วงออร์เคสตรา
ออร์เคสตรา (orchestra) หรือ วงดุริยางค์ ในภาษาไทย เป็นคำศัพท์เกี่ยวกับดนตรี มีประวัติมาช้านาน และมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปตามยุคสมัย เพื่อสนองความต้องการของผู้ประพันธ์ในการถ่ายทอดความรู้สึกของดนตรีในแต่ละยุค วงออร์เคสตราเป็นวงดนตรีที่มีวิวัฒนาการเริ่มขึ้นราว ค.ศ.1600 ลักษณะที่สำคัญของวงออร์เคสตราคือ เป็นกลุ่มของนักดนตรี ที่เล่นเครื่องดนตรีหลักทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย เครื่องเป่าลมไม้ เครื่องลมทองเหลือง และเครื่องกระทบ โดยบรรเลงภายใต้การควบคุมของผู้อำนวยเพลง
ประวัติ
ออร์เคสตรา เป็นภาษาเยอรมัน ตามความหมายรูปศัพท์ หมายถึง สถานที่เต้นรำ ซึ่งหมายถึง ส่วนหน้าของโรงละครสมัยกรีกโบราณ ที่ใช้เป็นที่เต้นรำและร้องเพลง ของพวกนักร้องประสานเสียง สำหรับดนตรีตะวันตก ออร์เคสตรา มีความหมายถึง วงซิมโฟนี ออร์เคสตรา ได้แก่ วงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย รวมกันบเครื่องลมไม้ เครื่องทองเหลือง และเครื่องกระทบ
ต่อมาในกลางศตวรรษที่ 18 คำว่า ออร์เคสตรา หมายถึง การแสดงของวงดนตรี ซึ่งเป็นความหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามคำนี้ยังคงใช้ในอีกความหมายหนึ่ง คือ พื้นที่ระดับต่ำที่เป็นที่นั่งอยู่หน้าเวทีละคร และโรงคอนเสิร์ต
ระยะต่อมาในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อเริ่มกำหนดจำนวนเครื่องดนตรีลงในบทเพลง การพัฒนาวงออร์เคสตราจึงเริ่มมีขึ้น ซึ่งในระยะแรกเป็นลักษณะของวงเครื่องสาย (String Orchestra) ซึ่งมีจำนวนผู้เล่นประมาณ 10 ถึง 25 คน โดยบางครั้งอาจจะมีมากกว่านี้ตามความต้องการของผู้ประพันธ์เพลง
ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 วงออร์เคสตรามีการเพิ่มเครื่องลมไม้ และตอนปลายของยุคบาโรค (ประมาณ ค.ศ. 1750) ผู้ประพันธ์เพลงนิยมบอกจำนวนเครื่องดนตรีไว้ในบทเพลงโดยละเอียด นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มเครื่องลมทองเหลือง และเครื่องกระทบในวงออร์เคสตรา
ราวกลางศตวรรษที่ 18 วงออร์เคสตราเป็นรูปแบบขึ้นมาจนได้มาตรฐานในยุคนี้ คือ ยุคคลาสสิก ซึ่งเหตุผลประการหนึ่ง คือ บทเพลงประเภทซิมโฟนีเป็นรูปแบบขึ้นมาในยุคนี้ จึงทำให้ต้องมีการจัดวงออร์เคสตราให้มีมาตรฐานเพื่อใช้เล่นเพลงซิมโฟนี นอกจากนี้การบรรเลงบทเพลงประเภทคอนแชร์โต้ อุปรากร และเพลงร้องเกี่ยวกับศาสนาก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การพัฒนาวงออร์เคสตราเป็นแบบแผนขึ้น
ตอน ต้นศตวรรษที่ 19 เครื่องลมไม้และเครื่องลมทองเหลือง ถูกพัฒนาเทคนิคการบรรเลงเพิ่มมากขึ้น วงออร์เคสตราในยุคนี้ได้ถูกพัฒนาไปทั้ง 2 ด้านพร้อมกัน คือ ด้านขนาดของวงและเทคนิคการบรรเลงใหม่ๆ
กลางศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นยุคโรแมนติก มีการเพิ่มจำนวนเครื่องดนตรีเข้าไปในวงออร์เคสตรา ทำให้วงมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น เนื่องจากในยุคโรแมนติกนั้น นิยมเล่นบทเพลงประเภทดนตรีบรรยายเรื่องราว รวมถึงอุปรากร บัลเล่ต์ และบทเพลงร้องประสานเสียง ล้วนมีผลให้วงออร์เคสตราเพิ่มขนาดขึ้นเพื่อความยิ่งใหญ่และความสมจริงสมจัง เพื่อให้สามารถบรรยายเรื่องราวให้ได้ตรงตามที่ผู้ประพันธ์เพลงตั้งใจไว้
วงซิมโฟนีออร์เคสตราในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ยังคงมีบทบาทสำคัญในดนตรีตะวันตก ปัจจัยทางเศรษฐกิจก็มีส่วนในการกำหนดขนาดวงออร์เคสตรา หรือแนวทางการประพันธ์เพลงเพื่อใช้กับวงออร์เคสตรา แต่สิ่งนี้ก็มิได้กีดกั้นการสร้างสรรค์ผลงานประเภทที่ใช้วงออร์เคสตราของผู้ประพันธ์เพลงแต่อย่างใด
(วงซิมโฟนีออเคสตรา)
การประสมวงออร์เคสตรา แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
2.1 วงแชมเบอร์ออร์เคสตรา
หมายถึง วงดนตรีที่ประสมวงด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายในตระกูลไวโอลินเท่านั้น มีผู้บรรเลงจำนวน 16 – 20 คน
2.2 วงซิมโฟนีออร์เคสตรา หรือวงดุริยางค์ซิมโฟนี
ประกอบด้วยเครื่องดนตรีครบทุกประเภท คือ เครื่องสาย เครื่องลมไม้ เครื่องลมทองเหลือง เครื่องลิ้มนิ้ว และเครื่องตีกระทบ เป็นลักษณะการประสมวงที่สมบูรณ์ที่สุด ขนาดของวงได้กำหนดโดยผู้บรรเลงในกลุ่มเครื่องสายดังนี้ วงซิมโฟนีออร์เคสตรา
