ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ห้องเก็บของนานาสาระ (=w=)

    ลำดับตอนที่ #38 : พันธะเคมี

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 259
      0
      2 ก.ค. 52



    ความหมาย 
              แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมภายในโมเลกุลหรือระหว่างโมเลกุลด้วยกันเอง พันธะเคมีสามารถแบ่งได้หลายประเภท เช่น พันธะโควาเลนต์   พันธะโคออดิเนทโควาเลนต์   พันธะโลหะ   พันธะไอออนิก  พันธะไฮโดรเจน ฯลฯ

     
    พันธะเคมี     แบ่งเป็น 3 ชนิด ดังนี้

    1.           พันธะโคเวเลนต์ (covalent bond)
    เกิดจากการใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน (share) ของอะตอมธาตุอโลหะ เพื่อทำให้อะตอมแต่ละอะตอมมีมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนครบแปด หรือเหมือนแก๊สเฉื่อย
    อะตอมที่ใช้อิเล็กตรอนร่วมกันเรียกว่า อะตอมคู่ร่วมพันธะ
    ถ้าอะตอมคู่ร่วมพันธะใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน  1  คู่จะเกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์ที่เรียกว่า พันธะเดี่ยว  เช่น ในโมเลกุลของไฮโดรเจน
    ถ้าอะตอมคู่ร่วมพันธะใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน  2  คู่จะเกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์ที่เรียกว่า พันธะคู่  เช่น ในโมเลกุลของออกซิเจน
    ถ้าอะตอมคู่ร่วมพันธะใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน  3 คู่จะเกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์ที่เรียกว่า พันธะสาม เช่น ในโมเลกุลของไนโตรเจน

    2.      พันธะไอออนิก (Ionic bond) คือ พันธะที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากแรงดึงดูดทางไฟฟ้าสถิตระหว่างไอออนบวก (cation) และไอออนลบ (anion)  อันเนื่องมาจากการถ่ายโอนอิเล็กตรอน จากโลหะให้แก่

    อโลหะโดยทั่วไปแล้วพันธะไอออนิกเป็นพันธะที่เกิดขึ้นระหว่างโลหะและอโลหะ ทั้งนี้เนื่องจากว่าโลหะมีค่าพลังงานไอออไนเซชัน (ionization energy) ต่ำ แต่อโลหะมีค่าสัมพรรคภาพอิเล็กตรอน
     
    (electron affinity) สูง ดังนั้นโลหะจึงมีแนวโน้มที่จะให้อิเล็กตรอน และอโลหะมีแนวโน้มที่จะรับอิเล็กตรอน เช่น เมื่อโลหะเสียอิเล็กตรอนก็จะกลายเป็นไอออนบวก
    อโลหะเมื่อรับอิเล็กตรอนก็จะกลายเป็นไอออนลบ                                                                            

                จะพบว่าพันธะไอออนิกมีแรงยึดเหนี่ยวที่เกิดในสาร  โดยที่อะตอมของธาตุที่มีค่าพลังงานไอออไนเซชันต่ำ ให้เวเลนต์อิเล็กตรอนแก่อะตอมของธาตุที่มีค่าพลังงานไอออนไนเซชันสูง  กลายเป็นไอออนที่

    มีประจุบวกและประจุลบ  เมื่อไอออนทั้งสองเข้ามาอยู่ใกล้กันจะเกิดแรงดึงดูดทางไฟฟ้าที่แข็งแรงระหว่างประจุไฟฟ้าตรงข้ามเหล่านั้น  ทำให้ไอออนทั้งสองยึดเหนี่ยวกันด้วย พันธะเคมีที่เรียกว่า  “พันธะไอออนิก”

                ตัวอย่างเช่น  โครงสร้างของผลึกโซเดียมคลอไรด์เป็นของแข็ง  รูปลูกบาศก์  ใสไม่มีสีในผลึก  มีโซเดียมไอออนสลับกับคลอไรด์ไอออน  เป็นแถว ๆ ทั้งสามมิติ มีลักษณะคล้ายตาข่าย โดยที่แตละไอออนจะมีไอออนต่างชนิดล้อมรอบอยู่  6  ไอออน                         

                เนื่องจากโลหะมีค่าพลังงานไอออไนเซชันต่ำ  และอโลหะมีค่าพลังงานไอออไนเซชันสูง  ดังนั้นพันธะไอออนิกจึงเกิดระหว่างธาตุโลหะ  และอโลหะได้ดี  กล่าวคือ  อะตอมของโลหะให้เวเลนต์

    อิเล็กตรอนกับอะตอมของอโลหะ  แล้วเกิดไอออนบวกของโลหะ และไอออนลบของอโลหะ  ไอออนทั้งสองจะส่งแรงดึงดูดระหว่างประจุบวกและลบ  เกิดเป็นพันธะไอออนิก  และการที่โลหะให้เวเลนต์

    อิเล็กตรอนแก่อโลหะ เพื่อปรับให้มีเวเลนต์อิเล็กตรอนเป็นแปด  แบบแก๊สเฉื่อย  ส่วนอโลหะรับเวเลนต์อิเล็กตรอนมานั้นก็เพื่อปรับตัวเองให้

    เสถียรแบบแก๊สเฉื่อยเช่นกัน  ไอออนบวกกับไอออนลบจึงดึงดูดกันด้วยแรงดึงดูดระหว่างประจุไฟฟ้าเกิดเป็นสารประกอบไอออนิก (Ionic  compound)                                                                  

    3.           พันธะโลหะ (Metallic bond) หมายถึง แรงยึดเหนี่ยวที่ทำให้อะตอมของโลหะ อยู่ด้วยกันในก้อนของโลหะ โดยมีการใช้เวเลนต์อิเล็กตรอนร่วมกันของอะตอมของโลหะ โดยที่

    เวเลนต์อิเล็กตรอนนี้ไม่ได้เป็นของอะตอมหนึ่งอะตอมใดโดยเฉพาะ เนื่องจากมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา ทุกๆอะตอมของโลหะจะอยู่ติดกันกับอะตอมอื่นๆ ต่อเนื่องกันไม่มีที่สิ้นสุด จึง

    ทำให้โลหะไม่มีสูตรโมเลกุล ที่เขียนกันเป็นสูตรอย่างง่าย หรือสัญลักษณ์ของธาตุนั้นเอง



    สมบัติทั่วไปของโลหะ                                                    
     
    1.      โลหะเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี เพราะอิเล็กตรอนเคลื่อนที่ได้ง่าย
    2.      โลหะมีจุดหลอมเหลวสูง เพราะเวเลนต์อิเล็กตรอนของอะตอมทั้งหมดในก้อนโลหะยึดอะตอมไว้อย่างเหนียวแน่น
    3.      โลหะสามารถตีแผ่เป็นแผ่นบางๆได้ เพราะมีกลุ่มเวเลนต์อิเล็กตรอนทำหน้าที่ยึดอนุภาคให้เรียงกันไม่ขาดออกจากกัน
    4.      โลหะมีผิวเป็นมันวาว เพราะกลุ่มอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่โดยอิสระมีปฏิกิริยาต่อแสง จึงสะท้อนแสงทำให้มองเห็นเป็นมันวาว                                                                           
    5.      สถานะปกติเป็นของแข็ง ยกเว้น Hg เป็นของเหลว             
    6.      โลหะนำความร้อนได้ดี เพราะอิเล็กตรอนอิสระเคลื่อนที่ได้ทุกทิศทาง                                                                   





    อ้างอิง                                                                        
    http://th.wikipedia.org/wiki/
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×