อเทวา
วิถีแห่งเทพเจ้า และวิถีแห่งปุถุชน สองเส้นทางที่มิอาจคู่ขนาน ผองเราบิดผันผืนชะตาฟ้านานมา และจะฝืนต่อสืบไป แด่ซาร์ทรา และทุกๆคน... -เฮอร์เวส เอลทาลาเมีย-
ผู้เข้าชมรวม
671
ผู้เข้าชมเดือนนี้
345
ผู้เข้าชมรวม
ข้อมูลเบื้องต้น
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
(https://www.facebook.com/2nChronicle/photos/pb.244601582346517.-2207520000.1436519042./251871234952885/?type=3&theater ลิงค์แผนที่ฉบับที่ 1)
https://www.facebook.com/2nChronicle/photos/a.251858601620815.1073741826.244601582346517/639529269520411/?type=1&theater ลิงค์แผนที่ฉบับล่าสุด อัพโหลดใหม่
อารัมบท
ว่าด้วยประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ
จักรวรรดิซาร์ทราของผองเราดำรงอยู่มาเนิ่นนานกว่าสองพันปีแล้ว จนเป็นที่เข้าใจผิดเสียบ่อยๆในหมู่ประชาชนทั่วไปว่าประวัติศาสตร์ของจักรวรรดิซาร์ทรานั้นคือประวัติศาสตร์ของมิดเดิลเอิร์ธ และมิดเดิลเอิร์ธของเรานั้นคือโลกใบนี้ทั้งหมด ซึ่งเรื่องนี้มิได้มีความจริงเลยแม้แต่น้อย เพราะแผ่นดินมิดเดิลเอิร์ธมีมาอารยธรรมมายาวนานกว่าสี่พันปี และก็เป็นเพียงทวีปเล็กๆทวีปหนึ่ง ที่ตั้งอยู่ข้างมหาทวีปอันไพศาลสุดจะประมาณการได้ หากจะเปรียบเทียบกัน แผ่นดินมิดเดิลเอิร์ธ นี้ก็คงจะเป็นเพียงก้อนกรวด ในขณะที่มหาทวีปเป็นศิลาใหญ่ยักษ์ และจักรวรรดิซาร์ทราของเราก็เป็นเพียงมดตัวน้อยๆที่หาญเบ่งตัวแข่งกับก้อนกรวด ข้าพเจ้าจึงเขียนตำรานี้ขึ้นมาด้วยหวังจะให้การศึกษา และแก้ไขความเข้าใจผิดทั้งหลายทั้งปวงเกี่ยวกับทวีปมิดเดิลเอิร์ธ
ข้อมูลเบื้องต้น
แผ่นดินมิดเดิลเอิร์ธ
จากอดีตจนถึงปัจจุบัน
แบ่งได้เป็นสามยุค
-ยุคที่หนึ่ง
ปี E.R.C
0-
ราว2300 ยุคกำเนิด
แผ่นดินทอง
และความล่มสลายแห่งชนเผ่าพราย(เอลฟ์)
-ยุคที่สอง
ปี E.R.C
2300- ราว3300กำเนิดมหาจักรวรรดิซาร์ทราของมนุษย์
แลบริวารน้อยใหญ่
-ยุคที่สาม
ปี E.R.C
3300- เหตุการปัจจุบัน
ยุคสมัยที่หนึ่ง คือยุคสมัยที่อารยธรรมบนแผ่นดินนี้ยังเยาว์นัก จากรอยจารึกประวัติศาสตร์ หรือเศษซากอารยธรรมต่างๆที่พวกเราเคยศึกษากัน รวมถึงคำบอกเล่าของชนเผ่าพราย (หรือเอลฟ์) ระบุว่ายุคสมัยนี้เป็นยุคที่ชนเผ่าพรายครองอำนาจใหญ่ ปกครองผืนป่าซาร์ดออันไพศาลที่เคยคลุมมิดเดิลเอิร์ธจากเหนือจรดใต้ และจากตะวันออกจรดตะวันตก เป็นเวลานานนับพันปีที่พวกเขาครองอำนาจใหญ่แต่เพียงผู้เดียวเหนือแผ่นดินมิดเดิลเอิร์ธด้วยความยุติธรรมเมตตาธรรม และไมตรีจิต สรรพสัตว์ทั้งหลายต่างพึ่งพาร่มโพธิ์สมภาร จนกล่าวได้ว่าหากาลใดสงบกว่านี้ไม่ หากสรรพสิ่งทุกอย่างย่อมมีความเสื่อม อำนาจของชนเผ่าพรายหดลงไปพร้อมกับมหาไพรซาร์ดอ และการรุ่งเรืองขึ้นมาของอาณาจักรมนุษย์เป็นครั้งแรก ภาษาฟาซรีสของเราหามีคำใช้บรรยายอาณาจักรนี้ไม่ ด้วยพวกเขามิได้เป้นบรรพบุรุษของผองเรา แต่เป็นงานรังสรรค์ของมหาจอมปีศาจมัลคอร์ผู้น่าเกลียดชังและคอยวางแผนบ่อนทำลายอารยธรรมปฏิปักษ์ทั้งหมดบนแผ่นดินมิดเดิลเอิร์ธ พวกพรายสาปแช่งและขานนามอาณาจักรของชนเผ่านี้ว่า โรมาซิเรีย หรืออาณาจักรของชนต้องสาป คำว่าโรมาซิเรียมีที่มาจากภาษาโบราณ ที่เก่าแก่กว่าชนเผ่าพรายบนแผ่นดินนี้เสียอีก เพราะพวกเขาหยิบยืมมันมาจากเทพเจ้าที่เชื่อกันว่าเป็นผู้รังสรรค์โลกใบนี้ทั้งหมด ทว่าตัวตนของเทพเจ้าเหล่านี้ก็เป็นที่กังขา เพราะเราทั้งหลายก็หาได้เคยสัมผัสกับปาฏิหารณ์แห่งเทพเจ้าไม่ และไม่เคยยินเสียงเพรียกแห่งความเมตตา ไม่เคยได้รับความช่วยเหลือ แม้ในยามที่ชาวฟราซรีสเราลำบากจนถึงที่สุด เราเคยเห็นแต่เพียงมัลคอร์ จอมปีศาจไร้ที่มาซึ่งคอยเฝ้าบ่อนทำลายเรา จนแม้แต่ตัวมันเองถูกผนึกเอาไว้ในที่สุด แต่นี่ก็เป็นเรื่องราวที่ควรแก่การเล่าในภายหลัง
ยุคสมัยที่หนึ่งปรากฏการรุ่งโรจน์และเสื่อมถอยแห่งชนเผ่าพรายและผืนป่าใหญ่ซาร์ดอ พร้อมกับการบังเกิดและล่มสลายในพริบตาของอาณาจักรโรมาซิเรีย อาณาจักรนี้เป็นต้นกำเนิดของสองในสามขุนศึกมืดผู้เป็นข้ารับใช้มัลคอร์ การล่มสลายของอาณาจักรมนุษย์นี้เป็นไปในชั่วพริบตา เมื่อฤทธีแห่งความแค้นเคืองโกรธาแห่งพรายเป็นที่ประจักษ์ชัด พวกเขาเผาทำลายผีนป่าใหญ่พร้อมอาณาจักรต้องสาปนี้ลงเสียสิ้นซาก จนไม่ปรากฏแม้นร่องรอยอารยธรรมในภายหลัง เราเพียงรู้เรื่องราวของชาวโรมาซิเรียในภายหลัง จากคำบอกเล่าของพรายตนต่างๆ ที่มักสลับกับคำกร่นด่าสาปแช่งด้วยวาจาเผ็ดร้อน
ยุคสมัยที่สองคือยุคสมัยแห่งการกำเนิดของชนเผ่าฟราซรีส เป็นช่วงเวลาที่สงบหลังมหาสงครามใหญ่ ให้พวกพรายได้ไว้อาลัยต่อความสูญเสียของตน และในขณะเดียวกัน ก็เป็นโอกาสให้หน่ออ่อนของเมล็ดพันธุ์อันทรงอำนาจได้แตกตัวเติบใหญ่ พวกเราเริ่มต้นขึ้นในในฐานะของชนเผ่าเล็กๆชนเผ่าหนึ่งที่อาศัยติดอยู่กับเขตอิทธิพลของพราย คอยพึ่งพิงบารมีความช่วยเหลือ และการปกปักษ์รักษาของเหล่าชนผู้ทรงฤทธิ์ จนมีช่วงเวลาหนึ่งที่เราเรียกขานพวกเขาว่าเทพเจ้า และจะเห็นได้ว่าอารยธรรมหลายๆอย่างของผองเรา ก็มีกลิ่นอายของอิทธิพลชนเผ่าพราย อารยธรรมของพวกเราเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยความช่วยเหลือของพราย แต่ก็เป็นการเติบโตที่ในภายหลังจุดชนวนแห่งความขัดแย้งขึ้นมาใหม่
