ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Pesiaria’Library :: หอสมุดแห่งพีเซียเรีย

    ลำดับตอนที่ #5 : Legend of Flowers :: ตำนานดอกเดซี่

    • อัปเดตล่าสุด 3 เม.ย. 56


     

    Legend of Flowers

    :: Legend of Daisy ::
    ตำนานดอกเดซี่
     

    หมวดหนังสือ : Legend of Flowers {ตำนานแห่งหมู่มวลดอกไม้}

    เลขที่หนังสือ : 005

    อ้างอิง : Daisy


     
    ชื่อสามัญเดซี่
    ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Bellis perennis
    ถิ่นกำเนิดทวีปยุโรป และเอเชียไมเนอร์
    ความหมาย : สำหรับคุณที่ไร้เดียงสา


    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับดอกเดซี่

    ดอกไม้ที่แทนความบริสุทธิ์ ไร้เดียงสา แสดงถึงความบริสุทธิ์ใจต่อกัน เป็นตัวแทนความรักอันซื่อสัตย์และภักดี เดซี่มีถิ่นกำเนิดในทวีปยุโรป และเอเชียไมเนอร์ โดยนักพฤกษาวิทยารู้จักและพบครั้งแรกที่ตำบลเล็ก  ในประเทศเม็กซิโก เป็นสัญลักษณ์แทนหัวใจอันบริสุทธิ์และไร้เดียงสา โดยหญิงสาวที่ตกอยู่ในห้วงแห่งความรักมักจะใช้ดอกเดซี่มาเด็ดกลีบเพื่อทำนายรัก...นอกจากนี้เป็นดอกไม้ประจำชาวราศีเมษด้วย

    เดซี่เป็นดอกหญ้าชนิดหนึ่ง ขยายพันธุ์ได้เร็วมาก พบได้ตามสนามหญ้าที่พบส่วนใหญ่จะมีกลีบสีขาว   เกสรสีเหลือง บานในช่วงเช้าเท่านั้นชาวอังกฤษเรียกเดซี่ว่า “เดส์ อาย” (Day’s Eye)หรือที่แปลว่า ดวงตาของกลางวัน และเรียกเพี้ยนมาเรื่อยๆ จนเป็นเดซี่   ในสมัยก่อนชาวอังกฤษนิยมกินดอกเดซี่เพราะเชื่อว่าช่วยรักษาแผงพุพองในกระเพาะอาหารได้ กษัตริย์เฮนรี่ที่ 8 ทรงนิยมเป็นอย่างมากนอกจากนี้การดื่มไวน์ที่หมักจากดอกเดซี่นานติดกัน 15 วันเชื่อว่าจะรักษาอาการทางจิตได้ความเชื่อเกี่ยวกับดอกเดซี่ที่มีต่อดวงตานั้นยังมีในตำนานของชาวโรมันว่า เวอร์ทัมมัสเป็นเทพเจ้าแห่งไม้ดอกและไม้ผลได้ตกหลุมรักนางไม้ชื่อเบลิเดสเข้าอย่างจังแต่นางไม้เบลิเดสไม่รักตอบจึงคอยหลบเทพเวอร์ทัมมัส วันหนึ่งนางไม้เบลิเดสเต้นระบำอยู่กับเพื่อนๆที่ชายป่าแห่งหนึ่งก็ได้พบกับลูกแก้วสีเหลืองใสตกอยู่ซึ่งก็คือดวงตาของเทพเวอร์ทัมมัสนี่เอง นางไม้เบลิเดสจึงเก็บซ่อนไว้กับตัวเพื่อไม่ให้เวอร์ทัมมัสตามตนเจอหลังจากซ่อนลูกตานั้นกับตัว นางก็กลายร่างเป็นดอกไม้มีกลีบสีขาว หุ้มรอบดวงตาสีเหลืองที่เปรียบเป็นเกสรไว้ และขยายพันธุ์ออกมามากมายส่วนชื่อของนางไม้เบลิเดสถูกนำไปตั้งเป็นชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ

    เบลลิส  เพเรนนิส (Bellis Perennis)’

