ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ห้องเก็บของนานาสาระ (=w=)

    ลำดับตอนที่ #16 : การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 119
      0
      20 พ.ค. 52

    การใช้หม้อหุงข้าวไฟฟ้า
     
    1.   เลือกใช้ขนาดที่เหมาะสมกับครอบครัว   
    สมาชิก 1 - 2 คนใช้ขนาด 0-3 -1.0 ลิตร         
    สมาชิก 3 - 6 คน ใช้ขนาด 1. 0 - 1.5 ลิตร       
    สมาชิก 5 - 8 คน ใช้ขนาด 1.6 - 2.0 ลิตร        
    2.   ไม่ควรใช้เวลาในการอุ่นข้าวให้นานเกินควร       
    3.   ถอดปลั๊กทันทีที่เลิกใช้งาน          
    4. อย่าเปิดฝาหม้อในขณะที่ข้าวยังไม่สุก เพราะจะสูญเสียความร้อน หม้อหุงข้าวทำงานนานยิ่งขึ้น สิ้นเปลืองไฟ
     
     
    การใช้พัดลม
     
    1. พิจารณาตามความต้องการและสถานที่ที่ใช้ เช่น ถ้าใช้เพียงคนเดียว หรือ ไม่เกิน 2 คน ควรใช้พัดลมตั้งโต๊ะ     
    2.  อย่าเสียบปลั๊กทิ้งไว้ โดยเฉพาะพัดลมที่มีระบบรีโมทคอนโทรล เพราะจะมี ไฟฟ้าไหลเข้าตลอดเวลาเพื่อหล่อเลี้ยงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
    3. ควรเลือกใช้ความแรงหรือความเร็วของลมให้เหมาะสมกับความต้องการและสถาน ที่ เพราะหากความแรงของลมมากขึ้นจะใช้ไฟฟ้ามากขึ้น
    4. เมื่อไม่ต้องการใช้พัดลมควรรีบปิด เพื่อให้มอเตอร์ได้มีการพักและไม่เสื่อมสภาพ เร็วเกินไป
    5. ควรวางพัดลมในที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก เพราะพัดลมใช้หลักการดูดอากาศบริเวณรอบๆ ทางด้านหลังของตัวใบพัด แล้วปล่อยออกสู่ด้านหน้า เช่น ถ้าอากาศบริเวณรอบ พัดลมอับชื้น ก็จะได้ในลักษณะลมร้อนและอับชื้นเช่นกัน นอกจากนี้มอเตอร์ยังระบายความ ร้อนได้ดีขึ้น ไม่เสื่อมสภาพเร็วเกินไป
     
     
    การใช้เครื่องทำน้ำอุ่น
     
    1. ควรพิจารณาเลือกเครื่องทำน้ำอุ่นให้เหมาะสมกับการใช้เป็นหลัก เช่น ต้องการ ใช้น้ำอุ่นเพื่ออาบน้ำเท่านั้นก็ควรจะติดตั้งชนิดทำน้ำอุ่นได้จุดเดียว
    2. ควรเลือกใช้ฝักบัวชนิดประหยัดน้ำ (Water Efficient Showerhead)เพราะ สามารถประหยัดน้ำได้ถึงร้อยละ 25-75                       
    3. ควรเลือกใช้เครื่องทำน้ำอุ่นที่มีถังน้ำภายในตัวเครื่องและมีฉนวนหุ้ม เพราะ สามารถลดการใช้พลังงานได้ร้อยละ 10-20  
    4. ควรหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้า ชนิดที่ไม่มีถังน้ำภายใน เพราะจะทำให้สิ้น เปลืองการใช้พลังงาน
    5. ปิดวาล์วน้ำและสวิตซ์ทันทีเมื่อเลิกใช้งาน
     
