ข้อแตกต่างระหว่าง ของต้องห้าม และ ของต้องกำกัด - ข้อแตกต่างระหว่าง ของต้องห้าม และ ของต้องกำกัด นิยาย ข้อแตกต่างระหว่าง ของต้องห้าม และ ของต้องกำกัด : Dek-D.com - Writer

    ข้อแตกต่างระหว่าง ของต้องห้าม และ ของต้องกำกัด

    เอาข้อมูลมาฝากสำหรับคนที่กำลังจะเดินทางกลับไทยหรือคิดอยากจะส่งของกลับเมืองไทยนะคะ

    ผู้เข้าชมรวม

    294

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    294

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    หมวด :  อื่นๆ
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  6 มิ.ย. 57 / 03:19 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    กรมศุลกากรมีหน้าที่ป้องกันการนำเข้า หรือส่งออก หรือส่งผ่านสินค้าต้องห้าม ส่วนสินค้าต้องกำกัด กรมศุลกากรมีหน้าที่ต้องตรวจสอบว่า การนำเข้า หรือส่งออก หรือส่งผ่านแดนได้รับอนุญาตและปฏิบัติตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ครบถ้วนหรือไม่ สำหรับบัญชีรายชื่อสินค้าต้องห้ามต้องกำกัด สามารถตรวจสอบได้จาก กระทรวงพาณิชย์

     
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      ข้อแตกต่างระหว่าง ของต้องห้าม (Prohibited Items) และ ของต้องกำกัด (Restricted Items) มีดังนี้ค่ะ

      1. ของต้องห้าม หมายถึงของที่มีกฎหมายกำหนดห้ามนำเข้ามาหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรโดยเด็ดขาด และในบางกรณีห้ามการส่งผ่านด้วย ผู้ใดนำสินค้าต้องห้ามเข้ามาหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรจะมีความผิดต้องรับโทษตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและเป็นความผิดตามมาตรา 27 และ 27 ทวิของกฎหมายศุลกากรด้วย ตัวอย่างสินค้าต้องห้ามในการนำเข้า-ส่งออก มีดังนี้

      1.1 วัตถุลามก การนำเข้าและส่งออกวัตถุลามก ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบหนังสือ ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี สิ่งที่พิมพ์ขึ้น รูปภาพ ภาพโฆษณา เครื่องหมาย รูปถ่าย และภาพยนตร์ลามกหรือวัตถุลามกอื่น ๆ
      1.2 สินค้าที่มีตราหรือลวดลายเป็นรูปธงชาติ
      1.3 ยาเสพติดให้โทษ
      1.4 เงินตรา พันธบัตร ใบสำคัญรับดอกเบี้ยพันธบัตรอันเป็นของปลอมหรือแปลงเหรียญกษาปณ์ที่ทำให้น้ำหนักลดลงโดยทุจริต ดวงตราแผ่นดิน รอยตราแผ่นดินหรือพระปรมาภิไธย ดวงตราหรือรอยตราของทางราชการอันเป็นของปลอม
      1.5 สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น แถบบันทึกเสียง (เทปเพลง) แผ่นบันทึกเสียง (คอมแพคดิสก์) แถบบันทึกภาพ (วีดีโอเทป) โปรแกรม คอมพิวเตอร์ หนังสือ หรือสินค้าอื่นใดที่ทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น
      1.6 สินค้าปลอมแปลงหรือเลียนแบบเครื่องหมายการค้า

      2. ของต้องกำกัด หมายถึงสินค้าที่มีกฎหมายกำหนดว่าหากจะมีการนำเข้า-ส่งออกหรือผ่านราชอาณาจักรจะต้องได้รับอนุญาตหรือปฏิบัติให้ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้น ๆ เช่น ต้องมีใบอนุญาตการนำเข้าและส่งออก ต้องปฏิบัติตามประกาศอันเกี่ยวกับฉลากหรือใบรับรองการวิเคราะห์ หรือเอกสารกำกับยา เป็นต้น ผู้ใดนำของต้องกำกัดเข้ามา หรือส่งออก หรือส่งผ่านราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาตหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่กำหนดไว้ให้ครบถ้วน จะมีความผิดตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้น ๆ และเป็นความผิดตามมาตรา 27 และ 27 ทวิของกฎหมายศุลกากรด้วย ตัวอย่างสินค้าที่มีมาตรการนำเข้า,สินค้าที่มีมาตรการส่งออก,สินค้ามาตรฐานและมาตรฐานสินค้า สามารถดูได้ที่ กรมการค้าต่างประเทศ จัดระเบียบเพื่อควบคุมการนำเข้าหรือส่งออก มีดังนี้

      2.1 เงินตราไทยและเงินตราต่างประเทศ
      2.2 พันธุ์ยางและยางธรรมชาติ
      2.3 ยาสูบ รวมถึงต้นยาสูบและใบยาเส้น
      2.4 สัตว์และซากสัตว์
      2.5 เครื่องวิทยุคมนาคม และส่วนแห่งเครื่องวิทยุคมนาคม
      2.6 อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน
      2.7 วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน
      2.8 ยา เชื้อโรค และพิษจากสัตว์
      2.9 สุรา
      2.10 สินค้าประเภทอาหารที่มีความหวานเจือปน
      2.11 เครื่องชั่ง ตวง วัด


      ดัง นั้น น้ำหอม บุหรี่ กระเป๋า หรือของใช้อื่นๆที่ไม่ได้เข้าข่ายหรือถูกระบุไว้ด้านบน สามารถส่งกลับได้ค่ะ แต่เรื่องภาษีนำเข้าว่าศุลกากรจะเก็บภาษีไหมอันนี้เป็นอีกเรื่องนึงนะคะ สนใจสอบถามได้นะคะ ยินดีให้ข้อมูลกับทุกท่านค่ะ

      ที่มา กรมศุลกากร

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×