ขนาดของวงออร์เคสตรา
1 วงขนาดเล็ก (Small Orchestra) มีผู้บรรเลงประมาณ 40 – 60 คน
2 วงขนาดกลาง (Medium Orchestra) มีผู้บรรเลงประมาณ 60 – 80 คน
3 วงขนาดใหญ่ (Full Orchestra) มีผู้บรรเลงประมาณ 80 คนขึ้นไป
สัดส่วนของเครื่องดนตรีที่ใช้ในวงออร์เคสตรา
เครื่องลมไม้:
ฟลูต2-4 ปิคโคโล 1-2 (ฟลู้ตคนที่ 3 กับ 4)
โอโบ 2-4 อิงลิชฮอร์น 1-2 (โอโบคนที่ 3 กับ 4)
คลาริเน็ต 2-4 เบสคลาริเน็ต 1-2 (คลาริเน็ตคนที่ 3 กับ 4)
บาสซูน 2-4 คอนทราบาสซูน 1-2 (บาสซูนคนที่ 3 กับ 4)
เครื่องลมทองเหลือง:
ฮอร์น/ทรัมเป็ต2 ถึง 8 ทูบา 1
ทรอมโบน 2-4 เบส ทรอมโบน1-2
เครื่องกระทบ
กลองทิมปานี มาราคัส
กลองใหญ่ กลองเล็ก
ฉาบ แทม-แทม
กิ๋ง แทมบูริน
คาสตาเน็ท บล็อกไม้
ระฆังกล็อก เคนชปีล
ไซโลโฟน เชเลสตา
เครื่องสาย:
ฮาร์ป เปียโน
ไวโอลิน16 ถึง 30 (หรือมากกว่า) วิโอลา8 ถึง 12 (หรือมากกว่า)
เชลโล8 ถึง 12 (หรือมากกว่า) ดับเบิลเบส และเครื่องลิ่มนิ้ว 5 ถึง 8 (หรือมากกว่า)
บางครั้งก็จะมีการใช้เครื่องเป่าในแนวอื่นอีกเช่น แซกโซโฟน/ยูโฟเนียม
วงแชมเบอร์มิวสิก
วงดนตรีประเภทแชมเบอร์มิวสิกจัดเป็นการผสมวงดนตรีของตะวันตกอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งมีความเป็นมายาวนาน นับตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 14 หรือยุคกลาง (Middle Age) เป็นต้นมา ได้มีการผสมวงดนตรีซึ่งพบในบทเพลงโมเต็ท (Motet) และแมดริกัล (Madrigal) ซึ่งเป็นบทเพลงขับร้อง นับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 14 จนถึงต้นศตวรรษที่ 16 เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายและเครื่องลมได้เข้ามาบรรเลงร่วมกับการขับร้อง "Webster's Dictionary" ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "แชมเบอร์มิวสิก" ไว้ว่า "Instrumental music suitable for performance in a chamber or a small audience hall" ซึ่งศาสตราจารย์ไขแส ศุขะวัฒนะ (2525:20) แปลเป็นภาษาไทยว่า "ดนตรีประเภทบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีที่เหมาะสำหรับแสดงภายในห้องโถงหรือสถานที่ที่จุผู้ฟังได้เพียงจำนวนน้อย" หรือจะเรียกดนตรีประเภทนี้ว่า แชมเบอร์มิวสิกเป็นดนตรีของนักดนตรี (musicians' music) , ดนตรีของมิตรสหาย (music of friends) และ ดนตรีในหมู่เพื่อนฝูง (music among friends)
ประวัติ
ในสมัยแรกๆ วงดนตรีประเภทนี้เหมาะสำหรับการบรรเลงในบ้าน คฤหาสน์ของขุนนาง หรือห้องที่จุผู้ฟังได้จำนวนน้อย ซึ่งผู้จัดงานมีแขกพอประมาณ ต่อมาวงแชมเบอร์มิวสิกเล่นในห้องโถงที่มีขนาดใหญ่ และในที่สุดต้องเล่นในคอนเสิร์ตฮอลล์ (Concert Hall) หรือสังคีตสถาน อย่างเช่นศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เป็นต้น การฟังดนตรีประเภทแชมเบอร์มิวสิกต้องมีความรู้ความเข้าใจเช่นเดียวกับการฟังดนตรีคลาสสิกทั่วๆ ไป
เนื่องจากดนตรีประเภทนี้ใช้ผู้เล่นเพียงไม่กี่คน ฉะนั้นเสียงที่ออกมาจะยิ่งใหญ่มโหฬารหรือความมีพลัง อย่างวงออร์เคสตราก็ทำไม่ได้ ลักษณะเด่นของวงดนตรีประเภทนี้ก็คือเสียงดนตรีที่แท้จริง สำหรับด้านคุณภาพของการเล่นนั้นผู้เล่นต้องใช้ความสามารถอย่างเต็มที่ผู้ใดเล่นผิดพลาดจะได้ยินอย่างเด่นชัด ความถูกต้องความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของดนตรีประเภทนี้ การฟังเพื่อให้ได้รสชาติที่สมบูรณ์ของแชมเบอร์มิวสิกนั้นไม่ได้อยู่แต่เพียงความตั้งอกตั้งใจฟังอย่างไตร่ตรอง แต่ยังต้องอาศัยบรรยากาศที่เอื้อต่อการฟังอีกด้วย
ในการเรียกชื่อวงแชมเบอร์มิวสิกนั้นยังมีประเพณีในการเรียกอีกอย่างคือเรียกชื่อประเภทของเครื่องดนตรีก่อนแล้วตามด้วยจำนวนเครื่องดนตรีเช่น สตริงควอเต็ต หมายถึงวงแชมเบอร์มิวสิกที่ประกอบด้วย ไวโอลิน 2 คัน, วิโอลาและเชลโล เป็นต้น เครื่องดนตรีที่นำมารวมกันเป็นวงแชมเบอร์มิวสิกนั้น ที่นิยมแพร่หลายนั้นได้แก่ กลุ่มเครื่องสาย ตระกูลไวโอลิน เพราะสุ้มเสียงของเครื่องตระกูลนี้ไม่ว่าจะเป็นไวโอลิน, วิโอลา, และเชลโล ล้วนสามารถกลมกลืนเข้ากันได้เป็นอย่างดี เช่น วงสตริงควอเต็ต ( ไวโอลิน 2 คัน, วิโอลาและเชลโล) ซึ่งถือว่าเป็นวงดนตรีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการผสมวงดนตรีประเภทนี้ควรเป็นเครื่องดนตรีที่อยู่ในตระกูลเดียวกันเพราะสุ้มเสียงที่มีสีสัน (Tone color) เดียวกันอีกทั้งยังไม่มีการแสดงความเด่นข่มสุ้มเสียงอื่น
