำสถิติการจำหน่ายสัปดาห์ละ 800 – 1000 ฉบับ และทำรายได้ให้เขาถึงเดือนละ 45 ดอลลาร์ ซึ่งภายใน 4 ปี เขาสามารถหาเงินได้ถึง 2000 ดอลลาร์

                อย่างไรก็ตาม สำนักพิมพ์ของเขารวมทั้งที่ทำงานและร้านขายของเบ็ดเตล็ดที่ว่านี้ แทนที่จะเป็นตึกหรูหรา เขากลับอาศัยอยู่ในโบกี้หรือตู้รถไฟเก่าๆ ซึ่งจอดไว้ไม่ใช้งานหลังหนึ่ง ในรถตู้คันนี้

    มีทั้งเครื่องพิมพ์ เครื่องใชจิปาถะ รวมทั้งเครื่องทดลองวิทยาศาสตร์อีกด้วย ซึ่งแสดงว่า ชีวิตในตอนนี้ของเขายังไม่สู้จะรุ่งโรจน์นัก เพราะยังต้องผจญกับอุปสรรค และความลำบากตรากตรำอยู่อีกมาก มิหนำซ้ำก็กลับมามีอันเป็นไปต้องทำให้โครงการก่อร่างสร้างตัวของเขาเกิดพังพินาศลงไปด้วย 

    กล่าวคือ วันหนึ่งขณะที่เขากำลังทำการทดลองทางเคมี ภายในห้องทำงานหรือในตู้รถไฟหลังนั้นเกิดมีเสียงระเบิดขึ้น ทำให้ไฟลุกไหม้พื้นกระดานตู้รถไฟ พนักงานรถไฟจึงขับไล่เขาออกไปจากตู้หลังนั้น โดยวิธีจับกระชากลากเขารวมทั้งเครื่องอุปกรณ์ต่างๆ ของเขามาจากตู้รถหมด เมื่อเขาถูก

    ผลักลงมาจากตู้พร้อมด้วยเครื่องเคมีนั้น ตามเรื่องราวบางแห่งก็ว่า เครื่องเคมีของเขาเกิดระเบิดเสียงดังสนั่น บางแห่งก็ว่าเขาถูกตบแก้วหูไล่ลงจากรถ ทำให้แห้วหูเขาหนวกและอื้อไปทันที และนับแต่นั้นเป็นต้นมา เอดิสันก็กลายเป็นคนหูหนวกข้างหนึ่งไปตลอดชีวิต

                ปี ค.ศ. 1862 เอดิสันก็ได้เข้าไปทำหน้าที่พนักงานโทรเลขที่ปอร์ตฮิวรอน ได้รับอัตราเงินเดือน เดือนละ 25 ดอลลาร์ เหตุที่เขาได้ไปทำงานในหน้าที่นี้ ก็โดยบังเอิญที่วันหนึ่งเขาได้ช่วยให้เด็กคนหนึ่งซึ่งกำลังเพลินเล่นอยู่ในรางรถไฟหน้าสถานี โดยไม่ทันเฉลียวใจนึกถึงขบวนรถที่กำลัง

    แล่นเข้ามาเทียบชานชลา เขาเป็นผู้เสี่ยงชีวิตเข้าไปช่วยอุ้มเด็กคนนั้นจนรอดพ้นขี้นมาได้อย่างหวุดหวิดเต็มที ปรากฏว่าเด็กคนนั้นเป็นบุตรของนายแมคเคนซี นายสถานีเมานท์คลีเมนส์นั่นเอง ด้วยสำนึกถึงบุญคุณของเอดิสันนายแมคเคนซีจึงถ่ายทอดวิธีการรับส่งโทรเลขของสถานีให้เอดิสันจน

    กระทั่งเอดิสันมีความชำนาญพอสมควร เอดิสันจึงได้ใช้ความรู้นี้เข้าไปสมัครงานเป็นพนักงานโทรเลขที่ปอร์ตฮิวรอน และได้งานสมประสงค์

                แต่ต่อมาในไม่ช้า เอดิสันก็ต้องถูกไล่ออกจากงานในหน้าที่พนักานโทรเลขอีก เนื่องจากความฉลาดรอบรู้เกินไปของเขานั่นเอง เพราะเมื่อเอดิสันเข้ามารับหน้าที่ส่งโทรเลขนั้นเขาจะต้องทำ

    หน้าที่ส่งสัญญาณไปยังที่ทำการใหญ่ทุกๆ ชั่วโมง เพื่อแสดงให้รู้ว่า พนักงานรับส่งโทรเลขจะต้องปฏิบัติงานอยู่ตลอดเวลากลางคืน และมีเวลาพักผ่อนในตอนกลางวัน แต่เอดิสันค่อนข้างจะชอบนอนหลับในเวลากลางคืน หรือตอนดึกเสมอ ดังนั้นเขาจึงหาวิธีตบตาสำนักงานใหญ่ ด้วยการ

