ฟิสิกส์ยาก แต่เก็บคะแนนไม่ยาก - ฟิสิกส์ยาก แต่เก็บคะแนนไม่ยาก นิยาย ฟิสิกส์ยาก แต่เก็บคะแนนไม่ยาก : Dek-D.com - Writer

    ฟิสิกส์ยาก แต่เก็บคะแนนไม่ยาก

    คำแนะนำสำหรับการสอบฟิสิกส์ จากทีมงาน Superposition อันประกอบด้วย นักเรียนโอลิมปิกเหรียญทอง,นักเรียนทุนญี่ปุ่น,นักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง,วิศวะจุฬา,แพทย์จุฬาและแพทย์ศิริราช เพื่อน้องๆทุกคนโดยเฉพาะ : )

    ผู้เข้าชมรวม

    533

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    533

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    5
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  29 มี.ค. 55 / 10:20 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น

    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
         นักเรียนหลายๆคน อาจมีความคิดว่า วิชาฟิสิกส์ เป็นวิชาที่ยาก ทั้งเนื้อหาที่มีความยากอยู่แล้ว แถมโจทย์ข้อสอบก็ยิ่งยากเข้าไปอีก ทำให้นักเรียนส่วนใหญ่พยายามเลี่ยงการอ่านทบทวนวิชาฟิสิกส์ สู้ให้ไปเก็บคะแนนกับวิชาที่ง่ายอย่างชีววิทยาหรือเคมี ที่จำและเข้าใจง่ายกว่า นี่เป็นสิ่งที่พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ถ้าหากใครที่สามารถทำข้อสอบวิชาฟิสิกส์ได้ด้วยก็จะได้เปรียบใครอีกหลายๆคน และมีโอกาสที่จะพิชิตการสอบ Entrance ในทุกๆสนาม  แต่ปัญหาใหญ่ก็คือทำอย่างไรให้เก่งวิชาฟิสิกส์ ซึ่งจะนำมาซึ่งการเก็บคะแนนในวิชาฟิสิกส์ที่ง่ายดาย

       

                 จริงๆแล้ววิชาฟิสิกส์ยากก็จริงอยู่ แถมสูตรก็เยอะมาก แต่วิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่มีหลักตายตัวซึ่งเป็นที่มาของสูตรหลายๆสูตรที่ กล่าวไป ถ้าหากว่าเข้าใจหลักของมันก็จะสามารถทำโจทย์ แม้ยากก็ทำได้ ดังนั้นการจะเข้าใจหลักได้อย่างลึกซึ้งไม่ใช่เพียงแค่อ่านในหนังสือเท่านั้น แต่สิ่งที่สำคัญมากที่สุดคือการได้ลงมือทำโจทย์จริง โดยเริ่มจากทำโจทย์ง่ายๆก่อน ย้ำน่ะครับ!! ว่าให้เริ่มทำจากโจทย์ง่ายๆก่อน ทำให้ได้ทุกข้อจนคล่อง เพราะสิ่งที่ผู้ทำจะได้รับนอกจากความคล่องแล้วมันคือความมั่นใจในการทำโจทย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญ

       

                  จากนั้นเมื่อมั่นใจว่าตัวเองเข้าใจในหลักทางฟิสิกส์อย่างง่ายแล้ว ให้ลองทำโจทย์ที่ยากขึ้นกว่าเดิมอีก แต่ยังไม่ต้องยากมาก ถ้าทำไม่ได้ก็ไม่ต้องตกใจ ให้ใช้เวลานั่งคิดไปเรื่อยๆ (อย่าเพิ่งดูเฉลยน่ะครับ) คิดๆๆ จนกว่าจะเริ่มรู้สึกว่ายังไงก็คิดไม่ออก ให้เปิดดูเฉลยได้เลย สาเหตุที่ผมแนะนำให้คิดไปเรื่อยๆแม้จะคิดไม่ออกนั้น ก็เพราะเวลาที่เราเปิดเฉลยในข้อนั้น เราก็จะจำได้แม่นยำ แถมสิ่งที่ผู้ทำโจทย์จะได้จากการดูเฉลยในลักษณะนี้ คือ Sense ทางฟิสิกส์ ที่จะได้มาจากการฝึกทำโจทย์ที่ตัวเองทำไม่ได้นั่นเอง

       

                   เมื่อสามารถทำโจทย์ระดับนี้ได้จนคล่องแล้ว ก็ให้ทำโจทย์ที่ยากขึ้นไปอีก แล้วใช้วิธีการดังกล่าวคือข้อไหนที่คิดไม่ได้ก็ให้คิดๆๆไปเรื่อยๆอย่าเพิ่ง รีบดูเฉลย เพราะสุดท้ายไม่ว่าจะคิดออกหรือไม่ออกก็ตามโจทย์ข้อนั้นมันก็จะฝังลึกอยู่ใน สมอง และทำให้เราได้รับแนวคิดทางฟิสิกส์ใหม่ๆเพิ่มขึ้นจากโจทย์ข้อนั้นๆนั่นเอง แน่นอนว่า โจทย์ฟิสิกส์เองก็ใช่ว่าจะมีหลากหลายมากมายขนาดนั้น เมื่อผู้ทำโจทย์ ทำโจทย์ไปเรื่อยๆก็จะพบว่าจริงๆแล้วโจทย์ฟิสิกส์ มันก็มีหลักอยู่แค่นั้นเอง แค่ปรับเปลี่ยนให้พิสดารขึ้นเท่านั้นเอง

       

                   แต่นั่นจะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป ถ้าหากผู้ทำมีประสบการณ์จากทั้งโจทย์ง่ายและโจทย์ยากมาก่อนแล้ว ถึงจุดนี้คุณก็จะรู้สึกรักวิชาฟิสิกส์และเริ่มรู้สึกว่าจริงๆแล้วฟิสิกส์ เป็นวิชาที่สนุก และมีความสวยงามในตัวของมันเองรวมถึง เป็นวิชาที่ถ้าคุณเก่งแล้ว ก็ไม่ต้องอ่านมากเหมือนวิชาชีววิทยาหรือเคมี ที่มีเนื้อหาค่อนข้างเยอะและมีโอกาสลืมสูง เพราะวิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่ไม่เน้นความจำแต่เน้นความเข้าใจและความเอาใจใส่ ในโจทย์เท่านั้นเอง นี่จะทำให้คุณประหยัดเวลาในการเตรียมสอบได้เยอะมาก เห็นไหมครับว่าถ้าคุณเก่งฟิสิกส์ คุณก็จะเหมือนมาเหนือเมฆ เพราะจะได้เปรียบใครหลายๆคนเลยทีเดียว

       

       

      นาย ตุลยวัต อังคะนาวิน

      เหรียญเงินอันดับที่ 2 การเเข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระดับชาติครั้งที่ 10

      ทีมงาน Superposition(www.facebook.com/superpositonteam)

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×