ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    แพทยศาสตร์พระบรมราชชนก (PI)

    ลำดับตอนที่ #2 : PI.......2 +++ ข้อแตกต่างของแพทย์ PI กับแพทย์อื่น ๆ ของมหิดล

    • อัปเดตล่าสุด 7 พ.ย. 49


         


           ถ้าหากจะถามว่าแพทย์ PI นั้นแตกต่างกับแพทย์ RA (รามา) , SI (ศิริราช)  และ  BM  (วชิระ)  อย่างไร ?


          เอาเป็นว่าพี่จะเล่าให้ฟังแล้วกันว่าเราต้องเจออะไรบ้าง  พอขึ้นปี  1  ปีนี้เราจะเรียนรวมกันหมดทั้ง  4  แพทย์ที่  ม.มหิดล  ศาลายา (นครปฐม)   โดยเราจะตัดเกรดรวมกันทั้งหมด  (เกรดคงออกมาน่าตกใจเหมือนกันนะ  ก็แหงหล่ะตัดเกรดแบบอิงกลุ่มนี่   ฉะนั้นก็คงจะไม่ใช่เรื่องแปลกเมื่อเราต้องเกรดร่วมกันแล้วเกรดจะออกมาไม่น่าพอใจเท่าไหร่  )  ส่วนเนื้อหาที่เรียนนั้นก็อย่างที่เค้าเล่า ๆ กันแหล่ะว่าเหมือน ม.ปลาย  แต่ยากกว่าหน่อย  ถึงอย่างนั้นก็เถอะเอา ม.ปลาย  3  ม. มารวมกันใน  1  ปี  คงเรียนกันหนุกหนานหล่ะทีนี้


          พอขึ้นปี  2 - 3  PI ศูนย์ นว. , ใต้  และโคราช  จะเรียนรวมกับ  RA  และ  BM  ที่พญาไท   ส่วน  PI  ศูนย์ราชบุรี  จะเรียนกับ  SI  ที่ศิริราชค่ะ   ซึ่งในช่วงนี้การตัดเกรดจะแบ่งออกเป็น  2  ชุดตามที่เราเรียนด้วยกันนั่นแหล่ะ  ส่วนเรื่องการเรียนในช่วง 2 ปีนี้ก็จะเริ่มเน้นไปที่การเตรียมตัวหรือ pre  clinic  โดยเฉพาะการผ่าอาจารย์ใหญ่ที่น่าตื่นเต้น (แกมกลัว) เราก็จะได้เจอกันปี  2  นี้แหล่ะ  ซึ่งถ้าฟังแนะแนวจากรุ่นพี่  พี่ ๆ เค้าก็จะบอกว่าเรียนปี  1  นั้นดีที่สุดแล้ว    นอกจากเรียนแล้วก็ยังมีเวลาให้ทำกิจกรรมสนุก ๆ บ้าง  ถ้าพอเรียนปีสูงขึ้น ๆ เวลาว่างมันก็จะแปรผกผันกันเรื่อย ๆ ๆ ๆ   แต่ก็ไม่ถึงกับไม่มีเลยหรอกนะ  ไม่ต้องเป็นห่วง


          หลังจากเรียนจบ  3  ปีแล้ว  เราก็จะเรียนขั้นคลินิกปี  4 - 6  ตามโรงพยาบาลประจำศูนย์ของเรา  เช่นศูนย์ นว.  ก็ไปเรียนที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ , ศูนย์ใต้ก็ไปเรียนที่โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช   ประมาณเนี้ย   สำหรับอีก  3  แพทย์ที่เหลือก็จะไปเรียนที่โรงพยาบาลของคณะเค้า   ซึ่งในช่วงการเรียนที่จะแตกต่างกันก็คงจะเป็นช่วงนี้แหล่ะ   แต่โรงพยาบาลศูนย์ของเราก็เป็นโรงพยาบาลที่ดีและมีมาตรฐานใช้ได้   อาจารย์และเครื่องไม้เครื่องมือพร้อม  (ก็สอนมาตั้งกี่รุ่นแล้วหล่ะ  10  ปีแล้วนี่)  เราก็คงได้รับความรู้ได้มากพอที่จะจบมาเป็นหมอที่ดีได้แน่นอน


          ภายหลังจากจบปี  6  เมื่อได้รับปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต  มหาวิทยาลัยมหิดลเรียบร้อย  ทีนี้ก็ถึงเวลาไปทำงานเป็นหมอกันแล้ว   ซึ่งข้อแตกต่างอีกข้อหนึ่งของเราก็อยู่ตรงนี้แหล่ะ   พอจบแล้วแทนที่เราจะต้องมาลุ้นเลือกจังหวัดเลือกโรงพยาบาล  (แบบในเรื่องหมอเจ็บอ่ะ  พี่ว่าน้องคงได้ดูกันนะ)  เราไม่ต้องคิดเลย  เพราะเราก็จะแยกย้ายกันกลับจังหวัดเรามาให้พ่อแม่เลี้ยงดูปูเสื่อกันในฐานะคุณหมอนั่นเอง  ดีเหมือนกันนะจากบ้านไปนาน  เดี๋ยวเราก็ได้กลับมาทำคุณประโยชน์ให้กับบ้านเกิดเรา  น่าปลื้มนะเนี่ย   จะยกตัวอย่างให้   เช่น  ถ้าเราเข้ามาเรียนในโควต้าจังหวัดนครสวรรค์  เราก็มาทำงานในจังหวัดนครสวรรค์  หรือมาโควต้าจังหวัดบุรีรัมย์  ก็ทำงานในจังหวัดบุรีรัมย์  อย่างนี้แหล่ะ  โดยปีแรกเมื่อเราเป็นแพทย์  Inturn หรือแพทย์เพิ่มพูนประสบการณ์  เราก็ได้ทำงานในโรงพยาบาลประจำจังหวัดก่อน   หลังจากนั้นก็ทำงานใช้ทุนตามโรงพยาบาลชุมชน  (ก็แค่โรงพยาบาลตามอำเภอเท่านั้นแหล่ะ  ไม่ถึงกับต้องทำในสถานีอนามัยนะ)  เป็นระยะเวลาอีก  2  ปี  รวมทั้งสิ้น  3  ปีก็ถือว่าเราใช้ทุนครบแล้ว  

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×