     
    การใช้เครื่องปั๊มน้ำ
     
    1. เลือกซื้อเครื่องปั๊มน้ำที่มีถังความดันของเครื่องปั๊มน้ำขนาดใหญ่พอสมควร เพราะถ้าเล็กเกินไปสวิตช์อัตโนมัติจะทำงานบ่อยขึ้น มอเตอร์ทำงานมากขึ้นสิ้นเปลืองไฟ   
    2.   ควรสร้างบ่อพักน้ำไว้ระดับพื้นดิน           
    3. หมั่นดูแลท่อน้ำประปาและถังพักน้ำของชักโครกอย่าให้ชำรุดหรือรั่ว เพราะเมื่อมีรอยรั่วความดันลดลง จะทำให้เครื่องปั๊มน้ำทำงานหนัก และบ่อยขึ้นสิ้นเปลืองไฟ    
    4. ปิดก๊อกน้ำให้สนิททุกครั้ง น้ำหยดหรือรั่วเพียงเล็กน้อยติดต่อกันนานๆก็ทำให้ปั๊มน้ำเดินเครื่องได้
     
     
    การใช้เครื่องซักผ้า
     
    1.            แช่ผ้าก่อนเข้าเครื่อง เพราะสิ่งสกปรกจะออกง่ายขึ้น ลดการซักผ้าซ้ำ ไม่สิ้นเปลือง
    จำนวนผ้าที่จะซักให้เป็นไปตามพิกัดของเครื่อง อย่าใส่ผ้ามากเกินกำลังของเครื่อง หรือซักจำนวนน้อยเกินไป
    2. ไม่ควรใช้เครื่องซักผ้าแบบที่มีเครื่องอบแห้งด้วยไฟฟ้าในตัว เพราะสิ้นเปลืองไฟฟ้ามาก ควรตากผ้ากับแสงแดดหรือลมที่ถ่ายเทได้ดี 
    3.   ตั้งโปรแกรมที่ใช้น้ำร้อนเมื่อจำเป็นเท่านั้น เพราะใช้ไฟมาก        
    4.   ตั้งโปรแกรมการซักให้เหมาะสมกับชนิดของผ้าทุกครั้ง
     
     
    การใช้โทรทัศน์
     
    1.   โทรทัศน์สีที่มีขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายไฟฟ้ามาก      
    2. โทรทัศน์สีที่มี ระบบรีโมทคอนโทรลจะใช้ไฟฟ้ามากกว่าระบบทั่วไปขนาดเดียวกัน  เพราะมีวงจรเพิ่มและใช้ไฟฟ้าตลอดเวลาเมื่อยังเสียบปลั๊กอยู่ แม้ว่าจะไม่ใช่เครื่อง จึงควรปิดสวิตซ์ที่ตัวเครื่อง ไม่ปิด ด้วยรีโมทคอนโทรล          
    3. ไม่ควรเสียบปลั๊กทิ้งไว้
     
     
    การใช้เตารีด
     
    1. ควรตั้งอุณหภูมิให้เหมาสมกับชนิดผ้า และแบ่งผ้าชนิดเดียวกันไว้ด้วยกันเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการปรับเปลี่ยนการตั้งอุณหภูมิบ่อยครั้ง
    2.   ควรรวบรวมผ้าไว้รีดคราวละมากๆและพรมน้ำ ให้หมดทุกตัว ก่อนจะรีดผ้าและรีดต่อกันจนเสร็จ
    3. อย่าพรมน้ำจนเปียกเพราะจะทำให้ต้องรีดผ้านานกว่าเดิมสิ้นเปลื้องไฟฟ้า ควรถอดปลั๊ก ก่อนเสร็จสิ้นการรีดประมาณ 2-3 นาที เนื่องจากยังมีความร้อนเหลือเพียงพอที่จะรีดผ้าที่รีดง่าย เช่นผ้าเช็ดหน้า ผ้าพันคอ          
    4.   เวลาตากผ้าควรจัดรูปทรงผ้าและดึงให้ตึง เพื่อให้เสื้อผ้ายับน้อยที่สุด จะทำให้รีดง่าย ลดเวลาในการรีด และประหยักไฟฟ้า
     
