ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ห้องเก็บของนานาสาระ (=w=)

    ลำดับตอนที่ #37 : การทดสอบความเข้ากันได้ที่ต้องทำก่อนมีการให้เลือด

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 432
      1
      2 ก.ค. 52

    การทดสอบความเข้ากันได้ที่ต้องทำก่อนมีการให้เลือด

    1 - การตรวจหาหมู่เลือด ทั้งของผุ้รับ (Receipt) และผู้ให้ (Donor) ประกอบด้วย
    - Cell grouping หรือ Direct grouping
    คือการเอาเม็ดเลือดแดงที่ต้องการทดสอบมาทำปฏิกริยากับซีรั่มมาตรฐานที่มี Anti-A และซีรั่มมาตรฐาน
    ที่มี anti-B อยู่ มาผสมกันและดูการจับกลุ่มของเม็ดเลือดแดงในซีรั่มทั้งสองชนิด

    - Serum grouping หรือ Indirect grouping เป็นการตรวจหา anti-A และ Anti-B ในซีรั่ม โดย
    การตรวจกับเม็ดเลือดแดงที่ทราบหมู่ที่แน่นอนทั้งหมู่ A, B , O ควรทำไปพร้อมกับแบบ cell grouping
    เพื่อเพิ่มการยืนยันหมู่เลือด ป้องกันการผิดพลาด

    เมื่อนำข้อมมูลการทดสอบทั้งวิธี cell grouping และ serum grouping มาแปลผลควรได้ผลตรงกัน
    ตามตารางดังต่อไปนี้

    Cell grouping
    เม็ดเลือดทดสอบมาผสมกับ Serum grouping
    ซีรั่มไม่ทราบหมู่ผสมกับ การแปลผลหมุ่เลือด 

    Anti-A
    (สีฟ้า) Anti-B
    (สีเหลือง) Cell gr.A Cell gr.B Cell gr.O 

    + - - + - หมู่เลือด A
    - + + - - หมู่เลือด B
    + + - - - หมู่เลือด AB
    - - + + - หมู่เลือด O

    หมายเหตุ + หมายถึงมีการจับกลุ่มของเม็ดเลือดแดง / - หมายถึงไม่มีการจับกลุ่มของเม็ดเลือดแดง

    2. การตรวจความเข้ากันได้ของเลือดผู้รับและเลือดผู้ให้ (Cross matching)

    ถึงแม้ว่าการหาหมู่เลือดจากข้อ 1 พบว่าเป็นหมู่เลือด ABO หมู่เดียวกันแล้วก็ตาม แต่ก่อนการให้เลือด (Blood
    transfusion) ก็จำเป็นต้องทำ Cross matching หรือ compatibility test อีก เพราะผู้รับอาจมี
    แอนติบอดีย์ต่อหมู่เลือดอื่นที่เราไม่ได้ทำการทดสอบ โดยเฉพาะผู้ที่เคยได้รับเลือดมาแล้วหรือหญิงที่ผ่านการ
    คลอดบุตรมาแล้ว การทำการทดสอบประกอบด้วย

    - Major cross matching
    คือการทดสอบระหว่างเม็ดเลือดแดงของผู้ให้(Donor) กับซีรั่มของผู้รับ (Receipt)
    เพื่อตรวจหาว่าในซีรั่มของผู้รับมีแอนติบอดีย์ต่อแอนติเจนบนเม็ดเลือดแดงของผู้ให้ที่นอกเหนือไปจาก
    ABO antigen หรือไม่

    - Minor cross matching
    คือการทดสอบระหว่างซีรั่มของผู้ให้(Donor) กับเม็ดเลือดแดงของผู้รับ (Receipt)
    เพื่อตรวจว่าในซีรั่มของผู้ให้มีแอนติบอดีย์ต่อแอนติเจนบนเม็ดเลือดแดงของผู้รับนอกเหนือไปจากระบบ
    ABO antigen หรือไม่

    เลือดที่จะนำมาให้ผู้รับได้จะต้องไม่เกิดการจับกลุ่ม ตกตะกอน (hemaglutination) ใดๆ
    ทั้งสิ้นทั้งในส่วนของ major และ minor cross matching
    (นอกจากนั้นยังต้องมีการตรวจความปลอดภัยของเลือดที่จะให้อื่นๆอีกด้วยเช่น ต้องไม่มี
    เชื้อไวรัสตับอักเสบ บี / ซี เชื้อไวรัสเอดส์ กามโรค VDRL อื่นๆที่อาจติดต่อได้เป็นต้น)