การผสมวงที่ใช้เครื่องสายไวโอลิน 2 คัน รวมเรียกว่า "สตริงดูโอ" (String Duo) ในงานของ ลุยส์ ชโปร์ (ค.ศ.1784 - 1859) คีตกวีและนักไวโอลินชาวเยอรมัน และของบาร์ทอค
ในยุคบาโรคการได้มีการปรับปรุงการจัดวงแชมเบอร์มิวสิกได้รู้จักกันในชื่อว่า "ทริโอโซนาตา" (Trio sonata) โดยโซนาตาชนิดนี้มีผู้บรรเลง 4 คน คือ ผู้บรรเลงเดี่ยว 2 คน และผู้บรรเลงแนวล่างสุดหรือ คอนตินูโอ (Continuo) อีก 2 คน ถึงแม้ว่าจะมีจำนวนผู้บรรเลง 4 คนก็ตามแต่ให้ถือว่ามี 3 แนว คือ สองแนวแรกเป็นแนวของเครื่องดนตรีบรรเลงเดี่ยว และแนวที่สามนั้นเป็นของเครื่องดนตรีคอนตินูโอ เช่น บาโรคทริโอโซนาตา ประกอบด้วย ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ 2, ฮาร์พซิคอร์ดและเชลโล
นอกจากนี้ยังมีการผสมวงแบบต่างๆ ด้วยเครื่องสายและเปียโน เช่น เปียโนทรีโอ ( เปียโน, ไวโอลินและเชลโล)
ปัจจุบันในประเทศไทยเราก็ได้มีการพัฒนาวงดนตรีประเภทแชมเบอร์มิวสิกขึ้นมาเช่นกันโดยการนำเอาเครื่องดนตรีตระกูลแซกโซโฟน ( โซปราโน, อัลโต, เทเนอร์และบาริโทนแซกโซโฟน) มารวมกันเป็น "วงบางกอกแซกโซโฟนควอเต็ต" โดย รองศาสตราจารย์ ดร. สุกรี เจริญสุข และสมาชิก ตั้งแต่ปี พ. ศ. 2532
นอกจากนี้ยังมีคำว่า "อองซองค์เบิล" (Ensemble) เป็นภาษฝรั่งเศส ซึ่งมีความหมายว่า "ด้วยกัน" เป็นลักษณะของการบรรเลงดนตรีจากผู้เล่นหลาย ๆ คนมีจำนวนผู้เล่นไม่เกิน 20 คน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจในการแสดงของทุกคนรวมถึงความสามารถของนักดนตรีแต่ละคน
ในกรณีที่กลุ่มนักดนตรีไม่ว่าชนิดที่มีเฉพาะผู้เล่นเครื่องสายล้วนๆ และมีผู้เล่นเครื่องลมผสมอยู่บ้างแต่รวมแล้วไม่เกิน 30 คน โดยสัดส่วนของวงเช่นเดียวกับวงออร์เคสตรา กลุ่มนักดนตรีนี้ก็จะเรียกว่า "วงแชมเบอร์ ออร์เคสตรา" (Chamber Orchestra)
ลักษณะการผสมวงแบบแชมเบอร์มิวสิกนี้หากนักดนตรีที่มารวมกันนั้นเป็นนักศึกษามาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ กัน อาจเป็นการรวมวงระหว่างอาจารย์หรือนักศึกษาที่มีความสามารถทางดนตรีเป็นเยี่ยม เรามักจะเรียกการรวมวงประเภทนี้ว่า "โปรมิวสิคกา ออร์เคสตรา" (Pro Musica Orchestra)
การเรียกชื่อของวงเชมเบอร์มิวสิก
- ผู้บรรเลง 2 คน เรียก ดูโอ (Duo)
- ผู้บรรเลง 3 คน เรียก ทริโอ (Trio)
- ผู้บรรเลง 4 คน เรียก ควอเต็ต (Quartet)
- ผู้บรรเลง 5 คน เรียก ควินเต็ต (Quintet)
- ผู้บรรเลง 6 คน เรียก เซกซ์เต็ต (Sextet)
- ผู้บรรเลง 7 คน เรียก เซพเต็ต (Septet)
- ผู้บรรเลง 8 คน เรียก ออคเต็ต (Octet)
- ผู้บรรเลง 9 คน เรียก โนเน็ต (Nonet)
วงแบนด์
วงแบนด์ เป็นการผสมวงดนตรีที่ใช้เครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องลมไม้ และเครื่องลมทองเหลืองเป็นหลัก มีเครื่องประกอบจังหวะตามความเหมาะสม วงแบนด์แบ่งออกได้หลายประเภทด้วยกัน
ซิมโฟนิคแบนด์
ซิมโฟนิคแบนด์ หรือ คอนเสิร์ตแบนด์ (Symphonic Band or Concert Band) ประกอบด้วย กลุ่มเครื่องลมไม้ กลุ่มเครื่องลมทองเหลือง กลุ่มเครื่องเพอคัชฌั่น และซอดับเบิลเบส
วงแบนด์ชนิดนี้จะมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “ซิมโฟนิค วินด์ อังซังเบลอ” (Symphonic Wind Ensemble)เมื่อมีแต่เครื่องเป่าล้วนๆ บรรเลง (ไม่มีเครื่องเพอคัชฌั่นและดับเบิลเบส)
วงซิมโฟนิคแบนด์ (Symphonic Band) เป็นการผสมที่เน้นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าชนิดต่างๆ เป็นสำคัญ และมีเครื่องประกอบจังหวะตามความเหมาะสม ใช้บรรเลงในร่ม ในห้องประชุม หรือห้องจัดแสดงดนตรี บทเพลงที่ใช้บรรเลงต้องเขียนขึ้นโดยเฉพาะ วงซิมโฟนิคแบนด์จะไม่นำไวโอลิน วิโอลา และเชลโลมาประสมวง ยกเว้นดับเบิลเบสซึ่งเป็นเครื่องสายชนิดเดียวที่นำมาประสมในวงประเภทนี้ การประสมวงดนตรีและการบรรเลงดนตรีในลักษณะนี้ อาจเรียกชื่อเป็นอย่างอื่นได้อีก เช่น Concert Band หรือ Wind Ensemble
ที่มา
วงดนตรีประเภทนี้ เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1920 ซึ่งได้พัฒนามาจากวงโยธวาทิต ลักษณะการบรรเลงจะเป็นการนั่งบรรเลงแบบคอนเสิร์ต เหมือนกับวงดุริยางค์ซิมโฟนี และมีคลาริเนท Bแฟลต เป็นเครื่องหลัก เทียบได้กับไวโอลินในวงดุริยางค์ซิมโฟนี
วงโยธวาทิต