     
    การใช้เตาอบ
     
    1. ควรเตรีมอาหารที่จะอบหลายๆอย่างให้พร้อมในเวลาเดียวกันไม่ควรเปิดเตาบ่อยๆทำให้สูญเสียพลังงาน ขณะเปิดเตาประมาณร้อยละ 20           
    2.   ตั้งอุณหภูมิที่เหมาะสม อย่างตั้งสูงเกินไป ทำให้ใช้กระแสไฟฟ้ามาก สิ้นเปลืองไฟฟ้า
    3.   ถอดปลั๊กหลังเลิกใช้
     
     
    การใช้เตาไฟฟ้า
     
    1.            ไม่ควรเปิดเตาไฟฟ้ารอไว้นานเกินไป
    2. ใช้ภาชนะประกอบอาหารให้เหมาะสม ภาชนะควรมีก้นแบนราบ จะได้สัมผัสความร้อนได้ทั่วถึง ภาชนะจึงไม่ควรมีขนาดเล็กกว่าเตา เพราะจะสูญเสียพลังงานไปโดยเปล่าประโยชน์ ภาชนะควรมีฝาครอบปิดขณะหุง จะช่วยทำให้อาหารสุกเร็ว      
    3. ปิดสวิตซ์ไฟฟ้าก่อนเสร็จสิ้นการทำอาหาร
    4. ถอดปลั๊กออกทันที เมื่อเลิกใช้งาน
     
     
    การใช้กระติกน้ำร้อน
     
    1. ใส่น้ำให้พอเหมาะกับปริมาณที่ต้องการใช้ และถ้าจำเป็นต้องต้มน้ำต่อเนื่องระวังอย่าให้นำแห้ง
    2.   เมื่อเลิกใช้ควรถอดปลั๊กทันที       
    3. ไม่ต้มน้ำในห้องที่มีการปรับอากาศ เพราะไปเพิ่มความชื้นและความร้อนในห้อง ทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนัก สิ้นเปลืองไฟ  
    4. ไม่ควรนำน้ำที่มีความเย็นมากๆไปต้มทันทีจะสิ้นเปลืองไฟ          
    5. อย่าให้มีตะกรันเกาะด้านในตัวกระติกจะทำให้สิ้นเปลืองไฟในการต้มน้ำมากกว่าเดิม
    6.   ไม่นำสิ่งใดๆปิดช่องไอน้ำออก
     
     
    การใช้เครื่องทำน้ำอุ่น
     
    1. ควรเลือกชนิดที่มีที่เก็บความร้อน เพราะจะใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าแบบที่น้ำไหลผ่านขดลวดความร้อน
    2.    เลือกขาดของเครื่องให้เมาะสมกับครอบครัวและความจำเป็นในการใช้
    3.   ไม่เปิดเครื่องตลอดเวลา ในขณะฟอกสบู่อาบน้ำหรือขณะสระผม          
    4.    ปิดวาล์วและสวิตซ์ทันทีเมื่อเลิกใช้งาน  
    5.    ควรใช้เฉพาะวันที่มีอากาศเย็น หรือที่จำเป็นเท่านั้น
     
