วิวัฒนาการเงินตราไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ - วิวัฒนาการเงินตราไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ นิยาย วิวัฒนาการเงินตราไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ : Dek-D.com - Writer

    วิวัฒนาการเงินตราไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

    มาร่วมค้นหาคำตอบว่า เงินของคนไทยในสมัยก่อน มีรูปร่างหน้าตาอย่างไร แตกต่างจากปัจจุบันอย่างไร

    ผู้เข้าชมรวม

    3,107

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    22

    ผู้เข้าชมรวม


    3.1K

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    2
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  29 ม.ค. 57 / 21:16 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น


    "เงิน" เป็นสิ่งสำคัญที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการของคนทุกยุคทุกสมัย


    ในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทยก็เช่นกัน มีการกำหนดสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน มาตั้งแต่สมัยก่อนสุโขทัย


    มีทั้งในรูปหอยเบี้ย เงินพดด้วง ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากขอมและมอญ


    จนกระทั่งมาถึงเหรียญกษาปณ์อย่างที่เราเห็น และใช้กันอยู่ในปัจจุบัน


    เหรียญเหล่านี้มีวิวัฒนาการอย่างไร? ใครเป็นผู้ริเริ่ม? 


    เราจะพาคุณย้อนรอยไปดูตั้งแต่ยุคเริ่มกรุงรัตนโกสินทร์


    ไม่แน่ว่า..... ที่บ้านของคุณ อาจจะยังมีเหรียญเหล่านี้อยู่ก็เป็นได้!!



    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ



      วิวัฒนาการเงินตราไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

       

                ในปี พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงย้ายเมืองหลวงจากกรุงธนบุรี มาอยู่ฝั่งตรงข้ามคือ กรุงเทพมหานคร และสถาปนาราชวงศ์จักรีขึ้น เงินตราที่ใช้ในยุคต้นๆ ยังคงใช้เงินพดด้วง โดยที่ตราประทับบนเงินพดด้วงคือตราจักร ซึ่งเป็นตราประจำแผ่นดิน และตราประจำรัชกาล ซึ่งได้แก่

      รัชกาลที่ 1 ตราบัวอุณาโลม

      รัชกาลที่ 2 ตราครุฑ

      รัชกาลที่ 3 ตราปราสาท

      รัชกาลที่4 ตรามงกุฏ

      รัชกาลที่ 5 ตราพระเกี้ยว
       

      สมัยรัชกาลที่ 1



       

                เงินพดด้วงในรัชกาลนี้ เดิมประทับตราจักร และตราตรีศูล แต่หลังจากบรมราชาภิเษกแล้ว ได้โปรดเกล้าฯ ให้ผลิตเงินพดด้วงประจำรัชกาลแล้วประทับตราพระแสงจักร-บัวอุณาโลม

       

      สมัยรัชกาลที่ 2


       

                ตราที่ประทับบนเงินพดด้วย คือ ตราจักรและตราครุฑ สันนิษฐานว่าตราครุฑ มาจากพระนามเดิมของรัชกาลที่ 2 คือ "ฉิม" ซึ่งเป็นวิมานของพญาครุฑ

       

      สมัยรัชกาลที่ 3


       

                ตราปราสาทเป็นตราประจำพระองค์ของรัชกาลที่ 3 ผลิตเมื่อพระองค์เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติในปี พ.ศ. 2367 นอกจากนี้ยังมีการผลิตเงินพดด้วงเป็นที่ระลึกในโอกาสสำคัญๆ ประทับตราต่างๆ เช่น ดอกไม้ ครุฑเสี้ยว ใบมะตูม และเฉลว เป็นต้น
                ส่วนการจัดทำเงินเหรียญขึ้นใช้ตามแบบสากลนิยมนั้น มีแนวคิดมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยโปรดเกล้าฯ สั่งจัดทำตัวอย่างเหรียญทองแดงส่งเข้ามา แต่ยังไม่โปรดเกล้าฯ ให้นำออกใช้


       

      สมัยรัชกาลที่ 4




       