    ประดิษฐ์เครื่องส่งสัญญาณแทนตัวเขาในขณะนอนหลับ และเครื่องนี้ก็ทำหน้าที่ของมันได้อย่างดีทีเดียว หากว่าผู้อำนวยการจะไม่บังเอิญจับได้ว่าเขานอนหลับทุกๆ คืน เขาก็คงจะทำหน้าที่นี้ต่อไปได้อีกนานทีเดียว

                เอดิสันใช้ชีวิตระหกระเหินในหน้าที่การงานอยู่หลายปีทีเดียว  เพราะตอนนั้นเขายังมีอายุอยู่ในช่วงวัยรุ่น เข้าทำงานที่ไหนไม่ได้นานไปทำงานอยู่ที่สถานีรถไฟเมืองชาเนียร์ในแคนาดา ก็เกือบ

    ไปทำให้รถไฟชนกัน ต้องถูกไล่ออกจากงาน ต่อมาอีก 4 ปี เขาได้ทำหน้าที่พนักงานส่งโทรเลขจเร ระหว่างสงครามกลางเมือง แต่ต้องออกจากงานอีกเช่นเดียวกัน และต้องตระเวนหางานทำไปตามเมืองต่างๆ เช่นที่อินเดียนา โปลิส ซินซินเนติ เมมฟิส หลุยส์วิลล์

                เขากลับไปที่ปอร์ตฮิวรอน เมื่ออายุได้ 21 ปี และกลับไปแบบคนโซ แต่ก็ยังดีที่มีผู้แนะนำให้เขาไปทำงานที่บริษัทเวสเทอร์นยูเนียนที่เมืองบอสตัน ลักษณะและการแต่งกายของเขาเวลานั้น ทำให้คนสมเพชและประมาทในความรู้ของเขา แต่เอดิสันก็แสดงความสามารถในเรื่องโทรเลขให้คนเหล่านั้นเห็นว่า ยากที่จะหาใครเสมอเหมือน

                คราวนี้เมื่อมีงานทำเป็นหลักแหล่งดีแล้ว เอดิสันก็หวนกลับมาใช้ชีวิตของนักทดลองทางวิทยาศาสตร์อีกพักหนึ่ง ระยะนี้เองที่เขาได้ประดิษฐ์ของใหม่ๆ ขึ้นหลายอย่าง ที่ก่อประโยชน์ให้ก็มี ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาแล้วไม่มีผู้นิยมก็ล้มเลิกไป แต่เอดิสันก็ยังมุมานะในงานค้นคว้าและประดิษฐ์ของ

    เขาเรื่อยไป การประดิษฐ์ของเขาในครั้งหลังๆ นี้ เมื่อทำออกมาแล้วไม่มีใครสนใจ เอดิสันก็เกิดความมานะที่จะคิดประดิษฐ์สิ่งที่ก่อให้เกิดความสนใจ เหตุนี้เขาจึงลงทุนทิ้งงานห้าที่ทางโทรเลขที่บอสตัน ออกเดินทางไปนิวยอร์ก

                โชคเข้าข้างเอดิสันอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเขาไปถึงนิวยอร์ก และไปอาศัยนอนอยู่ในห้องแบตเตอรี่ของบริษัทโกลด์อินดิเคเตอร์แห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำหน้าที่แจ้งราคาหุ้นซื้อขายแก่พวกนายหน้า ตั้งอยู่ที่ถนนวอลสตรีท ที่บริษัทนี้จะมีเครื่องจักรบอกราคาหุ้นหมุนเป็นจังหวะอยู่ตลอดเวลา และ

    บังเอิญวันหนึ่ง เครื่องถ่ายทอดกระแสไฟฟ้าเสียกลางคันทำให้บริษัทเกิดโกลาหลอลหม่าน เพราะไม่มีใครสามารถแก้ไขได้ เมื่อเอดิสันทราบเรื่องก็ขออาสา เขาตรวจดูรู้ว่าลวดสปิงที่เชื่อมกันอยู่ในเครื่องตัวหนึ่งเกิดหักและตกลงไปคาอยู่ในเฟืองจักร เอดิสันจัดการแก้ไขให้เครื่องทำงานได้ดังเก่า 

    ผลก็คือเขาได้รับบรรจะเข้าทำงานในบริษัทนี้ในตำแหน่งผู้ดูแลเครื่องไฟฟ้า ซึ่งมีอัตราเงินเดือนสูงกว่าทุกๆแห่งที่เขาเคยได้รับมา เมื่อคำนวณแล้วเขายังมีรายได้เหลือพอที่จะเจียดมาซื้อเครื่องใช้ในการทดลองของเขาไปได้อีก เอดิสันก็ถือหลักนั้นต่อไปด้วยใจรักจริงๆ