     
    การใช้เครื่องปรับอากาศ
     
    1.   เลือกขนาดที่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น ห้องที่มีความสูงไม่เกิน ๓ เมตรและมีพื้นที่ห้องขนาด ๑๓-๑๕ ตร.ม. ควรใช้ขนาด ๙๐๐๐ -๑๑๐๐๐บีทียู/ชั่วโมง เป็นต้น   
    2. ใช้เครื่องปรับอากาศที่มีปรับประสิทธิภาพสูงที่สุดซึ่งแสดงด้วยหน่วย EER (Enegy Efficiency Ratio) คือ อัตราส่วนระหว่างความสามารถในการให้ความเย็นของเครื่องต่อกำลังไฟฟ้า (บีทียู /ชั่วโมง/วัตต์)ซึ่งเครื่องที่มีค่า EER สูงจะให้ความเย็นมาก และเสียค่าใช้จ่ายมาก และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าเครื่องที่มีค่า EER ต่ำ          
    3. ตั้งอุณหภูมิระดับที่ร่างกายรู้สึกสบายโดยไม่ต่ำกว่า ๒๕ องศา และทุกอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น ๑ องศาจาก ๒๕ องศา จะประหยัดไฟได้ร้อยละ ๑๐ แต่ไม่ควรเกิน ๒๘ องศา เพราะจะไม่รู้สึก แต่ความจริงแล้วเครื่องยังทำงานอยู่   
    4.    หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ ไม่มีฝุ่นจับ เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพการทำความเย็นลดลง
    5.      เลือกใช้เครื่องปรับอากาศที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์๕
     
     
    การใช้ตู้เย็น
     
    1.    เลือกใช้ตู้เย็นที่มีสลากประหยัดไฟเบอร์ ๕ ใหม่ ๒๐๐๑ ซึ่งประหยัดกว่าเบอร์ ๕ เดิม ร้อยละ ๒๐         
    2.    เลือกใช้แบบที่มีฉนวนกันความร้อนชนิดโฟมฉีด           
    3.    ตู้เย็นแบบประตูเดียวประหยัดกว่าตู้เย็น 2 ประตูในขนาดที่เท่ากัน         
    4.    อย่าตั้งตู้เย็นใกล้แหล่งความร้อน 
    5. ควรตั้งห่างจากฝาผนังทั้งด้านหลังและด้านข้างไม่น้อยกว่า 15 ซ.ม. เพื่อมิให้มีการระบายความร้อนได้ดี
    6.   ควรตั้งอุณภูมิภานในตู้เย็น ๓-๖ องศา และในช่องแช่แข็งระหว่างลบ ๑๕-๑๘ องศา ถ้าตั้งไว้เย็นกว่าที่กำหนด ๑ องศา จะสิ้นเปลืองไฟเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๕      
    7.    อย่าเปิดตู้เย็นบ่อยหรือเปิดประตูค้างไว้นานๆ      
    8.    อย่านำของที่ยังมีความร้อนเข้าไปแช่       
    9.    ละลายน้ำแข็งสม่ำเสมอ  
     
     
    การใช้หลอดแสงสว่าง
     
    1.    ปิดไฟเมื่อไม่ใช้งาน         
    2.    หมั่นทำสะอาดหลอดแสงสว่างเท่าที่จำเป็น        
    3.    ใช้หลอดแสงสว่างเท่าที่จำเป็น   
    4.    สำหรับสถานที่ ที่ต้องเปิดไฟทิ้งไว้ตลอดทั้งคืน  ควรใช้หลอดคอมแพค ฟลูออเรสเซนต์
    5. บริเวณใดที่เคยใช้หลอดไส้ในการให้แสงสว่าง ควรเปลี่ยนมาเป็นหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์
    6. ใช้หลอดประหยัดพลังงาน เช่น หลอดผอม (หลอดฟลูออเรสเซนต์)ซึ่งประหยัดพลังงานมากกว่าหลอดไส้ ๔-๕เท่า และมีอายุการใช้งานนานกว่าหลอดไส้ ๘ เท่า
    7.    ใช้แสงธรรมชาติ แทนการเปิดหลอดไฟ เช่น ห้องครัว ห้องเก็บของ ห้องน้ำ ทางเดิน เป็นต้น
    8. ควรทาสีผนังห้องหรือเลือกวัสดุพื้นห้องที่เป็นสีอ่อนๆ เพื่อช่วยสะท้อนแสงสว่างภายในห้อง
     
     
     
     
     
     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×