โยธวาทิต (อังกฤษ: military band) หมายถึง กลุ่มผู้เล่นเครื่องดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องเป่าลมไม้ เครื่องเป่าทองเหลือง และเครื่องกระทบ โยธวาทิตแต่เดิมนั้นตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ทางทหารที่เรียกว่า "วงดุริยางค์ทหาร" ปัจจุบัน โยธวาทิตได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนสามารถบรรเลงในงานต่างๆ ได้นอกเหนือจากการบรรเลงในกองทัพ
คำว่า "โยธวาทิต" ในภาษาไทยนั้นบัญญัติขึ้นโดยมนตรี ตราโมท
ประวัติ
กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 มีแตรวง เป็นวงดนตรีขนาดย่อม ประกอบด้วยเครื่องเป่าทองเหลือง และเครื่องกระทบ ในยุโรปสมัยกลางฝ่ายทหารใช้ปี่ชอร์ม (Shawms) และทรัมเป็ต ร่วมกับกลองในการเดินทัพออกสมรภูมิ ต่อมาก็เกิดการแบ่งออกเป็นสองพวก ทหารราบใช้ปิคโคโลกับกลอง ส่วนทหารม้านั้นใช้ทรัมเป็ตกับกลองหนัง
จนเกิดสงคราม 30 ปี ในยุโรป (ค.ศ. 1618-1648) เจ้านายเยอรมันแห่งแบรนแดนเบิร์กให้จัดตั้งโยธวาทิตทหารขึ้น มีปี่ชอร์ม 3 คัน แตร ทรัมเป็ต แตรฝรั่งเศส และเครื่องกระทบ กลายเป็นโยธวาทิตที่ใช้ได้ทั้งการเดินทัพและนั่งบรรเลงกับที่ ต่อมาทั้งฝรั่งเศส และอังกฤษมีการใช้และดัดแปลงให้โยธวาทิตมีความครึกครื้นมากขึ้น โดยมีการแต่งเพลงขึ้นเฉพาะสำหรับการบรรเลงด้วยโยธวาทิต
หลังศตวรรษที่ 18 มีเครื่องดนตรีเกิดใหม่ โดยเฉพาะเครื่องเป่า เช่น โอโบ คลาริเน็ต บาสซูน เข้ามามีบทบาทมากขึ้นและเพลงที่โยธวาทิตใช้บรรเลงเริ่มมีการนำเพลงบรรเลงของวงออร์เคสตรามาดัดแปลงให้โยธวาทิตนำมาบรรเลง และการนั่งบรรเลงเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นศราวุธ เพ็งเอี่ยม
ลักษณะของวงโยธวาทิต
1.วงเดินแถว (marching band) เป็นโยธวาทิตที่มีลักษณะการเดินบรรเลง เป็นแถวตอนลึก อาจบรรเลงเฉพาะวงหรือนำหน้าขบวนต่างๆ ที่ต้องการรูปแบบที่เป็นระเบียบ เข้มแข็ง เร้าใจ ส่วนมากจะนิยมบรรเลงเพลงมาร์ช
2.วงนั่งบรรเลง (concert band) หมายถึง การนำโยธวาทิตมานั่งบรรเลงเป็นลักษณะของคอนเสิร์ต โดยนำบทเพลงที่เรียบเรียงเสียงประสานสำหรับโยธวาทิตมาบรรเลง ลักษณะคล้ายวงออร์เคสตรา หรืออาจนำเอาบทเพลงบรรเลงของวงออร์เคสตรามาเรียบเรียงเสียงประสานใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับโยธวาทิต จึงทำมีอีกชื่อเรียกว่า วงซิมโฟนิค(Symphonic Band)
3.วงแปรขบวน (display) หมายถึง การนำโยธวาทิตมาบรรเลงประกอบการแปรแถว โดยผู้บรรเลงต้องเดินแปรรูปขบวนเป็นรูปต่างๆ ซึ่งเพลงที่ใช้บรรเลงต้องเหมาะสมกับรูปแบบที่แปรขบวนด้วย วงแบบนี้อาจมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า โชว์แบนด์ (show Band)
เครื่องดนตรีที่ใช้ในวงโยธวาทิต มี 3 ประเภท ดังนี้
1.เครื่องเป่าลมไม้ (woodwind instruments) ได้แก่ ปิคโคโล (piccolo) โอโบ (oboe) บาสซูน (bassoon) คลาริเน็ต (clarinet) เบสคลาริเน็ต (bass clarinet) อัลโตแซกโซโฟน (Alto saxophone) เทเนอร์แซกโซโฟน(tenor saxophone) บาริโทนแซกโซโฟน (Bariton saxophone) ฟลูต (flute) และ อัลโตคลาริเน็ต (Alto clarinet)
2.เครื่องเป่าทองเหลือง (brass instruments)ได้แก่ ทรัมเป็ต (trumpet) คอร์เน็ต (cronet) ทรอมโบน (trombone) เฟรนซ์ฮอร์น (French horn) บาริโทน (baritone) ยูโฟเนียม (euphonium) ทูบา (tuba) และซูซาโฟน (susaphone)
3.เครื่องกระทบ (percussion instruments) ได้แก่ กลองเล็ก (snare drum or side drum) กลองเทเนอร์ (Tenor drum) กลองใหญ่ (bass drum) ฉาบ (cymbals) ไซโลโฟน (xylophone) กลอกเคินสปีล (gockenspiel) ไทรเองเกิล (triangle) กลองทอมบา (tomba) และกลองทิมปานี (timpani)
แตรวงชาวบ้าน
แตรวงเป็นวงดนตรีที่ใช้บรรเลงในกิจกรรมของชาวบ้าน แตรวงใช้สำหรับการประโคมและการแห่ในงานต่างๆ อาทิ งานศพ งานบวช งานแต่งงาน งานสมโภชและงานสังสรรค์รื่นเริง แตรวงนิยมใช้ทั่วไปในประเทศไทย ตั้งแต่ภาคเหนือจรดภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมการประโคมและการแห่ของภาคกลาง
ประวัติ
แตรวงเป็นวงดนตรีที่เริ่มจากกองดุริยางค์ของทหาร ซึ่งทหารแตรชุดแรกจากอังกฤษเข้ามาตั้งแต่ พ.ศ.2395 โดยมีครูแตร ร้อยเอกน๊อกซ์ (Thomas Gerge Knox) และร้อยเอกอิมเปย์ (Impey) เป็นครูฝึกทหารแตรที่อยู่ที่วังหลวงและวังหน้า โดยใช้เพลงกอดเสฟเตอะควีน (God save the Queen) ทหารแตรส่วนใหญ่เป็นนักดนตรีปี่พาทย์ เล่นดนตรีในวงต่างๆเมื่อเป่าแตรได้ ก็นำแตรไปเป่าเพลงปี่พาทย์ด้วย จึงกลายเป็นแตรวงผสมปี่พาทย์เล่นในงานต่างๆกระจายไปสู่ชาวบ้านทั่วไป
