Mascots งานราชพฤกษ์ 2549
mascots ของงานราชพฤกษ์ 2549 น่ารักมากๆ
ผู้เข้าชมรวม
549
ผู้เข้าชมเดือนนี้
1
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
น้องคูน เป็น Mascot หรือสัญลักษณ์ตุ๊กตางานมหกรรมพืชสวนโลก นำทีมตุ๊กตาราชพฤกษ์ออกทัวร์ ออกทัวร์ทั่วไทย เชิญชวนคนไทยร่วมเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก ซึ่งเป็นศูนย์รวมจัดแสดงพืชพรรณไม้ดอกไม้ประดับเขตร้อนกว่า 2,200 ชนิด กว่า 2 ล้าน 5 แสนต้น สู่สายตานานาประเทศทั่วโลก
ผมชื่อ "น้องคูน" ส่วนชื่อจริงนั้นเรียกว่า "ราชพฤกษ์" ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำชาติไทย ผมขอรับอาสาเป็นหัวหน้าทีมพาเพื่อนๆเที่ยวงาน "ราชพฤกษ์ 2549" อันที่จริงเห็นผมตัวแค่นี้ แต่ผมเป็นคนที่รักการผจญภัย และรักธรรมชาติมาก แถมยังชอบความผาดโผน และใฝ่หาความรู้อย่างสม่ำเสมอ ด้วยความที่ชอบคิดอะไรใหม่ๆ ผมจึงชอบคิดหาวิธีเล่นแผลงๆให้กับเพื่อนๆอยู่เสมอ |
น้องกุหลาบ ทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์สื่อแทน "ดอกกุหลาบควีนสิริกิติ์" ดอกกุหลาบลูกผสมระหว่าง Colour Wonder และ Golden Giant เป็นกุหลาบประเภทดอกใหญ่ (Hybrid Tea) มีลำต้นแข็งแรง ตัวกลีบดอกสีเหลืองขอบสีแดงระเรื่อ ลักษณะซ้อนกันหลายชั้น และมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ "กุหลาบ" เป็นสาวสวยสาวสวยประจำกลุ่มที่มีความอ่อนหวาน เฉลียวฉลาด อ่อนน้อมถ่อมตน ใจเย็นและรอบคอบ เป็นหญิงสาวสมัยใหม่ทันสมัยแต่เพียบพร้อมไปด้วยคุณสมบัติของกุลสตรีไทยที่ชอบทำกับข้าวและเย็บปักถักร้อย |
นารี ทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์สื่อแทน ดอกกล้วยไม้รองเท้านารี เป็นเจ้าหญิงน้อยจอมซนซึ่งอาศัยอยู่ข้างบ้านของ"กุหลาบ" ความที่ "นารี" มีบุคลิกที่ค่อนข้างซุกซนจึงมักจะก่อเรื่องวุ่นวายให้กับคนรอบข้าง แต่ด้วยความเฉลียวฉลาด หรือบางทีเป็นการฉลาดแกมโกง "นารี" จึงมีเรื่องตลกมาให้เพื่อนๆ พี่ ๆ ได้หัวเราะกันเสมอ |
บัว ทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์สื่อแทน ดอกบัว "ราชินีแห่งไม้น้ำ" สัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ผุดผ่อง และคุณงามความดีในพุทธศาสนา "บัว" จึงมีบุคลิกของสาวสวยที่คงรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณีไทยไว้อย่างเคร่งครัดทุกกระเบียดนิ้ว การที่ "บัว" เติบโตอยู่ในตระกูลผู้ดีเก่าจึงได้รับการถ่ายทอดวิชาการทำอาหาร- ขนม การร้อยมาลัย และการแกะสลักผักผลไม้ ฯลฯ มาจากในวัง "บัว" เป็นหญิงไทยเต็มร้อย จึงมีนิสัยอ่อนแอ ชอบร้องไห้ ขี้หวาดกลัว ในกลุ่มเพื่อนบัวจะสนิทกับกุหลาบ เพราะเป็นเพื่อนเล่นกันมาตั้งแต่เด็ก ดังนั้นทั้งคู่มักจะอยู่ด้วยกันเสมอ |