    - Indirect Coombs' test
    แม้ว่าจะไม่มีการจับกลุ่มของเม็ดเลือดแดงในการทำ cross matching แล้วก็ตาม ก็ยังมิได้หมายความว่า
    ในซีรั่มของผู้รับและในซีรั่มของผู้ให้จะไม่มีแอนติบอดีย์ดังกล่าวอย่างแน่นอน เพราะแอนติบอดีย์อาจเป็น
    ชนิดที่ไม่สามารถทำให้เม็ดเลือดแดงจับกลุ่มก็ได้ 

    สำหรับการทดสอบนี้เป็นการทดสอบเพื่อหา incomplete antibody ต่อแอนติเจนบนเม็ดเลือดแดง (ที่จะ
    ให้) ในซีรั่มของผู้รับ ด้วยการเอาซีรั่มผู้รับมาทำปฏิกริยากับเม็ดเลือดแดงของผู้ให้ก่อน ล้างเม็ดเลือดแดงที่
    อบเข้าด้วยกันแล้ว นำมาเติม Coombs' reagent ลงไป ถ้ามีการจับกลุ่มของเม็ดเลือด แสดงว่าในซีรั่ม

    ผู้รับมี incomplete antibody ต่อแอนติเจนบนเม็ดเลือดแดงที่จะให้ หมายความว่าเลือดนั้นไม่เหมาะสม
    ที่จะใช้เลือดดังกล่าวได้ 


    --------------------------------------------------------------------------------


    Immunological disease จากการได้รับเลือด

    ปฏิกริยาจากการได้รับเลือด (transfusion reaction) เป็นปฏิกริยาผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้จากการได้รับเลือด
    สามารถแบ่งอาการที่เกิดขึ้นได้เป็น 2 พวกใหญ่ๆคือ

    - ปฏิกริยาทางภูมิคุ้มกันวิทยา Immune reaction
    - ปฏิกริยาที่ไม่ได้เกิดจากภูมิคุ้มกันวิทยา non immune reaction

    ปฏิกริยาทางภูมิคุ้มกันวิทยา Immune reaction สามารถแบ่งย่อยอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นได้เช่น

    1. Intravascular (major) hemolysis

    มักเกิดจากการให้เลือดผิดหมู่ของระบบ ABO ( ABO incompatibility) ทำให้เกิด agglutination
    การจับกลุ่มตกตะกอน และเกิด lysis การแตกของเม็ดเลือดแดงที่ให้เข้าไป การจับกลุ่มของเม็ดเลือดแดง
    ทำให้เกิดการอุดตันที่เส้นเลือดฝอยในอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย และปฏิกริยา antigen-antibody 

    complex ทำให้เกิดการจับตัวของเกล็ดเลือด ทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือดทั่วร่างกาย ปฏิกริยาต่างๆข้าง
    ต้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้รับเลือดมักจะเกิดอาการขึ้นในขณะที่กำลังได้รับเลือดอยู่ อาการที่เริ่มปรากฏให้เห็น
    เป็นไข้ หนาวสั่น ร่วมกับมีอาการที่รุนแรงคือ แน่นและเจ็บหน้าอก ปวดหลัง ปวดขา เขียว ปัสสาวะไม่ออก
    ช็อค เลือดออกง่าย อาการตัวเหลืองตาเหลือง

    2. Extravascular hemolysis

    เป็นปฏิกริยาที่พบได้เมื่อให้เลือดหมู่ Rh +ve ให้กับคนที่เป็นหมู่เลือด Rh -ve ที่มี anti-Rh antibody
    อยู่แล้ว มักไม่รุนแรงถึงขั้น intravascular hemolysis เพราะ Rh antibody ไม่สามารถกระตุ้นระบบ
    คอมพลีเม้นท์ได้ การทำลายเม็ดเลือดแดงที่ให้เข้าไปเกิดจาก macrophage ในม้ามและตับ ผู้ที่ได้รับเลือด
    ผิดกลุ่มเข้าไปจะมีอาการซีดเหลืองอย่างเห็นได้ชัด หลังจากได้รับเลือดผิดไปแล้วนานประมาณ 4-14 วัน