นิยมบรรเลงคู่กับปี่พาทย์ เมื่อใช้แห่ก็นิยมผสมกับวงกลองยาว แตรวงได้พัฒนาอยู่ในสังคมชาวสยามร่วม 150 ปีปัจจุบันกิจกรรมของแตรวงซบเซาและเล่นกันน้อยลง เนื่องจากสังคมเปลี่ยนไปตามงานต่างๆ ไม่ค่อยนิยมการแห่อีกต่อไป งานบวช งานศพมีการแห่น้อยลง งานประโคมนาค งานประโคมศพ มีกิจกรรมอื่นๆแทน หากมีงานราชการก็มีวงโยธวาทิตของโรงเรียนเข้ามาทำหน้าที่ทดแทน ทำให้แตรวงมีงานน้อยจึงไม่สามารถดำรงอยู่ได้ อย่างไรก็ตามในต่างจังหวัดชาวบ้านก็ยังมีแตรวงประโคมและแห่อยู่บ้าง
เครื่องดนตรี
เครื่องเป่า และเครื่องจังหวะเป็นหลัก และเครื่องจังหวะกลองมริกัน อาทิ
ทรัมเป็ต ทรอมโปน
คอร์เน็ต บาริโทน(ยูโฟเนียม)
ทูบา ฮอร์น
แซกโซโฟน (กลองใหญ่) คลาริเนต
ฉิ่งฉาบ กรับ
แจ๊ส
แจ๊ส (อังกฤษ: Jazz) เป็นลักษณะดนตรีชนิดหนึ่งที่พัฒนามาจากกลุ่มคนดำในสหรัฐอเมริกา (African Americans) ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยมีลักษณะพิเศษคือโน้ตบลูส์ การลัดจังหวะ จังหวะสวิง การโต้และตอบทางดนตรี และการเล่นสด โดยแจ๊สถือเป็นลักษณะดนตรีคลาสสิกชนิดหนึ่งของสหรัฐอเมริกา
ประวัติ
ดนตรีแจ๊สมีต้นกำเนิดราวทศวรรษ 1920 โดยวงดนดรีวงแรกที่นำสำเนียงแจ๊สมาสู่ผู้ฟังหมู่มากคือ ดิ ออริจินัล ดิกซีแลนด์ แจ๊ส แบนด์ (The Original Dixieland Jazz Band: ODJB) ด้วยจังหวะเต้นรำที่แปลกใหม่ ทำให้โอดีเจบีเป็นที่กล่าวขวัญกันอย่างมาก พร้อมกับให้กำเนิดคำว่า "แจ๊ส" ตามชื่อวงดนตรี โอดีเจบีสามารถขายแผ่นได้ถึงล้านแผ่น
รากลึกของแจ๊สนั้นมีมาจากเพลงบลูส์ (Blues) คนผิวดำที่เล่นเพลงบลูส์เหล่านี้เรียนรู้ดนตรีจากการฟังเป็นพื้นฐาน จึงเล่นดนตรีแบบถูกบ้างผิดบ้าง เพราะจำมาไม่ครบถ้วน มีการขยายความด้วยความพึงพอใจของตัวเองเป็นหลัก ซึ่งกลายเป็นที่มาของคีตปฏิภาณ (Improvisation) คือ การแต่งทำนองเพลงขึ้นมาใหม่ สด ๆ โดยไม่ได้เตรียมตัวมาล่วงหน้า หรือการโซโล่แบบด้นสด ในภายหลังดนตรีแร็กไทม์ (Ragtime) ก็เชื่อว่ามีต้นกำเนิดคล้าย ๆ กันคือ เกิดจากดนตรียุโรปผสมกับจังหวะขัดของแอฟริกัน บลูส์และแร็กไทม์นี่เองที่เป็นรากของดนตรีแจ๊สในเวลาต่อมา
เพลงบลูส์เริ่มได้รับความนิยมในช่วงเวลาเดียวกันกับแร็กไทม์ ปลาย ๆ ทศวรรษ 1910 เพลงบลูส์และแร็กไทม์ถูกผสมผสานจนกลมกลืนโดย บัดดี โบลเดน (Charles Joseph 'Buddy' Bolden) เป็นผู้ริเริ่ม หากแต่เวลานั้นยังไม่มีการประดิษฐ์คำว่าแจ๊สขึ้นมา และเรียกดนตรีเหล่านี้รวม ๆ กันว่า "ฮ็อต มิวสิก" (Hot Music) จนกระทั่งโอดีเจบีโด่งดัง คำว่า แจ๊ส จึงเป็นคำที่ใช้เรียกขานกันทั่ว แจ๊สในยุคแรกนี้เรียกกันว่าเป็น แจ๊สดั้งเดิม หรือ นิวออร์ลีนส์แจ๊ส
ทศวรรษที่ 1920 และ 1930
สหรัฐเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ทางการสั่งปิดสถานเริงรมณ์ในนิวออร์ลีนส์ ทำให้นักดนตรีส่วนใหญ่เดินทางมาหากินในชิคาโก นิวยอร์ก และ ลอสแอนเจลิส ทั้งสามเมืองจึงกลายเป็นแหล่งบ่มเพาะนักดนตรีแจ๊สในช่วงนั้น ชิคาโกดูจะเป็นเมืองที่มีความก้าวหน้าทางดนตรีแจ็สเหนือกว่าอีกสองเมือง เพราะมีนักดนตรีมาทำงานมาก ชิคาโกเป็นเมืองที่ทำให้ หลุยส์ อาร์มสตรอง (Louis Armstrong) เป็นที่รู้จัก และกลายเป็นนักดนตรี นักร้องแจ๊สชื่อก้องโลกในเวลาต่อมา ในด้านการพัฒนา
ชิคาโกมีดนตรีแจ๊สที่สืบสายมาจากนิวออร์ลีนส์แต่มีลักษณะเฉพาะตัว มีการทดลองจัดวงในแบบของตัวเอง เริ่มเอาเครื่องดนตรีใหม่ ๆ เช่น แซ็กโซโฟนมาใช้รวมกับ คอร์เน็ต ทรัมเป็ต มีการทดลองแนวดนตรีใหม่ ๆ เช่น การเล่นเปียโนแบบสไตรด์ (Stride piano) ของเจมส์ จอห์นสัน (James P. Johnson) ซึ่งมีพื้นฐานจากแร็กไทม์ การทดลองลากโน้ตให้ยาวจนผู้ฟังคาดเดาได้ยากของอาร์มสตรอง และการปรับแพทเทิร์นของจังหวะกันใหม่เป็น Chicago Shuffle
ส่วนนิวยอร์กรับหน้าที่เป็นศูนย์กลางของแจ๊สในยุคปลายทศวรรษ 1920 แทนชิคาโก ดนตรีแจ๊สในนิวยอร์กพัฒนาเพื่อเป็นดนตรีเต้นรำให้ความสนุกสนานบันเทิง และเป็นที่มาของ สวิง (Swing) และ บิ๊กแบนด์ (Big Band)