                 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การค้าระหว่างไทยกับต่างประเทศก็ได้ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว พ่อค้าชาวต่างประเทศเข้ามาค้าขายมากขึ้นและได้นำเงินเหรียญของตนมาแลกกับเงินพดด้วงจากรัฐบาลไทยเพื่อนำไปซื้อสินค้าจากราษฎร แต่ด้วยเหตุที่เงินพดด้วงผลิตด้วยมือจึงทำให้มีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการ ส่งผลให้เกิดความไม่สะดวกและการค้าของประเทศเสียประโยชน์ พระองค์จึงมีพระราชดำริที่จะเปลี่ยนรูปเงินตราของไทยจากเงินพดด้วงเป็นเงินเหรียญ

                ในปี พ.ศ. 2400 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้คณะทูตไทยไปเจริญสัมพันธไมตรีกับสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียที่ประเทศอังกฤษ สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียได้จัดส่งเครื่องทำเหรียญเงินขนาดเล็กเข้ามาถวายเป็นราชบรรณาการ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าให้จัดทำเหรียญกษาปณ์จากเครื่องจักรขึ้นเป็นครั้งแรก เรียกกันว่า "เหรียญเงินบรรณาการ"

                 ในขณะเดียวกันคณะทูตก็ได้สั่งซื้อเครื่องจักรทำเงินจากบริษัทเทเลอร์ เข้ามาในปลายปี 2401 พระองค์จึงโปรดเกล้าให้สร้างโรงงานผลิตเหรียญกษาปณ์ขึ้นที่หน้าพระคลังมหาสมบัติในพระบรมมหาราชวัง พระราชทานนามว่า "โรงกระสาปณ์สิทธิการ" ในสมัยนี้จึงถือว่ามีการใช้เหรียญกษาปณ์แบบสากลนิยมขึ้นเป็นครั้งแรก ต่อมาแม้ได้ประกาศให้ใช้เงินตราแบบเหรียญแล้วก็ยังโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เงินพดด้วงอยู่เพียงแต่ไม่มีการผลิตเพิ่มเติม จนกระทั่งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากที่มีการนำธนบัตรออกใช้แล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ออกประกาศให้เลิกใช้เงินพดด้วงทุกชนิด ตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2447 เป็นต้นมา

       

      สมัยรัชกาลที่






       

                ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเงินที่สำคัญ พระองค์มีพระราชดำริว่า มาตราของไทยที่ใช้อยู่ในขณะนั้น คือ ชั่ง ตำลึง บาท สลึง เฟื้อง เป็นระบบที่ยากต่อการคำนวณ และการจัดทำบัญชี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงใหม่ โดยใช้หน่วยเป็นบาท และสตางค์ คือ 100 สตางค์ เป็น 1 บาท ตั้งแต่ พ.ศ. 2441 อันเป็นมาตราเงินตราไทยมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำพระบรมรูปของพระองค์ประทับลงบนเหรียญ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการนำพระบรมรูปของพระมหากษัตริย์ไทยประทับลงบนเหรียญกษาปณ์ 


       

      สมัยรัชกาลที่ 6





                       

       

                ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล มีการผลิตเหรียญกษาปณ์ออกใช้แต่ไม่มี การเปลี่ยนแปลงรูปแบบมากนัก ส่วนใหญ่เป็นเหรียญกษาปณ์ที่มีราคาไม่สูงนัก คือ 1 บาท, 50 สตางค์, 25 สตางค์, 10 สตางค์, 5 สตางค์, และ 1 สตางค์

                ในช่วงต้นรัชกาลยังคงใช้เหรียญที่ผลิตในรัชกาลที่ 5 ต่อมาในปี พ.ศ. 2456 จึงโปรดเกล้าฯให้ผลิตเหรียญเงินหนึ่งบาทประจำรัชกาล เป็นเหรียญตราพระบรมรูป-ไอราพต



       

      รูปเหรียญกษาปณ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 และ 6


       

      สมัยรัชกาลที่ 7



       

                ในรัชกาลนี้มีการผลิตเหรียญหมุนเวียนออกใช้ไม่มากนัก เนื่องจากอยู่ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เหรียญประจำรัชกาลที่นำออกใช้เป็นเหรียญชนิดราคา 50 และ 25 สตางค์ ตราพระบรมรูป-ช้างทรงเครื่อง


       

      สมัยรัชกาลที่



       

