กฏและระเบียบในการเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์เข้าสู่ราชอาณาจั - กฏและระเบียบในการเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์เข้าสู่ราชอาณาจั นิยาย กฏและระเบียบในการเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์เข้าสู่ราชอาณาจั : Dek-D.com - Writer

    กฏและระเบียบในการเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์เข้าสู่ราชอาณาจั

    ผู้เข้าชมรวม

    110

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    110

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  8 มิ.ย. 57 / 21:30 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    การนำเข้าสัตว์ เลี้ยงมีชีวิตแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การนำเข้าแบบถาวร และการนำเข้าแบบชั่วคราว ผู้โดยสารสามารถนำสัตว์เลี้ยง อาทิ สุนัข แมว เข้ามาพร้อมกับตนโดยไม่มีลักษณะทางการค้า ณ สำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานกรุงเทพและภูมิภาคทั้งแบบที่ไม่นำติดตัวเข้ามา (UNACCOMPANIED BAGGAGE) แต่นำเข้ามาในระวางบรรทุก (CARGO FREIGHT) และแบบนำติดตัวเข้ามา (ACCOMPANIED BAGGAGE) สำหรับรายละเอียดเอกสารที่ต้องใช้ในการผ่านพิธีการศุลกากรและขั้นตอนสามารถ ศึกษาได้จากหัวข้อ ข้อควรทราบในการเดินทาง

    อนึ่ง การนำเข้าสัตว์เลี้ยงมีชีวิตชั่วคราว ผู้โดยสารหรือตัวแทนต้องทำสัญญาประกันและทัณฑ์บนกับกรมศุลกากรว่าจะส่งออกไป ภายใน 6 เดือนนับแต่วันนำของเข้าตามแบบที่กำหนดโดยให้ระบุด่านศุลกากรที่จะส่งกลับ ออกไปและใช้หนังสือค้ำประกันของธนาคาร หรือบุคคลที่เชื่อถือได้ การไม่นำสัตว์ที่นำเข้ามาเป็นการชั่วคราวกลับออกไป ผู้นำเข้าต้องชดใช้เงินตามสัญญาประกันที่ให้ไว้ และอาจถูกดำเนินคดีฐานหลีกเลี่ยงการชำระค่าภาษีอากร และ/หรือ หลีกเลี่ยงข้อกำกัดของกฎหมายอันมีโทษปรับ หรือจำคุก หรือทั้งจำทั้งปรับตาม กฏหมายศุลกากรอีกด้วย
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      สุนัขพันธุ์ พิทบูลล์ เทอร์เรียร์, อเมริกัน สเต็ฟฟอร์ดไชน์ เทอร์เรียร์ และอเมริกัน สเต็ฟฟอร์ดไชน์ บูลล์ เทอร์เรียร์ เป็นพันธุ์สุนัข ต้องห้าม ในการนำเข้าราชอาณาจักรไทย

      1. จะต้องมีหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์เป็นภาษาอังกฤษ(Health Certificate)ที่ลงนามรับรองโดยสัตวแพทย์ผู้มีอำนาจหน้าที่ของรัฐบาลประเทศ ผู้ส่งออก โดยมีรายละเอียดการรับรองดังนี้:-

      1.1) จำนวนและชนิดสัตว์
      1.2) พันธุ์ เพศ อายุ และสี หรือรูปพรรณสัณฐานสัตว์ (สุนัขต้องมีอายุตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไปเท่านั้น จึงจะสามารถนำเข้าสู่ราชอาณาจักรไทยได้)
      1.3) ชื่อและที่อยู่ของเจ้าของหรือคอกที่เป็นแหล่งกำเนิด
      1.4) การรับรองตามเงื่อนไขตั้งแต่ข้อ 2 ถึงข้อ 5

      2. สัตว์ต้องมาจากแหล่งที่มีการควบคุมโรคสัตว์ และต้องมีสุขภาพสมบูรณ์ไม่มีอาการหรือวิการของโรคติดเชื้อ หรือโรคติดต่อ หรือพยาธิภายนอกใด ๆ ในขณะที่ส่งออก และเหมาะสมสำหรับการขนส่งหรือเดินทาง

      3. ประเทศผู้ส่งออกต้องปลอดจากโรคพิษสุนัขบ้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีหรือ สัตว์ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าชนิดที่ได้รับการรับรองอย่าง เป็นทางการไม่น้อยกว่ายี่สิบเอ็ดวันก่อนออกเดินทาง

      4. สุนัขต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคเลปโตสไปรา (Leptospirosis) อย่างน้อยยี่สิบเอ็ดวัน ก่อนออกเดินทาง หรือต้องได้รับการทดสอบโรคเลปโตสไปรา (Leptospirosis) ในช่วงสามสิบวัน ก่อนออกเดินทาง และผลการทดสอบดังกล่าวต้องเป็นลบ (negative)

      5. สัตว์ต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อหรือโรคติดต่ออื่นๆ ที่สำคัญ คือ Distemper Hepatitis และ Parvovirus อย่างน้อยยี่สิบเอ็ดวันก่อนออกเดินทาง และวัคซีนนั้นต้องเป็นชนิดที่ได้รับรองจากทางราชการ

      6. กรงที่ใช้ในการขนส่งสัตว์ต้องได้รับการออกแบบในลักษณะที่ไม่ทำให้สัตว์เสี่ยงต่อการบาดเจ็บหรือทรมานโดยไม่จำเป็น

      7. ห้ามมิให้มีการสัมผัสกับสัตว์อื่นในกรณีที่พาหนะขนส่งต้องแวะจอด(transit) ที่ท่าระหว่างทางใดๆที่ได้รับการรับรองและห้ามออกนอกเขตของท่านั้นเว้นแต่จะ อยู่ในบริเวณที่กักกันของท่าระหว่างทางที่ได้รับการรับรองจากทางราชการ

      8. เมื่อสัตว์เดินทางมาถึงท่าเข้าของประเทศไทย สัตว์นั้นจะต้องถูกกักกันในสถานกักกันที่ได้รับการรับรองเป็นเวลาไม่น้อย กว่าสามสิบวัน สัตว์ที่อยู่ในระหว่างการกักกันจะถูกตรวจสอบและหรือรักษาตามที่เห็นสมควรและ จำเป็น ผู้นำเข้าหรือเจ้าของเป็นผู้ควบคุมดูแลรับผิดชอบและออกค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด ที่เกิดขึ้นในระหว่างการกักกันสัตว์

      9. การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการนำเข้าอาจส่งผลให้ต้องดำเนินการส่งกลับไปยังประเทศต้นทางหรือทำลาย ซึ่งสัตว์ดังกล่าวโดยไม่มีค่าชดใช้

      หากไม่แน่ใจแนะนำให้ติดต่อไปที่ ด่านกักกันสัตว์ (Animal Quarantine) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ Tel. (662) 134-0731 ถึง 2 หรือ email: qsap_bkk@dld.go.th

      ที่มา http://moacdc.thaiembdc.org/htmls/thai_regulations_THA.html

      สำหรับคนที่สนใจนำเข้าสัตว์อื่นๆก็ดูรายละเอียดได้จากลิงค์นี้ได้เลยค่ะ

      แบบฟอร์มคำขออนุญาตนำเข้านะคะ http://moacdc.thaiembdc.org/pdfs/animal_import_export_form.pdf


      โชคดีนะคะ

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×