สวิงเป็นดนตรีที่ก่อให้เกิดการจัดวงแบบใหม่ที่เรียกว่า "บิ๊กแบนด์" ซึ่งได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว และองค์ประกอบของวงก็เริ่มลงตัว มีการแบ่งโครงสร้างเครื่องดนตรีเป็นสามส่วนคือ เครื่องทองเหลือง คือ กลุ่มแตรซึ่งมีทรัมเปทและทรอมโบนเป็นหลัก จำนวน3-5 คัน, เครื่องลมไม้ มีแซกโซโฟนเป็นหลัก จำนวน 3-5 คันและมักมีคลาริเนต ไว้ให้นักแซกโซโฟนเพื่อให้เล่นสลับกันด้วย และเครื่องให้จังหวะ ได้แก่ กลองชุดซึ่งมีกลองเพิ่มเติม และกระดึงกับฉาบเพิ่มขึ้นอีก นอกจากนี้ มีเปียโน สตริงเบส และกีตาร์ ส่วนแบนโจก็จะถูกแทนที่ด้วยเปียโน
ศิลปินที่แจ้งเกิดในยุคนี้เช่น เอลลา ฟิทซ์เจอรัลด์ (Ella Fitzgerald) บิลลี ฮอลิเดย์ (Billy Holiday) และหลุยส์ อาร์มสตรอง จุดเด่นของนักร้องแจ๊สคือการ "สแกต" (Scat) หรือเปล่งเสียง ฮัมเพลง แทนเครื่องดนตรี ซึ่งนับเป็นการแสดงคีตปฏิภาณของนักร้อง
ทศวรรษที่ 1940
เพลงสวิงมาถึงจุดอิ่มตัวเมื่อนักดนตรีเริ่มเบื่อหน่ายการจัดวงและการเรียบเรียงที่ค่อนข้างตายตัว จึงเริ่มเกิดการหาแนวทางใหม่ ๆ เล่นตามความพอใจหลังการซ้อมหรือเล่นดนตรี หรือเรียกว่า "แจม" (Jam session) ชาร์ลี "เบิร์ด" พาร์คเกอร์ (Charlie "Bird" Parker) นักแซ็กโซโฟน และ ดิซซี่ กิลเลสปี (Dizzy Gillespie) นักทรัมเป็ต เสนอแจ๊สในแนวทางใหม่ขึ้นมา เมื่อทั้งสองร่วมตั้งวงห้าชิ้นและออกอัลบั้มตามแนวทางดังกล่าว คำว่า "บีบ็อพ" (Bebop) "รีบ็อพ" (Rebop) หรือ "บ็อพ" (Bop) ก็กลายเป็นคำติดปาก
คำว่าบีบ็อพเชื่อกันว่ามาจากสแกตของโน้ตสองตัว (การร้องโน้ต2 ตัวเร็ว ๆ) บ็อพมีสุ้มเสียง จังหวะ การสอดประสานที่ต่างไปจากสวิงค่อนข้างมาก เช่นจังหวะไม่ได้บังคับเป็น 4/4 เหมือนสวิง ใช้คอร์ดแทน (Alternate chords) ในขณะที่โซโลและการแสดงคีตปฏิภาณยังคงวางบนคอร์ดเดิม
ทศวรรษที่ 1950
ไมล์ส เดวิส และ จอห์น โคลเทรน (John Coltrane) ก็มาลงตัวกับท่วงทำนองที่ใช้ฮาร์โมนีของโหมด (Mode) มากกว่า คอร์ด กลายมาเป็น โมดัลแจ๊ส (Modal Jazz) ในเวลาต่อมา โดยมีอัลบั้ม Kind of Blue ของเดวิสในปี 1959 เป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของฟรีแจ๊ส การใช้โหมดทำให้นักดนตรีสามารถโซโล หรือแสดงคีตปฏิภาณได้อิสระยิ่งขึ้น เพราะไม่มีข้อจำกัดเรื่องคอร์ดเหมือนที่ผ่านมา จึงเกิดสเกลแปลกใหม่มากมาย
ต่อมา ออร์เน็ต โคลแมน (Ornette Coleman) นักแซ็กโซโฟนก็เสนออีกแนวทางหนึ่งที่ให้อิสระยิ่งกว่าโมดัลแจ๊ส คือดนตรีสายฟรีแจ๊ส (Free Jazz) ซึ่งเน้นปฏิสัมพันธ์เป็นแกน อาศัยความรู้สึกและคีตปฏิภาณอย่างหนักหน่วง ซึ่งมีโครงสร้างของเพลงเพียงคร่าว ๆ เท่านั้น หลาย ๆ เพลงไม่มีแม้แต่จังหวะทำนอง ไม่มีห้องดนตรี และมักเน้นจังหวะตบหรือการรักษาความเร็วจังหวะน้อยกว่าแจ๊สยุคก่อน ๆ ส่วนเครื่องดำเนินจังหวะ และแนวเบสได้รับการเน้นให้มีอิสระในการบรรเลงมากขึ้น
ดนตรีในแนวฟรีแจ๊สและที่ใกล้เคียงกันในเวลานั้นทั้งหมดเรียกรวมว่า "อวองต์ การ์ด" (Avante Garde) นอกจาก โคลแมนแล้ว ผู้ที่มีชื่อเสียงในฟรีแจ๊ส เช่น อัลเบิร์ต ไอย์เลอร์ (Albert Ayler) ซึ่งเป็นผู้ชักนำให้ โคลเทรนหันมาสนใจฟรีแจ๊สในระยะหลัง ๆ
ทศวรรษที่ 1970
หลังจากช่วงทศวรรษ 1960 ซึ่งเป็นยุคที่เพลงร็อก (ร็อกแอนด์โรล) มีอิทธิพลต่อวงการเพลง หลังกำเนิดฟรีแจ๊ส ในช่วงต้นทศวรรษ 1970 ได้เกิดดนตรีแจ๊สอีกแนวที่เรียกว่า ฟิวชัน (Fusion) ซึ่งบ่งชี้ถึงการนำดนตรีสองแนวหรือมากกว่ามาหลอมรวมกัน ซึ่งในช่วงนั้นคือการรวมกันของดนตรีแจ๊สเข้ากับร็อกเป็นหลัก โดยการใช้รูปแบบจังหวะ และสีสันของเพลงร็อก เครื่องดนตรีในวงฟิวชั่นมักประกอบด้วยเครื่องดนตรีสองประเภททั้ง เครื่องดนตรีดั้งเดิม และเครื่องดนตรีไฟฟ้า หรืออีเลคโทรนิค มีกลุ่มเครื่องประกอบจังหวะที่ใหญ่กว่าแจ๊สยุคก่อน ๆ และมักมีเครื่องดนตรีต่างชาติอื่นเช่น เครื่องดนตรีจากแอฟริกา ลาตินอเมริกา หรืออินเดีย และอีกสองลักษณะเด่นของฟิวชั่นแจ๊สคือ แนวทำนองของอีเลคโทรนิคเบสและการซ้ำทวนของจังหวะ
ไมล์ส เดวิส นักปฏิวัติดนตรีแจ๊ส ก็ได้หยิบเอาโครงสร้างของร็อกมารวมกับแจ๊ส ทดลองใช้เครื่องดนตรีไฟฟ้า เครื่องดนตรีประเภทสังเคราะห์เสียง โดยเริ่มจากอัลบั้ม In A Silent Way ก่อนจะมาเป็นอัลบั้ม xes Brew ซึ่งเป็นต้นแบบของแนวฟิวชันในเวลาต่อมา
แจ๊สยุคใหม่