แผ่นดินของชาวเราเริ่มแผ่ขยาย เริ่มมีการกระจายตัวไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณต่างๆ แรกๆเราก็มีความสัมพันธ์ที่ดีงามต่อกัน แต่ความเติบโตก็มาพร้อมกับความขัดแย้งแย่งชิงผลประโยชน์ที่พบได้อยู่ทั่วไป พวกเราเริ่มหํ้าหั่นทำสงครามกันเอง โดยพวกพรายก็สนับสนุนขั้วอำนาจหนึ่ง และจอมปีศาจมัลคอร์ก็แอบแพร่ขยายอิทธิพลมาสนับสนุนอีกขั้วอำนาจหนึ่ง เป็นเวลาหลายร้อยปีที่สถานการณ์ดำเนินอยู่อย่างนั้น จนกระทั่งปรากฏเหล่าวีรบุรุษขึ้นมารวบรวมแผ่นดิน สถาปนาจักรวรรดิซาร์ทราอันยิ่งใหญ่
แต่การก่อร่างสร้างตัวของจักรวรรดินี้ก็หาได้ราบรื่นไม่ ในเวลาเพียงไม่กี่ร้อยปีหลังการสถาปนาจักรวรรดิ และการแผ่ขยายอำนาจเข้าไปปกคลุมอาณาจักรพี่น้องมัลแกรนด้า จักรวรรดิซาร์ทราก็ถูกดึงเข้าไปร่วมสงครามต่อต้านมัลคอร์เคียงคู่กับชนเผ่าพราย สงครามนี้เกือบจะทำให้จักรวรรดิต้องล่มสลาย ผองชนมากมายทั้งมนุษย์และพรายต่างล้มตายไปเพื่อหยุดยั้งความทะเยอทะยานของจอมปีศาจ และแม้นว่าเราจะกำชัย เราก็มิสามารถประกาศชัยชนะได้อย่างสมบูรณ์แบบ เพราะมันเพียงถูกขังไว้ในปราสาทของตน ด้วยพันธณาการมนตราที่แลกด้วยเลือดเนื้อของสองผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลของชนเผ่าพราย องค์เทวีเอดาเฮลเลน และลอร์ดเคเรบอร์น
พวกเราเรียนประอาจวัติศาสตร์ด้วยพู่กันและนํ้าหมึก แต่เราเขียนประวัติศาสตร์ด้วยศาสตรา เลือดและนํ้าตา หลังยุคสมัยที่สองแห่งมิดเดิลเอิร์ธ จักรวรรดิซาร์ทราหาได้พานพบกับความสงบสุขที่สมบูรณ์ไม่ เรายังคงต้องประมือกับอาณาจักรล้าหลังภายนอก ทั้งบนมหาทวีป และแผ่นดินอื่นๆอยู่เป็นระยะๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงต้นยุคที่สามที่ซาร์ทราเพิ่งฟื้นตัวจากมหาสงครามใหญ่ ที่กองทัพภายนอกต่างพยายามรุกรานแผ่นดินมิดเอิลเอิร์ธ และถูกขับไล่ตกทะเลไป เป็นเวลาหลายร้อยปีที่เรามีสันติภาพอันยาวนานสลับกับสงคราม จนกลับกลายเป็นธรรมดาที่แสนยานุภาพแห่งซาร์ทราและอาณาจักรมัลแกรนด้าจะถูกท้าทายอยู่เนืองนิจ หากไม่ว่าด้วยเหตุผลประการใดก็ตามข้าพเจ้ากลับรู้สึกว่าเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นมาในยุคนี้ เป็นเพียงปฐมบทแห่งเงามืดครั้งใหม่ที่เริ่มคลืบคลาน อันจักปิดม่านแห่งประวัติศาสตร์ยุคสมัยที่สามของ มิดเดิลเอิร์ธ
(“ว่าด้วยประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ”, คราฟราฮีร ปราชญ์แห่งหอตำราหลวง, ปี ERC 4220 ศักราชมิดเดิลเอิร์ธ)
ผลงานอื่นๆ ของ Kanawat Prapasapong ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ Kanawat Prapasapong
ความคิดเห็น