ก้านยาว ทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์สื่อแทน "ทุเรียน" ผลไม้ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นราชาของผลไม้ "ก้านยาว" เป็นหนุ่มเมืองจันท์ มีร่างกายที่อ้วนท้วนสมบูรณ์ และด้วยความที่เป็นหนุ่มอารมณ์ดี ขี้เล่น มองโลกในแง่ของความเป็นจริง และเป็นตัวตลกประจำกลุ่มที่สร้างรอยยิ้มให้เพื่อนๆ ได้เสมอ จึงเป็นที่รักของทุกคนที่ได้พูดคุยด้วย นอกจากนี้ก้านยาวยังเป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือ รักการเรียนรู้ทางการเกษตรและพันธุ์พืชเขาจึงชอบเข้าไปคุยกับตาทุ่งซึ่งทำให้เขามีความรู้ด้านการเกษตรมากขึ้นอีกด้วย |
มังคุด ทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์สื่อแทน "มังคุด" ราชินีของผลไม้ เป็นผลไม้เมืองร้อนที่มีรสชาติหวานอร่อย เนื้อในมีสีขาวสะอาด "มังคุด" เป็นขวัญใจของหนุ่มก้านยาว เป็นสาวไฮโซที่มีความมั่นใจในตัวเองสูง ชอบความหรูหรา รสนิยมทันสมัย และหลงตัวเอง ชอบการแสดงออกทั้งการร้องเพลง รวมไปถึงการถ่ายแบบและมีวิธีการพูดจาเป็นภาษาสมัยใหม่ประเภทไทยคำฝรั่งคำ |
ฝักบัว ทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์สื่อแทน "ฝักบัวรดน้ำ" เป็นหนุ่มน้อยผู้คอยดูแลสวน รักการปลูกต้นไม้เป็นชีวิตจิตใจ ในแต่ละวันจะคอยรดน้ำ พรวนดินและคอยดูแลเอาใจใส่ต้นไม้ ดอกไม้ทั้งหลายให้เติบโตและเบ่งบาน เวลาเพื่อนๆทะเลาะกัน ฝักบัวจะเป็นคนคอยห้ามเสมอๆ จึงเป็นที่รักของผองเพื่อน |
จ้อน ทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์สื่อแทน "ผักกาด" ที่มีต้นกำเนิดอยูในทวีปเอเชีย "จ้อน" เป็นเด็กน้อยจากยอดดอยผู้รักการผจญภัย และใฝ่ฝันจะเดินทางรอบโลก เพื่อให้จอผักกาดได้เป็นอาหารระดับโลก "จ้อน" มีนิสัยขี้หงุดหงิดและชอบโวยวาย ชอบทำตัวเปิ่นๆ เชยๆ พูดจาไม่ค่อยรู้เรื่อง ชอบคิดว่าตัวเองเท่ห์และเก่งกล้า แต่เวลาพอเกิดเรื่องอะไรขึ้นมา จ้อนก็มักจะหลบหนีไปก่อนอยู่เรื่อย "จ้อน" มีปฏิญาณว่าจะต้องแกล้งนารีให้ได้สักครั้ง แต่ทว่าจ้อนก็ต้องแพ้ภัยตัวเองอยู่เสมอ |
|
และสุดท้าย "ตาทุ่ง" คุณตาใจดี ที่ทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์สื่อแทน "หุ่นไล่กา" ซึ่งเป็นทาสผู้ซื่อสัตย์ของชาวนา ทำหน้าที่ยืนตากแดด ตากลม สู้ฝน เพื่อไล่ฝูงนกกาไม่ให้ลงมาทำลายแปลงนาข้าว "ตาทุ่ง" มักจะมีเรื่องราวมากมายมาเล่าให้หลาน ๆ ฟังจึงเป็นที่รักของเด็กๆ เพราะนอกจากนิทานสนุกๆ แล้ว ตาทุ่งยังเป็นแหล่งความรู้และที่ปรึกษาชั้นเยี่ยมอีกด้วย โดยเฉพาะกับ "ก้านยาว" หนุ่มเมืองจันท์ที่มักจะแวะเวียนมาหาตาทุ่ง เพื่อขอความรู้ในด้านทำการเกษตรและเรื่องของความรักซึ่งตาทุ่งไม่เคยทำให้ก้านยาวผิดหวัง |
ผลงานอื่นๆ ของ somozen ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ somozen
ความคิดเห็น