ยุคหลังทศวรรษ 1970 ฟิวชันไม่ได้ครอบคลุมเพียงแจ๊ส-ร็อก หากรวมถึงดนตรียุคหลัง เช่น แจ๊ส-รึทึมแอนด์บลูส์ แจ๊ส-ฟังกี้ แจ๊ส-ป๊อป เป็นต้น ฟิวชันยุคหลังนี้มีอิทธิพลกับแนวดนตรีนิวเอจ (New Age) และ เวิลด์ มิวสิก (World Music) ในเวลาต่อมาโดยมีสังกัด ECM และ วินด์แฮม ฮิล (Windham Hill) นักดนตรีฟิวชันที่โด่งดังมีหลายคน เช่น คีธ จาร์เร็ต (Keith Jarrett) แพท เมธินี (Pat Metheny) บิลล์ ฟริเซล (Bill Frisell) โตชิโกะ อะกิโยชิ (Toshiko Akiyoshi) ซาดาโอะ วาตานะเบ (Sadao Watanabe) เป็นต้น
ช่วงต้นทศวรรษที่ 80 แจ๊สได้รับความนิยมระดับนึงมีการผสมแจ๊สเข้ากับป็อป เรียกป็อปฟิวชัน หรือ สมูธแจ๊ส ประสบความสำเร็จในยอดการเปิดออกอากาศในสถานีวิทยุ นักแซกโซโฟนสมูธแจ๊สอย่าง กรูเวอร์ วอชิงตัน จูเนียร์, เคนนี จี และ นาจี เพลงของพวกเขาเล่นในสถานีวิทยุโดยมักจะทำเพลงร่วมกับเพลงแนว ไควเอ็ดสตรอมในตลาดคนผิวสีในสหรัฐอเมริกา อย่างเช่นเล่นในเพลงของศิลปินอย่าง อะนิทา เบเกอร์, ชากา คาน, อัล จาร์รู และชาเด เป็นต้น
มีความพยายามหาสุ้มเสียงใหม่ ๆ จากฟิวชันเหมือนกัน เช่น แอซิดแจ๊ส (Acid Jazz) หรือกรูฟแจ๊ส (Groove Jazz) ซึ่งเป็นผลการผสมระหว่างแจ๊ส โซล ฟังกี้ และฮิปฮอป เช่น จามิโรไคว์ (Jamiroquai) อีกแนวที่ใกล้กับแอซิดแจ๊สคือ นูแจ๊ส (Nu Jazz) หรือ อิเล็กโทรแจ๊ส (Electro-Jazz) ซึ่งเกิดในปลายทศวรรษ 1990 โดยนำเนื้อหนังของแจ๊สมาผสมผสานด้วยดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องสังเคราะห์เสียง เช่น วงอิเล็กโทรนิกา (Electronica)
เครื่องดนตรีที่ใช้
1. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ (woodwind instruments) ได้แก่
อีแฟลตอัลโตแซกโซโฟน บีแฟลตเทเนอร์แซกโซโฟน
อีแฟลตบราริโทนแซกโซโฟน บีแฟลตคลาริเนต
ฟลุต
2. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องโลหะหรือพวกแตร ได้แก่
บีแฟลตทรัมเป็ต ทรัมเป็ต
สไลด์ทรอมโบน ทรอมโบน
3. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องคีย์บอร์ด
เปียโน ออร์แกน
4. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องไฟฟ้า ได้แก่ กีตาร์ไฟฟ้า กีตาร์เบสไฟฟ้า เปียโนหรือออร์แกนไฟฟ้า
กีตาร์ไฟฟ้า กีตาร์เบสไฟฟ้า
5. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีหรือเครื่องประกอบจังหวะ
กลองชุด
วงชาโดว์
เป็นชื่อของวงดนตรีวงหนึ่ง เกิดในประเทศอังกฤษ ได้รับความนิยมไปทั่วโลก เป็นวงดนตรียนาดเล็ก เครื่องดนตรีที่นำมาใช้ในการผสมวงมีเพียงกีต้าร์ไฟฟ้า เบสไฟฟ้า และกลองชุดเท่านั้น นักดนตรีเป็นผู้ขับร้องเพลงเอง บทเพลงที่บรรเลงจะเป็นเพลงร็อคเป็นส่วนใหญ่ เป็นดนตรีที่มีเสียงดัง สนุกสนาน เร้าใจ ดนตรีร็อคสร้างอยู่บนพื้นฐานอัตราจังหวะชนิด 4 จังหวะเคาะ ลักษณะเฉพาะลีลาจังหวะร็อค คือ เน้นความดังเป็นพิเศษในจังหวะที่ 2 และ 4 ของห้องเพลง ซึ่งแต่เดิมดนตรีต่างๆ ที่เกิดขึ้นก่อนดนตรีร็อค จะนิยมเน้นในจังหวะที่ 1 และ 3 ของห้องเพลง ด้วยอิทธิพลของความนิยมในวงเดอะชาโดว์ ทำให้วงดนตรีอื่นๆ ที่ใช้รูปแบบการประสมวง และการบรรเลงเพลงในลักษณะเดียวกันกับวงเดอะชาโดว์ ถูกเรียกว่าวงดนตรีชาโดว์ไปด้วย
ประวัติ
ป็นวงดนตรี ขนาดเล็ก เริ่มก่อตั้งเมื่อประมาณ 20 ปีมานี่เองในอเมริกา วงดนตรีประเภทนี้ที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือคณะThe Beattle หรือสี่เต่าทอง
เครื่องดนตรีในสมัยแรก มี 4 ชิ้น
1. กีตาร์เมโลดี้ (หรือกีตาร์โซโล)
2. กีตาร์คอร์ด
3. กีตาร์เบส
4. กลองชุด
ในระยะหลังได้นำออร์แกนและพวกเครื่องเป่า เช่น แซกโซโฟน ทรัมเป็ตทรอมโบนเข้ามาผสม และบางทีอาจมี ไวโอลินผสมด้วย เพลงของพวกนี้ส่วนใหญ่จะเร่าร้อน ซึ่งได้รับความนิยมมากในหมู่วัยรุ่น โดยเพลงประเภท อันเดอร์กราว
วงสตริงคอมโบ
ประวัติ
วงสตริงคอมโบ เป็นวงดนตรีที่ได้คลี่คลายมาจากวงชาโดว์ บทเพลงที่บรรเลงส่วนใหญ่ยังคงเป็นเพลงในแนวดนตรีร็อคเหมือนเดิม
เครื่องดนตรี
กีต้าร์ไฟฟ้า 2 เครื่อง
กีต้าร์เบส 1 เครื่อง
คีย์บอร์ด (เปียโน เปียโนไฟฟ้า ซินธีไซเซอร์) 1 เครื่อง
กลองชุด 1 ชุด
กีต้าร์เป็นเครื่องดนตรีที่มีบทบาทมาก ทำหน้าที่บรรเลงทำนองสอดแทรกต่างๆ ทำนองในตอนขึ้นต้นบทเพลง ทำนองล้อรับเสียงขับร้อง โซโล และทำนองท่อนลงจบ กีต้าร์ที่ทำหน้าที่ต่างๆ เหล่านี้เรียกว่า ลีดกีต้าร์ (Guitar Lead) หรือ โซโลกีต้าร์ (Guitar Solo) ส่วนกีต้าร์ที่เหลืออีก 1 เครื่อง จะทำหน้าที่ดีดคอร์ด ประกอบบทเพลงด้วยลีลาต่างๆ เรียกว่า ริธึ่มกีต้าร์ (Guitar Rhythm) วงสตริงคอมโบบางวงอาจจะเพิ่มกลุ่มของนักดนตรีประเภทเครื่องเป่าเข้าไปด้วย ประมาณ 1- 3 คน เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าที่นิยมนำมาประสมวง ได้แก่ ทรัมเป็ท ทรอมโบน และแซ็กโซโฟน