    3. Anaphylaxis
    พบได้ใน atopic person เกิดจากการแพ้สารบางอย่างที่มีอยู่ในเลือดของผู้ให้ ไม่ได้เกิดจากการให้เลือด
    ผิดหมู่ อาการมักไม่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

    4. Febrile reaction
    อาการไข้ที่เกิดขึ้นจากการให้เลือด อาจพบร่วมใน intravascular hemolysis ที่ได้กล่าวมาแล้ว หรืออาจ
    เกิดจากแบคทีเรียหรือ pyrogen ปะปนอยู่ในเลือดที่ให้ แต่สาเหตุที่สำคัญอีกอย่างที่ต้องคำนึงถึงก็คือ ผู้รับ
    มีแอนติบอดีย์ต่อ human leukocyte antigen หรือ human platelet antigen (เกิดปฏิกริยาแพ้ต่อ

    เม็ดเลือดขาว หรือ เกล็ดเลือด ในเลือดของผู้ให้) ซึ่งมักพบได้ในคนที่เคยได้รับการถ่ายเลือดบ่อยมาหลายครั้ง
    แล้ว หรือพบในคนที่ผ่านการคลอดลูกมาหลายครั้ง อาการที่พบได้มักเป็นแค่มีอาการหนาวสั่น และอาการไข้
    เท่านั้น

    5. Anti-IgA reaction
    คนที่เป็น selective IgA deficiency หรือบางรายของ hypogamaglobulinemia อาจสร้าง
    anti-IgA antibody ขึ้นได้ เมื่อได้รับเลือดที่มี IgA จากการได้รับในครั้งแรกจะยังไม่เกิดอาการ แต่เมื่อได้
    รับในครั้งต่อไปจึงจะแสดงอาการขึ้น ในบางรายอาจเกิดอาการเพียงคล้ายลมพิษ (urticaria) แต่ในบางราย
    อาจเกิดถึงขั้น anaphylactic shock ถึงขั้นเสียชีวิตได้

    6. Graft versus host reaction
    การให้เลือดแก่คนที่มีเม็ดเลือดขาวชนิด lymphocyte น้อยหรือในคนที่มี immunodeficiency viable
    lymphocyte ที่ติดเข้าไปกับเลือด อาจทำให้เกิดลักษณะ graft versus host reaction ขึ้นได้



    - ปฏิกริยาที่ไม่ได้เกิดจากภูมิคุ้มกันวิทยา non immune reaction

    1. Acute bacterial infection
    เชื้อแบคทีเรีย แกรมลบบางชนิด เช่น pseudomonas, achromobactor, coliform สามารถเจริญได้
    ในที่อุณหภูมิต่ำที่ใช้เก็บเลือด การให้เลือดที่มีเชื้อแบคทีเรียเหล่านี้อยู่จะทำให้ผู้ได้รับเลือดเกิดอาการของ
    endotoxin shock ได้

    2. Infectious disease
    โรคติดเชื้อบางชนิดที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการได้รับเลือดเช่น serum hepatitis (ตับอักเสบ บี / ซี),
    cytomegalovirus, mononucleosis, malaria, syphilis, brucellosis เป็นต้น ปัจจุบันได้มี
    การตรวจคัดกรองโรคติดต่ออันตรายที่พบได้บ่อยก่อนการให้เลือด เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้รับเลือด
    เช่น HIV, Hepatitis, Syphilis เป็นต้น

    3. Post transfusion pulmonary insufficiency
    เลือดที่เก็บไว้นานๆ (ปกติเลือดที่เจาะตอนบริจาคโลหิต จะใส่ในถุงหรือขวดที่มีน้ำยาป้องกันการแข็งตัวของ
    เลือดอยู่ หลังจากเจาะแล้วจะมีอายุในการให้เลือดนานประมาณ 21 วัน แต่เลือดยิ่งนานออกไปก็จะสู้เลือดที่ได้
    มาใหม่ไม่ได้) fibrin, leukocyte, platelet อาจเกาะกันเป็นก้อนเล็กๆ (microaggregates) เมื่อให้

    เข้าไปในร่างกาย ก้อนๆเหล่านั้นอาจไปอุดตันที่บริเวณเส้นเลือดฝอย small arteriole และ capillary ใน
    ปอด จะไปขัดขวาง alveolar-capillary diffusion ทำให้เกิดอาการ hypoxia ได้ 







    http://www.vcharkarn.com


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×