                เหรียญประจำรัชกาลที่ผลิตออกใช้หมุนเวียน เป็นเหรียญตราพระบรมรูป-พระครุฑพ่าห์ ชนิดราคา 50, 25, 10 และ 5 สตางค์ มี 2 รุ่น คือ รุ่นแรกมีพระบรมรูปเมื่อครั้นเจริญพระชนมพรรษา เป็นสตางค์ที่ไม่มีรูครั้งแรก ชาวบ้านพากันกล่าวว่า "สตางค์ไม่มีรู ศัตรูไม่มีรัง สตางค์ออกใหม่น่าใช้น่าดู" นับว่าเป็นของแปลกสำหรับสมัยนั้น

       

      สมัยรัชกาลที่ 9




      เหรียญแบนเก้าเหลี่ยม
       

                  ได้มีการผลิตเหรียญกษาปณ์ เริ่มจากเหรียญทองแดงและเหรียญดีบุกตราพระบรมรูป - ตราแผ่นดินใน พ.ศ. 2493 ผลิตเหรียญราคา 5 บาท ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2515 มีลักษณะเป็นเหรียญแบนเก้าเหลี่ยม แต่เนื่องด้วยมีการปลอมแปลงกันมากจึงได้ยกเลิก ต่อมาผลิตเหรียญราคา 10 บาท ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2531 และได้มีการผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียน และเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก รวมทั้งมีการพัฒนาจัดทำเหรียญที่ระลึก ต่อเนื่องมาจนกระทั่งปัจจุบัน คือ
       

      1. เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน (Circulated coins)




      เหรียญกษาปณ์
      ใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ


      เป็นเหรียญกษาปณ์ที่ใช้หมุนเวียนกันอยู่ทั่วไปในชีวิตประจำวัน มี 9 ชนิดราคา คือ 10 บาท, 5 บาท, 2 บาท, 1 บาท, 50 สตางค์, 25 สตางค์, 10 สตางค์, 5 สตางค์ และ 1 สตางค์ แต่ที่ใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมี 6 ชนิดราคา คือ 10 บาท, 5 บาท, 2 บาท, 1 บาท, 50 สตางค์, 25 สตางค์ ส่วนเหรียญชนิดราคา 10 สตางค์, 5 สตางค์ และ1 สตางค์ มีใช้ในทางบัญชีเท่านั้น
       

      2. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก (Commemorative coins)

       

                           


                        


      เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกแบบไม่ขัดเงา


                   

      เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกแบบขัดเงา


      เป็นเหรียญกษาปณ์ที่ผลิตออกใช้ในวโรกาสและโอกาสที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันคือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หรือเหตุการณ์ระหว่างประเทศ โดยจัดทำ 2 ประเภท คือ ขัดเงา และไม่ขัดเงา



                   ข้อแตกต่างระหว่างเหรียญกษาปณ์หมุนเวียน และเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกก็คือการวางลวดลายด้านหน้าและด้านหลัง โดนเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนจะวางลวดลายแบบ American Turning ซึ่งจะต้องพลิกดูลวดลายด้านหลังในแนวดิ่ง สำหรับเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกได้จัดวางลวดลายแบบ European Turning ซึ่งจะต้องพลิกในแนวนอนเพื่อดูลวดลายด้านหลัง


       

      3. เหรียญที่ระลึก (Medal)
       

                     



      เป็นเหรียญที่ผลิตขึ้นเนื่องในวโรกาสและโอกาสที่สำคัญต่างๆ ซึ่งมีความแตกต่างจากเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกตรงที่จะ ไม่มีราคาหน้าเหรียญ เนื่องจากมิใช่เงินตราจึงไม่สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย


       




      รูปถ่ายคู่กับเหรียญกษาปณ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 และ 6





      รูปเหรียญกษาปณ์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงปัจจุบัน

       

      แหล่งอ้างอิง

      http://www.dek-d.com/board/view/683193/
      http://www.royalthaimint.net/
      http://th.wikipedia.org/wiki/เหรียญกษาปณ์ไทย
      http://birampol.blogspot.com/2008/08/blog-post_24.html

       

      ขอบคุณค่ะ



      น.ส.ภาวินี พิทยรังสฤษฏ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 941 เลขที่ 20

      อาจารย์ประพิศ ฝาคำ

      โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา









       

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×