                และนับจากนั้นเอดิสันก็ลงมือประดิษฐ์สิ่งต่างๆ ขึ้น โดยเฉพาะในเดีอนตุลาคม ปี ค.ศ. 1869 เขาได้ร่วมทุนกับวิศวกรคนหนึ่ง ประดิษฐ์เครื่องบอกราคาทองคำเพื่อใช้เป็นเครื่องแจ้งราคาตามที่ตลาดใช้กันอยู่ ตั้งชื่อว่า “ยูนิเวอร์แซลปริ๊นเตอร์” ปรากฏว่าเครื่องนี้ทำเงินให้เขาได้ถึง 40000 

    ดอลลาร์ ซึ่งนับว่าเป็นเงินมหาศาลขนาดที่ในชีวิตของเขาไม่เคยได้พบมาก่อน ด้วยเงินจำนวนนี้ เอดิสันจึงสามารถเปิดร้านจำหน่ายเครื่องประดิษฐ์ต่างๆ ที่เขาคิดจัดทำขึ้นได้แห่งหนึ่งที่นิวเจอร์ซี ร้านของเขาเป็นทั้งที่จำหน่ายและโรงงานในตัวเสร็จ มีคนงานนับร้อยคน

                ตามสมุดบันทึกของเขา แสดงรายการเครื่องประดิษฐ์ของเขาจำนวนนับไม่ถ้วน แหละปรากฏว่าได้ผ่านการทดลองมาก็หลายชนิด และมีครั้งหนึ่งที่เขาได้คิดเครื่องโทรศัพท์ของเขาขึ้น แต่ก็เป็นภายหลังที่เครื่องโทรศัพท์แบบเบลมีอยู่ก่อนแล้ว เอดิสันยังคงยกย่องให้เกียรติแก่เครื่องโทร

    ศัพท์ของเบลอยู่เสมอ แม้ว่าเขาจะเป็นผู้ปรับปรุงให้เครื่องโทรศัพท์ของเบลซึ่งเดิมใช้ได้ในระยะใกล้ๆ ให้ขยายพูดออกไปได้ระยะไกลๆ ก็ตาม และนับว่าเครื่องโทรศัพท์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ ก็

    เป็นเครื่องที่ประดิษฐ์ขึ้นตามแบบฉบับของเอดิสันทั้งสิ้น และเครื่องโทรศัพท์ที่เอดิสันคิดขึ้นนี้ สามารถทำเงินให้เขามหาศาลเลยทีเดียว

                ผลงานประดิษฐืของเอดิสันที่นับว่ายอดเยี่ยม และเป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลกคือ “หลอดไฟฟ้า” ซึ่งในขั้นแรกเขาใช้ใยไม้ไผ่ทำไส้ภายในหลอดทั้งสิ้น แต่สามารถจะให้แสงสว่าง และมีคุณประโยชน์แก่โลกในยุคนั้นอยู่มาก เอดิสันได้เปิดโรงงานจ่ายกระแสไฟฟ้าของเขาขึ้นที่ถนน 65 ในกรุงนิวยอร์ก

                กล่าวได้ว่าในชั่วชีวิตของเขา เขาได้ประดิษฐ์สิ่งที่เป็นสินค้าออกมาสู่โลก และทำการจดทะเบียนลิขสิทธิ์นับได้เป็นพันๆ ชนิด ซึ่งไม่มีนักประดิษฐ์หรือนักวิทยาศาสตร์คนใดสามารถจะลบสถิติของเขาได้

                โธมัส แอลวา เอดิสัน มีภรรยาด้วยกัน 2 คน คนแรกคือ แมรี สติลเวลล์ มีบุตรด้วยกัน 3 คน ต่อมานางแมรีถึงแก่กรรมที่เมืองเมนโลปาร์ค เขาจึงย้ายไปอยู่เมืองออเร้นซ์ รัฐนิวเจอร์ซี และได้แต่งงานใหม่กับนางไมนา มิลเลอร์ เมื่อปี ค.ศ. 1886

                เขาถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1931 คำนวณอายุได้ 84 ปี หลังจากนั้นได้มีการสร้างหอเป็นที่ระลึกถึงเขาที่เมนโลปาร์ค ปัจจุบันนี้ ห้องทดลองของเขาที่ เฮนรี่ ฟอร์ด มหาเศรษฐีอเมริกาได้ซื้อไว้ มีจำนวนคนและนักวิทยาศาสตร์รวมทั้งนักประดิษฐ์ นับเป็นจำนวนพันๆคนปฏิบัติงาน 

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×