     ดอกเดซี่ยังถือเป็นสัญลักษณ์แทนพระกุมารเยซูและจะนำมาใช้คู่กับดอกลิลลี่ที่เป็นสัญลักษณ์ของพระแม่มารีในศาสนาคริสต์ชาวตะวันตกนิยมใช้ดอกเดซี่แทนพระกุมารเยซูตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 เนื่องจากกลีบดอกที่สีขาวสะอาดสื่อถึงความบริสุทธิ์ไร้เดียงสา เรียบง่าย ไม่ถือพระองค์นอกจากนี้ยังมีความเชื่อกันว่าขณะที่โหราจารย์บัลทาซาร์กาสปาร์ และเมลคีออร์เดินทางมานมัสการพระเยซูที่เพิ่งประสูติก็ได้พบดอกเดซี่กอหนึ่งขึ้นอยู่ใกล้กับคอกสัตว์ที่พระแม่มารีคลอดพระกุมารดอกเดซี่ดูคล้ายดวงตาที่นำทางมาที่หมู่บ้านเบธเลเฮมโหราจารย์ทั้งสามจึงรู้ทันทีว่าบัดนี้ได้มีบุคคลตามคำทำนายกำเนิดขึ้นแล้วความเชื่ออีกอย่างหนึ่งคือดอกเดซี่อาจเกิดจากน้ำตาของพระแม่มารีที่หลั่งออกมาเมื่อครั้งที่พระเยซูสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน  เนินหัวกะโหลกโกทานอกจากจะถูกนำมาเป็นสัญลักษณ์แล้วดอกเดซี่ยังใช้เป็นดอกไม้เสี่ยงรัก

    เริ่มขึ้นในสมัยวิกตอเรีย ซึ่งเป็นยุคที่อังกฤษเคร่งครัดศีลธรรมมากผู้หญิงห้ามแสดงออกจนเกินงาม สาวๆ ในยุคนั้นจึงไม่มีโอกาสจะได้รู้เลยว่าชายหนุ่มที่ตนหมายปองอยู่เค้าจะมีใจให้รึเปล่าจึงเสี่ยงทายจากดอกเดซี่โดยเด็ดที่ละกลีบพร้อมพูด รัก...ไม่รักสลับกันและกลีบสุดท้ายก็จะบอกเองว่ารักนี้จะสมหวังหรือไม่ แม้จะไม่มีการบันทึกว่าการทำนายแบบนี้ได้ผลหรือไม่แต่หญิงสาวส่วนมากก็ใช้วิธีนี้มาจนถึงปัจจุบัน

    ได้ชื่อว่าเป็นดอกแห่งความทรงจำในวัยเด็กของชาวตะวันตก ไม่ว่าจะนำดอกเดซี่มาทำเป็นสร้อยคอหรือสวมหัวเล่นนอกจากนั้นเด็กๆ ยังมีวิธีเล่นที่สื่อถึงความไร้เดียงสาน่ารัก คือการหลับตาหยิบดอกไม้ แล้วลืมตานับจำนวนดอกเดซี่ ซึ่งตัวเลขจำนวนนั้นจะถือว่าเป็นอายุก่อนที่จะแต่งงานและทำนายรัก..ไม่รักโดยการเด็ดกลีบของเดซี่ทีละกลับ ดอกเดซี่จึงหมายถึงความไร้เดียงสาและความบริสุทธิ์

    เดซี่ เป็นสัญลักษณ์ของความไร้เดียงสา  อ่อนน้อม  เรียบง่าย  และนุ่มนวลทั้งของผู้ให้และผู้รับ  และดอกเดซี่สีขาว ยังแทนความหมายของการแบ่งปันความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ

     ความหมายของดอกเดซี่สีต่างๆ

    ดอกเดซี่สีส้ม       มีความหมายว่า เธอคือแสงสว่างแห่งชีวิตฉัน
    ดอกเดซี่สีแดง       มีความหมายว่า ตกหลุมรักโดยไม่รู้ตัว
    ดอกเดซี่สีขาว        มีความหมายว่า ความไร้เดียงสา ความเที่ยงแท้

    ดอกเดซี่สีเหลือง    มีความหมายว่า ฉันจะพยามชนะใจเธอให้ได้

    :) Shalunla

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×