วงโฟล์คซอง
ความหมายที่ของคำว่า โฟล์คซอง (Folksong) คือ เพลงพื้นบ้าน
ประวัติ
เป็นเพลงของชาวบ้านที่สร้างขึ้นเพื่อความบันเทิง สนุกสนาน หรือประกอบงานพิธีของชาวบ้าน เนื้อหาของบทเพลงจะมีทั้งคติสอนใจ คติธรรม เรื่องราวที่เกี่ยวกับศาสนา ชีวิตความเป็นอยู่ ความรัก เป็นตัน การขับร้องจะมีเครื่องดนตรีบรรเลงประกอบ หรือไม่มีก็ได้ ถ้าใช้เครื่องดนตรี ก็จะนำเครื่องดนตรีที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาบรรเลงประกอบ ไม่มีแบบแผนการบรรเลงที่แน่นอน ถือได้ว่าเพลงพื้นบ้านของทุกชาติเป็นตันกำเนิดของเพลงชนิดอื่นๆ ซึ่งต่างก็วิวัฒนาการมาจากเพลงพื้นบ้านทั้งนั้น
เครื่องดนตรี
กีต้าร์โปร่ง
กีต้าร์ไฟฟ้า
ในยุคแรกๆ จะนิยมใช้อคูสติกกีต้าร์ (กีต้าร์โปร่ง) ในการบรรเลงคลอ ปัจจุบันนิยมที่จะนำกีต้าร์ไฟฟ้ามาใช้บรรเลงด้วยเหมือนกัน การขับร้องจะมีความสำคัญมากกว่าการบรรเลงดนตรี เครื่องดนตรีอื่นๆ ที่สามารถนำมาประสมวงได้ เช่น หีบเพลงปาก ขลุ่ย และเครื่องดนตรีประกอบจังหวะต่างๆ
วงคอมโบ
Combo Band (วงคอมโบ) เป็นวงดนตรีขนาดเล็ก มุ่งประกอบการขับร้องเป็นส่วนใหญ่ นิยมนำไปบรรเลงตามร้านอาการ ไนท์คลับ หรือตามสถานที่เริงรมย์ต่าง ๆ วงดนตรีประเภทนี้มีจำนวนนักดนตรีและเครื่องดนตรีไม่แน่นอน ทั้งนี้แล้วแต่ความสะดวกในการจัดวงึนอกจากนี้ยังมีวงดนตรีที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่อีกหลายชนิด ซึ่งวงที่เกิดขึ้นใหม่นี้ก็อาศัย ดัดแปลง ปรับปรุง แก้ไข จากของเดิมเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์ปัจจุบันที่ต้องการความง่าย ๆ สะดวก สบาย รวดเร็ว ประวัติวงสตริงในเมืองไทย สตริงหรือสตริงคอมโบ้ ( String Combo ) เป็นวงดนตรีประเภทเครื่องสายอย่างตะวันตกมีขนาดเล็กเกิดใหม่จากการดัดแปลงวงคอมโบ้รวมมิตรกับวงชาโดว์
ประวัติ
แบ่งเป็น 2 สมัย 1.ได้แก่ วงชาโดว์แนวบูล คันทรี โฟลก์ 2.วงชาโดว์แนวร๊อคเป็นต้นฉบับให้กับร๊อครุ่นหลังถึงปัจจุบัน บรรพบุรุษร๊อคนี้เรียกว่า คลาสสิคร๊อค มาถึงกำเนิดสตริงสัญชาติไทย (พ.ศ. 2503-2515) วงการดนตรีไทยมีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับเนื่องจากอิทธิพลของดนตรีตะวันตกที่หลั่งไหลเข้ามาโดนใจวัยโจ๋ในสมัยนั้นไม่ขาดสายได้แก่วง เดอะบิทเทิล เดอะชาโดของคลิฟ ริชารด์ เอลวิส เพรสลีย ฯลฯ แทบทุกวงดนตรีมากับกีตาร์ 3 ตัว กลองชุด พร้อมๆกันนั้นวงดนตรีของไทยก็เริ่มหันมาเล่นเพลงสากลได้รับความนิยมไม่น้อยเหมือนกัน เมื่ออเมริกามาตั้งฐานทัพในประเทศไทยสมัยสงครามเวียตนาม เพลงสากลได้รับความนิยมไม่น้อยเหมือนกัน วงดนตรีของไทยที่เล่นเพลงสากลในสมัยนั้นเช่น วงซิลเวอแซนด์ วงรอแยลสไปรท์ ฯลฯ ร้องและเล่นตามต้นแบบเป็นส่วนใหญ่
พ.ศ. 2512 ได้จัดการประกวดวงสตริงคอมโบ้แห่งประเทศไทยขึ้นมีกติกาการแข่งขันว่า เล่นเพลงสากล 1 เพลง เพลงไทยสากล 1 เพลง เพลงพระราชนิพนธ์ 1 เพลง วงที่ชนะเลิศคือ วงดิอิมพอสซิเบิล ซึ่งเดิมเป็นวงอาชีพเล่นอยู่แถบถนนเพชรบุรีตัดใหม่ในนามวงจอยท์รีแอคชั่นหรือ เจ-ทรี (ฮอลิเดย์ เจ-ทรีตามชื่อสถานบันเทิงที่เล่น) ชื่อดิอิมพอสซิเบิลซึ่งเปลี่ยนก่อนแข่งได้มาจาก การ์ตูนในโทรทัศน์ยุคนั้น ดิอิมพอสซิเบิลโด่งดังเหลือหลาย นักดนตรีประกอบด้วย เศรษฐา ศิระฉายา วินัย พันธุรักษ์ อนุสรณ์ พัฒนกุล สิทธิพร อมรพันธ์ และพิชัย คงเนียม ครองรางวัลชนะเลิศ 3 ปีซ้อน ประวัติศาสตร์วงการดนตรีไทยต้องบันทึกไว้ในฐานะวงดนตรีประเภทสตริงคอมโบ้วงแรกที่สร้างความรู้สึกเป็นสากลและเป็นวงแรกอีกเช่นกันเปิดทางให้วัยรุ่นฟังเพลงไทยแนวใหม่ ความสำเร็จขั้นสูงสุดทำให้ผู้สร้างภาพยนตร์ตลอดจนผู้ประพันธ์เพลงให้ความสนใจกับวงดนตรีประเภทนี้มากขึ้น เวลาเดียวกันวงดนตรีวงอื่นๆ ได้รับความนิยมตามมาเช่น วงพี่เอ็มไฟร์ (P.M.5) วงแฟนตาซี วงแกรนด์เอ็กซ์ วงชาตรี ฯลฯ จากนั้นเข้าสู่ยุดแฟนฉัน (วงชาตรี) ครีกครืนรื่นเริงเรื่อยมาถึงทุกวันนี้
เครื่องดนตรี
ทรัมเป็ต
เทเนอร์ แซกโซโฟน
อัลโทแซกโซโฟน
ทรอมโบน
เปียนโน
กีตาร์คอร์ด
กีต้ารเบส
กลองชุด
เครื่องประกอบจังหวะ
บร
ความคิดเห็น